พบผลลัพธ์ทั้งหมด 752 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีอาญาต่างกรรมต่างวาระ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม ไม่เข้าข่ายประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)
คดีนี้ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ส่วนคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อได้มี คำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยมีความผิดฐานมีและพาอาวุธปืน ต่อสู้ขัดขวางและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำ การตามหน้าที่ ทั้งสองคดีเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระและมีเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหาก โดยไม่มี ความเกี่ยวพันกัน ผู้เสียหายและพยานหลักฐานเป็นคนละชุด ลักษณะคดีและความผิดคนละประเภท ทั้งสองคดีไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือพิจารณาพิพากษารวมกันไปได้ กรณีดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) ดังนั้น ศาลย่อมนับโทษคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1372/2546 ของศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9738/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลและข้อยกเว้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 โดยการเก็บเอกสารคืนจากศาลไว้เกิน 2-3 วัน
ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นโจทก์ในคดีได้รับเอกสารที่สูญหายไปจากสำนวนความของศาลคืนมาแล้ว ยังคงเก็บเอกสารดังกล่าวไว้อีก 2 ถึง 3 วัน โดยไม่นำมาส่งคืนศาล การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาเช่นนี้มิใช่เป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ จึงมิใช่กระทำความผิดด้วยความจำเป็นอันจะทำให้ไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินที่ได้จากการกระทำผิดก่อนคดีนี้ ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2)
เงินของกลางที่โจทก์ขอให้ศาลสั่งริบ เป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเฮโรอีนก่อนการจำหน่ายในคดีนี้ จึงมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิดในคดีนี้ ตามความแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) แม้จำเลยให้การรับสารภาพศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งริบในคดีนี้ได้
ศาลล่างทั้งสองสั่งริบเงินของกลางไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
ศาลล่างทั้งสองสั่งริบเงินของกลางไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7722/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกตลอดชีวิตและการรวมโทษกระทงอื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษจำเลย 2 กระทง กระทงแรกจำคุกตลอดชีวิต กระทงที่สองจำคุก 1 ปี เมื่อความผิดกระทงแรกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว จึงไม่จำต้องนำโทษกระทงอื่นมาลงอีก แต่ตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) บัญญัติตอนท้ายไว้ความว่า เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งหมายความว่า หากกระทงหนึ่งกระทงใดมีโทษที่จะลงแก่จำเลยจริง ๆ เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ศาลลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตเท่านั้น ความผิดกระทงแรกศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกตลอดชีวิต แต่เมื่อลดโทษให้จำเลยแล้ว คงลงโทษจำคุก 33 ปี 4 เดือน จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะนำเอาโทษจำคุกในความผิดกระทงที่สองมารวมอีกได้ ซึ่งเมื่อรวมกับโทษกระทงที่สองหลังจากลดโทษให้จำเลยจำคุก 8 เดือน รวมเป็นโทษจำคุก 33 ปี 12 เดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7684/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ต้องพิจารณาโทษจำคุกที่เคยได้รับจริง หากยังไม่เคยได้รับโทษจริง แม้จะเคยรอการลงโทษ ก็ไม่สามารถเพิ่มโทษได้
คดีอาญาของศาลชั้นต้นที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจำเลยนั้น ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาให้จำคุกจำเลย 6 เดือนและปรับ5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 3 ปี ปรากฏตามคำพิพากษาศาลฎีกาท้ายฎีกาจำเลยเมื่อคดีก่อนจำเลยไม่ได้รับโทษจำคุกจึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเอาเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษจำเลยได้ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยพ้นโทษแล้วภายใน 5 ปีกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกจึงเพิ่มโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6911/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจในการยื่นคำร้องขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ผู้รับมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจช่วง
การขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36เป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา ตามหนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องระบุไว้ชัดเจนให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดำเนินคดีแทนทั้งทางแพ่งทางอาญาและล้มละลายจนกว่าคดีถึงที่สุด และยังระบุให้ผู้รับมอบอำนาจตั้งตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจช่วงด้วย ดังนั้น ศ. ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลางแทนผู้ร้องได้ และเมื่อ ศ. มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินการยื่นเรื่องลงชื่อในเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถจักรยานยนต์ของกลางคืนอันหมายถึงการยื่นคำร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนต่อศาลนั้นเอง จึงถือได้ว่าผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงยื่นคำร้องต่อศาลขอคืนของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6837/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ใบกำกับภาษีปลอมเพื่อเครดิตภาษี: กรรมการมีส่วนร่วมความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้เป็นหลักฐานในการเครดิตภาษีจำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดตามฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนและเป็นผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอมในนามของจำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวการร่วมกระทำผิดอันจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 อยู่แล้ว กรณีไม่จำต้องอาศัยความในมาตรา 90/5 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นบทสันนิษฐานให้กรรมการหรือผู้แทนนิติบุคคลต้องรับโทษฐานนั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับโทษทางศุลกากร: การตีความบทบัญญัติโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร และการไม่ใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 37 ตรีซึ่งห้ามมิให้เรือที่อยู่ในเขตต่อเนื่องขนถ่ายสิ่งของใด ๆ โดยไม่มีเหตุสมควรหรือไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และความผิดตามมาตรา 27 ทวิ ซึ่งห้ามผู้ใดช่วยซ่อนเร้นช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยประการใด ๆ ซึ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้ามหรือข้อจำกัดนั้น บทบัญญัติทั้งสองได้ระบุเน้นชัดไว้แล้วว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งรวมอากรเข้าด้วย และปรับสองเท่าของราคาของ ตามลำดับ ดังนั้น หากศาลจะปรับจำเลยแต่ละคน คนละสี่เท่าและสองเท่า ก็จะเป็นการปรับเกินกว่าโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้และมาตรา 120 แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากรฯ ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า เมื่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับกฎหมายอื่นให้ยกเอาพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดังนี้ จึงจะนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31 ซึ่งบัญญัติให้ศาลลงโทษปรับผู้กระทำผิดหลายคนในความผิดเดียวกัน ในกรณีเดียวกันเรียงตามตัวบุคคลมาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2941/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดโทษประมวลกฎหมายอาญา ม.91(1) เฉพาะคดีความผิดหลายกรรมที่ฟ้องรวมกัน หรือเกี่ยวพันกัน
คดีที่จะอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(1)ซึ่งมีการจำกัดในการลงโทษในความผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 10 ปี นั้น หมายถึงคดีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมแล้วโจทก์ฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือคดีที่เกี่ยวพันกัน สามารถรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ เนื่องจากลักษณะของความผิดที่กระทำนั้นเกี่ยวพันกัน แต่โจทก์แยกฟ้องมาหลายคดี
จำเลยที่ 1 ออกเช็คชำระหนี้ค่าซื้อพลอยให้แก่โจทก์ร่วมหลายครั้งและยักยอกทรัพย์โจทก์ร่วมเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดี จึงอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(1) ในเรื่องการจำกัดระยะเวลาในการลงโทษจำคุก
จำเลยที่ 1 ออกเช็คชำระหนี้ค่าซื้อพลอยให้แก่โจทก์ร่วมหลายครั้งและยักยอกทรัพย์โจทก์ร่วมเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดี จึงอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(1) ในเรื่องการจำกัดระยะเวลาในการลงโทษจำคุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษกับโทษกักขัง: ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายอาญา
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย บวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้แล้วเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขัง จึงเท่ากับความผิดในคดีนี้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ลงโทษกักขังจำเลย มิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุก กรณีจึงไม่อาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 58