พบผลลัพธ์ทั้งหมด 599 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความขอบเขตเกินคดีแรงงาน และการไกล่เกลี่ยคดีแรงงาน
ใบแต่งทนายความของโจทก์ ในคดีแรงงานระบุไว้ชัดว่าให้ทนายโจทก์มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปในทางจำหน่ายสิทธิของโจทก์ด้วย เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ ทนายความโจทก์จึงมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ได้ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแรงงานจะมีข้อตกลงด้วยว่า โจทก์จะถอนฟ้องคดีอาญาของศาลจังหวัดเชียงราย และถอนฟ้อง ถอนคำร้องทุกข์ในคดีอื่น ๆ และสัญญาว่าโจทก์จำเลยต่างจะไม่ดำเนินคดีใด ๆ ต่อกันอีก ไม่ว่าทางแพ่งหรืออาญาก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวทำนอกเหนือขอบอำนาจที่โจทก์มอบหมาย เพราะตามใบแต่งทนายความมิได้จำกัดไว้แต่เฉพาะคดีแรงงานเท่านั้น ทั้งข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวเนื่องกับข้อตกลงซึ่งเป็นประเด็นที่พิพาทกันในคดีแรงงาน
โจทก์ในคดีอาญามีอำนาจถอนฟ้องได้ก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือก่อนคดีถึงที่สุดแล้วแต่กรณี ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 35 ข้อตกลงว่าโจทก์จะถอนฟ้องและถอนคำร้องทุกข์จึงไม่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ในการพิจารณาคดีแรงงานศาลจะต้องดำเนินการไกล่เกลี่ยตั้งแต่แรกที่คู่ความมาพร้อมกันแล้วและไกล่เกลี่ยตลอดไปจนเสร็จการพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 38 และมาตรา 43 บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลแรงงานไกล่เกลี่ยให้คู่ความตกลงกันได้โดยมิได้จำกัดให้ศาลแรงงานต้องไกล่เกลี่ยได้แต่เฉพาะคดีแรงงาน
โจทก์ในคดีอาญามีอำนาจถอนฟ้องได้ก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือก่อนคดีถึงที่สุดแล้วแต่กรณี ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 35 ข้อตกลงว่าโจทก์จะถอนฟ้องและถอนคำร้องทุกข์จึงไม่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ในการพิจารณาคดีแรงงานศาลจะต้องดำเนินการไกล่เกลี่ยตั้งแต่แรกที่คู่ความมาพร้อมกันแล้วและไกล่เกลี่ยตลอดไปจนเสร็จการพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 38 และมาตรา 43 บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลแรงงานไกล่เกลี่ยให้คู่ความตกลงกันได้โดยมิได้จำกัดให้ศาลแรงงานต้องไกล่เกลี่ยได้แต่เฉพาะคดีแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายในการประนีประนอมยอมความข้ามประเภทคดี และการไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ใบแต่งทนายความของโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแรงงานระบุว่าให้ทนายโจทก์มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปในทางจำหน่ายสิทธิของโจทก์ด้วย เช่น การประนีประนอมยอมความทนายโจทก์จึงมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนโจทก์แม้สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงว่า โจทก์จะถอนฟ้องคดีอาญา และถอนฟ้อง ถอนคำร้องทุกข์ในคดีอื่น ๆ และโจทก์จำเลยต่างจะไม่ดำเนินคดีใด ๆ ต่อกันอีกไม่ว่าทางแพ่งหรืออาญา และคดีอาญาดังกล่าวมิใช่คดีแรงงาน แต่ในใบแต่งทนายดังกล่าวมอบหมายให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้โดยมิได้จำกัดไว้แต่เฉพาะคดีแรงงานเท่านั้น และข้อตกลงดังกล่าวก็เกี่ยวเนื่องกับประเด็นที่พิพาทกันในคดีแรงงาน ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 38 มิได้จำกัดให้ศาลแรงงานต้องไกล่เกลี่ยได้แต่เฉพาะคดีแรงงาน ศาลแรงงานจึงพิพากษาตามยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2323/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือจากการประนีประนอมยอมความไม่ใช่ค่าชดเชย จึงต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย
ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ข้อ 2 (51)
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอม ปรากฏว่าเงินจำนวน ที่จำเลยยอมจ่ายให้โจทก์ระบุว่าเป็นเงินช่วยเหลือ มิได้ระบุว่าเป็นเงินชดเชย และตามคำฟ้องนอกจากโจทก์ฟ้องเรียก ค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม แล้วยังฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายอีกด้วย ดังนั้น เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่ค่าชดเชยหรือพอจะแปลได้ว่าเป็นค่าชดเชย เพราะไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดอันจะมีผลให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชย เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ได้รับยกเว้นรัษฎากร ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 217 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฏากร ข้อ 2 (51)
การที่จำเลยยอมจ่ายเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพราะถูกโจทก์ฟ้องเรียกร้องเงินอันเนื่องมาจากการที่จำเลยกับโจทก์มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง ถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฏากร มาตรา 40 (1) ซึ่งกำหนดให้เป็นเงินได้พึงประเมิน เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 จำเลยผู้จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 3 จตุทศ
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอม ปรากฏว่าเงินจำนวน ที่จำเลยยอมจ่ายให้โจทก์ระบุว่าเป็นเงินช่วยเหลือ มิได้ระบุว่าเป็นเงินชดเชย และตามคำฟ้องนอกจากโจทก์ฟ้องเรียก ค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม แล้วยังฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายอีกด้วย ดังนั้น เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่ค่าชดเชยหรือพอจะแปลได้ว่าเป็นค่าชดเชย เพราะไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดอันจะมีผลให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชย เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ได้รับยกเว้นรัษฎากร ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 217 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฏากร ข้อ 2 (51)
การที่จำเลยยอมจ่ายเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพราะถูกโจทก์ฟ้องเรียกร้องเงินอันเนื่องมาจากการที่จำเลยกับโจทก์มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง ถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฏากร มาตรา 40 (1) ซึ่งกำหนดให้เป็นเงินได้พึงประเมิน เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 จำเลยผู้จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 3 จตุทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2323/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือจากการประนีประนอมยอมความทางแรงงาน ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง แต่เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เพื่อให้คดีดังกล่าวเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมโดยระบุว่าเป็นเงินช่วยเหลือซึ่งไม่แน่ชัดว่าเป็นเงินตามฟ้องประเภทใด จึงมิใช่ค่าชดเชยเพราะนอกจากจะไม่ได้ระบุแล้วยังไม่ปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดอันจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชย จึงไม่ได้รับยกเว้นรัษฎากรตามกฎกระทรวงฉบับที่ 126(พ.ศ. 2509) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 217(พ.ศ. 2542) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ข้อ 2(51)
การที่จำเลยจ่ายเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมก็เพราะถูกโจทก์ฟ้องเรียกร้องเงินอันเนื่องมาจากการที่จำเลยกับโจทก์มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้มาเนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) จึงเป็นเงินได้พึงประเมินเมื่อไม่เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 42 จำเลยผู้จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 3 จตุทศ
การที่จำเลยจ่ายเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมก็เพราะถูกโจทก์ฟ้องเรียกร้องเงินอันเนื่องมาจากการที่จำเลยกับโจทก์มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้มาเนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) จึงเป็นเงินได้พึงประเมินเมื่อไม่เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 42 จำเลยผู้จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 3 จตุทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการขับรถประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และการไม่ระงับคดีอาญาด้วยการประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กาย และรถทั้งสองคันเสียหาย จำเลยที่ 2 ศีรษะแตกยาว 3 เซนติเมตร รวม 4 แผล กับกระดูกเข่าซ้ายแตกใช้เวลารักษาหายภายใน 1 เดือนเป็นอย่างน้อย จำเลยที่ 2 มีโอกาสหายเป็นปกติได้แต่ใช้เวลาหลายปี จำเลยที่ 2 มาเบิกความ จำเลยที่ 2 ยังไม่หายดี เดินกระเผลก แสดงว่าจำเลยที่ 2 ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาและจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน กับส่วนการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ระบุว่ารักษาประมาณ 1 เดือนหาย เป็นเพียงความเห็นเบื้องต้นของแพทย์ผู้ตรวจรักษาจำเลยที่ 2 เท่านั้น จะฟังเป็นยุติหาได้ไม่ ต้องฟังพยานหลักฐานอื่นในสำนวนด้วย
แม้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับจำเลยที่ 2 ข้อหาขับรถประมาทไปแล้ว ก็เป็นเหตุส่วนตัวของจำเลยที่ 2 หาได้ทำให้คดีของจำเลยที่ 1 เลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 ไม่ และการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 2 ยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ก็มิได้ทำให้สิทธินำคดีนี้ซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัวมาฟ้องระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
แม้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับจำเลยที่ 2 ข้อหาขับรถประมาทไปแล้ว ก็เป็นเหตุส่วนตัวของจำเลยที่ 2 หาได้ทำให้คดีของจำเลยที่ 1 เลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 ไม่ และการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 2 ยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ก็มิได้ทำให้สิทธินำคดีนี้ซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัวมาฟ้องระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ หากไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับหนี้เดิมที่เกิดขึ้นก่อนทำสัญญา
++ เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ ++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ - ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งงดสืบพยานและวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ ทป.18/2541 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ทำให้หนี้ตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงระงับ พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
++
++ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว
++ ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่าเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายประเทือง เทียนสุวรรณ ได้ทำสัญญาขายลิขสิทธิ์เพลงในกองมรดกของนายประเทือง จำนวน 484 เพลง ให้แก่โจทก์ โดยมีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงว่า หากโจทก์ได้ขายหรือให้เช่าลิขสิทธิ์เพลงของนายประเทือง โจทก์จะแบ่งผลประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่ได้จากการขายหรือให้เช่า ต่อมาวันที่ 27 มีนาคม 2540 จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยกล่าวหาว่าปฏิบัติผิดข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์ลิขสิทธิ์ดังกล่าว ครั้นวันที่ 24 สิงหาคม2541 โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมตามคดีหมายเลขแดงที่ ทป.18/2541 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2542 โดยกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์และปฏิบัติผิดสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงดังกล่าวข้างต้น โดยเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2539 จำเลยที่ 1มอบให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาอนุญาตให้บริษัทเวิลด์ มิวสิก เรคคอร์ดจำกัด ใช้ลิขสิทธิ์เพลงที่เคยขายให้โจทก์แล้วจำนวน 120 เพลง โดยให้มีสิทธินำทำนองเพลงไปดัดแปลงได้ไม่เกิน 4 ต้นแบบ รวมทั้งเปลี่ยนตัวนักร้อง นักดนตรีและประเภทเครื่องดนตรีได้ตามความเหมาะสมและจำเลยทั้งสองได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน 1,200,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า หนี้ตามฟ้องได้ระงับโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวหรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีสิทธินำลิขสิทธิ์เพลงจำนวน 484 เพลง ตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลง ฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 ไปโอนขายให้แก่บุคคลภายนอก แต่ให้ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะอนุญาตให้แก่บุคคลอื่นนำไปทำสิ่งบันทึกเสียงทุกชนิดและแถบบันทึกภาพพร้อมเสียงทุกชนิดเป็นครั้งคราวไม่เกินครั้งละ 1 ต้นแบบ โดยผู้รับอนุญาตไม่มีสิทธิดัดแปลงหรือแก้ไขเสียงร้อง เสียงดนตรีจากต้นแบบเดิมที่ได้รับอนุญาต และตกลงยกเลิกบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงฉบับลงวันที่16 กรกฎาคม 2535 โดยให้ใช้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้แทน
++ ดังนี้ สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมีผลเป็นเพียงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงและบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นต้นไปเท่านั้น โดยมิได้เป็นการเลิกสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ดังกล่าว และไม่ปรากฏว่าสัญญาประนีประนอมยอมความได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับหนี้ตามคำฟ้องคดีนี้ที่เกิดขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
++ กรณียังไม่มีข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จะวินิจฉัยได้ว่า หนี้ตามฟ้องซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นหนี้ที่เกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์และผิดสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ก่อนมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ระงับไปโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด่วนมีคำสั่งงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องเป็นการไม่ชอบ ชอบที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความจะนำสืบต่อไป ++
++ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 30,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ ++
++ พิพากษายกคำสั่งงดสืบพยานและคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดีค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน200 บาท ให้แก่โจทก์ ++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ - ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งงดสืบพยานและวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ ทป.18/2541 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ทำให้หนี้ตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงระงับ พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
++
++ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว
++ ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่าเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายประเทือง เทียนสุวรรณ ได้ทำสัญญาขายลิขสิทธิ์เพลงในกองมรดกของนายประเทือง จำนวน 484 เพลง ให้แก่โจทก์ โดยมีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงว่า หากโจทก์ได้ขายหรือให้เช่าลิขสิทธิ์เพลงของนายประเทือง โจทก์จะแบ่งผลประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่ได้จากการขายหรือให้เช่า ต่อมาวันที่ 27 มีนาคม 2540 จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยกล่าวหาว่าปฏิบัติผิดข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์ลิขสิทธิ์ดังกล่าว ครั้นวันที่ 24 สิงหาคม2541 โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมตามคดีหมายเลขแดงที่ ทป.18/2541 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2542 โดยกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์และปฏิบัติผิดสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงดังกล่าวข้างต้น โดยเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2539 จำเลยที่ 1มอบให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาอนุญาตให้บริษัทเวิลด์ มิวสิก เรคคอร์ดจำกัด ใช้ลิขสิทธิ์เพลงที่เคยขายให้โจทก์แล้วจำนวน 120 เพลง โดยให้มีสิทธินำทำนองเพลงไปดัดแปลงได้ไม่เกิน 4 ต้นแบบ รวมทั้งเปลี่ยนตัวนักร้อง นักดนตรีและประเภทเครื่องดนตรีได้ตามความเหมาะสมและจำเลยทั้งสองได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน 1,200,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า หนี้ตามฟ้องได้ระงับโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวหรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีสิทธินำลิขสิทธิ์เพลงจำนวน 484 เพลง ตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลง ฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 ไปโอนขายให้แก่บุคคลภายนอก แต่ให้ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะอนุญาตให้แก่บุคคลอื่นนำไปทำสิ่งบันทึกเสียงทุกชนิดและแถบบันทึกภาพพร้อมเสียงทุกชนิดเป็นครั้งคราวไม่เกินครั้งละ 1 ต้นแบบ โดยผู้รับอนุญาตไม่มีสิทธิดัดแปลงหรือแก้ไขเสียงร้อง เสียงดนตรีจากต้นแบบเดิมที่ได้รับอนุญาต และตกลงยกเลิกบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงฉบับลงวันที่16 กรกฎาคม 2535 โดยให้ใช้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้แทน
++ ดังนี้ สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมีผลเป็นเพียงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงและบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นต้นไปเท่านั้น โดยมิได้เป็นการเลิกสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ดังกล่าว และไม่ปรากฏว่าสัญญาประนีประนอมยอมความได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับหนี้ตามคำฟ้องคดีนี้ที่เกิดขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
++ กรณียังไม่มีข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จะวินิจฉัยได้ว่า หนี้ตามฟ้องซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นหนี้ที่เกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์และผิดสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ก่อนมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ระงับไปโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด่วนมีคำสั่งงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องเป็นการไม่ชอบ ชอบที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความจะนำสืบต่อไป ++
++ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 30,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ ++
++ พิพากษายกคำสั่งงดสืบพยานและคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดีค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน200 บาท ให้แก่โจทก์ ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ แต่ไม่ผูกพันบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์
การที่ผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้านทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมตกลงกันให้ผู้ร้องทั้งสองกับบุคคลภายนอกเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท คำพิพากษานั้นย่อมไม่ผูกพันบุคคลภายนอก แม้ว่าหลังจากนั้นผู้ร้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าสัญญาประนีประนอมดังกล่าวไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอกคดีและศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องว่า คำพิพากษาผูกพันคู่ความในคดีให้ต้องปฏิบัติตาม แต่ไม่ผูกพันบุคคลภายนอก แม้จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากคำพิพากษา ซึ่งหมายความว่า สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันบุคคลภายนอกให้ต้องปฏิบัติตามและเป็นสิทธิเฉพาะตัวของบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์ว่าจะรับหรือไม่รับที่ดินหรือไม่ก็ได้ เท่านั้น ไม่ต้องนำไปบังคับแก่ผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้านทั้งสอง การที่ผู้ร้องที่ 2 มายื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหนังสือรับรองว่าคำสั่งดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว หรือมายื่นคำแถลงขอให้ศาลออกหนังสือรับรองว่าคำสั่งดังกล่าวไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์หรือฎีกา โดยมีความประสงค์อย่างชัดแจ้งว่า ต้องการนำคำสั่งศาลดังกล่าวไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินในชั้นบังคับคดีว่า ผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นคู่ความในคดีไม่มีความผูกพันที่จะต้องลงชื่อบุคคลภายนอกเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์รวม เป็นการหลีกเลี่ยงการบังคับคดีให้ผิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม และทำให้เจ้าพนักงานที่ดินไขว้เขวต่อการปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม ศาลเห็นสมควรไม่ออกหนังสือรับรองให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ แต่ไม่ผูกพันบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้วที่ระบุ ให้แบ่งที่พิพาทออกเป็นสองส่วน โดยให้แปลงด้านทิศเหนือตกเป็นของผู้ร้องและท. ส่วนแปลงด้านทิศใต้ให้ตกเป็นของผู้คัดค้าน ย่อมผูกพันผู้ร้องและผู้คัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคหนึ่ง โดยผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องขอรังวัดแบ่งแยกและจดทะเบียนลงชื่อผู้ร้องและ ท. เป็นผู้ร่วมถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงด้านทิศเหนือและผู้ร้องมีหน้าที่ต้องยินยอมให้ ท. ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมดังกล่าวด้วยแต่จะอ้างผลเพื่อให้ ท. ยอมรับการเป็นเจ้าของรวมกับผู้ร้องและยินยอมให้ลงชื่อ ท.ในที่ดินไม่ได้เพราะท. เป็นบุคคลภายนอกที่จะได้รับผลประโยชน์มิได้เป็นคู่ความ จึงไม่ผูกพันท.ให้ต้องปฏิบัติตามและเป็นสิทธิของท. ที่จะรับหรือไม่รับที่ดินก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8309/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความชอบด้วยกฎหมาย แม้ดอกเบี้ยสูง ศาลต้องพิพากษาตามข้อตกลง
การที่จำเลยยินยอมชำระเงินแก่โจทก์ตามฟ้อง เป็นการประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี เมื่อปรากฏว่าอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องที่คู่ความตกลงกัน ไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตามประกาศกระทรวงการคลังและสัญญากู้เงิน สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลชั้นต้นย่อมต้องพิพากษาไปตามนั้น จะใช้ดุลพินิจพิพากษาลดอัตราดอกเบี้ยที่คู่ความตกลงกันเพราะเหตุที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินส่วนย่อมมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8309/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความชอบด้วยกฎหมาย ศาลต้องพิพากษาตามข้อตกลง แม้ดอกเบี้ยจะสูงกว่าปกติ
การที่จำเลยยินยอมชำระเงินแก่โจทก์ตามฟ้อง เป็นการประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี เมื่อปรากฏว่าอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องที่คู่ความตกลงกัน ไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตามประกาศกระทรวงการคลังและสัญญากู้เงิน สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายศาลชั้นต้นย่อมต้องพิพากษาไปตามนั้น จะใช้ดุลพินิจพิพากษาลดอัตราดอกเบี้ยที่คู่ความตกลงกันเพราะเหตุที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินส่วนย่อมมิได้