พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5107/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้าย vs. เจตนาฆ่า: การประเมินพฤติการณ์หลังการทำร้ายเพื่อตัดสินความผิด
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายโดยใช้ขวานฟันและเหล็กแหลมแทง แม้ผู้เสียหายจะได้รับบาดแผลที่หน้าผาก อกด้านซ้ายและคอด้านซ้ายซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย แต่บาดแผลไม่ร้ายแรง ไม่อาจทำให้ถึงแก่ความตายได้แสดงว่าจำเลยทั้งสองมิได้ฟันและแทงโดยแรง เมื่อขวานหลุดจากมือกระเด็นไป แล้วผู้เสียหายร้องให้คนช่วยจำเลยทั้งสองก็วิ่งหนีไปทั้ง ๆ ที่ขณะที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายไม่มีผู้ใดจะช่วยได้ จำเลยที่ 1 มีโอกาสวิ่งกลับไปเอาขวานมาฟันและจำเลยที่ 2 มีเวลาที่จะแทงผู้เสียหายให้ถึงตายได้ แต่จำเลยทั้งสองหาได้ทำเช่นนั้นไม่ สาเหตุที่จำเลยทั้งสองกับผู้เสียหายโกรธเคืองกันก็เป็นเรื่องเล็กน้อย แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเพียงเจตนาทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด และการอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อโจทก์นำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร เจ้าพนักงานกรมศุลกากรได้ประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล และในรายการที่สำแดงภาษีอากรมียอดเงินสำหรับอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแยกกันแต่ละรายการ ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรแล้ว หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรเสียก่อน การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร มิใช่เป็นการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
โจทก์ซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศในราคาต่ำกว่าที่โจทก์เคยซื้อและสำแดงราคาในการนำเข้าครั้งก่อนเพราะผู้ขายซื้อจากผู้ผลิตได้ในราคาต่ำลง แต่เป็นการขายสินค้าในราคาปกติทั่วไป เพื่อจะให้ลูกค้าสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ มิใช่ลดหย่อนให้แก่โจทก์โดยเฉพาะเพียงรายเดียว แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่การนำเข้าในครั้งก่อน ราคาของประเภทและชนิดเดียวกันก็มีราคาลดลงได้ อีกทั้งปรากฏด้วยว่าเมื่อโจทก์นำสินค้าชนิดเดียวกันเข้ามาในราชอาณาจักรภายหลังกรณีพิพาทนี้ จำเลยก็ได้ยอมรับราคาที่ลดต่ำลงดังที่โจทก์สำแดงด้วย ยิ่งสนับสนุนให้เห็นว่า จำเลยได้ยอมรับว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดลดต่ำลง และฝ่ายจำเลยก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นเท่าใด เพียงแต่อาศัยราคาที่โจทก์เคยนำเข้าในครั้งก่อนภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน มาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาเท่านั้น จึงถือได้ว่าราคาสินค้าพิพาทที่ต่ำลงตามที่โจทก์สำแดงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
โจทก์ซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศในราคาต่ำกว่าที่โจทก์เคยซื้อและสำแดงราคาในการนำเข้าครั้งก่อนเพราะผู้ขายซื้อจากผู้ผลิตได้ในราคาต่ำลง แต่เป็นการขายสินค้าในราคาปกติทั่วไป เพื่อจะให้ลูกค้าสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ มิใช่ลดหย่อนให้แก่โจทก์โดยเฉพาะเพียงรายเดียว แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่การนำเข้าในครั้งก่อน ราคาของประเภทและชนิดเดียวกันก็มีราคาลดลงได้ อีกทั้งปรากฏด้วยว่าเมื่อโจทก์นำสินค้าชนิดเดียวกันเข้ามาในราชอาณาจักรภายหลังกรณีพิพาทนี้ จำเลยก็ได้ยอมรับราคาที่ลดต่ำลงดังที่โจทก์สำแดงด้วย ยิ่งสนับสนุนให้เห็นว่า จำเลยได้ยอมรับว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดลดต่ำลง และฝ่ายจำเลยก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นเท่าใด เพียงแต่อาศัยราคาที่โจทก์เคยนำเข้าในครั้งก่อนภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน มาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาเท่านั้น จึงถือได้ว่าราคาสินค้าพิพาทที่ต่ำลงตามที่โจทก์สำแดงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4809/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเวนคืนที่ดินต้องเป็นราคาตลาด ไม่ใช่ราคาประเมินกรมที่ดิน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290ฯ ข้อ 23 วรรคสุดท้ายกำหนดให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษด้วยและประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางหลวงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงไว้ในข้อ 76 ว่า เงินค่าทดแทนนั้นถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นทางพิเศษตามราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน พ.ศ. 2524 มิใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ใช้บังคับการกำหนดราคาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4775/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาซื้อขายที่แท้จริงในท้องตลาด: การประเมินอากรตามบัญชีราคาสินค้า vs. ราคาตกลงซื้อขายจริง
ราคาตามบัญชีราคาสินค้าหรือไพรซ์ลิสท์ ที่จำเลยใช้ประเมินเรียกเก็บอากรเพิ่มจากโจทก์ เป็นราคาที่บริษัทผู้ผลิตสินค้าที่โจทก์นำเข้าในต่างประเทศกำหนดขึ้นสำหรับเสนอขายสินค้าเป็นการทั่วไปโดยผู้ผลิตสินค้าแจ้งมาว่า ราคาตามบัญชีราคาสินค้าที่ตั้งขึ้นเพื่อเสนอขายดังกล่าวจำเป็นต้องตั้งราคาขายไว้เพื่อการเจรจาซื้อขายกันต่อไป เมื่อมีการเจรจาขายสินค้าแล้วตกลงซื้อขายกันราคาจะต่ำกว่าราคาที่บริษัทกำหนดขึ้นเพื่อขาย ดังนี้ ราคาสินค้าตามบัญชีราคาสินค้าหรือไพรซ์ลิสท์ จึงไม่ใช่ราคาที่ได้มีการซื้อขายกันแท้จริง ไม่อาจถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงเป็นราคาทำขึ้นระหว่างผู้ผลิตกับโจทก์และเป็นราคาสินค้าที่ใช้จำหน่ายเฉพาะในประเทศไทย เมื่อปรากฏว่าเป็นราคาที่มีการตกลงซื้อขายกันจริงโดยมิได้มีการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อผู้ขายให้ราคาต่ำกว่าปกติที่จะซื้อขาย จึงเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากดอกเบี้ยสัญญาจำนองที่ไม่ได้รับจริง ศาลฎีกาพิพากษากลับให้เพิกถอนการประเมินและคืนเงิน
จำเลยไม่มีพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นว่า โจทก์และภรรยาได้รับดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองเลย คงอ้างแต่เพียงว่าเมื่อระบุว่าคิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ไว้ในสัญญาจำนอง ก็ต้องถือว่าโจทก์และภรรยาได้รับดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้นั้น พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ฟังได้ว่า โจทก์และภรรยาไม่ได้รับเงินดอกเบี้ยตามสัญญาจำนอง จึงไม่มีเงินได้พึงประเมินจากเงินดอกเบี้ย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4673/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายที่ไม่สมเหตุสมผลและการยินยอมชำระภาษีเหมาจ่าย ศาลยืนตามประเมินเจ้าพนักงาน
ในชั้นตรวจสอบไต่สวน หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์มิได้นำเอกสารเกี่ยวกับรายจ่ายที่เป็นปัญหาว่าต้องห้ามหรือไม่ไปมอบให้เจ้าพนักงาน ทั้งไม่มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเอกสารดังกล่าวมาเบิกความรับรอง รับฟังไม่ได้ว่ามีการจ่ายจริง โจทก์จะนำจำนวนเงินที่ปรากฏในเอกสารมาถือเป็นรายจ่ายไม่ได้
หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ยินยอมชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของยอดค่าจ้างแรงงาน ทั้งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำนวนลูกจ้างของโจทก์มีเท่าใด แต่ละคนได้ค่าจ้างเท่าใด อันจะเป็นข้อที่ทำให้เห็นว่าการหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราดังกล่าวมีจำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เมื่อโจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานคิดคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของยอดค่าจ้างแรงงานและเจ้าพนักงานประเมินก็ได้ประเมินตามที่โจทก์ยินยอม อันเป็นการปฏิบัติไปตามความยินยอมของโจทก์ โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่าเป็นการไม่ชอบไม่ได้
หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ยินยอมชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของยอดค่าจ้างแรงงาน ทั้งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำนวนลูกจ้างของโจทก์มีเท่าใด แต่ละคนได้ค่าจ้างเท่าใด อันจะเป็นข้อที่ทำให้เห็นว่าการหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราดังกล่าวมีจำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เมื่อโจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานคิดคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของยอดค่าจ้างแรงงานและเจ้าพนักงานประเมินก็ได้ประเมินตามที่โจทก์ยินยอม อันเป็นการปฏิบัติไปตามความยินยอมของโจทก์ โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่าเป็นการไม่ชอบไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนและทายาทในหนี้ภาษีจากการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมายและการคำนวณเงินเพิ่มภาษีที่ถูกต้อง
ประมวลรัษฎากรมาตรา 56 วรรคสองบัญญัติไว้เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญ จ. มีหุ้นส่วน 2 คน คือ ห. กับจำเลยที่ 1เมื่อ ห. ตาย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของห้างหุ้นส่วนสำหรับปีภาษีนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 แล้วแม้จะมิได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อทายาทของ ห. ก็ไม่ทำให้การประเมินเสียไป ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล เลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชี ผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการมีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77 และ 84 ฉ.วรรค เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1055(5) และไม่มีการชำระบัญชี จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1025 เมื่อ ห.ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตาย ทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น 15 วัน ถัดจากเดือนภาษี ทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนการให้คำปรึกษาทางเทคนิคที่ไม่ใช่ค่าแห่งสิทธิ การประเมินภาษีที่ไม่ชอบ
ค่าตอบแทนข้อตกลงให้คำปรึกษาทางเทคนิคและบริการทางวิศวกรรมเป็นการตอบแทนการให้คำแนะนำให้การปรึกษาในกิจการต่างๆซึ่งตามสัญญามีหลายประเภทบางประเภทเช่น การเงิน การบัญชีและการตลาด เห็นได้ชัดว่าไม่ใช่ประเภทค่าแห่งสิทธิตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น แม้จะฟังว่าค่าตอบแทนตามสัญญานั้นมีค่าแห่งสิทธิรวมอยู่ด้วย แต่เมื่อไม่อาจจะแยกได้ว่าเงินได้ประเภทค่าแห่งสิทธิมีเป็นจำนวนเท่าใดการที่กรมสรรพากรจำเลยประเมินให้โจทก์เสียภาษี โดยถือว่าค่าตอบแทนทั้งหมดตามสัญญาเป็นค่าแห่งสิทธิ จึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4083/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ขัดต่อกฎหมาย และสิทธิในการขอคืนภาษีเกินภายในกำหนดเวลา
ประมวลรัษฎากร มาตรา 50(1) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยวิธีคูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายเพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 เป็นเงินภาษีเท่าใดให้หาร ด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักภาษีไว้เท่านั้น ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีโดยใช้สูตร สำเร็จของกรมสรรพากรตามคำสั่งของกรมสรรพากรที่ ป.2/2526 ซึ่งระบุวิธีคำนวณแตกต่างไปจากบทบัญญัติดังกล่าวและได้ตัวเลขแตกต่างกันโดยไม่มีกฎหมายอนุญาตให้ทำเช่นนั้นได้การประเมินโดยวิธีการตามคำสั่งนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาที่ว่าโจทก์ร้องขอให้กรมสรรพากรคืนเงินภาษีที่ชำระเกินไปคืนเมื่อพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งได้ถูกหักภาษีเกินไปหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การขอคืนเงินภาษีอากรที่ได้ชำระเกินไปคืนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 63 นั้น เมื่อโจทก์ได้รับแจ้งการประเมินภาษีอากรแล้วโจทก์ก็ไม่จำต้องร้องขอต่อเจ้าพนักงานประเมินแต่โจทก์มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไป ตามบทมาตราดังกล่าวได้ ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินภาษีอากรขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกเลิกการประเมิน และให้เครดิตภาษีตามจำนวนที่โจทก์ชำระเกินไปในปี พ.ศ. 2526 ให้โจทก์และจำเลยได้รับอุทธรณ์ดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2529 จึงเป็นการร้องขอให้จำเลยคืนเงินภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2526 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่าภาษีอากรที่ชำระเกินคืน
ปัญหาที่ว่าโจทก์ร้องขอให้กรมสรรพากรคืนเงินภาษีที่ชำระเกินไปคืนเมื่อพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งได้ถูกหักภาษีเกินไปหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การขอคืนเงินภาษีอากรที่ได้ชำระเกินไปคืนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 63 นั้น เมื่อโจทก์ได้รับแจ้งการประเมินภาษีอากรแล้วโจทก์ก็ไม่จำต้องร้องขอต่อเจ้าพนักงานประเมินแต่โจทก์มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไป ตามบทมาตราดังกล่าวได้ ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินภาษีอากรขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกเลิกการประเมิน และให้เครดิตภาษีตามจำนวนที่โจทก์ชำระเกินไปในปี พ.ศ. 2526 ให้โจทก์และจำเลยได้รับอุทธรณ์ดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2529 จึงเป็นการร้องขอให้จำเลยคืนเงินภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2526 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่าภาษีอากรที่ชำระเกินคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า กรณีการก่อสร้างและขายอสังหาริมทรัพย์ การหักค่าใช้จ่าย และการตรวจสอบไต่สวนเกินกำหนด
ในการก่อสร้างตึกแถวโจทก์เป็นผู้จัดหาและซื้อวัสดุก่อสร้างเองส่วนแรงงานเหมาจ่ายให้ผู้รับเหมาจัดหาคนงานมาทำการก่อสร้างโดยผู้รับเหมาจ่ายค่าแรงงานให้แก่คนงานเอง หากงานล่าช้าต้องจ้างคนงานเพิ่มขึ้น โจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนี้เงินได้ที่จ่ายให้แก่ผู้รับเหมาจึงมิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1)แห่งประมวลรัษฎากร หากแต่เป็นเงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ตามมาตรา 40(8) โจทก์จึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 50,52 แห่งประมวลรัษฎากร การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในกรณีนี้จึงไม่ชอบ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ. 2521เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2522 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกลงวันที่ 27 มีนาคม 2527 เรียกโจทก์มาไต่สวน โจทก์ได้รับหมายเรียกเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2527 จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการเสียภาษีถูกต้องตามมาตรา 19 แล้ว แม้ตามหมายเรียกเพื่อการตรวจสอบไต่สวนกำหนดให้โจทก์มาให้ถ้อยคำและนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เวลาโจทก์น้อยกว่า 7 วัน และเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพัง โดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่ได้ แต่เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้ง การออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว