พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 366/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างรุกล้ำแนวเขตและผลกระทบต่อแสงสว่าง-ลม โจทก์มีส่วนผิดและผลกระทบไม่ร้ายแรง
แม้จำเลยจะได้ก่อสร้างตึกแถวชิดแนวเขตที่ดินเกินไป แต่ก็มิได้รุกล้ำที่ดินโจทก์ และโจทก์เองก็ได้ปลูกบ้านชิดแนวเขตมากเกินไปด้วย โจทก์จึงมีส่วนผิดอยู่ด้วย ปรากฏว่าหลังคาตึกแถวจำเลยสูงกว่าหลังคาบ้านโจทก์เพียง 1 เมตรและยังมีช่องให้แสงสว่างเข้าได้พอสมควร ซึ่งลมก็ย่อมจะพัดผ่านบ้านโจทก์ได้บ้างแม้ไม่มากเหมือนดังเดิม ทั้งไม่ปรากฏว่าตึกแถวจำเลยมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องลมหรือแสงสว่างแต่อย่างใด และในสภาวะที่บ้านโจทก์สร้างด้วยไม้ย่อมแก้ไขปรับปรุงได้ไม่ยาก ซึ่งก็ปรากฏว่าโจทก์ได้แก้ไขหน้าต่างไปแล้ว ในสภาพที่เป็นชุมชนผู้ที่อยู่อาศัยย่อมจะต้องยอมรับความลำบากอยู่บ้าง ฉะนั้นเมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่ของบ้านโจทก์และจำเลยมาคำนึงประกอบแล้ว เห็นว่าโจทก์มิได้เดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แม้ผลเกิดกับผู้อื่น ก็ถือเป็นความผิดฐานฆ่าโดยเจตนา
จำเลยได้นำน้ำส้มผสมยาฆ่าแมลงไปถวายพระภิกษุผู้เสียหาย โดยเจตนาฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แม้จำเลยจะมีเจตนา ฆ่าเฉพาะผู้เสียหาย แต่เมื่อผลแห่งการกระทำเกิดขึ้นแก่ ผู้ตายโดยพลาดไปก็ต้องถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย โดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 60 ด้วย จำเลยมีความผิดตามมาตรา 289(4) ประกอบด้วยมาตรา 80 และมาตรา 289(4) ประกอบด้วยมาตรา 60
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ ผลกระทบต่อสิทธิในการผ่อนชำระ และการคำนวณดอกเบี้ย
การที่ผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 โดยตามหลักฐานการชำระหนี้มิได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามกำหนดระยะเวลา แต่ผู้คัดค้านก็ยอมรับชำระหนี้ในลักษณะนี้มาโดยตลอดโดยมิได้ทักท้วง ย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านได้สละสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาแล้ว ประกอบกับเมื่อผู้ร้องนำเงินมาชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22เมษายน 2534 ยังเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก 95,460.45 บาท แต่ผู้คัดค้านยังไม่ถือว่าผู้ร้องผิดนัด โดยขยายเวลาให้ผู้ร้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระภายในวันที่ 5มิถุนายน 2534 หากไม่นำมาชำระภายในกำหนดจึงจะถือว่าผิดนัด เมื่อผู้ร้องไม่ได้นำเงินไปชำระหนี้ที่เหลือภายในวันดังกล่าวเช่นนี้ ถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่5 มิถุนายน 2534 ตามที่กำหนดไว้ หาใช่ผิดนัดเมื่อครบ 3 ปี ตามกำหนดระยะเวลาเดิมตามที่ผู้คัดค้านอนุมัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 ไม่
มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่ แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 อยู่อีกต่อไป จึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ข้อ 1.3 วรรคสองตอนท้าย โดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้น เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น 149,600 บาทยังคงค้างชำระอยู่อีก 95,460.45 บาท จึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12ดังกล่าว จึงต้องคิด ณ วันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 มีผลบังคับคือวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2534 มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้ว ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใด ผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน 95,460.45 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไป คือตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534
ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534 แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2534 เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไข จึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2534
มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่ แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 อยู่อีกต่อไป จึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ข้อ 1.3 วรรคสองตอนท้าย โดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้น เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น 149,600 บาทยังคงค้างชำระอยู่อีก 95,460.45 บาท จึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12ดังกล่าว จึงต้องคิด ณ วันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 มีผลบังคับคือวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2534 มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้ว ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใด ผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน 95,460.45 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไป คือตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534
ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534 แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2534 เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไข จึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินหลังปฏิรูปที่ดิน: สิทธิของผู้เช่าและผลกระทบของนิติกรรม
ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518มาตรา 32 กำหนดไว้ชัดว่า เมื่อสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจัดซื้อที่ดินแล้ว สิทธิของผู้เช่าที่ดินตามสัญญาเช่าหรือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเช่านาต้องสิ้นสุดลง ซึ่งเป็นผลของกฎหมาย โดยไม่ต้องคำนึงถึงผู้เช่าจะเป็นใครหรือเช่าอยู่ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านาหรือไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 และ ท.ผู้ตายบุตรของจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว ก็ถือว่าสัญญาเช่าที่ดินที่มีอยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 และ ท.กับจำเลยที่ 3 ได้สิ้นสุดลง จำเลยที่ 1และ ท.ไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 3 ผู้เช่าซื้อที่ดินก่อน หรือและไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยที่ 3 จะต้องทราบก่อนว่าจะมีการซื้อขายที่ดินกันหรือไม่ ส่วน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 เป็นกฎหมายที่บัญญัติสืบเนื่องมาจากพ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 ซึ่งถูกยกเลิกไป เหตุที่ต้องแก้ไขยกเลิกก็เพราะ พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 มีรายละเอียดไม่เหมาะสมและแก้ไขเพื่อให้สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หาได้แก้ไขให้มีผลกระทบถึงพ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ไม่ ผู้เช่าย่อมอยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิรูปตามมาตรา 32 นี้ด้วย จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจอ้างสิทธิตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มายันโจทก์ผู้จะซื้อได้ และจำเลยที่ 2ผู้รับมรดกของ ท.ซึ่งต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจะซื้อขายด้วย จึงต้องจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย และเมื่อจำเลยที่ 2 ได้ยกที่ดินดังกล่าวอันเป็นมรดกของ ท.ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอนได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 237,238 ซึ่งศาลจะมีคำพิพากษาให้บังคับตามคำขอของโจทก์ได้ก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ทำนิติกรรมตามฟ้องโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทั้งไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมยกให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้ให้กับจำเลยที่ 1 ผู้รับให้ซึ่งเป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 1 จะโอนขายให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 ประกอบด้วยมาตรา 238 และโจทก์ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวได้ก็ตาม แต่เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ศาลฎีกาจึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 237,238 ซึ่งศาลจะมีคำพิพากษาให้บังคับตามคำขอของโจทก์ได้ก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ทำนิติกรรมตามฟ้องโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทั้งไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมยกให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้ให้กับจำเลยที่ 1 ผู้รับให้ซึ่งเป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 1 จะโอนขายให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 ประกอบด้วยมาตรา 238 และโจทก์ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวได้ก็ตาม แต่เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ศาลฎีกาจึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขพินัยกรรมไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วน ไม่กระทบความสมบูรณ์ของพินัยกรรมทั้งฉบับ
การขูดลบตกเติมหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหากผู้ทำพินัยกรรมพยานและกรรมการอำเภอไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ส่วนที่ขูดลบตกเติมหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงย่อมไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1658วรรคสองแต่ไม่มีผลกระทบถึงพินัยกรรมทั้งฉบับข้อความเดิมย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อันตรายสาหัส – การพิสูจน์ความทุกขเวทนาและผลกระทบต่อการใช้ชีวิต, กรรมเดียวผิดหลายบท
แม้หลังเกิดเหตุแล้ว 2 เดือน นิ้วก้อยซ้ายของผู้เสียหายยังไม่สามารถยืดออกได้ตามปกติก็ตาม แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าอาการป่วยเจ็บเช่นว่านั้นทำให้ผู้เสียหายได้รับทุกขเวทนาหรือไม่สามารถประกอบกรณียกิจได้ตลอดระยะเวลาดังกล่าว จึงฟังไม่ได้ว่า บาดแผลดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา หรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน อันจะเข้าลักษณะเป็นอันตรายสาหัส
การที่จำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้เสียหายที่ปากซอย แล้วไล่ตามเข้าไปทำร้ายผู้เสียหายในบริเวณบ้านของ พ.อีกนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำต่อเนื่องกันโดยจำเลยมีเจตนาอันเดียวมุ่งหมายที่จะทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้เสียหายที่ปากซอย แล้วไล่ตามเข้าไปทำร้ายผู้เสียหายในบริเวณบ้านของ พ.อีกนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำต่อเนื่องกันโดยจำเลยมีเจตนาอันเดียวมุ่งหมายที่จะทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7471/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งปริมาณการผลิตล่าช้าถือเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกำหนดราคาสินค้า แม้ไม่มีผลเสียต่อราชการ
ประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด กำหนดให้ผู้ผลิตสินค้าควบคุมแจ้งปริมาณการผลิตหรือการนำเข้าของแต่ละเดือนเป็นประจำทุกไตรมาส (3 เดือน) ต่อเลขาธิการภายในเดือนแรกของไตรมาส(3 เดือน) ถัดไป ย่อมหมายถึงว่าผู้ผลิตสินค้าควบคุมมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแจ้งปริมาณการผลิตภายในเวลาที่กำหนด การที่จำเลยจัดทำแบบแจ้งปริมาณการผลิตเสร็จเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2528 แล้วไม่ยื่นแบบแจ้งต่อเลขาธิการคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดภายในวันที่ 30 เมษายน 2528 จะถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด มาตรา 43
การที่จำเลยแจ้งปริมาณการผลิตหรือการนำเข้าของแต่ละเดือนเป็นประจำทุกไตรมาสล่าช้ากว่ากำหนด 4 วัน และจำเลยไม่ได้รับประโยชน์และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ก็ถือว่าจำเลยมีเจตนาฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดแล้ว เพราะประกาศดังกล่าวประกาศใช้เพื่อควบคุมสินค้าบางประเภทที่ทางราชการเห็นว่าผู้ผลิตผู้จำหน่ายอาจจะเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
การที่จำเลยแจ้งปริมาณการผลิตหรือการนำเข้าของแต่ละเดือนเป็นประจำทุกไตรมาสล่าช้ากว่ากำหนด 4 วัน และจำเลยไม่ได้รับประโยชน์และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ก็ถือว่าจำเลยมีเจตนาฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดแล้ว เพราะประกาศดังกล่าวประกาศใช้เพื่อควบคุมสินค้าบางประเภทที่ทางราชการเห็นว่าผู้ผลิตผู้จำหน่ายอาจจะเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7044/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบ พ.ร.บ.ประดิทิน พ.ศ.2483 ต่อการคำนวณอายุ และการเลิกจ้างก่อนเกษียณ
ตาม พ.ร.บ.ปีประดิทิน พ.ศ.2483 เปลี่ยนระยะเวลาสิบสองเดือนของปีประดิทินจากเดือนเมษายนถึงเดือนมีนาคมมาเป็นเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคมของแต่ละปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2484 และบัญญัติให้เดือนมกราคมกุมภาพันธ์ และมีนาคม ของปี 2483 เป็นเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคมของปี 2484 โดยบทบัญญัติดังกล่าว สำหรับบุคคลที่เกิดก่อนวันที่ 1 มกราคม 2484หากเกิดในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ หรือมีนาคม อายุจริงของบุคคลนั้นจะน้อยกว่าอายุที่นัยตามประดิทิน 1 ปี เพราะอายุที่นับตามประดิทินต้องนับอายุของปี 2483ที่ตัดออกไปเข้าไปด้วยทั้งปี ดังเช่นกรณีของโจทก์ซึ่งเกิดวันที่ 9 มีนาคม 2480 ในวันที่ 9 มีนาคม 2484 ถ้านับตามประดิทินโจทก์มีอายุ 4 ปีบริบูรณ์ ทั้ง ๆ ที่ตามความเป็นจริงในวันดังกล่าวโจทก์มีอายุเพียง 3 ปีบริบูรณ์เท่านั้น เพราะวันที่ 9มีนาคม 2484 นั้น ถ้าไม่มี พ.ร.บ.ประดิทิน พ.ศ.2483 ออกใช้บังคับ ก็เป็นวันที่9 มีนาคม 2483 นั่นเอง ดังนั้นการนับอายุจริงสำหรับบุคคลที่เกิดก่อนวันที่ 1มกราคม 2484 และเกิดในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ หรือมีนาคม จึงต้องนำอายุตามประดิทินมาบวกอีก 1 ปี โจทก์ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2480 มีอายุครบ55 ปี ตามประดิทินในปี 2535 เมื่อบวกอีก 1 ปี โจทก์จึงมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 9 มีนาคม 2536 ซึ่งตามระเบียบของจำเลย โจทก์จะต้องเกษียณอายุในวันที่ 31 ธันวาคม 2536 การเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างก่อนเกษียณอายุและเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6866/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการทิ้งฟ้องต่อฟ้องแย้ง: ฟ้องแย้งดำเนินต่อไปได้ แม้ฟ้องหลักถูกทิ้ง
การที่จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การเป็นไปเพื่อความสะดวกในการดำเนินคดีของจำเลย ทั้งเพื่อความสะดวกในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล มิใช่เพิ่งจะเกิดมีสิทธิที่จะฟ้องโจทก์ขึ้นมาภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลย การที่โจทก์ไม่นำค่าขึ้นศาลมาเสียเพิ่มภายในกำหนดตามคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องการทิ้งคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าว แม้จะมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องแต่ก็มีผลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องของโจทก์เท่านั้น ไม่มีผลไปถึงฟ้องแย้งของจำเลย ซึ่งโจทก์เป็นจำเลยฟ้องแย้ง เพราะเป็นคนละส่วนกันศาลดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนของฟ้องแย้งต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6274/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินกรรมสิทธิ์รวมที่มิได้มีคู่สัญญาเป็นเจ้าของร่วม ผลกระทบต่อสิทธิเจ้าของร่วม
การที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินมีโฉนดเฉพาะส่วนทางด้านทิศใต้เนื้อที่ 8 ไร่ จากจำเลย โดย ว. ซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินดังกล่าวมิได้เป็นคู่สัญญาจะซื้อขายกับโจทก์และมิได้ให้ความยินยอมให้จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายและตกลงให้โจทก์ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนทางด้านทิศใต้ ข้อตกลงดังกล่าวไม่ผูกพัน ว.โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลบังคับคดีโดยให้จำเลยแบ่งแยกโฉนดที่ดินกรรมสิทธิ์รวมแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์เป็นผลให้กระทบกระเทือนกรรมสิทธิ์ส่วนของ ว. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วยไม่ได้