พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้บุริมสิทธิในการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ แม้บังคับชำระจากทรัพย์สินที่จดจำนองแล้วยังไม่พอ
จำเลยซื้อที่ดินของโจทก์ แต่ยังมิได้ชำระราคาที่ดินทั้งหมดในวันจดทะเบียนโอนที่ดินที่ซื้อขายกันโจทก์จำเลยได้จดทะเบียนราคาที่ดินส่วนที่ยังค้างชำระเป็นหนี้บุริมสิทธิเหนือที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ค่าที่ดินที่จำเลยยังค้างชำระ อันทำให้โจทก์มีบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เหนือที่ดินนั้น เพื่อเอาชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ซึ่งหากได้ไม่พอชำระหนี้ โจทก์ก็มีสิทธิจะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยจนสิ้นเชิงได้ หามีบทบัญญัติอื่นใดที่จะตัดทอนอำนาจของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ไม่ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 289 จะได้บัญญัติว่า'ว่าถึงผลแห่งบุริมสิทธินอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 281ถึง 288 นี้แล้ว ท่านให้นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งลักษณะจำนองมาใช้บังคับด้วยตามแต่กรณี' ก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าให้นำมาใช้เท่าที่ไม่ขัดต่อบทในลักษณะบุริมสิทธิ ซึ่งให้สิทธิแก่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะเอาชำระหนี้จากอสังหาริมทรัพย์นั้นก่อนเจ้าหนี้อื่นเท่านั้น เหตุดังกล่าวจึงนำบทบัญญัติมาตรา 733 มาใช้บังคับแก่คดีไม่ได้ ดังนั้น หากยึดที่ดินที่จดทะเบียนบุริมสิทธิขายทอดตลาดยังไม่พอชำระหนี้มาตรา273,276 ห้ามเพียงมิให้โจทก์บังคับบุริมสิทธิเอาแก่ทรัพย์สินอย่างอื่นนอกจากที่ดินที่จดทะเบียนบุริมสิทธิตามฟ้องเท่านั้น แต่มิได้ห้ามโจทก์ในอันที่จะยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยมาชำระหนี้จนกว่าจะครบอย่างเจ้าหนี้สามัญศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นมาชำระหนี้จนกว่าจะครบได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตบุริมสิทธิภาษีอากร: ปีที่ยื่นคำร้องต่อศาลเป็นสำคัญ
บุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรที่ค้างชำระในปีปัจจุบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 256 นั้น คำว่า "ปีปัจจุบัน" หมายถึง ปีที่ผู้มีบุริมสิทธิได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เอาเงินของลูกหนี้มาชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่ผู้มีบุริมสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตบุริมสิทธิภาษีอากร: ปีที่ยื่นคำร้องต่อศาลเป็นเกณฑ์
บุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรที่ค้างชำระในปีปัจจุบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 256 นั้น คำว่า'ปีปัจจุบัน' หมายถึงปีที่ผู้มีบุริมสิทธิได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เอาเงินของลูกหนี้มาชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่ผู้มีบุริมสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องจดทะเบียนบอกราคาจึงมีผลบังคับใช้
บุริมสิทธิ์ในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์อันได้แก่ราคาอสังหาริมทรัพย์และดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นจะมีผลเป็นบุริมสิทธิ์ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ถ้าไม่ได้จดทะเบียนก็ไม่มีบุริมสิทธิแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องจดทะเบียนเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ หากไม่จดทะเบียนสิทธิไม่มีผล
บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์อันได้แก่ราคาอสังหาริมทรัพย์และดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นจะมีผลเป็นบุริมสิทธิก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนบอกไว้เมื่อมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ถ้าไม่ได้จดทะเบียนก็ไม่มีบุริมสิทธิแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอเฉลี่ยทรัพย์สินของเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างตามกฎหมายพิเศษและการจำกัดสิทธิบุริมสิทธิ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เป็นกฎหมายพิเศษให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานที่จะเรียกเก็บภาษีอากรค้างโดยสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดได้เองไม่จำต้องนำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาลสิทธิของผู้ร้องตามประมวลรัษฎากรจึงถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องก็มีสิทธิจะขอเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดได้ แต่จะอ้างบุริมสิทธิตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253 ได้เฉพาะที่ค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่งตามมาตรา 256 การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเฉลี่ยเมื่อเกินกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีไม่ขาดอายุ แม้พ้น 10 ปีจากคำพิพากษา และสิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิยังคงมีผล
บทบัญญัติในมาตรา 271 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง บังคับให้ฝ่ายชนะคดียื่นคำร้องขอบังคับคดีภายใน 10 ปี หาใช่ให้บังคับคดีให้เสร็จสิ้นภายใน 10 ปีไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีภายใน 10 ปีแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิบังคับคดีได้ตลอดไป แม้จะพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาและคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิ์จำนองของผู้ร้องซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิได้ ก็ยังมีผลบังคับต่อไปเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีไม่ระงับ แม้พ้น 10 ปีจากคำพิพากษา และสิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิยังคงมีผล
บทบัญญัติในมาตรา 271 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งบังคับให้ฝ่ายชนะคดียื่นคำร้องขอบังคับคดีภายใน 10 ปีหาใช่ให้บังคับคดีให้เสร็จสิ้นภายใน 10 ปีไม่ ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีภายใน 10 ปีแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิบังคับคดีได้ตลอดไป แม้จะพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาและคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองของผู้ร้องซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิได้ ก็ยังมีผลบังคับต่อไปเช่นเดียวกัน
แม้จำเลยจะได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่า โจทก์หมดสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไปเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก ก็ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องรอการชี้ขาดคดีนี้ ซึ่งผู้ร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนอง เพราะหากศาลสั่งในอีกคดีหนึ่งนั้นว่า โจทก์หมดสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไป การบังคับคดีเอาทรัพย์ที่ยึดไว้ขายทอดตลาดย่อมไม่อาจกระทำได้มีผลให้หนี้จำนองของผู้ร้องซึ่งยังไม่ได้รับชำระคงติดเป็นภาระกับทรัพย์จำนองต่อไปอยู่เอง
แม้จำเลยจะได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่า โจทก์หมดสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไปเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก ก็ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องรอการชี้ขาดคดีนี้ ซึ่งผู้ร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนอง เพราะหากศาลสั่งในอีกคดีหนึ่งนั้นว่า โจทก์หมดสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไป การบังคับคดีเอาทรัพย์ที่ยึดไว้ขายทอดตลาดย่อมไม่อาจกระทำได้มีผลให้หนี้จำนองของผู้ร้องซึ่งยังไม่ได้รับชำระคงติดเป็นภาระกับทรัพย์จำนองต่อไปอยู่เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรในการเฉลี่ยหนี้จากเงินค่าจ้างรายพิพาท ต้องเป็นสิทธิอื่นที่เทียบเคียงบุริมสิทธิ
สิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ตามกฎหมายในมาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น จะต้องเป็นสิทธิที่บุคคลภายนอกมีอยู่เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นเอง และจะต้องเป็นสิทธิเทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิอันเป็นสิทธิประเภทแรกด้วย
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างชำระของจำเลยผู้ร้องไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ และผู้ร้องไม่เคยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 สั่งอายัดหรือยึดเงินค่าจ้างรายพิพาทมาก่อน ดังนั้น ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินค่าจ้างรายพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 โดยอ้างแต่เพียงว่าในฐานะที่ตนเป็นเจ้าพนักงานมีสิทธิที่จะบังคับเหนือเงินรายนี้ได้ตามนัยแห่งมาตรา 12 ประมวลรัษฎากรนั้น เห็นได้ว่าอำนาจของผู้ร้องหากจะมีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องก็ยังหาได้ใช้อำนาจบังคับเอาแก่เงินจำนวนนี้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวไม่ผู้ร้องจึงมีฐานะไม่ต่างกับเจ้าหนี้ธรรมดา จึงไม่อาจถือได้ว่าสิทธิของผู้ร้องเป็น"สิทธิอื่น" ซึ่งเจ้าหนี้ในฐานะบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่งบทบัญญัติมาตรา 287ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างชำระของจำเลยผู้ร้องไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ และผู้ร้องไม่เคยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 สั่งอายัดหรือยึดเงินค่าจ้างรายพิพาทมาก่อน ดังนั้น ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินค่าจ้างรายพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 โดยอ้างแต่เพียงว่าในฐานะที่ตนเป็นเจ้าพนักงานมีสิทธิที่จะบังคับเหนือเงินรายนี้ได้ตามนัยแห่งมาตรา 12 ประมวลรัษฎากรนั้น เห็นได้ว่าอำนาจของผู้ร้องหากจะมีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องก็ยังหาได้ใช้อำนาจบังคับเอาแก่เงินจำนวนนี้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวไม่ผู้ร้องจึงมีฐานะไม่ต่างกับเจ้าหนี้ธรรมดา จึงไม่อาจถือได้ว่าสิทธิของผู้ร้องเป็น"สิทธิอื่น" ซึ่งเจ้าหนี้ในฐานะบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่งบทบัญญัติมาตรา 287ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรในการเฉลี่ยหนี้จากเงินที่ถูกอายัด ต้องมีสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้นโดยตรง ไม่เทียบเคียงบุริมสิทธิ
สิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ตามกฎหมายในมาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น จะต้องเป็นสิทธิที่บุคคลภายนอกมีอยู่เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นเอง และจะต้องเป็นสิทธิเทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิอันเป็นสิทธิประเภทแรกด้วย
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างชำระของจำเลย ผู้ร้องไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ และผู้ร้องไม่เคยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 สั่งอายัดหรือยึดเงินค่าจ้างรายพิพาทมาก่อน ดังนั้น ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินค่าจ้างรายพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา287 โดยอ้างแต่เพียงว่า ในฐานะที่ตนเป็นเจ้าพนักงานมีสิทธิที่จะบังคับเหนือเงินรายนี้ได้ ตามนัยแห่งมาตรา 12 ประมวลรัษฎากรนั้น เห็นได้ว่าอำนาจของผู้ร้องหากจะมีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องก็ยังหาได้ใช้อำนาจบังคับเอาแก่เงินจำนวนนี้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวไม่ ผู้ร้องจึงมีฐานะไม่ต่างกับเจ้าหนี้ธรรมดา จึงไม่อาจถือได้ว่าสิทธิของผู้ร้องเป็น"สิทธิอื่น" ซึ่งเจ้าหนี้ในฐานะบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่งบทบัญญัติมาตรา 287 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างชำระของจำเลย ผู้ร้องไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ และผู้ร้องไม่เคยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 สั่งอายัดหรือยึดเงินค่าจ้างรายพิพาทมาก่อน ดังนั้น ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินค่าจ้างรายพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา287 โดยอ้างแต่เพียงว่า ในฐานะที่ตนเป็นเจ้าพนักงานมีสิทธิที่จะบังคับเหนือเงินรายนี้ได้ ตามนัยแห่งมาตรา 12 ประมวลรัษฎากรนั้น เห็นได้ว่าอำนาจของผู้ร้องหากจะมีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องก็ยังหาได้ใช้อำนาจบังคับเอาแก่เงินจำนวนนี้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวไม่ ผู้ร้องจึงมีฐานะไม่ต่างกับเจ้าหนี้ธรรมดา จึงไม่อาจถือได้ว่าสิทธิของผู้ร้องเป็น"สิทธิอื่น" ซึ่งเจ้าหนี้ในฐานะบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่งบทบัญญัติมาตรา 287 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง