พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมใช้เครื่องหมายการค้าต่างประเทศ ไม่ถือเป็นการประกอบกิจการในไทย ต้องเสียภาษีเงินได้ประเภทค่าสิทธิ
บริษัท บ.ตั้งอยู่ต่างประเทศ มิได้เข้ามาตั้งสถานประกอบกิจการในประเทศไทยและไม่มีลูกจ้าง ผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทย การที่บริษัทดังกล่าวได้ประกอบกิจการทำสัญญายอมให้โจทก์ใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าแอสเบสโตลักซ์ เป็นชื่อผลิตภัณฑ์กระเบื้องกระดาษของโจทก์ โดยมี อ.ผู้จัดการบริษัทเข้ามาเจรจาตกลงในประเทศไทยก่อนทำสัญญา ถือไม่ได้ว่าบริษัท บ.ประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมี อ.เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ดังนั้น เงินค่าตอบแทนที่โจทก์ชำระเป็นค่าธรรมเนียมในการใช้เครื่องหมายการค้าแก่บริษัท บ. จำนวน 248.600 บาท จึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทค่าแห่งสิทธิอย่างอื่นตามาตรา 40 (3) ซึ่งบริษัท บ.มีหน้าที่เสียภาษี โดยโจทก์ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 15 แล้วนำส่งอำเภอท้องที่ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายตามมาตรา 70 (2), 54 กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 76 ทวิ และ 71 (1) อันจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนบริษัทต่างประเทศมีหน้าที่เสียภาษีเมื่อประกอบกิจการในไทยหรือไม่
ลูกจ้าง ผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อ ที่เป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวี นั้น จะต้องเป็นลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการซึ่งเป็นเหตุให้นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนบริษัทต่างประเทศไม่ต้องรับผิดเสียภาษี หากไม่ได้มีส่วนในการประกอบกิจการที่ทำให้เกิดรายได้ในไทย
ลูกจ้างผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อที่เป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ นั้น จะต้องเป็นลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการ ซึ่งเป็นเหตุให้นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2201/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ก่อนคำพิพากษา: ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ถอนยึดทรัพย์ทั้งหมดเมื่อพบว่าจำเลยมีทรัพย์สินพอชำระหนี้และประกอบกิจการตามปกติ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยึดทรัพย์ก่อนคำพิพากษากรณีฉุกเฉินและยกคำร้องที่จำเลยขอให้ถอนการยึด ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ถอนการยึดเฉพาะทรัพย์บางรายการ ดังนี้ จำเลยฎีกาให้ถอนการยึดทั้งหมดได้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างประเทศประกอบกิจการในไทย การจำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศ และอากรแสตมป์
โจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดที่สหรัฐอเมริกาและมีสาขาที่กรุงเทพดังนี้โจทก์และสาขามีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ประมวลรัษฏากรมาตรา 76ทวิ ให้ถือว่าโจทก์ประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อบริษัท ส. ในประเทศไทยกู้เงินจากโจทก์ที่สหรัฐอเมริกาและส่งดอกเบี้ยเงินกู้ไปให้ ดอกเบี้ยที่ส่งออกไปจากประเทศไทยดังกล่าวไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆเมื่อโจทก์ได้รับเงินนั้นแล้วถือว่าโจทก์ได้รับเงินได้ในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทยเสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65ทวิดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5ของสาขากรุงเทพฯแต่ละปี ดังนั้นที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสองทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยใช้วิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทยการส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯจะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตามแต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปีคิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าวจึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฏากรมาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากรตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญเพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับบทกรณีนี้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทยเสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65ทวิดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5ของสาขากรุงเทพฯแต่ละปี ดังนั้นที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสองทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยใช้วิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทยการส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯจะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตามแต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปีคิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าวจึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฏากรมาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากรตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญเพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับบทกรณีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานและประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิด 2 กระทง
จำเลยตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 8 และมาตรา 12 อันเป็นความผิดตามมาตรา 43 และมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512การกระทำผิดของจำเลยแยกได้เป็น 2 กระทง ต่างหากจากกันหาใช่เรื่องจำเลยได้กระทำผิดกระทงแรกแล้ว ไม่อาจกระทำความผิดกระทงหลังได้อีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นคนละกระทง
จำเลยตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 8 และมาตรา 12 อันเป็นความผิดตามมาตรา 43 และมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512การกระทำผิดของจำเลยแยกได้เป็น 2 กระทง ต่างหากจากกันหาใช่เรื่องจำเลยได้กระทำผิดกระทงแรกแล้ว ไม่อาจกระทำความผิดกระทงหลังได้อีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการคล้ายประกันชีวิตโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการค้าขาย
การกระทำตามฟ้องและจำเลยรับเป็นการกระทำอันมีลักษณะคล้ายคลึงกับการประกันชีวิตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861, 889 เพราะจำเลยตกลงจะใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้รับประโยชน์ในเหตุการณ์อันเป็นมรณะของผู้เป็นสมาชิกในอนาคต และจำเลยจะใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้รับประโยชน์หรือไม่ ย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของผู้เป็นสมาชิก ดังนี้ ต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงเศรษฐการ การกระทำที่ไม่ได้รับอนุญาตจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน ฯ และการที่บริษัทจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการดังกล่าวตามวัตถุประสงค์ที่ว่า ดำเนินการอันเป็นกุศลหรือสงเคราะห์ผู้ถือหุ้นและลูกค้านั้นโดยมิได้รับอนุญาต จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำด้วย ต้องมีความผิดด้วย และเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 ในตอนต้นและตอนหลังเป็นกิจการคล้ายคลึงกับการประกันชีวิตอันเดียวกันและยังไม่สิ้นระยะเวลาตามระเบียบข้อตกลงในกิจการที่จำเลยกระทำ จึงไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการคล้ายประกันภัยโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการค้าขาย
การกระทำตามฟ้องและจำเลยรับเป็นการกระทำอันมีลักษณะคล้ายคลึงกับการประกันชีวิตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861,889 เพราะจำเลยตกลงจะใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้รับประโยชน์ในเหตุการณ์อันเป็นมรณะของผู้เป็นสมาชิกในอนาคต และจำเลยจะใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้รับประโยชน์หรือไม่ ย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของผู้เป็นสมาชิกดังนี้ ต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงเศรษฐการ การกระทำที่ไม่ได้รับอนุญาตจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชนฯ และการที่บริษัทจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการดังกล่าวตามวัตถุประสงค์ที่ว่าดำเนินการอันเป็นกุศลหรือสงเคราะห์ผู้ถือหุ้นและลูกค้านั้นโดยมิได้รับอนุญาต จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามกฎหมายดังกล่าวจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำด้วยต้องมีความผิดด้วยและเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 ในตอนต้นและตอนหลังเป็นกิจการคล้ายคลึงกับการประกันชีวิตอันเดียวกันและยังไม่สิ้นระยะเวลาตามระเบียบข้อตกลงในกิจการที่จำเลยกระทำจึงไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการในไทยโดยตัวแทนต่างประเทศ: ภาษีเงินได้และภาษีการค้า
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าบริษัทในต่างประเทศ มีบริษัทโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทยแล้ว กรณีภาษีเงินได้ย่อมต้องปรับบทตามประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ ซึ่งบัญญัติให้ถือว่า บริษัทในต่างประเทศนั้นประกอบกิจการในประเทศไทยและให้ถือว่าบริษัทโจทก์เป็นตัวแทนของบริษัทในต่างประเทศนั้นและบริษัทโจทก์ย่อมมีหน้าที่ และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามความที่บัญญัติไว้นั้น แต่จะนำมาตรา 76 ทวินี้ไปใช้กับกรณีภาษีการค้าหาได้ไม่ เพราะอยู่ต่างส่วนต่างหมวดกัน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าบริษัทโจทก์ เป็นแต่เพียงผู้ติดต่อแทน บริษัทในต่างประเทศเฉพาะในกิจการลงนามในสัญญาการทวงถามให้จ่ายเงินตามสัญญา การจัดให้มีการออกใบรับเงินและการรับส่งวัสดุเครื่องอุปกรณ์ตามสัญญาซึ่ง เป็นการกระทำเป็นผู้ติดต่อในกิจการเฉพาะรายตามสัญญาเท่านั้น จะถือว่าได้มีการประกอบหรือดำเนินการค้าเป็นปกติธุระอันมีบริษัทโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าแทนยังไม่ได้ บริษัทโจทก์จึงไม่ต้องรับผิดในภาษีการค้า