พบผลลัพธ์ทั้งหมด 702 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9750/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสัญญาประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์เสียชีวิตพร้อมกัน สิทธิยังไม่เกิด ไม่เป็นมรดก แต่ตกแก่ทายาท
ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ถึงแก่ความตายพร้อมกัน สิทธิของผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย จึงยังไม่เกิด จึงไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของผู้รับประโยชน์ เงินตามสัญญาประกันชีวิตก็ไม่ใช่ทรัพย์มรดกที่ ผู้เอาประกันภัยมีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย แต่แม้มิใช่มรดกของผู้เอาประกันภัยเพราะได้มาหลังจากผู้เอาประกันถึง แก่ความตายแล้ว จึงต้องอาศัยกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง เงินดังกล่าวจึงตกแก่ทายาท โดยธรรมของผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9747/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: การยกเว้นความรับผิดจากผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต และสิทธิของผู้รับประกันภัยในการเรียกคืนค่าเสียหาย
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีเพียงมาตรา 15 ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยกำหนดเงื่อนไขความรับผิดในส่วนที่เกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าวที่ว่า "กรมธรรม์ประกันภัย? ซึ่งมีข้อความระบุถึงความรับผิดของบริษัทแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ใน บทแห่งพระราชบัญญัตินี้ บริษัทจะยกเป็นข้อต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ประสบภัยในการชดใช้ค่าเสียหาย เบื้องต้นมิได้" เท่านั้น มิได้มีบทบัญญัติอื่นใดห้ามการตกลงกำหนดเงื่อนไขความรับผิดระหว่างผู้รับประกันภัยและ ผู้เอาประกันภัยในกรณีอื่น ๆ ไว้แต่ประการใด และตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 16 ข้อสัญญาพิเศษที่ระบุว่า โจทก์จะไม่ยกเอาข้อยกเว้นความรับผิดตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์เป็นข้อต่อสู้ผู้ประสบภัยเพื่อปฏิเสธความรับผิด ตามกรมธรรม์อันไม่เป็นการแตกต่างขัดกันกับบทบัญญัติมาตรา 15 ดังกล่าว ดังนั้น เงื่อนไขข้อยกเว้นความรับผิด ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 15.10 ที่ว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิ ตามกฎหมายในการขับรถในเวลาเกิดอุบัติเหตุ จึงไม่ขัดต่อเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของ พ.ร.บ.คุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 15.10 โดยยินยอมให้ ส. ซึ่ง ไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์เป็นผู้ขับรถในขณะเกิดเหตุ และโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ บ. ผู้ประสบภัยไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยจึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่โจทก์ตามเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9747/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: การชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นและการบังคับชำระหนี้ตามสัญญาประกันภัย
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535คงมีเพียงมาตรา 15 ห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยกำหนดเงื่อนไขความรับผิดในส่วนที่เกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติอื่นใดห้ามการตกลงกำหนดเงื่อนไขความรับผิดระหว่างโจทก์ผู้รับประกันภัยและจำเลยผู้เอาประกันภัยในกรณีอื่น ๆ ไว้อีก
ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 16 ที่ระบุว่า โจทก์จะไม่ยกเอาข้อยกเว้นความรับผิดตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์เป็นข้อต่อสู้ผู้ประสบภัยเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์นั้น ไม่เป็นการแตกต่างขัดกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 15 จึงไม่ขัดต่อเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 15.10 โดยยินยอมให้ส. ซึ่งไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์เป็นผู้ขับรถในขณะเกิดเหตุ และตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดในฐานผิดสัญญาประกันภัยมิใช่เป็นการใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 31จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามมาตรา 31 อีก โจทก์ซึ่งได้ชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 40,000 บาทให้แก่ บ. ไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่โจทก์ได้ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 16
ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 16 ที่ระบุว่า โจทก์จะไม่ยกเอาข้อยกเว้นความรับผิดตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์เป็นข้อต่อสู้ผู้ประสบภัยเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์นั้น ไม่เป็นการแตกต่างขัดกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 15 จึงไม่ขัดต่อเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 15.10 โดยยินยอมให้ส. ซึ่งไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์เป็นผู้ขับรถในขณะเกิดเหตุ และตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดในฐานผิดสัญญาประกันภัยมิใช่เป็นการใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 31จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามมาตรา 31 อีก โจทก์ซึ่งได้ชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 40,000 บาทให้แก่ บ. ไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่โจทก์ได้ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 16
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัยตามสัญญารักษาความปลอดภัยและการชดใช้ค่าเสียหายจากการโจรกรรม
จำเลยทำสัญญาบริการรักษาความปลอดภัยกับบริษัท อ. โดยยินยอมชำระค่าเสียหายให้แก่บริษัท อ. ในกรณีที่ทรัพย์สินสูญหายเนื่องจากการโจรกรรม ดังนั้น เมื่อทรัพย์สินของบริษัท อ. สูญหายไปเนื่องจากการโจรกรรม จำเลยจึงต้องรับผิดต่อบริษัท อ. ตามสัญญา เมื่อทรัพย์สินที่สูญหายเป็นทรัพย์สินที่บริษัท อ. ได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ และโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท อ. ไปแล้ว จึงเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัท อ. เรียกร้องเอาจากจำเลยตามสัญญาบริการรักษาความปลอดภัยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7584/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัยค้ำจุน แม้ยังมิได้ชำระค่าเสียหายให้บุคคลภายนอก
ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องผู้รับประกันภัยให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก แม้ผู้เอาประกันภัยจะยังมิได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7571/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมและใช้เอกสารปลอมเพื่อขอประกันภัย ศาลแก้ไขจำนวนกระทงความผิดและปรับบทลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องความว่าจำเลยทำขึ้นซึ่งเอกสารปลอม โดยปลอมลายมือชื่อของผู้ขอเอาประกันภัยรวม 6 คน และกรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในแบบพิมพ์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลของโจทก์ร่วมรวม 6 ฉบับเพื่อให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงที่ผู้ขอเอาประกันภัยทั้งหกคนดังกล่าวทำขึ้น เพื่อขอประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลกับโจทก์ร่วมแล้วจำเลยใช้เอกสารปลอมที่ทำขึ้นรวม 6 ฉบับดังกล่าวยื่นต่อโจทก์ร่วมเพื่อขอเอาประกันภัย เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อ จึงได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้มีรายชื่อขอเอาประกันภัยทั้งหกคนนั้น เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารทั้งหกฉบับและใช้เอกสารปลอมทั้งหกฉบับซึ่งแต่ละฉบับมีชื่อผู้ขอเอาประกันภัยแต่ละคนอ้างต่อโจทก์ร่วมเอง แม้ปรากฏว่ามีอยู่ครั้งหนึ่งที่จำเลยใช้เอกสารปลอมดังกล่าวจำนวน 2 ฉบับ ในวันเดียวกันก็ตาม ต้องถือว่าจำเลยใช้เอกสารปลอมรวม 6 กระทง ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยฐานใช้เอกสารปลอมมาเพียง 5 กระทงจึงเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยไม่แก้โทษที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7251/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการปล่อยปละละเลยจนเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น และการใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย
แม้ ช. ผู้จัดการของโจทก์อำเภอลาดหลุมแก้ว ได้รับมอบอำนาจจากสำนักงานเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนก็ตาม แต่เป็นการแจ้งความตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่ามีผู้ใดเกี่ยวข้องในเหตุนั้นบ้างเพื่อหาผู้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วรายงานตามลำดับชั้นบังคับบัญชาให้ผู้แทนของโจทก์คือ ผู้ว่าการสั่งการ ทั้งในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีก็ไม่ปรากฏข้อความว่าจำเลยที่ 1 เข้าเกี่ยวข้องรับผิดด้วยแต่อย่างใดจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์รู้ถึงการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 และรู้ว่าจำเลยที่ 1ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ ช. ไปแจ้งความ
สายโทรศัพท์ของจำเลยที่ 1 ที่พาดผ่านถนนบริเวณที่เกิดเหตุสูงกว่าพื้นถนนเพียงไม่เกิน 5.18 เมตร อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่จำเลยที่ 1ทำไว้กับโจทก์ว่าสายโทรศัพท์จะต้องอยู่สูงจากระดับผิวการจราจรช่วงที่มีรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่แล่นผ่านได้ไม่น้อยกว่า 5.50 เมตร ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องคอยดูแลเพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงดังกล่าวการที่จำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลยไม่ดูแลสายโทรศัพท์บริเวณที่เกิดเหตุจนทำให้สายโทรศัพท์อยู่สูงจากระดับผิวจราจรเพียงไม่เกิน 5.18 เมตรเป็นเหตุให้รถพ่วงบรรทุกถังเกี่ยวสายโทรศัพท์ที่พาดผ่านดังกล่าวดึงเสาไฟฟ้าของโจทก์หัก 8 ต้น และอุปกรณ์เสียหาย จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 และที่ 4 นำสืบว่า จำเลยที่ 4 ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่จำเลยที่ 1 ไปเป็นเงิน 70,000 บาท และใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ให้แก่ผู้เสียหายอีกรายหนึ่งไปเป็นเงิน 6,925 บาท แต่จำเลยที่ 4 ให้การเพียงว่าความรับผิดของจำเลยที่ 4 มีจำนวนจำกัดในวงเงินไม่เกิน 250,000 บาท เท่านั้น มิได้ให้การถึงการใช้ค่าสินไหมทดแทนอื่นแต่อย่างใด ทั้งที่จำเลยที่ 4 อ้างว่าได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วก่อนยื่นคำให้การ ดังนั้น ที่จำเลยที่ 4 นำสืบถึงการใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวล้วนแต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 4 มิได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นเรื่องนอกประเด็น ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว โดยชอบในศาลล่างต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
สายโทรศัพท์ของจำเลยที่ 1 ที่พาดผ่านถนนบริเวณที่เกิดเหตุสูงกว่าพื้นถนนเพียงไม่เกิน 5.18 เมตร อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่จำเลยที่ 1ทำไว้กับโจทก์ว่าสายโทรศัพท์จะต้องอยู่สูงจากระดับผิวการจราจรช่วงที่มีรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่แล่นผ่านได้ไม่น้อยกว่า 5.50 เมตร ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องคอยดูแลเพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงดังกล่าวการที่จำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลยไม่ดูแลสายโทรศัพท์บริเวณที่เกิดเหตุจนทำให้สายโทรศัพท์อยู่สูงจากระดับผิวจราจรเพียงไม่เกิน 5.18 เมตรเป็นเหตุให้รถพ่วงบรรทุกถังเกี่ยวสายโทรศัพท์ที่พาดผ่านดังกล่าวดึงเสาไฟฟ้าของโจทก์หัก 8 ต้น และอุปกรณ์เสียหาย จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 และที่ 4 นำสืบว่า จำเลยที่ 4 ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่จำเลยที่ 1 ไปเป็นเงิน 70,000 บาท และใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ให้แก่ผู้เสียหายอีกรายหนึ่งไปเป็นเงิน 6,925 บาท แต่จำเลยที่ 4 ให้การเพียงว่าความรับผิดของจำเลยที่ 4 มีจำนวนจำกัดในวงเงินไม่เกิน 250,000 บาท เท่านั้น มิได้ให้การถึงการใช้ค่าสินไหมทดแทนอื่นแต่อย่างใด ทั้งที่จำเลยที่ 4 อ้างว่าได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วก่อนยื่นคำให้การ ดังนั้น ที่จำเลยที่ 4 นำสืบถึงการใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวล้วนแต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 4 มิได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นเรื่องนอกประเด็น ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว โดยชอบในศาลล่างต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญาประกันภัย: ภาระการพิสูจน์อยู่ที่จำเลยหากอ้างว่าไม่ใช่ลายมือชื่อผู้เอาประกัน
จำเลยรับว่าได้รับประกันชีวิตให้แก่ผู้ขอเอาประกันภัยในนาม "ส."แล้วแต่กล่าวอ้างว่าผู้ขอเอาประกันภัยตามคำขอเอกสารหมาย จ.15 และจ.16 ไม่ใช่ ส. ลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวมิใช่ลายมือชื่อของ ส.ภาระการพิสูจน์ประเด็นนี้จึงตกแก่จำเลย เมื่อปรากฏว่าพยานจำเลยมีเพียงพนักงานของจำเลยเบิกความว่าจำเลยปฏิเสธคำขอเอาประกันภัยของ ส. ไปแล้ว ลายมือชื่อในคำขอเอาประกันภัยมิใช่ลายมือชื่อของ ส.โดยได้ให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจสอบแล้ว แต่จำเลยมิได้นำผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความยืนยันความเห็นดังกล่าวต่อศาล ความเห็นเกี่ยวกับลายมือชื่อจึงมีเพียงคำเบิกความลอย ๆ ศาลฎีกาตรวจพิเคราะห์ลายมือชื่อในคำขอเอาประกันภัยเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของ ส. ในเอกสารอื่นหลายฉบับแล้ว ปรากฏว่าแม้แต่ลายมือชื่อที่แท้จริงของ ส. ในเอกสารแต่ละฉบับดังกล่าวยังไม่เหมือนกันเสียทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงยากที่จะชี้ชัดลงไปได้ว่ามิใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ เพราะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เฉพาะด้านทำการตรวจพิสูจน์ แต่จำเลยก็หาได้นำผู้เชี่ยวชาญที่อ้างมานำสืบต่อศาลไม่ ส่วนข้อเท็จจริงอื่นที่อ้างว่าเป็นพิรุธ เช่น โจทก์จดทะเบียนสมรสกับ ส. ได้เพียงสองวันก่อนการขอเอาประกันชีวิตหรือฐานะของโจทก์และ ส. เป็นต้น ก็ยังไม่มีเหตุผลเพียงพอให้รับฟังว่าส. มิได้เป็นผู้เอาประกันชีวิตต่อจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2965/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน: ภาษีรถ, ขับรถไม่ใบอนุญาต, และขาดประกันภัย
ความผิดฐานใช้รถที่มิได้เสียภาษีประจำปีก็ดี ฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถก็ดี ฐานใช้รถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยก็ดี ล้วนแต่เป็นการกระทำความผิดที่แยกต่างหากจากกันและเป็นความผิดสำเร็จได้ในแต่ละฐานโดยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย: การคุ้มครองบุคคลภายนอกและข้อยกเว้นความรับผิดกรณีอู่
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 มอบหมายให้ ช.ขับรถยนต์กระบะของโจทก์ที่ 1 ที่เอาประกันภัยไว้ต่อจำเลย ช. ขับไปชนรถยนต์กระบะของโจทก์ที่ 2 จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์ที่ 1 ผู้เอาประกันภัยและโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โดยโจทก์ทั้งสองได้ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยมาท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำฟ้อง ซึ่งระบุว่าจำเลยจะใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ที่ 1 ต้องรับผิดตามกฎหมายเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกในนามของโจทก์ที่ 1 สภาพแห่งข้อหาในกรณีของโจทก์ที่ 2 คือ จำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกรมธรรม์ประกันภัยที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในนามของโจทก์ที่ 1 โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ช. ขับรถยนต์กระบะที่โจทก์ที่ 1 ประกันภัยไว้ต่อจำเลยชนรถยนต์กระบะของโจทก์ที่ 2 เสียหายและมีคำขอบังคับให้จำเลยชำระค่าซ่อมแซมแก่โจทก์ที่ 2 คำฟ้องของโจทก์ที่ 2 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ร่วมกันฟ้องจำเลยให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองตามกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ที่ 1 ทำไว้ต่อจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี กระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยโจทก์ที่ 1 ถือว่าได้ทำโดยโจทก์ที่ 2 ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1)
คำว่า "อู่" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า "ที่ที่ต่อหรือซ่อมรถหรือเรือ" การที่โจทก์ที่ 1 นำรถยนต์กระบะของตนไปทำการเคลือบสีและพ่นกันสนิมจึงหาเป็นการนำไปให้ซ่อมไม่
โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ร่วมกันฟ้องจำเลยให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองตามกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ที่ 1 ทำไว้ต่อจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี กระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยโจทก์ที่ 1 ถือว่าได้ทำโดยโจทก์ที่ 2 ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1)
คำว่า "อู่" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า "ที่ที่ต่อหรือซ่อมรถหรือเรือ" การที่โจทก์ที่ 1 นำรถยนต์กระบะของตนไปทำการเคลือบสีและพ่นกันสนิมจึงหาเป็นการนำไปให้ซ่อมไม่