คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน ศาลมีอำนาจตาม พ.ร.บ.แรงงาน ไม่ต้องผูกพันประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 39 และมาตรา 29 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาจะต้องเป็นไปโดยประหยัด สะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรมไว้เป็นการเฉพาะแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เรื่องการชี้สองสถานและการคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทมาอนุโลมใช้บังคับแก่การจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
ในคดีแรงงานพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ได้บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงรวมทั้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนพิจารณาและให้มีอำนาจระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังได้ด้วย หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้วต้องถือว่าศาลแรงงานได้ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมาย คู่ความไม่มีสิทธิคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทหรือระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังไม่ถูกต้องเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคท้ายได้
โจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานว่า จำเลยในฐานะจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีกล่าวหาว่าจำเลยฉ้อโกงเรียกเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลจากลูกค้าของโจทก์ในวันโอนบ้านและที่ดินทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้จากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่เป็นฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4039/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์บางส่วน โดยอ้างว่าที่ดินส่วนนั้นอยู่ในเขตหนองน้ำสาธารณประโยชน์ คำสั่งของจำเลยย่อมมีผลให้โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินส่วนที่ถูกเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยและให้ศาลแสดงสิทธิครอบครองของโจทก์อันมีอยู่เหนือที่ดินดังกล่าว หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีย่อมมีผลให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกลับคืนมา คดีของโจทก์ในส่วนที่ขอให้ศาลแสดงว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ให้แก้ไขหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์บางส่วนและขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยก็ตาม แต่การที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยจะต้องได้ความว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ มิใช่หนองน้ำสาธารณประโยชน์คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคำขออันเป็นประธานเมื่อที่ดินพิพาทมีราคา 82,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3472/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลในคำร้องขัดทรัพย์และการทิ้งฟ้องอุทธรณ์: ศาลวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำร้องขัดทรัพย์เป็นเสมือนหนึ่งคำฟ้องโดยผู้ร้องมีฐานะเป็นโจทก์ ส่วนโจทก์มีฐานะเป็นจำเลย คำร้องขัดทรัพย์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำร้องขัดทรัพย์แล้วมีคำสั่งว่าทรัพย์สินตามคำร้องขัดทรัพย์ยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ ยกคำร้องค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับโดยลงชื่อผู้พิพากษา 2 คน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) แล้วหากผู้ร้องไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลชั้นต้นผู้ร้องย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ได้ และต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องด้วย ถ้าทุนทรัพย์ที่เรียกร้องหรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์เป็นอย่างเดียวกับในศาลชั้นต้น ผู้อุทธรณ์ก็ต้องเสียตามจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาเช่นเดียวกับในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 วรรคหนึ่งศาลจะต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดต่อเมื่อศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องหรือศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์หรือฎีกาโดยยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นแห่งอุทธรณ์หรือฎีกาแต่คดีนี้ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาดังกล่าวมาแล้ว ศาลชั้นต้นจึงใช้ดุลพินิจสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(5) และ161 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีต้องมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินก่อน หากยังไม่มีการบังคับคดี การขอ งดบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 ย่อมทำไม่ได้
การขอให้งดการบังคับคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 จะต้องมีการ บังคับคดีโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม คำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วในขณะที่ขอให้งดการบังคับคดี เมื่อคดีแรงงานเรื่องนี้ยังไม่มีการบังคับคดี จำเลยจะขอ ให้งดการบังคับคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าและการห้ามฎีกาในคดีขับไล่: ผู้ร้องอ้างสิทธิการเช่าโดยตรงจากโจทก์แต่ถูกจำกัดสิทธิฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านพิพาท อันเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้จำเลยเช่าบ้านพิพาท ในอัตราค่าเช่าเท่าใด คงได้ความเพียงว่า ผู้ร้องเสียค่าเช่า ให้โจทก์ในอัตราเดือนละ 120 บาท ดังนั้น ค่าเช่าในขณะ ยื่นคำฟ้องจึงฟังได้ว่าไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท คู่ความในคดีฟ้องขับไล่เดิมนั้นจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับผู้ร้องซึ่งเป็นบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่และ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ไม่ว่าศาล จะฟังว่าผู้ร้องสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่ก็ตาม คดีก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสามที่ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องรับโอนสิทธิการเช่าจากจำเลยโดย โจทก์รู้เห็นยินยอม ผู้ร้องจึงเป็นผู้เช่าโดยตรงจากโจทก์และสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับผู้ร้องเป็นสัญญาเช่าต่างตอบแทน พิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว คดีฟ้องขับไล่ระหว่างโจทก์จำเลยในคดีเดิมจะมีการ ส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกไปยังภูมิลำเนาของจำเลยถูกต้อง ผิดพลาดหรือไม่นั้น หาได้มีผลเกี่ยวข้องกับคดีของผู้ร้อง ที่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลว่าตนมิใช่บริวารของจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3) แต่อย่างใดไม่ เพราะเป็นเรื่องระหว่างโจทก์จำเลย ไม่เกี่ยวกับคดีของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวกับสิทธิในเงินค่ารถเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
คำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งสามส่งมอบรถยนต์ อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาซื้อขายที่มีสภาพบกพร่องให้แก่โจทก์ เป็นการประพฤติผิดสัญญา ทำให้โจทก์เสียหายขอให้บังคับ จำเลยทั้งสามคืนเงิน 70,000 บาท ที่รับไปจากโจทก์และ ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย จำเลยทั้งสามให้การว่า ได้ขับรถยนต์ และได้รับเงิน 70,000 บาทจากโจทก์จริง แต่ไม่จำเป็นต้อง คืนเงินดังกล่าวเพราะโจทก์ตกลงเลิกสัญญาซื้อขายกับจำเลย ทั้งสามแล้ว โดยโจทก์เปลี่ยนใจเช่าซื้อรถยนต์คันใหม่และยอมให้ถือ เอาเงิน 70,000 บาทนั้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าซื้อ นอกจากนี้ โจทก์ยังเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ ทำให้จำเลยทั้งสามเสียหาย ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าเสียหายแก่จำเลยทั้งสาม เห็นได้ว่า โจทก์และจำเลยทั้งสามมีข้อพิพาทโดยตรงว่า โจทก์มีสิทธิ เรียกเงิน 70,000 บาทคืนจากจำเลยทั้งสามหรือไม่ แม้จะมีข้อเรียกร้องอื่นเกี่ยวกับค่าเสียหายที่ต่างฝ่ายยกขึ้น เป็นข้ออ้างข้อเพียงก็เป็นเรื่องเกี่ยวพันกับเงินจำนวน 70,000 บาทนั้นเอง ฉะนั้น คำฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสาม ที่อ้างว่ามีสิทธิริบเงิน 70,000 บาท จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ฟ้องเดิมของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำฟ้องนอกเหนือจากฟ้องเดิมไม่สมบูรณ์ ไม่อาจรวมพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179
ตามคำฟ้องและคำขอแก้ไขคำฟ้องเดิมของโจทก์ สภาพแห่งข้อหา คือ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 และบุคคลอื่นเข้าหุ้นกัน มีลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่จดทะเบียน จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขอเปิดบัญชีทดรองจ่ายเงิน เพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสดตามบัญชีทดรองจ่าย เลขที่ 1146555-1 โดยมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นผู้ค้ำประกัน รับผิดร่วมหรือยินยอมชำระหนี้สินแทนทุกประเภทของจำเลยที่ 1 นอกจากนี้สภาพแห่งข้อหาของโจทก์ยังฟ้องเน้นหนัก ถึงความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องรับผิดแก่โจทก์โดยการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจ ให้จำเลยที่ 2 และ/ หรือจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอำนาจสั่งให้โจทก์ดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์ตามบัญชีทดรองจ่ายของจำเลยที่ 1ต่อมาจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้สั่งให้โจทก์ซื้อหลักทรัพย์ (หุ้น) การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2โดยเพิ่มข้อความว่าระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2535ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2535 กับระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม 2535 ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2535 จำเลยที่ 2 ได้สั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นของสามบริษัท ตามบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146888-1 ของจำเลยที่ 2 และเมื่อวันที่ 11กันยายน 2535 จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 2 โดยค้ำประกันเต็มมูลหนี้และยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ส่วนบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146012-1ของจำเลยที่ 3 นั้น วันที่ 5 พฤศจิกายน 2535 จำเลยที่ 3สั่งซื้อหุ้นโดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 3 ดังนี้ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแห่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 นี้จึงไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8ตามที่โจทก์ตั้งฟ้องมา และข้อหาของโจทก์ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 จะขอบังคับให้จำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ต้องร่วมรับผิดไม่ได้ ทั้งมีผลทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามบัญชีซื้อขายหุ้นดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญกับจำเลยอื่น ๆ เห็นได้ประจักษ์ว่าความเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และความรับผิดเต็มตามมูลหนี้ในบัญชี ซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146888-1 ของจำเลยที่ 2 กับหนี้ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146012-1 ของจำเลยที่ 3เป็นจำนวนหนี้นอกเหนือจากสัญญาขอเปิดบัญชีทดรองจ่ายเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสดที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ข้อความที่ขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและไม่ใช่การเพิ่มเติมข้อเท็จจริงในฟ้องเดิมให้สมบูรณ์ย่อมไม่อาจรวมการพิจารณาด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(2)
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่ เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วฟัง ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาและพิพากษาให้จำเลย รับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นใน ปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 227 จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ได้โดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์ ซึ่งถือได้ว่าจำเลยปฏิเสธว่าไม่มีมูลหนี้ โจทก์จึงยังมี หน้าที่ต้องนำสืบถึงมูลหนี้ตามสัญญากู้เพื่อให้จำเลยรับผิด เมื่อปัญหาว่าหนี้ที่ ม.นำที่ดินโจทก์ไปจำนองธนาคารได้มีการชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเสร็จสิ้นไปแล้วหรือไม่ และ ม. นำโฉนดที่ดินมาคืนโจทก์แล้วหรือไม่ ยังไม่เป็นที่ยุติ การที่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์ทั้งสี่และจำเลยแล้ว พิพากษาคดีไปโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน จึงถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) การที่ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้ศาลชั้นต้น ดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ในปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซื้อขายที่ดินกับสิทธิทำประโยชน์: ศาลพิพากษาเกินฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตกลงจะโอนสิทธิครอบครองและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แต่จำเลยผิดสัญญา ขอให้บังคับ ตามข้อตกลงนั้น ก็เป็นการตกลงที่จะโอนให้ใช้ทำมาหากินคือการใช้ทำประโยชน์นั่นเอง และการที่โจทก์ขอให้จำเลยร่วมกันชำระราคาที่ดินพิพาทเป็นค่าเสียหายที่ผิดสัญญา เมื่อการตกลงโอนสิทธิครอบครองและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทวัตถุแห่งหนี้เป็นเรื่องการโอนตัวทรัพย์ ส่วนการตกลงให้เข้าใช้หรือทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท วัตถุแห่งหนี้มิได้เป็นเรื่องการโอนตัวทรัพย์ หากเพียงแต่ให้มีสิทธิใช้ประโยชน์จากที่ดินพิพาทเท่านั้น จึงเป็นข้อตกลงหรือการกระทำที่มีลักษณะแตกต่างคนละอย่างกัน เมื่อตกลงโอนสิทธิครอบครองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันจะบังคับแต่เพียงให้เข้าใช้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมิได้ทำนองเดียวกัน ถ้าตกลงให้เข้าใช้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็จะบังคับให้โอนที่ดินพิพาทมิได้เช่นเดียวกัน และคำขอบังคับให้ชำระราคาที่ดินพิพาทเป็นค่าทดแทนตัวทรัพย์ ก็เป็นคนละอย่างต่างกันกับการบังคับให้ชำระเงินค่าไถ่ถอนจำนองซึ่งกรณีหลังเป็นการคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้ว แม้จะเป็นการชำระหนี้ด้วยเงินเหมือนกันก็ตาม ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ตกลงให้โจทก์มีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่จำเลยทั้งสองผิดสัญญาแล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินค่าไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นสัญญาปลอมที่เคยถูกวินิจฉัยแล้วในคดีก่อน ห้ามฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ที่ 1 ให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและให้โจทก์ที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันโจทก์ทั้งสองให้การต่อสู้คดีว่า ลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ทั้งสองแต่เป็นลายมือชื่อที่จำเลยทำปลอมขึ้นอันเป็นเอกสารปลอมทั้งฉบับ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วโดยฟังข้อเท็จจริงว่าลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้ยืมเงินเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันจริง ต่อมาโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ขอให้ศาลพิพากษาว่าตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันและสัญญาทั้งสองฉบับเป็นโมฆะกรรม อันเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมบางส่วนก็ตาม แต่เมื่อประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นประเด็นเดียวกันว่า สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันทั้งสองฉบับเป็นสัญญาปลอมหรือไม่ ดังนี้การฟ้องของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
of 32