พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ขอให้ไต่สวนคำร้องใหม่ ถือเป็นการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลย จำเลยจึงอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลย อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวมีผลเท่ากับให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและพิจารณาคดีใหม่ จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของจำเลยก็ตาม ก็เป็นการรับอุทธรณ์มาโดยไม่ชอบ
การที่จำเลยฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลยนั้น เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
การที่จำเลยฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลยนั้น เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. ไม่สามารถใช้ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ โดยอนุโลมได้
ในคดีอาญา การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์ไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ดังนั้น จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินบังคับคดี การโอนสิทธิเรียกร้อง และกรอบเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296
คำร้องของจำเลยอ้างว่า จำเลยได้โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารให้แก่ธนาคารแล้ว จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร มิใช่ของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้อายัดเงินจำนวนดังกล่าว เนื่องจากเป็นการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกผู้สุจริต และจำเลยไม่ทราบเรื่องการขออายัดเงินดังกล่าวเพราะการส่งหมายให้จำเลยทำโดยวิธีปิดหมายการบังคับคดีจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดเงินนั้น เป็นคำร้องที่มีความหมายว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 นั่นเอง จึงต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของระยะเวลาตามมาตรา 296 วรรคสาม
มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ส่งเงินค่าจ้างจำเลยก่อสร้างอาคารตามที่โจทก์ขออายัดมายังเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้ทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินและส่งเงินสุทธิที่ได้จากการอายัดจำนวน 4,198,251 บาท ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้แจ้งการอายัดให้จำเลยทราบโดยชอบด้วยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2543 และได้จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินให้โจทก์ตรวจรับรองกับจ่ายเงินให้แก่โจทก์ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2543 การบังคับคดีจึงเสร็จสิ้นลงในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสี่ (2), 318 จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดเงินเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2544 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ส่งเงินค่าจ้างจำเลยก่อสร้างอาคารตามที่โจทก์ขออายัดมายังเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้ทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินและส่งเงินสุทธิที่ได้จากการอายัดจำนวน 4,198,251 บาท ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้แจ้งการอายัดให้จำเลยทราบโดยชอบด้วยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2543 และได้จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินให้โจทก์ตรวจรับรองกับจ่ายเงินให้แก่โจทก์ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2543 การบังคับคดีจึงเสร็จสิ้นลงในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสี่ (2), 318 จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดเงินเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2544 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน: การยกข้อต่อสู้ใหม่ถือเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 180
จำเลยที่ 1 ขอแก้ไขในคำให้การเดิม จากที่ปฏิเสธว่าลายมือชื่อผู้เช่าซื้อในสัญญาเช่าซื้อมิใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 และผู้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ เป็นว่า ผู้ลงนามในฐานะเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อในขณะทำสัญญาเช่าซื้อ และมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ตามกฎหมายขณะทำสัญญาเช่าซื้อ ข้อความที่ขอแก้ไขดังกล่าวจึงเป็นการสละข้อต่อสู้เดิมที่ว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นเอกสารปลอมและยกข้อต่อสู้ว่าในขณะทำสัญญาผู้ลงนามในฐานะผู้ให้เช่าซื้อมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อ และมิใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ กรณีหาใช่การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย แต่เป็นการยกข้อต่อสู้นอกเหนือจากคำให้การเดิมและเป็นเรื่องที่จำเลยอาจขอแก้ไขได้ก่อนวันชี้สองสถานอีกทั้งโจทก์ได้บรรยายฟ้องมาโดยชัดแจ้งแล้วในเรื่องการมอบอำนาจให้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ ซึ่งจำเลยมิได้ปฏิเสธหรือต่อสู้ในข้อนี้ ข้อความที่จำเลยขอแก้ไขดังกล่าวจึงไม่กระทบถึงความสมบูรณ์ของสัญญาเช่าซื้อ อันจะทำให้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด การยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การภายหลังวันชี้สองสถานเช่นนี้ จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9219/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งคืนคำคู่ความ: การบังคับใช้มาตรา 18 และ 228 วรรคสอง ป.วิ.พ.
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำฟ้องอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ทำมาใหม่ เป็นคำสั่งชั้นตรวจคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามภายในเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ตามวรรคสองของมาตรา 18 แต่วรรคท้ายของมาตรา 18 บัญญัติให้อุทธรณ์และฎีกาคำสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตามมาตรานี้ได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227, 228 และ 247 กรณีมิได้ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 234 แห่ง ป.วิ.พ. ที่จำเลยจะต้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แต่อย่างใด เพราะกรณีนี้อยู่ในชั้นตรวจคำคู่ความ การที่จำเลยไม่ทำอุทธรณ์มายื่นใหม่ภายในเวลา 3 วันตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 18 วรรคสอง หาทำให้จำเลยหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำฟ้องอุทธรณ์ให้ทำมาใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 วรรคท้าย ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9203/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 229 จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา
การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ซึ่งจะมีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไปมีผลเท่ากับ เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ผู้อุทธรณ์จะต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยมาจึงมิชอบ เช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247 ถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8533/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีใหม่และการสิ้นสุดสิทธิอุทธรณ์ฎีกาภายหลัง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 19)
โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2544 ภายหลังจาก พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 19)ฯ มีผลใช้บังคับแล้ว คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 207 ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 199 เบญจ มาใช้บังคับโดยอนุโลม คดีนี้จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิฎีกาต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2549/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ป.วิ.พ. มาตรา 234: วางค่าฤชาธรรมเนียม & ชำระเงินตามคำพิพากษา
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น จำเลยต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นและนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แม้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจะขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายมิใช่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติดังกล่าว เพราะการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยกระทำขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์เช่นนี้ ย่อมทำให้การบังคับคดีต้องล่าช้าออกไป อาจเสียหายแก่โจทก์ผู้ชนะคดีได้ จำเลยผู้อุทธรณ์จึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวให้ครบถ้วน เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล จึงเป็นอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแก้ไขคำให้การในคดีแรงงาน: การพิจารณาตาม ป.วิ.พ. และ พ.ร.บ.แรงงาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำให้การไว้ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยขึ้นใหม่แทนวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์แต่เดิม เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 มาใช้บังคับ ถือได้ว่าคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน เมื่อคดีไม่มีการชี้สองสถานและมีการสืบพยานนัดแรก (พยานจำเลย) เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 การยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยฉบับลงวันที่ 12 มีนาคม 2545 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยขึ้นใหม่แทนวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์แต่เดิม เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 มาใช้บังคับ ถือได้ว่าคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน เมื่อคดีไม่มีการชี้สองสถานและมีการสืบพยานนัดแรก (พยานจำเลย) เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 การยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยฉบับลงวันที่ 12 มีนาคม 2545 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2352/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายเขตอำนาจศาลต่อศาลฎีกาต้องเป็นไปตามขั้นตอน ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ การไม่ส่งสำเนาคำร้องให้คู่ความอีกฝ่ายถือว่าไม่ถูกต้อง
เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเรื่องเขตอำนาจศาลพร้อมคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของโจทก์ไปในทันทีโดยที่ยังมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่คู่ความอีกฝ่ายเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายมีโอกาสคัดค้าน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ และถือได้ว่าเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 27 ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นๆ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องได้
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)