คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเด็นใหม่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาจำเลยร่วมอุทธรณ์ประเด็นใหม่ที่ไม่เคยยกขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อที่จำเลยร่วมยกขึ้นฎีกาเป็นข้อที่จำเลยร่วมมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นย่อมยกขึ้นอุทธรณ์ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงชอบแล้วและเมื่อฎีกาของจำเลยร่วมดังกล่าวเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์และประเด็นใหม่ที่มิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินและบ้านพิพาท อ้างว่าเป็นมรดกของ น. ผู้ตาย โดยตีราคาที่ดินและบ้านเป็นจำนวนเงิน 1,600,000 บาทและ 300,000 บาท ตามลำดับ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์จำนวน 203.81 ส่วน ใน 3,261 ส่วน และแบ่งบ้านพิพาทจำนวน 1 ใน16 ส่วน แก่โจทก์ จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ต้องแบ่งให้โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ส่วนโจทก์ไม่ฎีกา ราคาที่ดินและบ้านที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง99,998.77 บาท และ 18,750 บาท ตามลำดับ รวมแล้วเป็นราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะจำเลยยื่นฎีกา
จำเลยฎีกาปัญหาข้อกฎหมายว่า ที่ดินส่วนของ บ. และ ศ.ที่จำเลยได้รับโอนมา จำเลยได้โอนคืนให้แก่ ศ. และบุตรของ บ. ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ ที่ดินที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งเป็นทรัพย์สินของบุคคลอื่นแล้ว โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งจากจำเลยไม่ได้นั้น เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์และประเด็นใหม่ในชั้นฎีกา กรณีแบ่งมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทอ้างว่าเป็นมรดกของน. ผู้ตายโดยตีราคาที่ดินและบ้านเป็นจำนวนเงิน1,600,000บาทและ300,000บาทตามลำดับศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์จำนวน203.81ส่วนใน3,261ส่วนและแบ่งบ้านพิพาทจำนวน1ใน16ส่วนแก่โจทก์จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ต้องแบ่งให้โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ส่วนโจทก์ไม่ฎีการาคาที่ดินและบ้านที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง99,998.77บาทและ18,750บาทตามลำดับรวมแล้วเป็นราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทจึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่ใช้บังคับอยู่ในขณะจำเลยยื่นฎีกา จำเลยฎีกาปัญหาข้อกฎหมายว่าที่ดินส่วนของบ.และศ. ที่จำเลยได้รับโอนมาจำเลยได้โอนคืนให้แก่ศ.และบุตรของบ. ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ที่ดินที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งเป็นทรัพย์สินของบุคคลอื่นแล้วโจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งจากจำเลยไม่ได้นั้นเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2712/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำฟ้องเล็กน้อย & ประเด็นใหม่ในฎีกา: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำขอท้ายฟ้องเป็นคำขอบังคับที่สืบเนื่องมาจากคำฟ้องโจทก์ที่บรรยายมาในตอนต้น เมื่อคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงสาเหตุความรับผิดของจำเลยทั้งสาม รวมทั้งได้บรรยาจำนวนเงินที่จำเลยแต่ละคนต้องรับผิด ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่แตกต่างกันมาด้วย การขอแก้ไขคำฟ้องตามคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2เป็นขอให้บังคับจำเลยที่ 3 ให้ตรงกับที่บรรยายฟ้องมาในตอนต้น จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดบกพร่องในคำฟ้องเพียงเล็กน้อย ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ที่จะต้องขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน
แม้จำเลยจะให้การเป็นประเด็นต่อสู้ในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น แต่เหตุที่จำเลยอ้างว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในฎีกาเป็นคนละเรื่องแตกต่างจากที่อ้างในศาลชั้นต้น และในศาลอุทธรณ์ ถือว่าฎีกาของจำเลยเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้อไม่ชัดเจนในคำให้การและการยกประเด็นใหม่ในชั้นฎีกาที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่าจำเลยที่ 1 บุกรุกและนำที่ดินด้านทิศเหนือให้จำเลยที่ 2 เช่าปลูกอ้อย จำเลยที่ 1ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ จำเลยที่ 1 ครอบครองที่พิพาทมานาน 8 ปีแล้ว หากจะฟังว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์คดีก็ขาดอายุความเพราะจำเลยที่ 1 เข้าทำประโยชน์มาก่อนฟ้องเกินกว่า 1 ปี ดังนี้เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยหรือของโจทก์ และขัดแย้งกันเอง ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา มาตรา 177 วรรคสอง คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ในประเด็นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทรัพย์สิน: ทุนทรัพย์เกินกำหนดและประเด็นใหม่
โจทก์จำเลยโต้เถียงกันว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อปรากฎว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท คดีโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคแรก ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534 มาตรา 18
ปัญหาว่า บิดาโจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก่อนใช้ประมวล-กฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ได้แจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) และครอบครองต่อเนื่องตลอดมา เป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ทางราชการหรือประชาชนจะกล่าวอ้างว่าเป็นหนองน้ำสาธารณะใช้ประโยชน์ร่วมกันหาได้ไม่เป็นฎีกาข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ทุนทรัพย์เกิน & ประเด็นใหม่, ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
โจทก์จำเลยโต้เถียงกันว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อปรากฏว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท คดีโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคแรก ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12)พ.ศ. 2534 มาตรา 18 ปัญหาว่า บิดาโจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ได้แจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1)และครอบครองต่อเนื่องตลอดมา เป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 ทางราชการหรือประชาชนจะกล่าวอ้างว่าเป็นหนองน้ำสาธารณะใช้ประโยชน์ร่วมกันหาได้ไม่ เป็นฎีกาข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7087/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกา: ประเด็นใหม่ & ฟ้องแย้งค่าเสียหายเกินดุลพินิจ
จำเลยฎีกาในข้อที่จำเลยไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ส่วนฎีกาเกี่ยวกับฟ้องแย้งในเรื่องค่าเสียหายที่ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายเพราะเหตุที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินพิพาท เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นการฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งค่าเสียหายตามฟ้องแย้งไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7072/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามวินิจฉัย: ประเด็นใหม่นอกคำให้การ, สละสิทธิข้อต่อสู้, พยานประกอบดุลพินิจ
จำเลยฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมาย โจทก์จะฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่จำเลยไม่ได้ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้แม้จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยก็ได้สละข้อต่อสู้ในประเด็นดังกล่าวไปแล้ว จึงถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยฎีกาว่า คำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้นั้น เห็นว่า เมื่อจำเลยยอมรับในฎีกาว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญามาตั้งแต่เริ่มแรก แต่อ้างว่าโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลย คำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์ดังกล่าวซึ่งศาลล่างทั้งสองก็ได้รับฟังประกอบดุลพินิจที่ฟังว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งคำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์และในส่วนอื่นอันเกี่ยวเนื่องกัน จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้โจทก์ใช้ค่าแรงงานให้จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 ประกอบมาตรา 1317 นั้น เป็นฎีกาที่จำเลยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในคำให้การ จึงเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การ ถือว่าเป็นฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6650/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: จำเลยฎีกาประเด็นใหม่มิได้ยกขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาความสงบเรียบร้อย
จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยได้กระทำไปในฐานะตัวแทน ว.จำเลยกับโจทก์ทั้งสองไม่มีความเกี่ยวพันกันในส่วนนี้ แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ.มาตรา 225 ศาลอุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยกลับฎีกาแต่เพียงว่าข้อความในสัญญาข้อ 2 ระบุไว้ว่า ผู้ให้สัญญายอมยกเงินที่ขายเกินให้แก่นายหน้าแสดงว่าราคาที่ดินส่วนที่ขายเกินจากไร่ละ 300,000 บาท ต้องเป็นของจำเลยมิใช่เป็นของบุคคลหนึ่งบุคคลใด เพราะเป็นคำมั่นสัญญาเฉพาะระหว่างผู้ทำสัญญากับผู้ให้สัญญาเท่านั้น โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว ดังนี้ ฎีกาของจำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดข้อไหนอย่างไร ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งนอกจากนี้ฎีกาของจำเลยดังกล่าวอ้างเหตุแตกต่างจากอุทธรณ์ของจำเลย จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
of 18