คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปลอมแปลงเอกสาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 263 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ-ปลอมแปลงเอกสารราชการ-ใช้เอกสารปลอม เพื่อออกโฉนดที่ดิน
การที่จำเลยไปแจ้งความต่อ ส. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานว่าน.ส.3 ก. ของจำเลยและเก็บไว้ที่บ้านสูญหายไป ขอให้ ส.ลงบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเพื่อขอคัดสำเนารายงานดังกล่าวไปขอออก น.ส.3 ก. ส. หลงเชื่อจึงสั่งการให้ ม. เขียนสมุดรายงานประจำวันบันทึกข้อความตามที่จำเลยแจ้ง ทั้ง ๆ ที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าข้อความที่แจ้งเป็นเท็จ เป็นความผิดฐานแจ้งให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน จำเลยนำสำเนาน.ส.3 ก มาแก้ไขโดยการเพิ่มเติม ตัดทอนข้อความและแก้รูปแผนที่ที่ดินให้ผิดไปจากความจริง แล้วจำเลยได้ถ่ายภาพสำเนา น.ส.3 ก. ที่มีการแก้ไขแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยทำขึ้นนั้น เป็นภาพถ่ายสำเนาน.ส.3 ก. ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ ได้ความจากคำเบิกความของ ก. และ ณ. พยานโจทก์ว่าจำเลยนำเอกสารที่จำเลยทำปลอมขึ้นไปแสดงต่อบุคคลทั้งสองเพื่อให้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลย จึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเท็จ เบิกความเท็จ และปลอมแปลงเอกสาร มีความผิดแม้คดีไม่ถึงที่สุดหรือไม่
ความผิดฐานฟ้องเท็จย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ฟ้องคดี หาใช่ว่าต้องรอให้คดีนั้นถึงที่สุด หรือต้องฟังว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายหรือไม่ก่อนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 176/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเอกสารมอบอำนาจเพื่อจดทะเบียนโอนที่ดิน และความผิดของตัวการร่วม
โจทก์ได้กู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 และทำหนังสือมอบอำนาจโดยมิได้กรอกข้อความให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อให้จำเลยที่ 1ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินซึ่งโจทก์มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ไว้เป็นประกัน แต่จำเลยที่ 1 กลับไปกรอกข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1โดยไม่ได้รับความยินยอมหรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ และจำเลยที่ 1ได้นำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นการปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม จำเลยที่ 2 เป็นสามีของจำเลยที่ 1 และลงลายมือชื่อเป็นพยานในหนังสือสัญญากู้เงิน แสดงว่าจำเลยที่ 2 รู้เรื่องที่โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 และทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันเงินกู้ การที่จำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 กรอกข้อความโดยมิได้รับความยินยอมหรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์พฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ปลอมหนังสือมอบอำนาจการปลอมหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวก็โดยมีเจตนาจะนำไปใช้ในการจดทะเบียนโอนที่ดินมาเป็นของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ไปด้วยในวันที่นำหนังสือมอบอำนาจปลอมไปจดทะเบียนโอนที่ดิน แต่จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 มาตั้งแต่ต้นทั้งเป็นสามีภริยากันมีส่วนได้เสียในที่ดินที่รับโอน ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมในการใช้เอกสารปลอมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขหนังสือเดินทางเพื่อใช้แทนตนเองถือเป็นการปลอมแปลงเอกสารราชการ
จำเลยเอาหนังสือเดินทาง ซึ่งกระทรวงต่างประเทศออกให้แก่นายสิทธิชัย หอมพวงษ์ มาแก้ไขโดยแกะเอาภาพถ่ายของนายสิทธิชัย หอมพวงษ์ที่ปิดอยู่ในปกด้านในออกแล้วเอาภาพถ่ายของจำเลยปิดลงไปแทนนั้น แม้ภาพถ่ายจะไม่ใช่เอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (7) ก็ตาม แต่เมื่อนำไปปิดลงในหนังสือเดินทางดังกล่าว ย่อมทำให้ความหมายที่แท้จริงของหนังสือเดินทางเปลี่ยน-แปลงไปว่าจำเลย คือ นายสิทธิชัย หอมพวงษ์ และเป็นหนังสือเดินทางที่กระทรวง-การต่างประเทศออกให้แก่จำเลยโดยตรง ภาพถ่ายของจำเลยที่ไม่เป็นเอกสารจึงเกิดเป็นเอกสาร หนังสือเดินทางของนายสิทธิชัย หอมพวงษ์ กลายเป็นหนังสือ-เดินทางของจำเลยเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมแปลงเอกสารราช-การ เมื่อจำเลยนำไปใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เพื่อเดินทางออกไปและเข้ามาในราชการอาณาจักร ย่อมมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เนื่องจากเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงในความผิดฐานใช้ผู้อื่นลักทรัพย์และปลอมแปลงเอกสาร
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปีในความผิดฐานใช้ผู้อื่นให้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335,84 ส่วนความผิดฐานปลอมเอกสารกับใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264,268,83 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานใช้เอกสารปลอม 2 กระทงจำคุกกระทงละ 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าลงโทษฐานใช้เอกสารปลอม 4 กระทง แต่ยังคงจำคุกกระทงละ 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อยโดยลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา218 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5382/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันปลอมและใช้เอกสารปลอมฉ้อโกงธนาคาร จำเลยทั้งสองมีความผิดตามกฎหมายอาญา
การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268ประกอบด้วยมาตรา 266,341 เมื่อข้อหาใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 266 ซึ่งเป็นบทหนักไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ข้อหาฉ้อโกงตามมาตรา 341ซึ่งเป็นบทที่เบากว่า จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2581/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นทนายความ ปลอมแปลงเอกสารเพื่อหลอกลวงเอาเงินจากผู้เสียหาย
จำเลยมิได้จดทะเบียนเป็นทนายความ แต่บอกแก่โจทก์ร่วมว่า จำเลยมีอาชีพทนายความ โจทก์ร่วมจึงปรึกษาจำเลยเรื่องจะดำเนินคดีแก่นาง ส.และนายส. และมอบเอกสารกับค่าจ้างว่าความให้จำเลยไป แต่จำเลยไม่ได้ดำเนินคดีให้โจทก์ร่วมและต่อมาจำเลยแจ้งแก่โจทก์ร่วมว่าได้ฟ้องนาง ส. และนาย ส.แล้วกับทำสำเนาคำฟ้องนางส.และนายส.อันเป็นเอกสารปลอมมอบให้โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอม การปลอมและใช้เอกสารปลอมดังกล่าวมีเหตุเกี่ยวเนื่องจากการที่จำเลยรับจะดำเนินคดีให้โจทก์ร่วม แต่ไม่สามารถดำเนินคดีให้ได้จำเลยจึงมีเจตนาที่แท้จริงคือปลอมเอกสารสำเนาคำฟ้องเพื่อแสดงให้โจทก์ร่วมเห็นว่าจำเลยได้ดำเนินการตามที่ได้หลอกลวงโจทก์ร่วมไว้เพื่อฉ้อโกงเอาเงินของโจทก์ร่วมนั่นเองแม้การกระทำจะต่างวาระกัน การกระทำผิดของจำเลยก็เป็นความผิดกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2090/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร, ปลอมแปลงเอกสาร, แจ้งความเท็จ: องค์ประกอบความผิดและอำนาจฟ้อง
ส.พบรถยนต์ที่ถูกคนร้ายลักไปอยู่ในความครอบครองของจำเลยจึงขอรถยนต์คืน โดยนำหลักฐานสัญญาเช่าซื้อไปแสดงต่อจำเลย จำเลยไม่คืนให้โดยไม่ได้ให้เหตุผลว่าจำเลยได้รถยนต์มาอย่างไร และจำเลยยังเรียกร้องเอาเงินจาก ส.โดยอ้างว่าจำเลยนำรถยนต์ไปซ่อมอีกทั้งจำเลยกลับนำรถยนต์คันดังกล่าวที่ติดแผ่นป้ายทะเบียนปลอมและหมายเลขเครื่องยนต์ที่ถูกขูดลบแก้ไขไปยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อขอออกใบแทนใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ที่จำเลยแจ้งว่าหายทั้งที่รู้ว่าเป็นความเท็จพร้อมกับขอโอนรถยนต์จากผู้อื่นมาเป็นของจำเลย ขอเปลี่ยนสีและขอเสียภาษีรถยนต์ย้อนหลัง พฤติการณ์ต่าง ๆ ของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยครอบครองรถยนต์ดังกล่าวไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยย่อมมีความผิดฐานรับของโจร เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจรแล้ว ก็ย่อมไม่เป็นความผิดฐานยักยอกอีกแต่ข้อหาฐานรับของโจรนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาฐานรับของโจรย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่อาจลงโทษจำเลยฐานรับของโจรได้ จำเลยรู้อยู่แล้วว่าหมายเลขเครื่องยนต์และแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์นั้นเป็นเอกสารราชการปลอม เมื่อจำเลยนำรถยนต์ที่มีหมายเลขเครื่องยนต์และแผ่นป้ายทะเบียนดังกล่าวไปยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อขอออกใบแทนใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ที่จำเลยไปแจ้งเจ้าพนักงานว่าหายทั้งที่รู้ว่าเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานใช้หมายเลขเครื่องยนต์และแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ซึ่งเป็นเอกสารราชการปลอม กับมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(7) ได้ให้คำนิยามของคำว่า "เอกสาร"ไว้ว่าหมายความว่า กระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผังหรือแบบแผนอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพหรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้นจากบทนิยามดังกล่าวหมายเลขเครื่องยนต์และแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์จึงเป็นเอกสาร โจทก์ได้บรรยายฟ้องโดยใช้ข้อความว่า "จำเลยบังอาจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ" ซึ่งย่อมมีความหมายแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิด คือรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่แจ้งนั้นเป็นความเท็จแม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องอีกว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความนั้นเป็นความเท็จ ก็เป็นการเพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) ฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยที่ว่าคดีนี้ผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ในข้อหายักยอกภายในสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีจึงขาดอายุความและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องกับที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 นั้น เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอก แม้จะวินิจฉัยข้อฎีกาดังกล่าวของจำเลย ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาในข้อกฎหมายของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1191/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเอกสารราชการและการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ศาลฎีกายกประเด็นความสงบเรียบร้อยและแก้ไขโทษ
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันปลอมรอยตราประทับและใช้รอยตราประทับปลอม แต่ในคำขอท้ายฟ้องมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 251 ซึ่งเป็นบทลงโทษมาด้วย ย่อมลงโทษจำเลยไม่ได้ และการที่ศาลมิได้ปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ด้วยนั้นเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ในความผิดยักยอกทรัพย์ และอำนาจการเรียกค่าเสียหายในความผิดปลอมแปลงเอกสาร
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิที่จำเลยทำปลอมขึ้น และยักยอกทรัพย์ ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นผู้เสียหายยื่นคำร้องว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป และแถลงต่อศาลด้วยว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ขอถอนคำร้องทุกข์ ถือได้ว่าเป็นการถอนคำร้องทุกข์และยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายในความผิดฐานยักยอกซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเกี่ยวกับความผิดฐานดังกล่าวย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) คำขอให้ชดใช้ราคาทรัพย์อันเนื่องมาจากการกระทำผิดฐานยักยอกนั้นจึงเป็นอันตกไปด้วย
ป.วิ.อ. มาตรา 43 มิได้ให้อำนาจพนักงานอัยการที่ยื่นฟ้องคดีอาญาในความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 27