คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประวิงคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดี – ดุลพินิจศาล – เจตนาประวิงคดี – การตรวจอาการป่วยของทนาย
คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ ต้องเป็นกรณีที่มี เหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่งและการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลแม้ตามคำร้องทนายจำเลยอ้างว่าปวดศีรษะแต่ไม่มี ใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าเป็นความเจ็บป่วยจนถึงกับไม่สามารถ มาศาลได้ นอกจากนี้ ทนายจำเลยก็ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจ ของศาลชั้นต้นว่าถ้าศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรม ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลย มีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีล่าช้าปราศจากเหตุอันสมควร จึงเป็นการประวิงคดี ศาลชั้นต้นจะตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการ เจ็บป่วยของทนายจำเลยว่าทนายจำเลยป่วยจริงหรือไม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลชั้นต้นจึงจะมีคำสั่งได้ แต่กรณีไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอ การที่ศาลชั้นต้น พิจารณาถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ และเห็นว่าทนายจำเลยยังสามารถ ว่าความได้ ไม่เชื่อว่าทนายจำเลยป่วยจริงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าไม่สมควรมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของทนายจำเลย ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะ ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีซ้ำโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และการใช้ดุลพินิจของศาลที่ไม่ต้องตั้งเจ้าพนักงานตรวจอาการ
คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่งและการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนการสืบพยานจำเลยมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกทนายจำเลยอ้างว่าจำเลยป่วยครั้งที่สองทนายจำเลยอ้างว่า ไปงานเลี้ยงดึกและ ตอนเช้าท้องเสีย ไม่สามารถสืบพยานได้ ศาลชั้นต้นให้โอกาสจำเลยโดยกำชับ ทนายจำเลยไว้ทั้ง 2 ครั้ง ว่าให้เตรียมพยานมาให้พร้อม เมื่อถึงวันนัดครั้งที่สามผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยนำคำร้อง ขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยมายื่นต่อศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าทนายจำเลย ไม่สามารถมาว่าความได้เพราะได้ว่าความในตอนเช้าและมีอาการ ปวดศีรษะเนื่องจากความดันโลหิตสูง แต่ทนายจำเลย ไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าอาการปวดศีรษะดังกล่าว เป็นความเจ็บป่วยจนถึงกับไม่สามารถมาศาลได้อันจะเป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และทนายจำเลยก็ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่าถ้าศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีล่าช้าโดยปราศจากเหตุอันสมควรจึงเป็นการประวิงคดี การที่ศาลชั้นต้นจะตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้ที่มาศาลไม่ได้ว่าผู้นั้นป่วยจริงหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41 วรรคหนึ่งต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับเด็ดขาดให้ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยเสมอไป ดังนี้เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้นั้นและศาลชั้นต้นพิจารณาถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ และเห็นว่าผู้นั้นยังสามารถมาศาลได้เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าไม่สมควรมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยนั่นเองคำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีโดยจำเลยและการงดสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40
ในระหว่างนัดสืบพยานจำเลยทั้งสาม ทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2ได้ขอเลื่อนคดีมาแล้วรวม 3 ครั้งติดต่อกัน โดยนัดที่หนึ่งอ้างเหตุว่า ตัวจำเลยที่ 1ติดธุระสำคัญที่กรุงเทพฯ นัดที่สองอ้างว่า ทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ติดธุระที่จังหวัดพิษณุโลก และนัดที่สามอ้างว่าทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีอาการป่วย สำหรับวันนัดที่สี่ทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 แถลงขอเลื่อนคดีอีกอ้างว่า ไม่สามารถติดตามพยานมาได้ทั้ง ๆ ที่ในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดที่สามนั้น ศาลชั้นต้นได้กำชับว่า นัดหน้าให้จำเลยทั้งสามเตรียมพยานมาให้พร้อม หากมีการขอเลื่อนคดีเพราะเหตุขัดข้องทางฝ่ายจำเลยอีก จะถือว่าประวิงคดีและศาลจะสั่งงดสืบพยานจำเลยเสีย ซึ่งทนายจำเลยที่ 2ก็ยอมรับเงื่อนไขตามคำสั่งของศาลดังกล่าว พฤติการณ์ของทนายจำเลยที่ 2 ส่อแสดงถึงความไม่เอาใจใส่คดีของตนที่ทำหน้าที่อยู่ กับไม่นำพาต่อคำสั่งศาลที่กำชับนั้น เพราะถ้าหากสนใจคดีแล้วทนายจำเลยที่ 2 ก็ย่อมติดต่อหรือนำตัวพยานมาสืบในวันนัดได้แต่หาได้ดำเนินการเช่นนั้นไม่ กลับจะขอเลื่อนคดีไปเรื่อย ๆ โดยไร้จุดมุ่งหมายถือว่าจำเลยที่ 2 ประวิงคดีให้ชักช้า ทั้งเหตุที่ทนายจำเลยที่ 2 อ้างขอเลื่อนคดีเป็นนัดที่สี่ดังกล่าวก็มิใช่เหตุเกิดจากความเจ็บป่วยของทนายจำเลยที่ 2 จนไม่อาจดำเนินคดีได้ จึงไม่เป็นกรณีมีความจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ ดังนั้น คำสั่งของศาลขั้นต้นที่ไม่ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยที่ 2 แล้ว
ตามมาตรา 40 ตอนท้ายแห่ง ป.วิ.พ.ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมต้องพิจารณาการกระทำหรือการดำเนินคดีของจำเลยที่ 2 ทั้งมวลประกอบการพิจารณาด้วย มิใช่ว่าศาลต้องเลื่อนคดีไปตามเหตุซึ่งจำเลยที่ 2 จะยกขึ้นอย่างไรก็ได้ ข้ออ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีโดยจำเลยและทนายความ ศาลมีสิทธิงดสืบพยานได้
ในระหว่างนัดสืบพยานจำเลยทั้งสาม ทนายจำเลยที่ 1และที่ 2 ได้ขอเลื่อนคดีมาแล้วรวม 3 ครั้งติดต่อกันนัดที่หนึ่งอ้างเหตุว่า ตัวจำเลยที่ 1 ติดธุระสำคัญที่กรุงเทพฯ นัดที่สองอ้างว่า ทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2ติดธุระที่จังหวัดพิษณุโลก และนัดที่สามอ้างว่าทนายจำเลยที่ 1และที่ 2 มีอาการป่วย สำหรับนัดที่สี่ทนายจำเลยที่ 1และที่ 2 แถลงขอเลื่อนคดีอีกอ้างว่า ไม่สามารถติดตามพยานมาได้ทั้ง ๆ ที่ในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดที่สามนั้นศาลชั้นต้นได้กำชับว่า นัดหน้าให้จำเลยทั้งสามเตรียมพยานมาให้พร้อม หากมีการขอเลื่อนคดีเพราะเหตุขัดข้องทางฝ่ายจำเลยอีก จะถือว่าประวิงคดีและศาลจะสั่งงดสืบพยานจำเลยเสีย ซึ่งทนายจำเลยที่ 2 ก็ยอมรับเงื่อนไขตามคำสั่งของศาลดังกล่าว พฤติการณ์ของทนายจำเลยที่ 2 ส่อแสดงถึงความไม่เอาใจใส่คดีของตนที่ทำหน้าที่อยู่ กับไม่นำพาต่อคำสั่งศาลที่กำชับนั้น เพราะถ้าหากสนใจคดีแล้วทนายจำเลยที่ 2ก็ย่อมติดต่อหรือนำตัวพยานมาสืบในวันนัดได้แต่หาได้ดำเนินการเช่นนั้นไม่ กลับจะขอเลื่อนคดีไปเรื่อย ๆ โดยไร้จุดมุ่งหมายถือว่าจำเลยที่ 2 ประวิงคดีให้ชักช้า ทั้งเหตุที่ทนายจำเลยที่ 2อ้างขอเลื่อนคดีเป็นนัดที่สี่ดังกล่าวก็มิใช่เหตุเกิดจากความเจ็บป่วยของทนายจำเลยที่ 2 จนไม่อาจดำเนินคดีได้จึงไม่เป็นกรณีมีความจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว ความตามมาตรา 40 ตอนท้ายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมนั้น ต้องพิจารณาการกระทำหรือการดำเนินคดีของจำเลยที่ 2 ทั้งมวลประกอบการพิจารณาด้วย มิใช่ว่าศาลต้องเลื่อนคดีไปตามเหตุซึ่งจำเลยที่ 2 จะยกขึ้นอย่างไรก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6573/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนตัวทนาย & เจตนาประวิงคดี: ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตถอนตัวทนาย หากจำเลยทราบวันนัดแต่จงใจไม่มาศาล
การที่ทนายความจะยื่นคำขอต่อศาลให้สั่งถอนตนจากการแต่งตั้งให้เป็นทนาย จะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจ แก่ศาลว่าทนายความผู้นั้นได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้ว เว้นแต่จะหาตัวความไม่พบ แต่ตามคำร้องที่ทนายจำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้นขอถอนตนจากการเป็นทนายจำเลยนั้น ไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยได้แจ้งเรื่องการขอถอนตนให้จำเลยทราบแล้ว และมิใช่กรณีที่หาตัวจำเลยไม่พบ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยถอนตนจากการเป็นทนาย จึงชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 65 วรรคหนึ่งแล้ว
ศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสจำเลยนำพยานมาสืบถึง 3 นัด และกำชับมิให้จำเลยเลื่อนคดีมาโดยตลอด แต่จำเลยก็มิได้ใส่ใจที่จะนำพยานมาสืบตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ทั้ง ๆ ที่พยานจำเลยก็มีแต่ตัวจำเลยเพียงปากเดียวเท่านั้น ซึ่งสามารถจะสืบให้เสร็จสิ้นได้ในนัดเดียว ยิ่งไปกว่านั้นยังปรากฏจากคำร้องขอถอนตนของทนายจำเลยเองว่า จำเลยทราบวันนัดแล้วแต่ก็มิได้เดินทางมาเบิกความต่อศาลชั้นต้นตามนัด ซึ่งทนายจำเลยเห็นว่า การที่จำเลยไม่มาศาล 3 นัด ติดต่อกันเป็นการจงใจไม่มาศาลมีลักษณะประวิงคดีให้ล่าช้า ทนายจำเลยจึงขอถอนตนจากการเป็นทนายดังกล่าว เป็นการยอมรับว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดีจริง ตามพฤติการณ์ที่ปรากฏย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า
เมื่อจำเลยแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตนก็จะต้องรับผิดชอบในการกระทำของทนายความที่ตนแต่งตั้ง จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบวันนัดเพราะทนายความไม่แจ้งให้ทราบไม่ได้ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6573/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนตัวทนาย & การประวิงคดี: ศาลมีสิทธิไม่อนุญาตถอนตัว & งดสืบพยานจำเลยได้
การที่ทนายความจะยื่นคำขอต่อศาลให้สั่งถอนตนจากการแต่งตั้งให้เป็นทนาย จะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าทนายความผู้นั้นได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้วเว้นแต่จะหาตัวความไม่พบ แต่ตามคำร้องที่ทนายจำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้นขอถอนตนจากการเป็นทนายจำเลยนั้นไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยได้แจ้งเรื่องการขอถอนตนให้จำเลยทราบแล้ว และมิใช่กรณีที่หาตัวจำเลยไม่พบการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยถอนตนจากการเป็นทนาย จึงชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 65 วรรคหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสจำเลยนำพยานมาสืบถึง 3 นัดและกำชับมิให้จำเลยเลื่อนคดีมาโดยตลอด แต่จำเลยก็มิได้ใส่ใจที่จะนำพยานมาสืบตามคำสั่งของศาลชั้นต้นทั้ง ๆ ที่พยานจำเลยก็มีแต่ตัวจำเลยเพียงปากเดียวเท่านั้นซึ่งสามารถจะสืบให้เสร็จสิ้นได้ในนัดเดียว ยิ่งไปกว่านั้นยังปรากฏจากคำร้องขอถอนตนของทนายจำเลยเองว่าจำเลยทราบวันนัดแล้วแต่ก็มิได้เดินทางมาเบิกความต่อศาลชั้นต้นตามนัด ซึ่งทนายจำเลยเห็นว่า การที่จำเลยไม่มาศาล 3 นัด ติดต่อกันเป็นการจงใจไม่มาศาลมีลักษณะประวิงคดีให้ล่าช้า ทนายจำเลยจึงขอถอนตนจากการเป็นทนายดังกล่าว เป็นการยอมรับว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดีจริง ตามพฤติการณ์ที่ปรากฏย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า เมื่อจำเลยแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนิน กระบวนพิจารณาแทนตนก็จะต้องรับผิดชอบในการกระทำของทนายความที่ตนแต่งตั้ง จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบวันนัดเพราะทนายความไม่แจ้งให้ทราบไม่ได้ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาจ้างทนายความต้องแจ้งเจตนาชัดเจน การประวิงคดีไม่อาจอ้างเหตุเลิกสัญญาได้
การจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดวิธีการเกี่ยวกับการที่ผู้รับจ้างจะบอกเลิกสัญญาได้ และไม่ปรากฏข้อสัญญาระหว่างพ.ทนายความจำเลยกับจำเลยว่าจะเลิกสัญญากันอย่างไร จึงต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 386 คือต้องแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อ พ.ยังมิได้แสดงเจตนาแก่จำเลย สัญญาจ้างว่าความระหว่าง พ.และจำเลยจึงไม่สิ้นสุดลง
ศาลชั้นต้นจะแจ้งการถอนตัวของทนายความให้จำเลยทราบตามกฎหมายเฉพาะกรณีศาลชั้นต้นอนุญาตให้ทนายถอนตัวและจำเลยยังไม่ทราบเรื่องส่วนกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้อนุญาตให้ทนายความจำเลยถอนตัวจากการเป็นทนายไม่ใช่กรณีต้องแจ้งให้จำเลยทราบ
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีมาสองนัดแล้ว นัดแรกให้เลื่อนคดีเพราะทนายจำเลยป่วย ครั้งที่สองให้เลื่อนคดีเพราะไม่มีพยานจำเลยมาศาลโดยไม่ทราบเหตุขัดข้อง ในครั้งที่สามทนายจำเลยมาขอยื่นคำร้องขอถอนตัวโดยจำเลยก็มิได้มาศาลทั้งที่เป็นวันนัดที่จำเลยต้องเบิกความต่อศาล และจำเลยก็มิได้มีพยานปากอื่นมาศาล พฤติการณ์การกระทำของจำเลยและทนายจำเลยเห็นได้ชัดว่ามุ่งประวิงคดี จำเลยจะอ้างว่าทนายจำเลยไม่แจ้งให้จำเลยทราบ และจำเลยเป็นคนบ้านนอกมาเป็นเหตุขอเลื่อนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาจ้างว่าความ การถอนทนาย และการประวิงคดี: ศาลต้องแจ้งการถอนทนายให้จำเลยทราบ
การจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งตามกฎหมายเรื่องจ้างทำของมิได้กำหนดวิธีการเกี่ยวกับการที่ผู้รับจ้าง จะบอกเลิกสัญญาได้ ทั้งไม่ปรากฏข้อสัญญาระหว่าง พ. ทนายความกับจำเลยว่าจะเลิกสัญญากันอย่างไร จึงต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 คือต้องแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อปรากฏว่า พ. ยังมิได้แสดงเจตนาแก่จำเลยสัญญาจ้างว่าความระหว่าง พ. และจำเลยจึงไม่สิ้นสุดลง การที่ศาลชั้นต้นจะแจ้งการถอนตัวของทนายให้จำเลยทราบ ตามกฎหมายก็เฉพาะกรณีศาลชั้นต้นอนุญาตให้ทนายถอนตัวและจำเลยยังไม่ทราบเรื่อง เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้อนุญาตให้ พ.ถอนตัวจากการเป็นทนาย จึงไม่ใช่กรณีต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีมาสองนัดแล้ว นัดแรกให้เลื่อนคดีเพราะทนายจำเลยป่วย ครั้งที่สองให้เลื่อนคดี เพราะไม่มีพยานจำเลยมาศาล ในครั้งนี้ทนายมายื่นคำร้องขอถอนตัว โดยจำเลยเองก็มิได้มาศาลทั้งที่เป็นวันนัดที่จำเลยต้องเบิกความและจำเลยก็มิได้มีพยานปากอื่นมาศาล พฤติการณ์การกระทำของจำเลยและทนายเห็นได้ชัดว่ามุ่งประวิงคดี จำเลยจะอ้างว่าทรายจำเลยไม่แจ้งให้จำเลยทราบและจำเลยเป็นคนบ้านนอกมาเป็นเหตุประวิงคดีไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและฟังว่าจำเลยจงใจประวิงคดีจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6230/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขค่าเสียหาย และการประวิงคดี
แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทและให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 20,000 บาทแต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 8,000 บาท โจทก์และจำเลยไม่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวย่อมถือได้ว่าในขณะที่ยื่นคำฟ้องนั้นตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาทคดีจึงต้องห้ามคู่ความมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสองจำเลยฎีกาว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเป็นการไม่ชอบนั้นเป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลว่าสมควรอนุญาตให้เลื่อนคดีและสืบพยานต่อไปหรือไม่ อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงแม้จะเป็นการฎีกาโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 ก็ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6210/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตแก้คำให้การเพื่อประวิงคดี ศาลใช้ดุลพินิจได้ตามกฎหมาย
คดีอาญานั้นแม้จำเลยจะให้การหรือไม่ให้การซึ่งถือเป็น สิทธิของจำเลยก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยได้ให้การรับสารภาพ ตามฟ้องโจทก์ทุกประการแล้ว แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าตน กระทำความผิดตามที่โจทก์กล่าวหามาในคำฟ้องนั้น ส่วนการขอแก้คำให้การของจำเลยนั้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสองจำเลยสามารถยื่นคำร้องขอแก้คำให้การได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรมิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลย อีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาลเห็นสมควรจึงอนุญาตให้แก้ได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้คำให้การในคดีนี้จำเลยกระทำเพื่อประวิงคดีเท่านั้นจึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันควร ศาลไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การ
of 26