พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการประทับฟ้องและการลงโทษตามบทแจ้งความเท็จ: มาตรา 118 และ 158
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานแจ้งความเท็จและทำให้เสื่อมเสียอิสสระภาพขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 118,158,268,270 ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งให้รับฟ้องเฉพาะข้อหาฐานแจ้งความเท็จ ส่วนข้อหาฐานทำให้เสื่อมเสียอิสสระภาพให้ยกเสีย ดังนี้ย่อมรวมถึงให้รับฟ้องตามมาตรา 158 ที่โจทก์ขอมาในฟ้องด้วย เพราะมาตรา 158 ก็เป็นบทเรื่องแจ้งความเท็จหากพิเศษกว่ามาตรา 118 ขึ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย – การยกฟ้องเมื่อศาลประทับฟ้องและดำเนินกระบวนการไปแล้ว
ฟ้องที่มิได้ลงชื่อโจทก์นั้นเป็นฟ้องไม่ถูกต้องตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 158 (7)
ศาลชั้นต้นได้สั่งประทับฟ้องที่ไม่ถูกต้องไว้ และดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพะยานโจทก์ไปแล้ว คงเหลือแต่พนักงานสอบสวนอีกปากเดียว ความจึงปรากฎจากคำร้องของจำเลยว่าโจทก์ไม่ได้ลงชื่อในฟ้อง ดังนี้จึงมีวิธีที่ศาลจะปฏิบัติตามมาตรา 161 ได้อีกทางเดียวคือให้ยกฟ้องเสีย.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2492)
ศาลชั้นต้นได้สั่งประทับฟ้องที่ไม่ถูกต้องไว้ และดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพะยานโจทก์ไปแล้ว คงเหลือแต่พนักงานสอบสวนอีกปากเดียว ความจึงปรากฎจากคำร้องของจำเลยว่าโจทก์ไม่ได้ลงชื่อในฟ้อง ดังนี้จึงมีวิธีที่ศาลจะปฏิบัติตามมาตรา 161 ได้อีกทางเดียวคือให้ยกฟ้องเสีย.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาหลังประทับฟ้อง: จำเลยมีสิทธิได้รับการถามคำให้การและทนายก่อนศาลวินิจฉัย
คดีอาญา ศาลประทับฟ้องแล้ว เมื่อโจทก์จำเลยมาต่อหน้าศาล ๆ จะสั่งงดการพิจารณา แล้ววินิจฉัยชี้ขาดคดีเสียทีเดียว โดยมิได้ถามคำให้การจำเลย หรือหาทนายให้จำเลยเสียก่อนนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาหลังประทับฟ้อง: ศาลต้องถามคำให้การจำเลยก่อนพิพากษา
คดีอาญาศาลประทับฟ้องแล้ว เมื่อโจทก์จำเลยมาต่อหน้าศาล ศาลจะสั่งงดการพิจารณา แล้ววินิจฉัยชี้ขาดคดีเสียทีเดียว โดยมิได้ถามคำให้การจำเลย หรือหาทนายให้จำเลยเสียก่อนนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะจำเลยกับการอุทธรณ์ฎีกา: จำเลยยังไม่มีฐานะจำเลยก่อนศาลประทับฟ้อง จึงไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาได้
ศาลชั้นต้น ตรวจฟ้องเห็นว่าฟ้องไม่เป็นความผิดทางอาญา จึงไม่รับฟ้อง ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับว่าฟ้องของโจทก์เป็นความผิดอาญานั้น จำเลยจะฎีกาไม่ได้เพราะกฎหมายถือว่ายังไม่มีฐานะเป็นจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5902/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลชั้นต้นประทับฟ้องมีผลเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์ไม่อาจทบทวนข้อหาเดิมได้
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าคดีโจทก์มีมูลเฉพาะจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกง คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ไม่อาจหยิบยกข้อเท็จจริงในข้อหาความผิดที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งมีมูลแล้วขึ้นมาทบทวนได้อีก ฉะนั้นการที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วกลับพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วยจึงมิชอบตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4195/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งประทับฟ้องเด็ดขาด, การยกฟ้องโดยศาลอุทธรณ์, และการบรรยายฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิด
เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 มีมูล ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 ศาลอุทธรณ์ไม่อาจยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นทบทวนโดยวินิจฉัยพยานหลักฐานในคดีเสียใหม่ แล้วพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ แม้โจทก์ทั้งหกจะมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 184 โจทก์ทั้งหกบรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรื้อถอนบ้านและมิเตอร์ไฟฟ้าออกไป อันเป็นการร่วมกันทำลายวัตถุพยานหลักฐานในการตรวจพิสูจน์ จนทำให้การพิสูจน์หลักฐานไม่สามารถระบุถึงสาเหตุเพลิงไหม้ที่แน่ชัด โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันกระทำการดังกล่าวเพื่อจะช่วยเหลือผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษหรือให้รับโทษน้อยลง จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบของความผิด คำฟ้องโจทก์ในข้อหานี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 184 โจทก์ทั้งหกบรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรื้อถอนบ้านและมิเตอร์ไฟฟ้าออกไป อันเป็นการร่วมกันทำลายวัตถุพยานหลักฐานในการตรวจพิสูจน์ จนทำให้การพิสูจน์หลักฐานไม่สามารถระบุถึงสาเหตุเพลิงไหม้ที่แน่ชัด โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันกระทำการดังกล่าวเพื่อจะช่วยเหลือผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษหรือให้รับโทษน้อยลง จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบของความผิด คำฟ้องโจทก์ในข้อหานี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1268/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง: คำสั่งประทับฟ้องมีผลเด็ดขาดห้ามทบทวน
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องนั้น ป.วิ.อ. มาตรา 167 บัญญัติว่า "ถ้าปรากฏว่าคดีมีมูล ให้ศาลประทับฟ้องไว้พิจารณาต่อไปเฉพาะกระทงที่มีมูล ถ้าคดีไม่มีมูล ให้พิพากษายกฟ้อง" และมาตรา 170 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด แต่คำสั่งที่ว่าคดีไม่มีมูลนั้น โจทก์มีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาได้ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะอุทธรณ์ฎีกา" ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีโจทก์มีมูลและให้ประทับฟ้องสำหรับข้อหาดังกล่าวแล้ว ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามขั้นตอนในชั้นพิจารณา ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงไม่มีอำนาจหยิบยกข้อเท็จจริงในข้อหาที่ศาลชั้นต้นสั่งว่ามีมูลแล้วขึ้นมาทบทวนและวินิจฉัยยกฟ้องข้อหาดังกล่าวในชั้นไต่สวนมูลฟ้องได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11985/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลและการแจ้งความเท็จ: ศาลชั้นต้นประทับฟ้องคดีที่เกินอำนาจ ศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษาและคืนฟ้อง
คดีนี้ศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยแจ้งความร้องทุกข์และให้การต่อพนักงานสอบสวนตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามความเข้าใจของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นชอบที่จะไม่ประทับฟ้องและโอนคดีไปให้ศาลที่มีอำนาจพิพากษาคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับรับฟ้องและพิจารณาพิพากษาคดีไปนั้นเป็นการไม่ชอบ จำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความ และพิพากษายกคำพิพากษาและคำสั่งศาลชั้นต้นที่ประทับรับฟ้อง ให้คืนฟ้องโจทก์เพื่อให้นำไปดำเนินคดีในศาลที่มีอำนาจ มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง จำเลยฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรง คดีไม่มีมูลแม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้อง
การที่จำเลยอ้างสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยเป็นพยานหลักฐานประกอบคำเบิกความของจำเลยในคดีแพ่ง ผู้เสียหายที่แท้จริงในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมคือมารดาโจทก์เพราะการอ้างเอกสารดังกล่าวอาจมีผลให้มารดาโจทก์แพ้คดี โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่มารดาโจทก์ในคดีแพ่ง มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเพื่อให้คดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลเสร็จไปแทนผู้ตายเท่านั้น โจทก์มิใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดของจำเลย ทั้งมิใช่บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5, 6
แม้ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้องแล้ว และป.วิ.อ. มาตรา 170 บัญญัติว่า คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด กรณีดังกล่าวเพียงแต่หมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้คดีมีมูลได้ แต่หากคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์และเห็นว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหาย คดีไม่มีมูลความผิด ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานดังกล่าวได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
แม้ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้องแล้ว และป.วิ.อ. มาตรา 170 บัญญัติว่า คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด กรณีดังกล่าวเพียงแต่หมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้คดีมีมูลได้ แต่หากคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์และเห็นว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหาย คดีไม่มีมูลความผิด ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานดังกล่าวได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง