พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3930/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิฟ้องโดยไม่สุจริตทำให้ขาดอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะพยายามชำระหนี้
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาเช่าว่า นับแต่โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าตลอดจนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าแล้ว จำเลยได้ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม2533 เป็นต้นมา อันหมายความว่า จำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่านับจากเดือนกรกฎาคม2533 ตลอดมาจนถึงวันฟ้อง ในระหว่างเวลาดังกล่าวแม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าจำเลยมิได้นำเงินค่าเช่าไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2534เป็นต้นมา ก็ต้องถือว่ายังอยู่ในข้อกล่าวหาของโจทก์อยู่นั่นเอง ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับวันผิดนัดจริงหากยังอยู่ในระหว่างเวลาที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องแล้วย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องนอกฟ้อง
จำเลยนำค่าเช่าไปชำระให้โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมรับ ถือว่าจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว โจทก์จะปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้หาได้ไม่ กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ในคดีแพ่ง ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยนำค่าเช่าไปชำระให้โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมรับ ถือว่าจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว โจทก์จะปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้หาได้ไม่ กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ในคดีแพ่ง ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การคิดดอกเบี้ย, และการผิดนัดชำระหนี้
จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะไม่บรรยายว่าในวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีวันที่ 10 สิงหาคม 2531 จำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวนเท่าใดแต่จำเลยมายื่นฎีกาในเรื่องนี้ว่า โจทก์ไม่แนบการ์ดบัญชีมาท้ายฟ้องทั้งหมด คงแนบมาตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2530เป็นต้นมา ก่อนนั้นไม่ปรากฏยอดหนี้เป็นมาอย่างไร ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามสัญญาตกลงให้คิดดอกเบี้ยทบต้นอัตราร้อยละ 14 ต่อปี ส่วนที่เกินวงเงินให้คิดร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อสัญญาเลิก เพราะครบกำหนดอายุสัญญา จำเลยมิได้ชำระหนี้แก่โจทก์จึงได้ชื่อว่าผิดนัด จำเลยยังต้องรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวแบบไม่ทบต้นต่อไปจนกว่าได้ชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา และการปรับอัตราดอกเบี้ยเกินสิทธิ
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ และจะชำระต้นเงินกู้ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 180 เดือน นับตั้งแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป โดยจะผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นรายเดือนหากผิดนัดชำระต้นเงินคืนและหรือดอกเบี้ยเป็นรายเดือนตามกำหนดดังกล่าวไม่ว่าเดือนหนึ่งเดือนใดยอมให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ทั้งหมดเมื่อถึงกำหนดผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่23 พฤษภาคม 2535 จำเลยมิได้ผ่อนชำระหนี้เดือนละ 27,000 บาทให้แก่โจทก์ตามกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยย่อมได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันทีตามข้อตกลงในสัญญากู้เงิน เมื่อปรากฏว่าในวันที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปีตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย แต่โจทก์กับจำเลยก็ตกลงกันกำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี เพียงแต่ตกลงกันตามข้อ 2แห่งสัญญากู้เงินดังกล่าวว่า ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่ได้ ซึ่งหมายถึงว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้วอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงกว่าที่ตกลงกันไว้โจทก์จึงจะมีอำนาจปรับอัตราดอกเบี้ยได้ แต่โจทก์มิได้นำสืบ ให้เห็นว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้ว ได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือประกาศธนาคารพาณิชย์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงเพิ่มขึ้น ดังนั้น การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 14 ต่อปี เป็นร้อยละ 17 ต่อปีโดยปรับในวันถัดจากวันทำสัญญาและให้มีผลตั้งแต่วันทำสัญญา ไม่ต้องด้วยข้อกำหนดในสัญญา โจทก์จึงไม่มีอำนาจปรับอัตรา ดอกเบี้ยขึ้นใหม่ตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีอากรที่มีเงื่อนไข, สัญญาค้ำประกัน, การผิดนัดชำระหนี้, และดอกเบี้ย
เงินภาษีอากรจำนวน 50,677,905.41 บาท ที่โจทก์คืนให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนตรวจสอบตามคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ มีข้อตกลงว่า หากผลการตรวจสอบปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขอคืนภาษีอากรต้องเสียภาษี แต่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระภาษีอากรตามการแจ้งการประเมินหรือสั่งให้ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้วไม่ว่าจะมีการอุทธรณ์หรือมีการโต้แย้งหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 2 ยอมชำระให้จนครบถ้วนทันที การคืนเงินภาษีอากรจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 จึงมิใช่การคืนให้โดยเด็ดขาด แต่เป็นการคืนโดยมีเงื่อนไขว่า หากผลการตรวจสอบปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีอากรจำนวนดังกล่าว จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินภาษี-อากรที่ได้รับไปให้แก่โจทก์ ปรากฏว่าเมื่อการตรวจสอบเสร็จสิ้น เจ้าพนักงานของโจทก์เห็นว่า จำเลยที่ 1 ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530 เกินกว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย เป็นเหตุให้ไม่มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีอากรจำนวน 50,677,905.51 บาท ที่ได้รับคืนไป โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยทั้งสองคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์แล้ว จำเลยทั้งสองไม่คืนให้จึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีอากรที่จำเลยที่ 1ขอคืนไปจากโจทก์โดยไม่มีสิทธิได้ และมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
ปรากฏตามคำฟ้องว่า โจทก์มิได้ฟ้องเรียกเงินภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระตามหนังสือแจ้งการประเมินซึ่งยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใด แต่เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1คืนเงินภาษีอากรที่ขอคืนก่อนตรวจสอบ โดยจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันตามหนังสือค้ำประกันตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการคืนเงินภาษีอากร พ.ศ.2529 ข้อ 15.2 ข. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้แม้ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะยังมิได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ก็ตาม
โจทก์มิได้ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีอากรตามหนังสือแจ้งการประเมิน แต่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีอากรที่ขอคืนก่อนตรวจสอบ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามหนังสือค้ำประกัน เมื่อเจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้ว จำเลยที่ 1 ยังต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530 เกินกว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้มีหนังสือลงวันที่ 12 ตุลาคม2536 แจ้งให้จำเลยที่ 1 นำเงินภาษีอากรจำนวน 50,677,905.41 บาท มาคืนโจทก์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2536 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธินำเงินจำนวนดังกล่าวไปคืนโจทก์ภายในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2536 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากเงินภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 รับคืนไปจากโจทก์จำนวน 50,677,905.41 บาท ได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2536 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จตาม ป.พ.พ.มาตรา224 มิใช่นับแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2536 หรือวันที่จำเลยที่ 1 รับเงินจำนวนดังกล่าวคืนไปจากโจทก์
ส่วนจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันมีข้อความยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นเงิน 50,677,905.41 บาท พร้อมทั้งเงินเพิ่ม ดังนี้คำว่าเงินเพิ่ม นั้นป.รัษฎากรบัญญัติไว้ในมาตรา 27 กรณีบุคคลใดไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือน...และมาตรา 27 ทวิ ให้ถือว่าเงินเพิ่มเป็นเงินภาษี ดังนั้น เงินเพิ่ม จึงมิใช่ดอกเบี้ยเมื่อกรณีพิพาทในคดีนี้ไม่มีเงินเพิ่มตามสัญญาค้ำประกันได้ระบุจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2ต้องรับผิด จึงไม่ใช่การค้ำประกันอย่างไม่มีจำกัด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 683 จำเลยที่ 2 จึงคงรับผิดในวงเงิน 50,677,905.41 บาท แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด ตามป.พ.พ.มาตรา 224 เมื่อโจทก์มีหนังสือลงวันที่ 15 ธันวาคม 2536 แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบว่าการตรวจสอบภาษีอากรเสร็จสิ้นแล้ว ผลการตรวจสอบจำเลยที่ 1ต้องส่งคืนเงินภาษีอากรที่รับคืนเกินไปและให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 นำเงินจำนวน 50,677,905.41 บาท ไปชำระแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือบอกกล่าวเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2536 แล้วไม่ชำระ จึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวนดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2536 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ
ปรากฏตามคำฟ้องว่า โจทก์มิได้ฟ้องเรียกเงินภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระตามหนังสือแจ้งการประเมินซึ่งยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใด แต่เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1คืนเงินภาษีอากรที่ขอคืนก่อนตรวจสอบ โดยจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันตามหนังสือค้ำประกันตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการคืนเงินภาษีอากร พ.ศ.2529 ข้อ 15.2 ข. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้แม้ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะยังมิได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ก็ตาม
โจทก์มิได้ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีอากรตามหนังสือแจ้งการประเมิน แต่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีอากรที่ขอคืนก่อนตรวจสอบ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามหนังสือค้ำประกัน เมื่อเจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้ว จำเลยที่ 1 ยังต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530 เกินกว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้มีหนังสือลงวันที่ 12 ตุลาคม2536 แจ้งให้จำเลยที่ 1 นำเงินภาษีอากรจำนวน 50,677,905.41 บาท มาคืนโจทก์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2536 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธินำเงินจำนวนดังกล่าวไปคืนโจทก์ภายในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2536 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากเงินภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 รับคืนไปจากโจทก์จำนวน 50,677,905.41 บาท ได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2536 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จตาม ป.พ.พ.มาตรา224 มิใช่นับแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2536 หรือวันที่จำเลยที่ 1 รับเงินจำนวนดังกล่าวคืนไปจากโจทก์
ส่วนจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันมีข้อความยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นเงิน 50,677,905.41 บาท พร้อมทั้งเงินเพิ่ม ดังนี้คำว่าเงินเพิ่ม นั้นป.รัษฎากรบัญญัติไว้ในมาตรา 27 กรณีบุคคลใดไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือน...และมาตรา 27 ทวิ ให้ถือว่าเงินเพิ่มเป็นเงินภาษี ดังนั้น เงินเพิ่ม จึงมิใช่ดอกเบี้ยเมื่อกรณีพิพาทในคดีนี้ไม่มีเงินเพิ่มตามสัญญาค้ำประกันได้ระบุจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2ต้องรับผิด จึงไม่ใช่การค้ำประกันอย่างไม่มีจำกัด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 683 จำเลยที่ 2 จึงคงรับผิดในวงเงิน 50,677,905.41 บาท แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด ตามป.พ.พ.มาตรา 224 เมื่อโจทก์มีหนังสือลงวันที่ 15 ธันวาคม 2536 แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบว่าการตรวจสอบภาษีอากรเสร็จสิ้นแล้ว ผลการตรวจสอบจำเลยที่ 1ต้องส่งคืนเงินภาษีอากรที่รับคืนเกินไปและให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 นำเงินจำนวน 50,677,905.41 บาท ไปชำระแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือบอกกล่าวเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2536 แล้วไม่ชำระ จึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวนดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2536 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรณีคืนเงินภาษีเกิน การฟ้องเรียกคืนเงินและดอกเบี้ยจากผู้รับเงินและผู้ค้ำประกัน
เงินภาษีอากรจำนวน50,677,905.41บาทที่โจทก์คืนให้แก่จำเลยที่1ก่อนตรวจสอบตามคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรโดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์มีข้อตกลงว่าหากผลการตรวจสอบปรากฏว่าจำเลยที่1ผู้ขอคืนภาษีอากรต้องเสียภาษีแต่จำเลยที่1ไม่ชำระภาษีอากรตามการแจ้งการประเมินหรือสั่งให้ชำระไม่ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้วไม่ว่าจะมีการอุทธรณ์หรือมีการโต้แย้งหรือไม่ก็ตามจำเลยที่2ยอมชำระให้จนครบถ้วนทันทีการคืนเงินภาษีอากรจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่1จึงมิใช่การคืนให้โดยเด็ดขาดแต่เป็นการคืนโดยมีเงื่อนไขว่าหากผลการตรวจสอบปรากฏว่าจำเลยที่1ไม่มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีอากรจำนวนดังกล่าวจำเลยที่1ต้องคืนเงินภาษีอากรที่ได้รับไปให้แก่โจทก์ปรากฏว่าเมื่อการตรวจสอบเสร็จสิ้นเจ้าพนักงานของโจทก์เห็นว่าจำเลยที่1ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2530เกินกว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกหักไว้ณที่จ่ายเป็นเหตุให้ไม่มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีอากรจำนวน50,677,905.51บาทที่ได้รับคืนไปโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยทั้งสองคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์แล้วจำเลยทั้งสองไม่คืนให้จึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที1คืนเงินภาษีอากรที่จำเลยที่1ขอคืนไปจากโจทก์โดยไม่มีสิทธิได้และมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่2รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน ปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเงินภาษีอากรที่จำเลยที่1ต้องชำระตามหนังสือแจ้งการประเมินซึ่งยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใดแต่เป็นการฟ้องให้จำเลยที่1คืนเงินภาษีอากรที่ขอคืนก่อนตรวจสอบโดยจำเลยที่1มีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันตามหนังสือค้ำประกันตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการคืนเงินภาษีอากรพ.ศ.2529ข้อ15.2ข.โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้แม้ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะยังมิได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ก็ตาม โจทก์มิได้ฟ้องเรียกให้จำเลยที่1ชำระภาษีอากรตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1คืนเงินภาษีอากรที่ขอคืนก่อนตรวจสอบโดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์ตามหนังสือค้ำประกันเมื่อเจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้วจำเลยที่1ยังต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2530เกินกว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกหักไว้ณที่จ่ายเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้มีหนังสือลงวันที่12ตุลาคม2536แจ้งให้จำเลยที่1นำเงินภาษีอากรจำนวน50,677,905.41บาทมาคืนโจทก์ภายใน30วันนับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าวจำเลยที่1ได้รับหนังสือเมื่อวันที่14ตุลาคม2536จำเลยที่1จึงมีสิทธินำเงินจำนวนดังกล่าวไปคืนโจทก์ภายในวันที่13พฤศจิกายน2536เมื่อจำเลยที่1ไม่มาชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากเงินภาษีอากรที่จำเลยที่1รับคืนไปจากโจทก์จำนวน50,677,905.41บาทได้ในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันที่14พฤศจิกายน2536เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224มิใช่นับแต่วันที่14ตุลาคม2536หรือวันที่จำเลยที่1รับเงินจำนวนดังกล่าวคืนไปจากโจทก์ ส่วนจำเลยที่2ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันมีข้อความยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์เป็นเงิน50,677,905.41บาทพร้อมทั้งเงินเพิ่มดังนี้คำว่าเงินเพิ่มนั้นประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ในมาตรา27กรณีบุคคลใดไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ1.5ต่อเดือนหรือเศษของเดือนและมาตรา27ทวิให้ถือว่าเงินเพิ่มเป็นเงินภาษีดังนั้นเงินเพิ่มจึงมิใช่ดอกเบี้ยเมื่อกรณีพิพาทในคดีนี้ไม่มีเงินเพิ่มตามสัญญาค้ำประกันได้ระบุจำนวนเงินที่จำเลยที่2ต้องรับผิดจึงไม่ใช่การค้ำประกันอย่างไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา683จำเลยที่2จึงคงรับผิดในวงเงิน50,677,905.41บาทแต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินจำเลยที่2จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224เมื่อโจทก์มีหนังสือลงวันที่15ธันวาคม2536แจ้งให้จำเลยที่2ทราบว่าการตรวจสอบภาษีอากรเสร็จสิ้นแล้วผลการตรวจสอบจำเลยที่1ต้องส่งคืนเงินภาษีอากรที่รับคืนเกินไปและให้จำเลยที่2ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่1นำเงินจำนวน50,677,905.41บาทไปชำระแก่โจทก์จำเลยที่2ได้รับหนังสือบอกกล่าวเมื่อวันที่20ธันวาคม2536แล้วไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีจากต้นเงินจำนวนดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่21ธันวาคม2536เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7806/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอ้างสัญญาเพิ่มเติมในฎีกา, ความชำรุดบกพร่องหลังส่งมอบ, อายุความค่าของและการผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างจากการซื้อเครื่องทำน้ำแข็งหลอด โดยโจทก์มิได้กล่าวอ้างถึงสัญญาติดตั้งเครื่อง การที่โจทก์ยกสัญญาติดตั้งเครื่องทำน้ำแข็งหลอดขึ้นอ้างในฎีกา เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง ดังนี้โจทก์จึงนำเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์มาหักเป็นค่าติดตั้งเครื่องไม่ได้
ป.พ.พ.มาตรา 472 ที่บัญญัติให้ผู้ขายต้องรับผิดต่อผู้ซื้อในความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินซึ่งขาย และผู้ซื้อมีสิทธิที่จะยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระแก่ผู้ขายตามมาตรา 488 นั้น จะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีอยู่ก่อนแล้วหรือมีอยู่ในขณะทำสัญญาซื้อขายหรือในเวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย ส่วนความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นภายหลัง ผู้ขายหาต้องรับผิดไม่
เครื่องทำน้ำแข็งหลอดที่จำเลยซื้อจากโจทก์ไม่สามารถผลิตน้ำแข็งได้ 15,000 กิโลกรัมต่อ 24 ชั่วโมงตามสัญญาได้ เพราะเกิดจากการตั้งเครื่องคอมเพรสเซอร์ห่างจากเครื่องทำน้ำแข็งหลอดมากเกินไป จึงทำให้แรงอัดแอมโมเนียอ่อน และทำให้ลิ้นไอดีไอเสียแตก ซึ่งเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นในภายหลังที่จำเลยรับมอบและใช้ประโยชน์มาแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินส่วนที่ยังค้างชำระให้แก่โจทก์ ส่วนการที่โจทก์ติดตั้งและเกิดมีความชำรุดบกพร่องอย่างไร โจทก์จะต้องแก้ไขให้จำเลยหรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องดำเนินการตามข้อสัญญาที่มีอยู่อีกส่วนหนึ่ง จำเลยจะอ้างมาเป็นเหตุยึดหน่วงราคาไม่ยอมชำระราคาให้แก่โจทก์หาได้ไม่
จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินค่าซื้อเครื่องทำน้ำแข็งหลอดให้แก่โจทก์เป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2532 สิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นการที่ผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลย และจำเลยใช้เครื่องทำน้ำแข็งหลอดที่ซื้อผลิตน้ำแข็งออกขาย จึงเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/33 (5) โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2535 ยังไม่เกิน 5 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเนื่องจากการผิดนัดไม่ชำระเงินแก่โจทก์ เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดแทนค่าเสียหายตาม ป.พ.พ.มาตรา 224วรรคหนึ่ง และไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 กรณีมิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระซึ่งมีอายุความ 5 ปีตามมาตรา 193/33 (1)
ป.พ.พ.มาตรา 472 ที่บัญญัติให้ผู้ขายต้องรับผิดต่อผู้ซื้อในความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินซึ่งขาย และผู้ซื้อมีสิทธิที่จะยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระแก่ผู้ขายตามมาตรา 488 นั้น จะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีอยู่ก่อนแล้วหรือมีอยู่ในขณะทำสัญญาซื้อขายหรือในเวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย ส่วนความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นภายหลัง ผู้ขายหาต้องรับผิดไม่
เครื่องทำน้ำแข็งหลอดที่จำเลยซื้อจากโจทก์ไม่สามารถผลิตน้ำแข็งได้ 15,000 กิโลกรัมต่อ 24 ชั่วโมงตามสัญญาได้ เพราะเกิดจากการตั้งเครื่องคอมเพรสเซอร์ห่างจากเครื่องทำน้ำแข็งหลอดมากเกินไป จึงทำให้แรงอัดแอมโมเนียอ่อน และทำให้ลิ้นไอดีไอเสียแตก ซึ่งเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นในภายหลังที่จำเลยรับมอบและใช้ประโยชน์มาแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินส่วนที่ยังค้างชำระให้แก่โจทก์ ส่วนการที่โจทก์ติดตั้งและเกิดมีความชำรุดบกพร่องอย่างไร โจทก์จะต้องแก้ไขให้จำเลยหรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องดำเนินการตามข้อสัญญาที่มีอยู่อีกส่วนหนึ่ง จำเลยจะอ้างมาเป็นเหตุยึดหน่วงราคาไม่ยอมชำระราคาให้แก่โจทก์หาได้ไม่
จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินค่าซื้อเครื่องทำน้ำแข็งหลอดให้แก่โจทก์เป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2532 สิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นการที่ผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลย และจำเลยใช้เครื่องทำน้ำแข็งหลอดที่ซื้อผลิตน้ำแข็งออกขาย จึงเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/33 (5) โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2535 ยังไม่เกิน 5 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเนื่องจากการผิดนัดไม่ชำระเงินแก่โจทก์ เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดแทนค่าเสียหายตาม ป.พ.พ.มาตรา 224วรรคหนึ่ง และไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 กรณีมิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระซึ่งมีอายุความ 5 ปีตามมาตรา 193/33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5760/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงในสัญญากู้เงินและการบังคับชำระหนี้: การผิดนัดและดอกเบี้ย
ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้เป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือน แต่ถึงอย่างไรก็ดีจำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 19 พฤษภาคม 2541 และในตอนท้ายของสัญญายังระบุว่า ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนกำหนดที่กล่าวมาก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร โดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุ กับมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอีกว่า ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยตามข้อตกลงแห่งสัญญากู้เงินฉบับพิพาทให้ถือว่าผู้กู้ผิดนัดทั้งหมด ยินยอมให้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี หรือเท่ากับอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่ธนาคารพาณิชย์จะสามารถเรียกเก็บจากผู้กู้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นตามการแก่กรณี ทั้งนี้จนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้คืนให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้เสร็จสิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามที่ได้ตกลงไว้ในข้อตกลงต่อท้ายสัญญากู้เงินจึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้
ส่วนการที่จำเลยทั้งสองชำระหนี้บางส่วนหลังจากที่ตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะรับชำระหนี้ได้ กรณีมิใช่การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตาม ป.พ.พ.มาตรา 192
ส่วนการที่จำเลยทั้งสองชำระหนี้บางส่วนหลังจากที่ตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะรับชำระหนี้ได้ กรณีมิใช่การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตาม ป.พ.พ.มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5760/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้: การผิดนัดชำระหนี้รายเดือนไม่ตัดสิทธิผู้ให้กู้ในการเรียกร้องหนี้ทั้งหมดก่อนกำหนด
ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้เป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือนแต่ถึงอย่างไรก็ดีจำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 19 พฤษภาคม 2541 และในตอนท้ายของสัญญายังระบุว่าไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนกำหนดที่กล่าวมาก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร โดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุ กับมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอีกว่า ถ้าผู้กู้ผิดไม่ชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยตามข้อตกลงแห่งสัญญากู้เงินฉบับพิพาทให้ถือว่าผู้กู้ผิดนัดทั้งหมดยินยอมให้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี หรือเท่ากับอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่ธนาคารพาณิชย์ จะสามารถเรียกเก็บจากผู้กู้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นตามการแก่กรณี ทั้งนี้จนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้คืนให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้เสร็จสิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามที่ได้ตกลงไว้ในข้อตกลง ต่อท้ายสัญญากู้เงินจึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ ส่วนการที่จำเลยทั้งสองชำระหนี้บางส่วนหลังจากที่ตกเป็นฝ่าย ผิดสัญญาแล้ว ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะรับชำระหนี้ได้ กรณีมิใช่การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดี, การผิดนัดชำระหนี้, และสิทธิของโจทก์ในการบอกเลิกสัญญาและการไล่เบี้ย
ศาลนัดสืบพยานจำเลยนัดแรกตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2536และได้มีการเลื่อนสืบพยานจำเลย 5 ครั้ง ในจำนวนนี้มีอยู่ครั้งเดียวที่ขอเลื่อนคดีเพราะเหตุที่โจทก์อ้างว่าไม่ได้เตรียมผู้รู้ภาษาจีนกลางมาควบคุมการแปลของล่ามฝ่ายจำเลย นอกจากนั้นที่จำเลยขอเลื่อนคดีมีสาเหตุมาจากฝ่ายจำเลยทั้งสิ้นโดยเฉพาะการเลื่อนคดีครั้งที่ 5 ศาลได้กำชับว่านัดต่อไปให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อม แต่เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งที่ 6 จำเลยขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าพยานได้เดินทางมาในประเทศไทยแล้ว แต่ได้รับโทรสารว่าที่บ้านของพยานที่ต่างประเทศมีเรื่องด่วนให้รีบกลับ พยานจึงเดินทางกลับต่างประเทศ การสืบพยานในคดีไม่ว่าจะมีการสืบปากเดียวหรือหลายปาก และทุนทรัพย์ไม่ว่ามากหรือน้อยอยู่ที่ว่าคู่ความเอาใจใส่ที่จะสืบเพียงใด คดีนี้แม้จำเลยจะแถลงว่าสืบพยานปากเดียวแต่ขอเลื่อนคดีหลายครั้งเป็นเวลาหลายเดือน จนศาลต้องกำชับให้เตรียมพยานมาให้พร้อม แต่จำเลยก็ไม่สนใจและไม่เห็นความสำคัญในการดำเนินคดีให้เสร็จไปโดยรวดเร็ว พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการประวิงคดี ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าไม่มีพยานมาสืบชอบแล้ว
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็น 2 ตอน ในตอนแรกอ้างว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ชัดว่าจำเลยได้ชำระเงินต้นเท่าใด มีการชำระเงินกันอย่างไรนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ผ่อนชำระให้โจทก์หลายครั้งแต่ไม่ตรงตามสัญญา และครั้งสุดท้ายชำระเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2534 พร้อมกับแนบรายละเอียดบัญชีเงินกู้ลูกหนี้มาท้ายฟ้องด้วย การบรรยายฟ้องเช่นนี้และมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้องประกอบด้วยรายการชำระหนี้และยอดค้างชำระ นับว่าเป็นการแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว และในตอนที่สองจำเลยอ้างว่าโจทก์มิได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่าบริษัท ท.ได้แจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อใด และแจ้งว่าจำเลยได้ปฏิบัติผิดสัญญาอย่างไรโจทก์รับผิดชอบตามหนังสือค้ำประกันอย่างไรนั้น ข้ออ้างดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับคู่สัญญาที่จำเลยต้องรับผิดสำหรับโจทก์เพียงแต่เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันต่อคู่สัญญาของจำเลยตามที่จำเลยขอ และโจทก์ใช้เงินให้ไปเช่นนี้ ความสัมพันธ์ตลอดจนการผิดสัญญาของจำเลยกับคู่สัญญา โจทก์ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้องเพียงแต่บรรยายให้เห็นถึงความรับผิดของจำเลยต่อโจทก์นับว่าเป็นการชัดแจ้งเพียงพอที่จำเลยจะต้องเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้ได้กระทำกันเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2533 กำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ 48 งวด งวดละเดือน จำเลยไม่ได้ผ่อนชำระตามกำหนดในสัญญา ซึ่งถือว่าจำเลยผิดนัด แต่หลังจากนั้นเมื่อจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์บ้างบางส่วน โจทก์ได้รับชำระหนี้ทุกครั้งที่จำเลยชำระ ต่อมาวันที่ 30 มีนาคม 2535โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันแต่จำเลยไม่ชำระ ดังนี้ การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ให้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามที่คู่สัญญาได้กำหนดไว้ แต่ที่โจทก์ยอมรับชำระหนี้ภายหลังที่จำเลยผิดสัญญาแล้ว จะถือว่าโจทก์ไม่ถือเอาเงื่อนเวลาในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญหรือสละเงื่อนเวลานั้นจำเลยไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่าเป็นอย่างที่จำเลยอ้าง ทั้งตามข้อตกลงในสัญญาเงินกู้ก็ระบุว่าการไม่ดำเนินการหรือความล่าช้าในการดำเนินการใช้สิทธิของผู้ให้กู้คือโจทก์มิได้แสดงว่าโจทก์สละสิทธิตามที่ระบุไว้ในสัญญา จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ถือเงื่อนเวลาในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญและสละเงื่อนเวลาอันจะถือว่าจำเลยไม่ผิดสัญญา เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินกู้คืนได้
ที่จำเลยฎีกาว่าการค้ำประกันและการขยายระยะเวลาค้ำประกันรายนี้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือใช้บังคับไม่ได้นั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ทั้งยังรับว่าได้มีการค้ำประกันจริง แต่โต้แย้งว่ามิได้ขยายระยะเวลาค้ำประกันเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิจะโต้แย้งในชั้นฎีกาว่าการค้ำประกันมิได้ทำเป็นหนังสือ
จำเลยขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันให้โดยจำเลยรับรองว่าเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งว่าจำเลยผิดนัด จำเลยยอมให้โจทก์ชำระเงินได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ดังนั้นเมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่บริษัท ท.แทนจำเลยไปแล้วแม้จะไม่ได้บอกให้จำเลยทราบก่อน โจทก์ก็มีสิทธิไล่เบี้ยจากจำเลย
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็น 2 ตอน ในตอนแรกอ้างว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ชัดว่าจำเลยได้ชำระเงินต้นเท่าใด มีการชำระเงินกันอย่างไรนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ผ่อนชำระให้โจทก์หลายครั้งแต่ไม่ตรงตามสัญญา และครั้งสุดท้ายชำระเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2534 พร้อมกับแนบรายละเอียดบัญชีเงินกู้ลูกหนี้มาท้ายฟ้องด้วย การบรรยายฟ้องเช่นนี้และมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้องประกอบด้วยรายการชำระหนี้และยอดค้างชำระ นับว่าเป็นการแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว และในตอนที่สองจำเลยอ้างว่าโจทก์มิได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่าบริษัท ท.ได้แจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อใด และแจ้งว่าจำเลยได้ปฏิบัติผิดสัญญาอย่างไรโจทก์รับผิดชอบตามหนังสือค้ำประกันอย่างไรนั้น ข้ออ้างดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับคู่สัญญาที่จำเลยต้องรับผิดสำหรับโจทก์เพียงแต่เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันต่อคู่สัญญาของจำเลยตามที่จำเลยขอ และโจทก์ใช้เงินให้ไปเช่นนี้ ความสัมพันธ์ตลอดจนการผิดสัญญาของจำเลยกับคู่สัญญา โจทก์ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้องเพียงแต่บรรยายให้เห็นถึงความรับผิดของจำเลยต่อโจทก์นับว่าเป็นการชัดแจ้งเพียงพอที่จำเลยจะต้องเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้ได้กระทำกันเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2533 กำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ 48 งวด งวดละเดือน จำเลยไม่ได้ผ่อนชำระตามกำหนดในสัญญา ซึ่งถือว่าจำเลยผิดนัด แต่หลังจากนั้นเมื่อจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์บ้างบางส่วน โจทก์ได้รับชำระหนี้ทุกครั้งที่จำเลยชำระ ต่อมาวันที่ 30 มีนาคม 2535โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันแต่จำเลยไม่ชำระ ดังนี้ การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ให้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามที่คู่สัญญาได้กำหนดไว้ แต่ที่โจทก์ยอมรับชำระหนี้ภายหลังที่จำเลยผิดสัญญาแล้ว จะถือว่าโจทก์ไม่ถือเอาเงื่อนเวลาในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญหรือสละเงื่อนเวลานั้นจำเลยไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่าเป็นอย่างที่จำเลยอ้าง ทั้งตามข้อตกลงในสัญญาเงินกู้ก็ระบุว่าการไม่ดำเนินการหรือความล่าช้าในการดำเนินการใช้สิทธิของผู้ให้กู้คือโจทก์มิได้แสดงว่าโจทก์สละสิทธิตามที่ระบุไว้ในสัญญา จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ถือเงื่อนเวลาในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญและสละเงื่อนเวลาอันจะถือว่าจำเลยไม่ผิดสัญญา เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินกู้คืนได้
ที่จำเลยฎีกาว่าการค้ำประกันและการขยายระยะเวลาค้ำประกันรายนี้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือใช้บังคับไม่ได้นั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ทั้งยังรับว่าได้มีการค้ำประกันจริง แต่โต้แย้งว่ามิได้ขยายระยะเวลาค้ำประกันเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิจะโต้แย้งในชั้นฎีกาว่าการค้ำประกันมิได้ทำเป็นหนังสือ
จำเลยขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันให้โดยจำเลยรับรองว่าเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งว่าจำเลยผิดนัด จำเลยยอมให้โจทก์ชำระเงินได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ดังนั้นเมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่บริษัท ท.แทนจำเลยไปแล้วแม้จะไม่ได้บอกให้จำเลยทราบก่อน โจทก์ก็มีสิทธิไล่เบี้ยจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้สัญญาเงินกู้และการบังคับจำนอง การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ตามสัญญากู้ยืม จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของเงินกู้ที่เบิกไปจากโจทก์ทุกวันทำการสิ้นเดือนของทุกเดือน หากผิดนัดชำระเงินงวดหนึ่งงวดใด ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดในจำนวนหนี้ทั้งหมดโดยหนี้ทั้งหมดตามสัญญาเป็นอันถึงกำหนดชำระทันที โดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดในสัญญากู้ยืม แต่โจทก์ยอมรับชำระดอกเบี้ยของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ทักท้วงว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนด-สัญญา พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฎิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเป็นสาระสำคัญ จึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยล่าช้าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาแล้ว
แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนอง โดยจำเลยที่ 1ในฐานะผู้กู้และผู้จำนอง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ดังกล่าว ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ 13 ต่อปี และอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ 1 ต่อปีและหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี
แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนอง โดยจำเลยที่ 1ในฐานะผู้กู้และผู้จำนอง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ดังกล่าว ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ 13 ต่อปี และอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ 1 ต่อปีและหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี