พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเลิกจ้าง: การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาและลักษณะงานชั่วคราวตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) ข้อ 7 กรณีสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนนั้น นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างต่อเมื่อได้ความด้วยว่าเป็นการจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงลักษณะงานดังกล่าวไว้ ปัญหาว่าการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เกษียณอายุและการเลิกจ้าง: การจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯมาตรา 911 ที่บัญญัติว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ถือว่าขาดคุณสมบัติและเป็นอันพ้นจากตำแหน่งนั้น เป็นการกำหนดคุณสมบัติโดยทั่ว ๆ ไปของพนักงานและเป็นบทบัญญัติให้รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างถือเป็นแนวเดียวกัน ส่วนจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่ต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ 46 วรรคสอง ดังนั้นการที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะอายุ 60 ปี จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ดังกล่าว จำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากหย่อนสมรรถภาพและลาป่วย ถือเป็นการเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46ที่แก้ไขใหม่ระบุว่า การเลิกจ้างที่ นายจ้าง จะต้อง จ่ายค่าชดเชยให้แก่ ลูกจ้างซึ่ง เลิกจ้าง หมายถึง การที่ นายจ้าง ให้ลูกจ้างออกจากงานปลดออก หรือไล่ออกจากงาน โดย ที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 แห่งประกาศดังกล่าว โดย มิได้มีข้อยกเว้นว่าการให้ออกจากงานเนื่องจากหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน มีผลงานต่ำ กว่ามาตรฐาน มีวันลามาก ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้าง ดังนั้น การที่จำเลยซึ่ง เป็นนายจ้างเลิกจ้างสามีโจทก์เพราะเหตุหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน มีผลงานต่ำ กว่ามาตรฐาน และลาหยุดงานมากนั้น จึงเป็นการเลิกจ้างตาม ประกาศข้างต้นแล้ว จำเลยต้อง จ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับบริษัทที่ให้ความคุ้มครองลูกจ้างมากกว่ากฎหมายแรงงาน ไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 มีเจตนารมณ์เพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้าง โดยบัญญัติไว้ในข้อ 47 ว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ (3) ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว การที่จำเลยออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า ลูกจ้างผู้ใดถูกใบเตือนของจำเลย3 ครั้ง จึงจะถูกให้ออกจากงานโดยไม่ได้รับเงินชดเชยใด ๆ นั้นกลับเป็นคุณแก่ลูกจ้าง โดยให้ความคุ้มครองลูกจ้างยิ่งขึ้นกว่าที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวได้ให้ความคุ้มครองไว้ ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงหาขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และจ่ายเป็นรายเดือนตามที่ศาลแรงงานพิพากษา
การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ ข้อ 22 ซึ่งกำหนดว่า "การจ่ายค่าทดแทนให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน แต่การจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนจะทำได้ก็แต่โดยอนุมัติของอธิบดี กรมแรงงาน หรือผู้ซึ่งอธิบดี กรมแรงงาน มอบหมายเท่านั้น" เมื่อคดีของโจทก์ไม่ปรากฏว่าอธิบดี กรมแรงงาน หรือผู้ซึ่งอธิบดี กรมแรงงาน มอบหมายได้พิจารณาอนุมัติให้จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ในคราวเดียวเต็มจำนวนแล้ว ยังปรากฏจากคำขอบังคับแห่งคำฟ้องของโจทก์ว่า ให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนรายเดือนให้แก่โจทก์เป็นเวลา 2 ปี 9 เดือน แสดงว่า โจทก์ต้องการให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนให้จำเลยเป็นรายเดือนที่ศาล แรงงานกลาง พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนคราวเดียวเต็มจำนวน จึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว และฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายจากงาน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและศาลต้องพิพากษาตามรูปแบบที่โจทก์ขอ
การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ข้อ 22 ซึ่งกำหนดว่า "การจ่ายค่าทดแทนให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน แต่การจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนจะทำได้ก็แต่โดยอนุมัติของอธิบดีกรมแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมแรงงานมอบหมายเท่านั้น" เมื่อคดีของโจทก์ไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมแรงงานมอบหมายได้พิจารณาอนุมัติให้จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ในคราวเดียวเต็มจำนวนแล้วยังปรากฏจากคำขอบังคับแห่งคำฟ้องของโจทก์ว่า ให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนรายเดือนให้แก่โจทก์เป็นเวลา 2 ปี 9 เดือน แสดงว่า โจทก์ต้องการให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนให้จำเลยเป็นรายเดือนที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนคราวเดียวเต็มจำนวนจึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว และฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และต้องได้รับการอนุมัติจากอธิบดีกรมแรงงาน
การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ข้อ 22 ซึ่งกำหนดว่า "การจ่ายค่าทดแทนให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน แต่การจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนจะทำได้ก็แต่โดยอนุมัติของอธิบดี กรมแรงงาน หรือผู้ซึ่งอธิบดี กรมแรงงาน มอบหมายเท่านั้น"เมื่อคดีของโจทก์ไม่ปรากฏว่าอธิบดี กรมแรงงาน หรือผู้ซึ่งอธิบดี กรมแรงงาน มอบหมายได้พิจารณาอนุมัติให้จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ในคราวเดียวเต็มจำนวนแล้ว ยังปรากฏจากคำขอบังคับแห่งคำฟ้องของโจทก์ว่า ให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนรายเดือนให้แก่โจทก์เป็นเวลา2 ปี 9 เดือน แสดงว่า โจทก์ต้องการให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนให้จำเลยเป็นรายเดือนที่ศาล แรงงานกลาง พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนคราวเดียวเต็มจำนวน จึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว และฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3525/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่ารถบริการรับส่งของลูกจ้างถือเป็นหนี้อันเกิดจากการทำงาน ไม่เป็นหนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ค่ารถบริการรับส่งที่นายจ้างทดรองจ่ายไปก่อนแทนลูกจ้างแล้วนำมาหักกับค่าจ้างของลูกจ้างตามที่ตกลงกัน เงินที่หักก้เป็นจำนวนอันสมควรที่นายจ้างได้จ่ายไปตามความเป็นจริง ถือได้ว่าเงินที่หักนั้นเป็นหนี้อันเกิดแต่การทำงาน มิใช่หนี้อื่นตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3525/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายค่ารถบริการรับส่งจากค่าจ้าง: ไม่ถือเป็นหนี้อื่นที่ไม่ชอบตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ค่ารถบริการรับส่งที่นายจ้างทดรองจ่ายไปก่อนแทนลูกจ้างแล้วนำมาหักกับค่าจ้างของลูกจ้างตามที่ตกลงกัน เงินที่หักก็เป็นจำนวนอันสมควรที่นายจ้างได้จ่ายไปตามความเป็นจริง ถือได้ว่าเงินที่หักนั้นเป็นหนี้อันเกิดแต่การทำงาน มิใช่หนี้อื่นตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากค่าจ้างลูกจ้าง: ไม่ถือเป็นหนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 30ห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นมาหักจากค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างคำว่า "หนี้อื่น" นี้หมายถึงหนี้อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฎิบัติงานตามสัญญาจ้าง การที่โจทก์มีสิทธิเข้าพักอาศัยอยู่ในบ้านของบริษัทจำเลยนั้น ก็เพราะโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยแม้โจทก์จะเสียค่าเช่าเดือนละ 300 บาท และค่าไฟฟ้าก็เป็นจำนวนน้อยมาก สิทธิของโจทก์ดังกล่าวเป็นผลโดยตรงจากความผูกพันในฐานะลูกจ้างและนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลย หนี้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นหนี้อันเกี่ยวกับการปฎิบัติงานตามสัญญาจ้าง หาใช่ หนี้อื่นตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30 ไม่ จำเลยมีสิทธิหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากเงินเดือนของโจทก์ได้