พบผลลัพธ์ทั้งหมด 402 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่จ่ายบำเหน็จตกทอดของส่วนราชการเมื่อมีผู้ทวงถาม และการคิดดอกเบี้ยกรณีผิดนัด
บำเหน็จตกทอดของ ป. ผู้ตายมิใช่มรดก และกฎหมายมิได้บังคับให้กรมบัญชีกลางจำเลยต้องจ่ายแก่ผู้มีส่วนได้เสียในทันทีที่ ป. ตาย แต่จะต้องจ่ายเมื่อมีผู้มีส่วนได้เสียทวงถาม โจทก์และจำเลยที่ 2 ยื่นเรื่องราวขอรับบำเหน็จตกทอดของ ป. ต่อจำเลยที่ 1 ต่างฝ่ายต่างอ้างว่าเป็นภริยาของ ป.โดยโจทก์อ้างว่าจดทะเบียนสมรสกับ ป. เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2517ส่วนจำเลยที่ 2 อ้างว่า หย่ากับ ป. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมในปี 2516 แต่ยังมิได้ไปจดทะเบียนหย่า เช่นนี้ จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องวินิจฉัยให้เสร็จไปภายในเวลาอันสมควรว่าจะจ่ายบำเหน็จตกทอดให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่าย แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าปฏิเสธการจ่ายเมื่อใด จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้องต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7635/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่ายตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน การกำหนดวันผิดนัดชำระหนี้ และสิทธิเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม
จำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือนจึงถือได้ว่า ค่าจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์เป็นหนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 204 วรรคสอง หากจำเลยไม่ชำระตามกำหนดเวลาดังกล่าวย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดนับถัดแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไปซึ่งจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่งเมื่อโจทก์มิได้ขอคิดดอกเบี้ยจากจำเลยนับแต่วันฟ้อง การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง จึงผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เมื่อมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา7 วัน
การที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เมื่อมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา7 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากอัตราดอกเบี้ยสูงเกินส่วน ศาลลดเบี้ยปรับได้ แต่การงดเบี้ยปรับทั้งหมดไม่ถูกต้อง
ประกาศของธนาคารโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อที่ออกโดยอาศัยประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดมีข้อความระบุชัดว่า ธนาคารโจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 24ต่อปี สำหรับลูกหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในส่วนที่เกินวงเงินหรือเบิกเงินเกินบัญชีชั่วคราวหรือในกรณีที่ลูกหนี้ประพฤติผิดสัญญากู้เงินแล้วต่อมามีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเป็นร้อยละ 25 ต่อปี แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะเรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 24 หรือร้อยละ 25 ต่อปี เฉพาะกรณีที่เป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือกรณีที่ลูกหนี้ประพฤติผิดเงื่อนไขในสัญญากู้เงินหาใช่เป็นเรื่องโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นหรือลดลงตามภาวะเศรษฐกิจตามที่ระบุในสัญญากู้เงินไม่ ข้อกำหนดที่ให้โจทก์เรียกเอาดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 24 หรือร้อยละ 25 ต่อปีเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญากู้เงินย่อมเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ แต่ที่ศาลชั้นต้นลดจากร้อยละ 25 ต่อปีลงเหลือร้อยละ 19 ต่อปีเท่ากับอัตราดอกเบี้ยก่อนที่จำเลยผิดนัดมีผลเป็นการงดเบี้ยปรับโดยสิ้นเชิงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5868/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินและการผิดนัดชำระหนี้ รวมถึงดอกเบี้ย
จำเลยได้รับเงินจำนวน 40,000 บาท ไปจากโจทก์และได้ทำบันทึกไว้ให้แก่โจทก์ ระบุไว้ทำนองว่า เงิน 40,000 บาท ที่จำเลยเอาไป ถ้า ป.(หมายถึงพี่สาวจำเลย) ไม่สามารถส่งให้ทันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ ลงชื่อจำเลยผู้ยืมและโจทก์ผู้ให้ยืม สำหรับคำว่า จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ หมายถึง จำเลยรับรองจะคืนเงินให้นั่นเอง หากพิจารณาข้อความในเอกสารดังกล่าวทั้งหมดแล้ว ก็จะได้ความว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ดังความในตอนท้ายที่ลงชื่อว่าผู้ยืมและผู้ให้กู้ยืม และปรากฏข้อความว่าจำเลยได้รับเงิน 40,000 บาท ไปจากโจทก์แล้วหากภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2537ถ้าพี่สาวจำเลยไม่ใช้ให้จำเลยรับรองและรับผิดชอบจะคืนให้ กรณีจึงมีความหมายเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
หลักฐานการกู้ยืมเงินกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในวันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งก็คือวันที่ 31 ธันวาคม 2537 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224
หลักฐานการกู้ยืมเงินกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในวันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งก็คือวันที่ 31 ธันวาคม 2537 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5868/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารหลักฐานการกู้ยืมเงิน: การตีความข้อตกลงและดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยได้รับเงินจำนวน 40,000 บาท ไปจากโจทก์และได้ทำบันทึกไว้ให้แก่โจทก์ ระบุไว้ทำนองว่า เงิน 40,000 บาท ที่จำเลยเอาไปถ้า ป. (หมายถึงพี่สาวจำเลย) ไม่สามารถส่งให้ทันสิ้นเดือนธันวาคม2537 จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ ลงชื่อจำเลยผู้ยืมและโจทก์ผู้ให้ยืม สำหรับคำว่า จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ หมายถึงจำเลยรับรองจะคืนเงินให้นั่นเอง หากพิจารณาข้อความในเอกสารดังกล่าวทั้งหมดแล้ว ก็จะได้ความว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ดังความในตอนท้ายที่ลงชื่อว่าผู้ยืมและผู้ให้กู้ยืม และปรากฏข้อความว่าจำเลยได้รับเงิน 40,000 บาท ไปจากโจทก์แล้วหากภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ถ้าพี่สาวจำเลยไม่ใช้ให้จำเลยรับรองและรับผิดชอบจะคืนให้ กรณีจึงมีความหมายเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
หลักฐานการกู้ยืมเงินกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในวันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งก็คือวันที่ 31 ธันวาคม 2537เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
หลักฐานการกู้ยืมเงินกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในวันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งก็คือวันที่ 31 ธันวาคม 2537เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5868/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารบันทึกการรับเงินเป็นหลักฐานการกู้ยืม การคิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระหนี้
จำเลยได้รับเงินจำนวน 40,000 บาท ไปจากโจทก์และได้ทำบันทึกไว้ให้แก่โจทก์ ระบุไว้ทำนองว่าเงิน 40,000 บาท ที่จำเลยเอาไป ถ้า ป. (หมายถึงพี่สาวจำเลย) ไม่สามารถส่งให้ทันสิ้นเดือนธันวาคม 2537จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ ลงชื่อจำเลยผู้ยืมและโจทก์ผู้ให้ยืมสำหรับคำว่า จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ หมายถึงว่า จำเลยรับรองจะคืนเงินให้นั่นเอง หากพิจารณาข้อความในเอกสารดังกล่าวทั้งหมดรวมกันแล้วก็จะได้ความว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์และปรากฏข้อความว่าจำเลยได้รับเงิน 40,000 บาท ไปจากโจทก์แล้วหากภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ถ้าพี่สาวจำเลยไม่ใช้ให้จำเลยรับรองและรับผิดชอบจะคืนให้ กรณีจึงมีความหมายเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งแล้ว
หลักฐานการกู้ยืมเงินกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในวันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งก็คือวันที่ 31 ธันวาคม 2537 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
หลักฐานการกู้ยืมเงินกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในวันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งก็คือวันที่ 31 ธันวาคม 2537 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5440/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีของทั้งสองฝ่ายตามคำพิพากษาและการสั่งให้ผิดนัดที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยต่างมีหน้าที่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่กัน ทั้งโจทก์และจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะขอให้ดำเนินการบังคับคดีให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มี คำพิพากษาถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่นำเงินจำนวนดังกล่าวมาชำระ จำเลยย่อมชอบที่จะร้องขอต่อศาลขอให้ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาในส่วนนี้ได้ และเมื่อศาลได้ออกคำบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาแล้วโจทก์ไม่ยอมปฏิบัติตาม จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ชอบที่จะยื่นคำขอ ต่อศาลเพื่อขอให้ออกหมายบังคับคดีแก่โจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275 ส่วนโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ที่จะบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ย่อมชอบที่จะร้องขอต่อศาลขอให้ดำเนินการบังคับคดีให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ภายในสิบปีเช่นกัน
แม้จำเลยจะนำโฉนดที่ดินพิพาทมาวางศาลเพื่อให้โจทก์มารับไปจดทะเบียนโอนตามคำพิพากษาก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์รับจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทพร้อมกับชำระเงินค่าที่ดิน ตอบแทนจำเลยภายในกำหนด โดยให้โจทก์มีสิทธินำเงินค่าเสียหายตามคำพิพากษามาหักชำระค่าที่ดินได้ หากโจทก์ไม่ดำเนินการภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าโจทก์ตกเป็นฝ่ายผิดนัด ไม่มีสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาแก่จำเลยทั้งสองอีกต่อไปนั้น เป็นคำสั่งนอกเหนือคำบังคับย่อมเป็นการไม่ชอบ เพราะเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจะถือว่าโจทก์ผิดนัดหรือสละสิทธิในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ได้ เป็นการนอกเหนือคำพิพากษาและโจทก์มิได้ตกลงด้วย หากจำเลยเห็นว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการขอออกหมายบังคับคดีแก่โจทก์เพื่อให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นได้ต่อไป
แม้จำเลยจะนำโฉนดที่ดินพิพาทมาวางศาลเพื่อให้โจทก์มารับไปจดทะเบียนโอนตามคำพิพากษาก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์รับจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทพร้อมกับชำระเงินค่าที่ดิน ตอบแทนจำเลยภายในกำหนด โดยให้โจทก์มีสิทธินำเงินค่าเสียหายตามคำพิพากษามาหักชำระค่าที่ดินได้ หากโจทก์ไม่ดำเนินการภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าโจทก์ตกเป็นฝ่ายผิดนัด ไม่มีสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาแก่จำเลยทั้งสองอีกต่อไปนั้น เป็นคำสั่งนอกเหนือคำบังคับย่อมเป็นการไม่ชอบ เพราะเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจะถือว่าโจทก์ผิดนัดหรือสละสิทธิในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ได้ เป็นการนอกเหนือคำพิพากษาและโจทก์มิได้ตกลงด้วย หากจำเลยเห็นว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการขอออกหมายบังคับคดีแก่โจทก์เพื่อให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นได้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหมั้นผิดนัดและค่าเสียหาย: ศาลพิจารณาความเสียหายทางชื่อเสียงและโอกาสทางอาชีพ
พฤติการณ์ที่จำเลยซื้อแหวนเรือนทองฝังเพชรมอบให้โจทก์ตลอดจนการจองสถานที่จัดงานพิธีสมรสและพิมพ์บัตรเชิญงานสมรสรวมทั้งการติดต่อผู้ใหญ่ให้มาเป็นเจ้าภาพในงานพิธีสมรส ล้วนส่อแสดงว่าจำเลยประสงค์จะสมรสกับโจทก์ การให้แหวนกันดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการหมั้นและเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะมีการสมรสกันในเวลาต่อมาแม้การหมั้นจะมิได้จัดพิธีตามประเพณีหรือมีผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายมาร่วมเป็นสักขีพยานก็เป็นการหมั้นโดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยไปสมรสกับ น. โดยมิได้สมรสกับโจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น
โจทก์จำเลยกำหนดจัดงานพิธีสมรสกันในวันที่ 11 พฤศจิกายน2537 แต่พอถึงเวลาดังกล่าวไม่มีการจัดงานพิธีสมรส แต่โจทก์และจำเลยก็ยังมีความประสงค์ที่จะสมรสกันอยู่เพียงแต่มีการเลื่อนไป โดยทั้งสองยังมีความสัมพันธ์กันด้วยดีตลอดมา ในช่วงนั้นยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาหมั้น แต่ต่อมาวันที่ 19 พฤศจิกายน 2539 จำเลยจัดงานพิธีสมรสกับ น. ต้องถือว่าจำเลยผิดสัญญาหมั้นกับโจทก์นับแต่วันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้นพิพากษากำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ 200,000 บาทโจทก์มิได้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องจำนวนค่าเสียหายเป็นอันยุติ การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยแล้วกำหนดให้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพิ่มขึ้นเกินกว่า200,000 บาท จึงไม่ชอบ
โจทก์จำเลยกำหนดจัดงานพิธีสมรสกันในวันที่ 11 พฤศจิกายน2537 แต่พอถึงเวลาดังกล่าวไม่มีการจัดงานพิธีสมรส แต่โจทก์และจำเลยก็ยังมีความประสงค์ที่จะสมรสกันอยู่เพียงแต่มีการเลื่อนไป โดยทั้งสองยังมีความสัมพันธ์กันด้วยดีตลอดมา ในช่วงนั้นยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาหมั้น แต่ต่อมาวันที่ 19 พฤศจิกายน 2539 จำเลยจัดงานพิธีสมรสกับ น. ต้องถือว่าจำเลยผิดสัญญาหมั้นกับโจทก์นับแต่วันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้นพิพากษากำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ 200,000 บาทโจทก์มิได้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องจำนวนค่าเสียหายเป็นอันยุติ การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยแล้วกำหนดให้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพิ่มขึ้นเกินกว่า200,000 บาท จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3476/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยค่าชดเชยและค่าจ้างกรณีเลิกจ้าง: ศาลฎีกาตัดสินดอกเบี้ยตามประเภทหนี้และวันผิดนัด
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดกรณีค่าชดเชยและเงินบำเหน็จสะสมหรือบำเหน็จพิเศษไว้เป็นพิเศษ ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ค่าชดเชยเป็นเงินที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ในทันทีที่มีการเลิกจ้าง จึงถือว่าจำเลยผิดนัดจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์นับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป
ส่วนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและเงินบำเหน็จสะสมหรือบำเหน็จพิเศษ ไม่มีกฎหมายบังคับให้จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ ในทันทีนับแต่วันเลิกจ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลย ชำระหนี้ดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้นับแต่วันฟ้อง
ค่าชดเชยเป็นเงินที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ในทันทีที่มีการเลิกจ้าง จึงถือว่าจำเลยผิดนัดจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์นับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป
ส่วนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและเงินบำเหน็จสะสมหรือบำเหน็จพิเศษ ไม่มีกฎหมายบังคับให้จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ ในทันทีนับแต่วันเลิกจ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลย ชำระหนี้ดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้นับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นหลังผิดนัดกู้เงิน มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจลดได้
เมื่อสัญญากู้เงินกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอนชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่ยังให้สิทธิผู้ให้กู้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ต่อเมื่อผู้กู้ผิดนัดเช่นนี้ มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดไว้ล่วงหน้า อัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นจึงเป็นเบี้ยปรับเมื่อสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจปรับลดลงได้