พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8824/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดทุนทรัพย์พิพาทแยกรายสิทธิประกันภัย, ข้อจำกัดการอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ, ความรับผิดของผู้ขนส่ง
สิทธิของโจทก์มีมูลมาจากสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันสองรายซึ่งแยกต่างหากจากกันได้ การคิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงต้องแยกพิจารณาตามสิทธิเรียกร้องที่โจทก์รับช่วงสิทธิมาจากผู้เอาประกันแต่ละราย เมื่อคดีในส่วนสินค้ากากเมล็ดทานตะวันมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 41
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7879/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าเนื่องจากเหตุสุดวิสัย (ท่าเรือแออัด) ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล
เหตุที่ทำให้โจทก์ผู้ขนส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยชักช้าเพราะเรือสินค้าไม่สามารถเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือแอนต์เวิร์ปได้เนื่องจากความแออัดของท่าเรือดังกล่าวซึ่งมิใช่ความผิดหรือประมาทเลินเล่อหรืออยู่ในความรู้เห็นของโจทก์ และมิใช่ความผิดหรือประมาทเลินเล่อของตัวแทนหรือลูกจ้างของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 มาตรา 52(13)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7591/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของผู้ขนส่งและผู้รับประกันภัยทางทะเล กรณีสินค้าเสียหาย
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 54 บัญญัติว่า ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดเพื่อการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้า อันเป็นผลจากการใช้มาตรการต่าง ๆ ที่พึงกระทำเพื่อระงับอัคคีภัยหรือหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลเสียหายจากอัคคีภัย เว้นแต่ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องจะพิสูจน์ได้ว่า เป็นความผิดหรือประมาทเลินเล่อของ ผู้ขนส่ง? ในการใช้มาตรการดังกล่าว ดังนั้น ผู้ขนส่งจึงมีภาระการพิสูจน์ในเบื้องต้นว่า ได้ใช้มาตรการต่าง ๆ ที่พึงกระทำเพื่อระงับอัคคีภัยหรือหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลเสียหายจากอัคคีภัย เพื่อเป็นเหตุให้ไม่ต้องรับผิดใน ความเสียหายของสินค้า
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือเดินทะเลชื่อ ช. ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลโดยมีบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 บริษัท ด. ได้ว่าจ้างจำเลยทั้งสองทำการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือ ช. แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการขนส่งสินค้าพิพาททางทะเลร่วมกับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง โดยได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าพิพาทจากเมืองฮูสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา มายังกรุงเทพมหานครย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งอื่นตามความหมายใน มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ตาม มาตรา 3 และ มาตรา 43 ถึง 45 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันแล้วจึงได้รับช่วงสิทธิในค่าเสียหายโดยชอบที่จะฟ้องคดีนี้และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโดยมิต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือเดินทะเลชื่อ ช. ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลโดยมีบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 บริษัท ด. ได้ว่าจ้างจำเลยทั้งสองทำการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือ ช. แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการขนส่งสินค้าพิพาททางทะเลร่วมกับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง โดยได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าพิพาทจากเมืองฮูสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา มายังกรุงเทพมหานครย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งอื่นตามความหมายใน มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ตาม มาตรา 3 และ มาตรา 43 ถึง 45 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันแล้วจึงได้รับช่วงสิทธิในค่าเสียหายโดยชอบที่จะฟ้องคดีนี้และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโดยมิต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6940/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนของทางทะเล: การพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานสภาพสินค้าเสียหาย และความรับผิดของผู้ขนส่ง
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง คงบัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งได้ส่งมอบของซึ่งมีสภาพ จำนวน น้ำหนักและรายละเอียดอื่น ๆ ตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งให้แก่ผู้รับตราส่ง ซึ่งเป็นเพียงการสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้น ดังนี้แม้ผู้รับตราส่งได้รับมอบสินค้าพิพาทไปเก็บรักษาไว้ที่โกดังของตนแล้ว ต่อมาจึงได้มอบหมายให้บริษัท อ. เป็นผู้ทำการสำรวจสภาพของสินค้าที่พิพาทโดยไม่ปรากฏว่าได้มีการส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้ขนส่งทราบถึงความเสียหายภายในเวลาหนึ่งวันทำการก็ตาม ผู้รับตราส่งก็สามารถนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์หักล้างให้เห็นแตกต่างไปจากข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6940/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล: สันนิษฐานการส่งมอบสินค้าสภาพดี แต่โจทก์พิสูจน์ความเสียหายได้
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง เป็นเพียงบทบัญญัติที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งได้ส่งมอบของซึ่งมีสภาพ จำนวน น้ำหนัก และรายละเอียดอื่น ๆ ตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งให้แก่ผู้รับตราส่ง และเป็นการสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยในสินค้าพิพาทจึงยังสามารถนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์หักล้างให้เห็นความแตกต่าง ไปจากข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาแสดงให้เห็นได้ว่าผู้ขนส่งได้มอบสินค้าพิพาทซึ่งมีสภาพเสียหายจากการปนเปื้อนน้ำมะขามเปียกและมีจำนวนไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์ตามจำนวนที่โจทก์ได้ใช้แก่บริษัท อ. ผู้รับตราส่งก่อนหน้านี้ไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6589/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลเมื่อสินค้าเสียหาย
เมื่อสินค้าที่ขนส่งเสียหายและเหตุแห่งการเสียหายของสินค้าดังกล่าวได้เกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้านั้นอยู่ในความดูแลของผู้ขนส่ง ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดเพื่อความเสียหายนั้นต่อผู้ส่งสินค้าดังกล่าวตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง ผู้ขนส่งจะไม่ต้องรับผิดก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดขึ้นหรือเป็นผลจากความผิดของผู้ส่งของหรือผู้รับตราส่ง เช่น การบรรจุหีบห่อไม่มั่นคงแข็งแรง หรือไม่เหมาะสมกับสภาพแห่งของ หรือการเสียหายนั้นเกิดจากสภาพแห่งของนั้นเอง ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 52 (9) และ (10)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6551/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขนส่งทางทะเล: ความรับผิดชอบต่อสินค้าเสียหายและการพิสูจน์การออกใบตราส่ง
โจทก์ตกลงว่าจ้างให้จำเลยดำเนินการส่งทุเรียนสดจากประเทศไทยไปยังเมืองเกาซุงประเทศไต้หวัน โดยทางเรือ จำเลยได้ติดต่อจองระวางเรือ ทำพิธีการศุลกากรและตกลงให้ผู้มีชื่อเป็นผู้ขนส่งทุเรียนไปให้ผู้ซื้อ ที่ประเทศไต้หวัน โดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทเริ่มตั้งแต่จัดหารถลากตู้คอนเทนเนอร์ไปรับทุเรียนพิพาท ที่จังหวัดจันทบุรี และนำไปส่งที่ท่าเรือแหลมฉบัง จำเลยได้ออกใบตราส่งและรับเงินค่าบริการ ตามใบตราส่ง มีข้อความระบุว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้รับสินค้าไว้ถูกต้องแล้วและจำเลยได้เรียกเก็บเงินค่าระวางขนส่ง ค่าเช่า ตู้คอนเทนเนอร์และค่าธรรมเนียมอื่นจากโจทก์ไปแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท และตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ใบตราส่ง หมายความว่า เอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งของเป็นหลักฐาน แห่งสัญญารับขนของทางทะเล เมื่อจำเลยเป็นผู้ออกใบตราส่ง จำเลยจึงปฏิเสธว่าจำเลยไม่ใช่ผู้ขนส่งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5402/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายของสินค้า และการพิสูจน์เหตุสุดวิสัย
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือคอสแมน 1 และปรากฏตามใบตราส่งสินค้าว่าบริษัทเอฟ.เอช.เบิร์ตเทิลลิ่งเกเซลล์ชาฟต์เอ็ม.บี.เอช. จำกัด ในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งคือบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกใบตราส่งทั้งสองฉบับดังกล่าว ใบตราส่งเป็นเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งของและเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเล จึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าสินค้าที่ขนส่งเสียหายเป็นผลมาจากเหตุสุดวิสัยภยันตรายหรืออุบัติเหตุแห่งท้องทะเล การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่านายเรือคอสแมน 1 ได้ทำหนังสือปฏิเสธความรับผิดชอบทางทะเลไว้และคำแปลเอกสารโดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนทั้งไม่ปรากฏว่าตัวเรือหรือสิ่งของในเรือได้รับความเสียหาย จึงฟังไม่ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นหรือเป็นผลมาจากเหตุสุดวิสัย ภยันตรายหรืออุบัติเหตุแห่งท้องทะเลดังที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้าง แม้โนตารีปับลิกของประเทศไทยจะได้ลงชื่อรับรองในหนังสือปฏิเสธความรับผิดชอบทางทะเลของนายเรือ ก็มีหน้าที่รับรองแต่เพียงว่านายเรือคอสแมน 1 ได้ทำหนังสือปฏิเสธความรับผิดชอบทางทะเลไว้เท่านั้น ส่วนข้อความในหนังสือดังกล่าวจะตรงกับความจริงหรือไม่ โนตารีปับลิกไม่อาจให้การรับรองหรือยืนยันได้เพราะไม่ได้รู้เห็นเหตุการณ์ที่นายเรือประสบมาจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งต่อผู้รับตราส่งโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยสินค้าที่ขนส่งมาเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่คืนตู้สินค้าหลังรับสินค้าจากเรือ: ผู้รับขนต้องรับผิดชอบในการคืนตู้สินค้าให้ผู้ขนส่งภายในกำหนด
ในการรับขนของ โจทก์ผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ขายหรือผู้ส่งของไว้ เป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขน ซึ่งระบุข้อความสำคัญเกี่ยวกับชนิดของหีบห่อลักษณะของสินค้าว่าผู้ส่งเป็นผู้บรรจุและตรวจนับสินค้าเข้าตู้สินค้า และสถานที่ส่งมอบสินค้าคือลานวางตู้สินค้า ท่าเรือกรุงเทพมหานคร จำเลยผู้สั่งซื้อสินค้าจึงมีหน้าที่มารับสินค้าจากโจทก์ ณ สถานที่ดังกล่าว แต่เมื่อสินค้าอยู่ในตู้สินค้าและการรับสินค้าต้องรับตู้สินค้าที่บรรจุสินค้านั้นไปด้วย เพราะจำเป็นต้องขนตู้สินค้าไปยังโกดังสินค้าของจำเลยเพื่อนำสินค้าออกจากตู้สินค้า จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยในการขนตู้สินค้าไปยังโกดังสินค้า และเมื่อจำเลยนำสินค้าออกจากตู้สินค้าแล้วก็ย่อมมีหน้าที่ต้องนำตู้สินค้าไปคืนให้แก่โจทก์หรือตัวแทนของโจทก์ภายในกำหนด14 วัน นับแต่เรือบรรทุกสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางเมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงท่าเรือกรุงเทพมหานครและได้มีการขนถ่ายสินค้าจากเรือโดยมีบริษัท ว. เป็นตัวแทนผู้ดำเนินพิธีการทางศุลกากรและรับสินค้าให้แก่จำเลย และได้นำสินค้าของจำเลยไปยังโกดังสินค้าของจำเลยโดยใช้บริการ ร.ส.พ. เมื่อตู้สินค้าตู้หนึ่งคนขับรถของ ร.ส.พ. มิได้นำไปคืนให้แก่ตัวแทนโจทก์จนล่วงเลยกำหนดเวลาดังกล่าวไปแล้ว จำเลยในฐานะตัวการของผู้ขนตู้สินค้าดังกล่าวไปยังโกดังสินค้าของจำเลยและเป็นผู้มีหน้าที่ต้องคืนตู้สินค้าแก่โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในกรณีที่โจทก์ไม่ได้รับตู้สินค้าคืนจากจำเลยภายในกำหนดเวลา14 วัน นับแต่เรือบรรทุกสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7340/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีรับขน: ผู้รับใบตราส่งมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ขนส่งได้ แม้ของไม่ถึงปลายทาง
ขณะเกิดข้อพิพาท พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบเคียงบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ที่กำหนดว่าเมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบ แล้ว นับแต่นั้นไปสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญา รับขนนั้นย่อมตกแก่ผู้รับตราส่ง แสดงให้เห็นว่าสัญญารับขน มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกถ้อยคำที่ว่า "เมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่ง" มีความหมายเป็นเพียงเวลาที่กฎหมายกำหนดว่าผู้รับตราส่งจะแสดงเจตนารับเอาประโยชน์จากสัญญารับขนได้เมื่อใดเท่านั้น หาใช่เงื่อนไขอีกข้อหนึ่งซึ่งหากไม่มีของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งแล้วจะเป็นเหตุ ให้สิทธิตามสัญญารับขนไม่ตกแก่ผู้รับตราส่งไม่ เมื่อโจทก์เป็น ผู้ทรงใบตราส่งที่จำเลยที่ 2 ออกให้แก่ผู้ขายและเป็นผู้มี กรรมสิทธิ์ในสินค้าพิพาทตามใบตราส่งนั้น แม้โจทก์ไม่อาจ แสดงเจตนารับเอาประโยชน์จากสัญญารับขนโดยเรียกให้ส่งมอบ ของได้เพราะไม่มีกำหนดเวลาที่จะเรียกให้ส่งมอบของได้ ตามมาตรา 627 ก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหาย เพราะเหตุที่สินค้าพิพาทต้องสูญหายเนื่องจากการขนส่งนั้น โดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิตามสัญญารับขนสินค้าพิพาทย่อม มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาท ให้รับผิดตามสัญญารับขนได้ เมื่อพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ข้อพิพาทคดีนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับกรณีจึงต้องใช้บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทปรับแก่คดีไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งของทางทะเลตามมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติรับขนของทางทะเลฯมาปรับแก่คดีได้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจยกเอาข้อจำกัดความรับผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวมาอ้างเพื่อให้รับผิดน้อยลงได้