คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเมินภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 719 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7096/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ฉบับแก้ไข และผลของการประเมินเกินกำหนด
ขณะที่โจทก์มีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการทรัพย์สินเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2533 และ 2534 นั้น พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ โจทก์จึงต้องยื่นแบบพิมพ์ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19 เดิม และจำเลยจะต้องประเมินและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ภายใน 10 ปี นับแต่วันครบกำหนดที่ให้ผู้รับประเมินยื่นแบบพิมพ์ตามมาตรา 19 เดิม การที่จำเลยประเมินภาษีและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ภายใน 10 ปี จึงเป็นการประเมินภายในเวลาที่กำหนด ส่วนการยื่นแบบแจ้งรายการทรัพย์สินเพื่อเสียภาษีประจำปีภาษี 2535 ถึง 2537 ต้องกระทำภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534 และจำเลยจะต้องประเมินและแจ้งการประเมินภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 24 ทวิ โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการประจำปีภาษี 2535 ถึง 2538 แล้ว ดังนั้น จำเลยจะต้องประเมินและแจ้งการประเมินภายในเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นแบบพิมพ์ตามมาตรา 19 หรือ ภายในวันสุดท้ายของเดือน กุมภาพันธ์ การที่จำเลยประเมินภาษีเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543 และแจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ จึงพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา 24 ทวิ การประเมินจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6958/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากราคาซื้อขายต่ำกว่าราคาประเมินของราชการ ศาลยืนตามประเมินเจ้าพนักงาน
โจทก์ขายห้องชุดพิพาทจำนวน 223 ห้อง ไปในราคาต่ำกว่าราคาที่โจทก์ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายโดยไม่มีเหตุอันควร ทั้งโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าราคาตลาดของห้องชุดดังกล่าวในวันที่มีการโอนมีราคาเท่าใด การที่เจ้าพนักงานประเมินถือเอาราคาประเมินของทางราชการที่ใช้คำนวณเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้ผู้ซื้อจากโจทก์ในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทเป็นราคาตลาดในวันที่โอนจึงเหมาะสมและชอบด้วยประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 65 ทวิ (4)แล้ว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามฟ้องจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสเป็นโมฆะส่งผลต่อหน้าที่เสียภาษีจากเงินได้ของคู่สมรส
โจทก์เป็นสามี จ. เมื่อปีภาษี 2539 จ. ได้รับเงินจำนวน 11,300,000 บาท จากจำเลยที่ 4 ในคดีที่ จ. ฟ้องโจทก์กับพวกรวม 5 คน เป็นคดีแพ่งขอเพิกถอนนิติกรรมโจทก์มิได้นำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้ ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งให้โจทก์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2539 เพิ่มเติมกับเบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวมทั้งสิ้น 7,330,476 บาท โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และยื่นฟ้องจ. ต่อศาลขอให้พิพากษาให้การสมรสระหว่างโจทก์กับ จ. เป็นโมฆะ เนื่องจาก จ. มีคู่สมรสอยู่แล้วในขณะที่สมรสกับโจทก์ ศาลพิพากษาว่า การสมรสเป็นโมฆะ ดังนั้นเมื่อการสมรสระหว่างโจทก์กับ จ. เป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1452 ประกอบมาตรา 1495 มีผลเท่ากับมิได้เป็นสามีภริยากันมาแต่แรก จึงไม่อาจถือว่าเงินได้จำนวน 11,300,000 บาท ที่ จ. ได้รับมาเป็นเงินได้ของโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี โจทก์ไม่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีสำหรับเงินได้จำนวนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4463/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี และประเด็นการลดเบี้ยปรับ
แม้ฟ้องโจทก์ตอนต้นจะบรรยายว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ในฐานะตัวแทนของบริษัท เพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องต่อไปว่า โจทก์มีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ 1,126,760 บาท จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 33,802.80 บาท เท่านั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์ชำระภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นเงิน 121,772 บาท นั้น โจทก์ไม่เห็นด้วยเพราะโจทก์ไม่จำเป็นต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจำนวน 87,971.49 บาท และโจทก์ได้บรรยายฟ้องตอนท้ายว่าโจทก์ยอมชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ 33,802.80 บาท โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์เฉพาะส่วนเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจำนวน87,971.49 บาท แม้ศาลภาษีอากรกลางจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะของเจ้าพนักงานและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ก็หมายถึงการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์เฉพาะเรื่องเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเท่านั้น หาได้มีความหมายถึงตัวค่าภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
โจทก์ซื้อที่ดิน รับโอนที่ดินและห้องชุดจากบุคคลอื่นซึ่งมิใช่บริษัท ส. แล้วโจทก์ขายที่ดินและห้องชุดนั้นแก่ผู้ซื้อภายใน 5 ปี นับแต่วันได้มา อันเป็นการขายที่เป็นการค้าหรือหากำไรต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เมื่อโจทก์ไม่เสียภาษีภายในกำหนดจึงต้องรับผิดในเบี้ยปรับและเงินเพิ่มด้วย หลังจากเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1ตรวจพบว่าโจทก์ไม่ชำระภาษีให้ครบถ้วนจึงได้ออกหมายเรียกให้โจทก์ไปพบ โจทก์ให้การว่าโจทก์เป็นพนักงานขายของบริษัท ส. ได้ค่าตอบแทนการขายเพียงรายละ 5,000 บาทจึงเป็นการบ่ายเบี่ยงเพื่อไม่ต้องชำระภาษี มิใช่ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงาน แต่ปรากฏว่าต่อมามีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 366)ฯ ให้ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะในเรื่องนี้ลงเหลือร้อยละ0.1 จึงเห็นสมควรลดเบี้ยปรับลงร้อยละ 50

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินและชำระภาษีอากร: สิทธิของเจ้าพนักงานในการตรวจสอบและประเมินภาษี แม้เวลาตรวจสอบจะเนิ่นนาน
จำเลยนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อผลิตส่งออก โดยยื่นใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการการค้าเพื่อใช้สิทธิขอคืนภาษีอากร แต่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไข จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายบัญญัติ และมีหน้าที่ประเมินภาษีด้วยตนเอง ตามวิธีการและตามเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมายแล้วยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีอากรตามจำนวนที่พึงต้องชำระ หากจำเลยประเมินไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานของโจทก์ทั้งสองตรวจพบก็จะทำการประเมินใหม่และมีอำนาจประเมินให้จำเลยต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มได้ด้วย ดังนั้นการเสียภาษีจึงมิได้เกิดจากข้อสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลย โจทก์ทั้งสองเป็นเพียงผู้ตรวจสอบการเสียภาษีของจำเลยเท่านั้น ถึงแม้จะใช้เวลาตรวจสอบเนิ่นนานไปก็มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระภาษีอากรและเงินเพิ่มแก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1433/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีป้าย: การประเมินภาษีป้ายที่ไม่ถูกต้อง การขอคืนภาษี และข้อยกเว้นการยื่นคำร้องคืนภายในกำหนด
คำว่า "ป้าย" ตามพระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ มาตรา 6 หมายความว่า ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น แต่ป้ายที่มีข้อความว่า "กรมสรรพากรเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่ายดีเซล ซูพรีม92ซูพรีม 97"เป็นป้ายที่โจทก์มีหน้าที่ต้องจัดทำตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 54) ป้ายดังกล่าวจึงมิใช่ป้ายตามความหมายข้างต้น โจทก์ไม่มีหน้าที่เสียภาษีป้ายนี้
ส่วนป้ายที่มีข้อความว่า "ดีเซล" แม้จะเป็นชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่มีลักษณะทั่วไป แต่ก็ยังคงอยู่ในความหมายของคำว่า "ป้าย" เมื่อป้ายนี้อยู่ในอาคารที่ประกอบกิจการการค้าและมีขนาดพื้นที่ป้ายเกินกว่าหนึ่งตารางเมตร โจทก์จึงต้องเสียภาษีป้ายดังกล่าวแต่ป้าย "ดีเซลและซูพรีม 97" เป็นป้ายที่มีพื้นที่ไม่เกินหนึ่งตารางเมตร จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้าย
สำหรับป้าย "เอสโซ่Essoและเครื่องหมายลูกศร" เป็นป้ายที่อยู่โครงป้ายเดียวกันและไม่สามารถแยกจากกันได้กับข้อความ "ยินดีรับบัตร SYNERGYESSO" เครื่องหมายลูกศรอยู่ใต้ข้อความดังกล่าว จึงเป็นชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าของโจทก์อันมีลักษณะเชิญชวนให้ลูกค้าที่เป็นสมาชิกบัตรดังกล่าวเข้าใช้บริการของโจทก์ซึ่งตรงตามคำนิยามของคำว่า "ป้าย" แล้ว เมื่อป้ายดังกล่าวมีขนาดพื้นที่เกินหนึ่งตารางเมตรโจทก์จึงต้องเสียภาษีป้ายดังกล่าว
ป้ายมีข้อความว่า "เอสโซ่ Esso รูปเสือ WelcometotigerMart ล้าง-อัดฉีดห้องน้ำสะอาด" เป็นป้ายประเภท 2 ที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและเครื่องหมายซึ่งอยู่ในโครงป้ายเดียวกันทั้งหมดไม่อาจแยกจากกันได้และมีขนาดพื้นที่เกินกว่าหนึ่งตารางเมตร โจทก์ต้องเสียภาษีป้ายในส่วนนี้ด้วย
การขอคืนค่าภาษีป้ายตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ ต้องเป็นการขอคืนต่อผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมายภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เสียภาษีป้าย และต้องเป็นกรณีที่ผู้เสียภาษีป้ายเสียภาษีไปโดยไม่มีหน้าที่หรือเสียเกินกว่าที่ควรต้องเสีย แต่การที่โจทก์เห็นว่าการประเมินภาษีป้ายไม่ถูกต้อง และยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีดังกล่าวตามมาตรา 30 โดยจำเลยทั้งสองวินิจฉัยยืนตามการแจ้งประเมิน โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนหรือแก้ไขการประเมินและคำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสองพร้อมทั้งขอคืนค่าภาษีป้ายและเงินเพิ่มที่ประเมินเกินไปคืนนั้น มิใช่กรณีตามพระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ มาตรา 24 โจทก์จึงมีอำนาจขอค่าภาษีป้ายและเงินเพิ่มคืนจากจำเลยที่ 1 ได้แม้ว่าจะเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันเสียภาษีป้ายก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9754/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากการให้กู้ยืมเงินผู้ถือหุ้น และการเพิกถอนนิติกรรมยกหนี้ที่ไม่สามารถทำได้ในคดีนี้
จำเลยที่ 1 ให้ อ. และ ป. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและเคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 กู้ยืมเพียงครั้งเดียว มิได้ให้บุคคลอื่นกู้ยืมอีก กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (5) จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
นิติกรรมยกหนี้เงินกู้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับ อ. และ ป. เป็นนิติกรรมสองฝ่ายหาใช่นิติกรรมฝ่ายเดียว การเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวย่อมมีผลกระทบถึงสิทธิของ อ.และ ป. ซึ่งโจทก์มิได้ฟ้องเป็นจำเลยในคดีด้วยจึงไม่อาจเพิกถอนในคดีนี้ได้
อนึ่ง ที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำแก้อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้น เห็นว่า หากจำเลยที่ 2 ประสงค์จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว จำเลยที่ 2 ต้องกระทำโดยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง มิใช่เพียงยื่นคำแก้อุทธรณ์เช่นนี้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9691/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน การยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ และการเสียเงินเพิ่ม
หนังสือที่จำเลยมีถึงผู้อำนวยการเขตจตุจักรชี้แจงว่าจำเลยเช่าที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทยมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี โรงเรือนหรืออาคารที่ก่อสร้างขึ้นเป็นลักษณะชั่วคราว จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ทั้งมีสิทธิที่จะขอคืนภาษีโรงเรือนและทีดินที่ชำระไปแล้ว และหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีโรงเรือนและที่ดินและรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระหนี้สินของจำเลยภายหลังถูกรัฐบาลบอกเลิกสัญญาสัมปทานก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนกรรมสิทธิ์อาคารสำนักงานชั่วคราวที่พิพาทให้แก่บริษัทแล้ว จำเลยจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินนั้น มิใช่คำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 และมาตรา 26 แห่งพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงบัญชีรายได้-ค่าใช้จ่ายที่ถูกต้อง, ดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาด และการประเมินภาษีตามมาตรา 67 ทวิ
บริษัทโจทก์ลงบัญชีย่อยหรือลูกหนี้อื่น ๆ ชื่อบัญชีบริษัท ฟ. รับรู้รายได้ในเดือนสิงหาคม ตุลาคม และพฤศจิกายน 2532 รวมเป็นเงิน 2,879,913 บาทเท่ากับค่าจ้างทำของที่โจทก์ได้ทำสัญญาตกแต่งภายในให้แก่บริษัท ฟ. หากต่อมาโจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จและถูกยกเลิกสัญญาจ้าง โดยมีเงินที่บริษัท ฟ. ยังไม่ได้ชำระให้โจทก์ก่อนบอกเลิกสัญญาจำนวน 1,286,488 บาทจริง โจทก์จะต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวไปปรับปรุงลดยอดรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 ที่โจทก์รับรู้รายได้ไว้แล้ว มิใช่นำไปปรับปรุงลดยอดรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ที่โจทก์มิได้รับรู้รายได้ไว้ อันเป็นการลงบัญชีที่ขัดกับหลักการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65
โจทก์ให้บริษัทในเครือของโจทก์กู้เงินในปี 2534 จำนวน 121,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี โดยยกยอดเงินกู้มาจากรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 จำนวน 60,000,000 บาท ซึ่งเป็นเงินทุนของโจทก์ มิใช่เงินที่โจทก์ไปกู้บุคคลอื่นมา ส่วนอีกจำนวน 61,000,000 บาท เป็นเงินทุนหมุนเวียนของโจทก์ส่วนหนึ่งและเงินที่โจทก์กู้ยืมจากสถาบันการเงินมาใช้เป็นทุนหมุนเวียน ในส่วนเงินจำนวน 61,000,000 บาท เป็นกรณีที่โจทก์ให้กู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาด แม้บริษัทที่กู้ยืมจะเป็นบริษัทในเครือ แต่การที่โจทก์กู้ยืมจากสถาบันการเงินในอัตราร้อยละ 13 ถึง 17 ต่อปี มาให้กู้โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 10 ต่อปี เพื่อช่วยเหลือบริษัทในเครือให้มีกำไรย่อมเป็นเหตุไม่สมควรเพราะมิใช่ปกติวิสัยของผู้ทำการค้าทั่วไป การที่เจ้าพนักงานประเมินคิดดอกเบี้ยร้อยละ 15.495 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราเฉลี่ยของดอกเบี้ยที่โจทก์ไปกู้บุคคลอื่นมา จึงชอบแล้ว
ป. รัษฎากร มาตรา 67 ทวิ บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามมาตรา 68 หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควรจะต้องรับผิดตามมาตรา 67 ตรี โดยต้องเสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี จึงถือได้ว่าการฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ทั้งเป็นเรื่องของการประมาณการซึ่งหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินจะทราบและประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อมีการยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และมาตรา 69 ตอนสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี กรณีจึงมิใช่เรื่องการยื่นรายการตามแบบไม่ถูกต้องและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจสอบตามมาตรา 19 และ 20 เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8923/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71 และการคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 27 ชอบด้วยกฎหมาย
การใช้อำนาจประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) กฎหมายบัญญัติให้เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานประเมิน ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติในมาตรา 71 วรรคสอง ว่า ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71 เจ้าพนักงานประเมินจะใช้ดุลพินิจประเมินให้เสียภาษีตามบทบัญญัติในมาตราอื่นก็ได้ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยใช้อำนาจตามมาตรา 71 (1) ประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จึงเป็นการปฏิบัติไปตามมาตรา 71 (1) การกระทำของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคหนึ่งระบุว่า บุคคลใดไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในหมวดต่าง ๆ แห่งลักษณะนี้เกี่ยวกับภาษีอากรประเมินให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ และในวรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่มให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการหรือนำส่งภาษีจนถึงวันชำระหรือนำส่งภาษี ส่วนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 69 บัญญัติว่า บุคคลมีหน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของจำเลยคิดเงินเพิ่มจากโจทก์นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการ จึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลรัษฎากรและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว
of 72