พบผลลัพธ์ทั้งหมด 192 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2801/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานนอกประเด็นในคดีซื้อขายที่ดินและการพิพากษาค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำ สัญญาจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยจำเลยจะต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จแล้วโอนขายให้โจทก์จำเลยให้การว่าได้ปลูกสร้างอาคารเสร็จแล้วแต่โจทก์ไม่พร้อมที่จะรับโอนประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารเสร็จแล้วหรือไม่การที่จำเลยนำสืบว่าเมื่อมีการฉาบปูนเดินท่อประปาเดินสายไฟทาสีติดบานประตูหน้าต่างแล้วถือว่าจำเลยก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จตามข้อตกลงในสัญญาเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากคำให้การจึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ไม่ครบถ้วนตามอุทธรณ์ การไม่วินิจฉัยประเด็นจำเลยทั้งหมด
โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยขอให้แก้เป็นไม่รอการลงโทษจำเลยที่ 1 - 5, 7 - 8 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไว้ด้วยแล้ว แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์กล่าวเพียงว่าโจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 พร้อมทั้งวินิจฉัยเฉพาะการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 เท่านั้น หาได้กล่าวถึงหรือวินิจฉัยการกระทำผิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาตอนหนึ่งว่านอกจากที่แก้คงเป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันมีผลบังคับไปถึงจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ด้วย ก็ยังถือไม่ได้ว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นคำวินิจฉัยไม่ครบทุกข้อตามที่โจทก์ขอมาในอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7439/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความไม่ใช่ประเด็นหากจำเลยไม่ยกข้อต่อสู้, โจทก์มีอำนาจฟ้องแม้ไม่แจ้งก่อนฟ้อง
ปัญหาเรื่องอายุความไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง อำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นมากล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ จำเลยก็มีสิทธิยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาได้ การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทของโจทก์และให้ใช้ค่าเสียหายมาด้วยนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องบอกกล่าวจำเลยก่อนฟ้อง แต่อย่างใด แม้โจทก์มิได้บอกกล่าวจำเลยก่อนฟ้อง โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม – ประเด็นอายุความ – ไม่ยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่วินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์จำเลยไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความตั้งเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ดังนั้น ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามรับ เพราะจำเลยมิได้ยกประเด็นอายุความในชั้นอุทธรณ์ แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไปแล้ว
โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทของ ท. ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก จำเลยให้การต่อสู้ว่าท. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยก่อนตาย โจทก์ฟ้องคดีมรดกหลังจากทราบการตายของ ท. เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ท. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลย ปัญหาเรื่องอายุความไม่จำต้องวินิจฉัย พิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งสามอุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ท. จำเลยไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความตั้งเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ท.พิพากษากลับให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสาม ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ภาค 1ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากประเด็นอายุความไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในชั้นอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่วินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์จำเลยไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความตั้งเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ ดังนั้น ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจปลอมและการวินิจฉัยประเด็นนอกคำคู่ความ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำให้การต่อสู้เพียงว่า นายแสงชัย นายไชยยงค์ และนายเจริญจะเป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือไม่ เพียงใด จำเลยไม่รับรองและบุคคลทั้งสามจะมีความสามารถสมบูรณ์ตามกฎหมายเพียงใดหรือไม่ ขณะที่ทำหนังสือมอบอำนาจจำเลยไม่ทราบ ลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจในช่องผู้มอบอำนาจ ไม่ใช่ลายมือชื่ออันแท้จริงของผู้มอบอำนาจ เป็นลายมือปลอม ตราประทับก็เป็นตราปลอมเท่านั้น คำให้การดังกล่าวในตอนแรกที่ว่ากรรมการของโจทก์ทั้งสามจะมีอำนาจกระทำแทนโจทก์หรือไม่เพียงใด จำเลยไม่รับรองนั้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งถือว่าไม่ได้ให้การปฏิเสธจึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่านายแสงชัย นายไชยยงค์ และนายเจริญ เป็นกรรมการ ซึ่งกรรมการ 2 ใน 3ของจำนวนกรรมการดังกล่าวลงชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทโจทก์มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยในปัญหาว่านายแสงชัยกรรมการคนหนึ่งในจำนวนสองคนของโจทก์ที่ได้ลงชื่อร่วมกันมอบอำนาจให้นายจิรัฐฟ้องคดีนี้ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการโจทก์แล้วหรือไม่จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องทางสาธารณประโยชน์ย่อมไม่ถือเป็นคำพิพากษานอกฟ้อง แม้จะขอเป็นทางภารจำยอม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นทางเดินสาธารณะอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์ โจทก์ได้ใช้ทางเดินดังกล่าวออกสู่ถนนนานเกินกว่าสิบปีจนทางเดินตกเป็นทางภารจำยอม ดังนี้ ศาลพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะตามที่บรรยายฟ้องมาได้ ไม่นอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องห้าม: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่สามารถหยิบยกประเด็นฟ้องซ้ำขึ้นฎีกาได้อีก
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีคำพิพากษาว่า การกระทำตามฟ้องคดีนี้ต่างกรรมต่างวาระกัน ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จำเลยมิได้ฎีกา ปัญหาดังกล่าวจึงยุติและถึงที่สุดไปแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีใหม่แล้ว จำเลยจะหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาอีกไม่ได้ เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อาจบังคับได้เนื่องจากคำขอท้ายฎีกาไม่ตรงกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิจารณา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนแบ่งแยกออกโฉนดใหม่ให้แก่ อ. ซึ่งเป็นผู้ได้กรรมสิทธิ์บางส่วนในที่ดินมีโฉนดมาโดยการครอบครอง แต่คำขอท้ายฎีกาของผู้ร้องกลับขอให้ศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นในอีกคดีหนึ่งที่สั่งอายัดที่ดินดังกล่าวเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์บางส่วนในที่ดินโดยการครอบครองให้มาเป็นกรรมสิทธิ์ของ อ. ต่อไป จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่อาจบังคับให้ได้