พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน การยกอายุความแทนกันของผู้ค้ำประกัน และสิทธิคิดดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน
จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ มีแต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้การยกอายุความขึ้นต่อสู้แต่เนื่องจากมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การยกอายุความขึ้นต่อสู้ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงถือได้ว่าเป็นการทำแทนจำเลยที่ 4 ด้วย
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทกำหนดวันชำระเงินเมื่อทวงถามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 913(3) ประกอบกับมาตรา 985 ซึ่งอายุความจะเริ่มนับก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ใช้สิทธิทวงถามจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ออกตั๋วแล้ว เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยที่ 1 ส่วนการทวงถามจำเลยที่ 2 ได้ประกาศทางหนังสือพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2539 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ปีเดียวกัน จึงอยู่ภายในกำหนดอายุความ 3 ปี ตามมาตรา 1001
โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) ข้อกฎหมายดังกล่าวศาลรู้ได้เองโดยโจทก์ไม่ต้องสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16.5 ตามที่ปรากฏในตั๋วสัญญาใช้เงิน
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทกำหนดวันชำระเงินเมื่อทวงถามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 913(3) ประกอบกับมาตรา 985 ซึ่งอายุความจะเริ่มนับก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ใช้สิทธิทวงถามจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ออกตั๋วแล้ว เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยที่ 1 ส่วนการทวงถามจำเลยที่ 2 ได้ประกาศทางหนังสือพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2539 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ปีเดียวกัน จึงอยู่ภายในกำหนดอายุความ 3 ปี ตามมาตรา 1001
โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) ข้อกฎหมายดังกล่าวศาลรู้ได้เองโดยโจทก์ไม่ต้องสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16.5 ตามที่ปรากฏในตั๋วสัญญาใช้เงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3403/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ และการพิจารณาคดีของผู้ค้ำประกันที่แยกต่างหาก
การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีเดียวกันภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 โดยศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เมื่อมีแต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ จำเลยที่ 1 จึงได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (4) แต่ผู้เดียวโดยเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 ทั้งโจทก์ก็สามารถแยกฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้อยู่แล้ว ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะถูกโจทก์ฟ้องให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันเป็นคดีเดียวกันกับคดีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็ไม่อาจได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (4) เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้มีฐานะเป็นผู้ร่วมร้องขอหรือเป็นลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการดังกล่าวด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้กล่าวมาในคำร้องเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นเลย คำร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคท้าย ส่วนคำร้องของจำเลยที่ 4 มิได้แสดงรายละเอียดชัดแจ้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 4 แพ้คดีไม่ถูกต้องอย่างไรบ้าง ทั้งหาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากมีการพิจารณาพิพากษาใหม่แล้วจำเลยที่ 4 จะชนะคดีอย่างไร จึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคท้าย
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้กล่าวมาในคำร้องเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นเลย คำร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคท้าย ส่วนคำร้องของจำเลยที่ 4 มิได้แสดงรายละเอียดชัดแจ้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 4 แพ้คดีไม่ถูกต้องอย่างไรบ้าง ทั้งหาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากมีการพิจารณาพิพากษาใหม่แล้วจำเลยที่ 4 จะชนะคดีอย่างไร จึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3403/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการจำกัดเฉพาะผู้ร่วมร้องขอหรือลูกหนี้เอง ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับความคุ้มครอง
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะถูกโจทก์ฟ้องให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันเป็นคดีเดียวกันกับคดีของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการแต่ผู้เดียวจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/12(4) เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ได้อยู่ในฐานะเป็นผู้ร่วมร้องขอหรือลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อไปได้แม้จำเลยที่ 1 ศาลแพ่งจะมีคำสั่งอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ก็ตาม
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้กล่าวในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้น คำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย ส่วนจำเลยที่ 4 ก็กล่าวมาในคำร้องว่าจำเลยที่ 4 ขอแสดงข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่า หากจำเลยที่ 4 มีโอกาสต่อสู้คดีย่อมทำให้ผลคำตัดสินหรือคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปซึ่งเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ หาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากมีการพิจารณาพิพากษาใหม่แล้วจำเลยที่ 4 จะชนะคดีอย่างไรถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย คำร้องของจำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้กล่าวในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้น คำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย ส่วนจำเลยที่ 4 ก็กล่าวมาในคำร้องว่าจำเลยที่ 4 ขอแสดงข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่า หากจำเลยที่ 4 มีโอกาสต่อสู้คดีย่อมทำให้ผลคำตัดสินหรือคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปซึ่งเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ หาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากมีการพิจารณาพิพากษาใหม่แล้วจำเลยที่ 4 จะชนะคดีอย่างไรถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย คำร้องของจำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3403/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีของผู้ค้ำประกันร่วม
โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าเช่าให้โจทก์ปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4) แต่ผู้เดียวเพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4)เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้มีฐานะเป็นผู้ร่วมร้องขอหรือลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการดังกล่าวด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อไปได้ แม้ศาลแพ่งจะมีคำสั่งอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการจำเลยที่ 1 ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ก็ตาม
จำเลยที่ 4 กล่าวมาในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ขอแสดงข้อคัดค้านตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่า หากจำเลยที่ 4 มีโอกาสต่อสู้คดี ย่อมทำให้ผลคำตัดสินหรือคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง สัญญาไม่ถูกต้องเป็นโมฆะ ทำขึ้นโดยกลฉ้อฉลและโจทก์ไม่เสียหายใด ๆ จากสัญญาเท่านั้น โดยจำเลยที่ 4 มิได้แสดงรายละเอียดว่าสัญญาฉบับไหนไม่ถูกต้องเป็นโมฆะเพราะเหตุใด ทำขึ้นโดยกลฉ้อฉลอย่างไรและเหตุใดโจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากสัญญา เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ หาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากมีการพิจารณาพิพากษาใหม่แล้วจำเลยที่ 4 จะชนะคดีอย่างไร ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208วรรคสุดท้าย
จำเลยที่ 4 กล่าวมาในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ขอแสดงข้อคัดค้านตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่า หากจำเลยที่ 4 มีโอกาสต่อสู้คดี ย่อมทำให้ผลคำตัดสินหรือคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง สัญญาไม่ถูกต้องเป็นโมฆะ ทำขึ้นโดยกลฉ้อฉลและโจทก์ไม่เสียหายใด ๆ จากสัญญาเท่านั้น โดยจำเลยที่ 4 มิได้แสดงรายละเอียดว่าสัญญาฉบับไหนไม่ถูกต้องเป็นโมฆะเพราะเหตุใด ทำขึ้นโดยกลฉ้อฉลอย่างไรและเหตุใดโจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากสัญญา เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ หาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากมีการพิจารณาพิพากษาใหม่แล้วจำเลยที่ 4 จะชนะคดีอย่างไร ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208วรรคสุดท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ: การชำระหนี้เจ้าหนี้อย่างเท่าเทียม, โอกาสรับชำระหนี้มากกว่าการล้มละลาย, และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของศาลนั้น มาตรา 90/58 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย เป็นบทกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาใช้ดุลพินิจในการให้ความเห็นชอบด้วยแผน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการใช้ดุลพินิจดังกล่าว ศาลมีอำนาจที่จะตรวจสอบในเนื้อหาของแผนฟื้นฟูกิจการแล้วนำมาพิจารณาว่าจะให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่
การพิจารณาว่าข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผน เจ้าหนี้ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันตามมาตรา 90/42 ตรี หรือไม่ ต้องพิจารณาเฉพาะบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายที่ถูกจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการได้ กำหนดให้สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันแล้ว จึงถือว่าแผนฟื้นฟูกิจการได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการชำระหนี้เป็นไปตามมาตรา 90/58 (2) ประกอบส่วนมาตรา 90/42 ตรี แล้ว
การแปลงหนี้เป็นทุนนั้น พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 90/42 วรรคท้าย บัญญัติว่า "มิให้นำ... มาตรา 1119 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์... มาใช้บังคับแก่แผนตามมาตรานี้" ซึ่งบทบัญญัติมาตรา 1119 ห้ามหักหนี้กับค่าหุ้นของบริษัท จึงไม่สามารถแปลงหนี้เป็นทุนได้ ดังนั้น เมื่อในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการมีบทบัญญัติยกเว้นบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนนี้ ผู้ทำแผนจึงสามารถทำแผนเพิ่มทุนโดยการแปลงหนี้มาเป็นทุนได้
ผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการเท่านั้นที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน แล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนบุคคลอื่นซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้จะต้องรับผิดเช่นไร ต้องเป็นไปตามกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ดังนี้ ในส่วนตัวลูกหนี้ย่อมได้รับการปลดเปลื้องความรับผิดในส่วนที่ขาดโดยผลของกฎหมายฟื้นฟูกิจการ แต่ในส่วนผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดก็เมื่อหนี้นั้นได้ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดไปเสียทีเดียว ย่อมเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 90/60 วรรคสอง อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้อกำหนดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
แม้ว่าข้อกำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการที่ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดไม่มีผลบังคับ แต่เมื่อรายการ ดังกล่าวมิใช่รายการสำคัญและ พ.ร.บ. ล้มละลายก็ได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้แล้ว ตามมาตรา 90/60 วรรคสอง การที่ข้อกำหนดดังกล่าวตกไปจึงไม่กระทบถึงความสมบูรณ์ของแผน กรณีเช่นนี้ย่อมถือว่าแผนมีรายการสมบูรณ์ครบถ้วนตามมาตรา 90/42
ในการขอฟื้นฟูกิจการนั้นกฎหมายได้กำหนดลำดับขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาในแต่ละช่วงไว้ อย่างชัดเจน ปัญหาตามอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ที่ว่า กิจการของลูกหนี้โดยทั่วไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียว ไม่มีทางกลับฟื้นคืนตัวได้ จึงไม่มีเหตุผลอันสมควร และไม่มีช่องทางให้ฟื้นฟูกิจการนั้น เป็นปัญหาในขั้นพิจารณาคำร้องขอฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/10 อันเป็นกระบวนพิจารณาก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แต่เมื่อคดีนี้ศาลมีคำสั่งให้ ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และคำสั่งดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว จนกระทั่งมีการทำแผนและแผนนั้นได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้ถึงชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของศาล กรณีจึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะยกเหตุ ดังกล่าวขึ้นคัดค้านแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
การพิจารณาว่าข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผน เจ้าหนี้ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันตามมาตรา 90/42 ตรี หรือไม่ ต้องพิจารณาเฉพาะบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายที่ถูกจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการได้ กำหนดให้สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันแล้ว จึงถือว่าแผนฟื้นฟูกิจการได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการชำระหนี้เป็นไปตามมาตรา 90/58 (2) ประกอบส่วนมาตรา 90/42 ตรี แล้ว
การแปลงหนี้เป็นทุนนั้น พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 90/42 วรรคท้าย บัญญัติว่า "มิให้นำ... มาตรา 1119 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์... มาใช้บังคับแก่แผนตามมาตรานี้" ซึ่งบทบัญญัติมาตรา 1119 ห้ามหักหนี้กับค่าหุ้นของบริษัท จึงไม่สามารถแปลงหนี้เป็นทุนได้ ดังนั้น เมื่อในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการมีบทบัญญัติยกเว้นบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนนี้ ผู้ทำแผนจึงสามารถทำแผนเพิ่มทุนโดยการแปลงหนี้มาเป็นทุนได้
ผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการเท่านั้นที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน แล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนบุคคลอื่นซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้จะต้องรับผิดเช่นไร ต้องเป็นไปตามกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ดังนี้ ในส่วนตัวลูกหนี้ย่อมได้รับการปลดเปลื้องความรับผิดในส่วนที่ขาดโดยผลของกฎหมายฟื้นฟูกิจการ แต่ในส่วนผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดก็เมื่อหนี้นั้นได้ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดไปเสียทีเดียว ย่อมเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 90/60 วรรคสอง อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้อกำหนดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
แม้ว่าข้อกำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการที่ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดไม่มีผลบังคับ แต่เมื่อรายการ ดังกล่าวมิใช่รายการสำคัญและ พ.ร.บ. ล้มละลายก็ได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้แล้ว ตามมาตรา 90/60 วรรคสอง การที่ข้อกำหนดดังกล่าวตกไปจึงไม่กระทบถึงความสมบูรณ์ของแผน กรณีเช่นนี้ย่อมถือว่าแผนมีรายการสมบูรณ์ครบถ้วนตามมาตรา 90/42
ในการขอฟื้นฟูกิจการนั้นกฎหมายได้กำหนดลำดับขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาในแต่ละช่วงไว้ อย่างชัดเจน ปัญหาตามอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ที่ว่า กิจการของลูกหนี้โดยทั่วไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียว ไม่มีทางกลับฟื้นคืนตัวได้ จึงไม่มีเหตุผลอันสมควร และไม่มีช่องทางให้ฟื้นฟูกิจการนั้น เป็นปัญหาในขั้นพิจารณาคำร้องขอฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/10 อันเป็นกระบวนพิจารณาก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แต่เมื่อคดีนี้ศาลมีคำสั่งให้ ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และคำสั่งดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว จนกระทั่งมีการทำแผนและแผนนั้นได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้ถึงชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของศาล กรณีจึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะยกเหตุ ดังกล่าวขึ้นคัดค้านแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แผนฟื้นฟูกิจการ: การเห็นชอบแผน, การชำระหนี้เจ้าหนี้, และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/58 ได้บัญญัติกำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจในการให้ความเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้ศาลเข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจ ใช้อำนาจทางตุลาการเพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในการใช้ดุลพินิจดังกล่าวศาลมีอำนาจที่จะตรวจสอบในเนื้อหาของแผนฟื้นฟูกิจการแล้วนำมาพิจารณาว่าจะให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่
การพิจารณาว่าข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้หรือไม่ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/42 ตรี โดยพิจารณาเฉพาะบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายที่ถูกจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน ดังนั้น แม้ในแผนฟื้นฟูกิจการจะเสนอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ต่างกับเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ก็เป็นกรณีที่ผู้ทำแผนสามารถกำหนดได้เพราะเป็นเจ้าหนี้ต่างกลุ่มกัน เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการได้กำหนดให้สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันแล้ว ต้องถือว่าแผนฟื้นฟูกิจการได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการชำระหนี้เป็นไปตามมาตรา 90/58(2) ประกอบมาตรา 90/42 ตรีแล้ว
เกี่ยวกับการแปลงหนี้เป็นทุนตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/42วรรคท้าย บัญญัติยกเว้นบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1119วรรคสอง ดังนั้น ผู้ทำแผนจึงสามารถทำแผนเพิ่มทุนโดยการแปลงหนี้มาเป็นทุนได้ทำให้ทุนจดทะเบียนของลูกหนี้เพิ่มขึ้นโดยเจ้าหนี้จะเป็นผู้ถือหุ้นที่เพิ่มขึ้นในสัดส่วนหนี้ของตน สถานะของเจ้าหนี้ย่อมเปลี่ยนมาเป็นผู้ร่วมลงทุนกับผู้ถือหุ้นเดิม
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคสอง ผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนนั้นมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการเท่านั้นที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน แล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนส่วนบุคคลอื่นซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้จะต้องรับผิดอีกเช่นไร ต้องเป็นไปตามกฎหมายต่าง ๆซึ่งว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยในส่วนผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นความรับผิดก็เมื่อหนี้นั้นได้ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698การที่เจ้าหนี้ได้รับโอนหุ้นเพื่อชำระหนี้มาจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อตีราคาตลาดที่แท้จริงแล้วชำระหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ได้เพียงบางส่วน หนี้ส่วนของผู้ค้ำประกันก็ย่อมระงับเพียงบางส่วนเท่านั้น การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดไปเสียทีเดียว ย่อมขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าว ข้อกำหนดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 แต่เมื่อรายการดังกล่าวมิใช่รายการสำคัญและพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ก็ได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตราดังกล่าวแล้วการที่ข้อกำหนดดังกล่าวตกไปจึงไม่กระทบถึงความสมบูรณ์ของแผน ถือว่าแผนมีรายการครบถ้วนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/42 ประกอบ 90/58 วรรคสอง แล้ว
ปัญหาที่ว่า มีเหตุผลอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้หรือไม่เป็นปัญหาในชั้นพิจารณาคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/10 อันเป็นกระบวนพิจารณาก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และคำสั่งดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว กรณีจึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะยกเหตุดังกล่าวขึ้นคัดค้านแล้ว
การพิจารณาว่าข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้หรือไม่ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/42 ตรี โดยพิจารณาเฉพาะบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายที่ถูกจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน ดังนั้น แม้ในแผนฟื้นฟูกิจการจะเสนอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ต่างกับเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ก็เป็นกรณีที่ผู้ทำแผนสามารถกำหนดได้เพราะเป็นเจ้าหนี้ต่างกลุ่มกัน เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการได้กำหนดให้สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันแล้ว ต้องถือว่าแผนฟื้นฟูกิจการได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการชำระหนี้เป็นไปตามมาตรา 90/58(2) ประกอบมาตรา 90/42 ตรีแล้ว
เกี่ยวกับการแปลงหนี้เป็นทุนตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/42วรรคท้าย บัญญัติยกเว้นบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1119วรรคสอง ดังนั้น ผู้ทำแผนจึงสามารถทำแผนเพิ่มทุนโดยการแปลงหนี้มาเป็นทุนได้ทำให้ทุนจดทะเบียนของลูกหนี้เพิ่มขึ้นโดยเจ้าหนี้จะเป็นผู้ถือหุ้นที่เพิ่มขึ้นในสัดส่วนหนี้ของตน สถานะของเจ้าหนี้ย่อมเปลี่ยนมาเป็นผู้ร่วมลงทุนกับผู้ถือหุ้นเดิม
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคสอง ผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนนั้นมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการเท่านั้นที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน แล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนส่วนบุคคลอื่นซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้จะต้องรับผิดอีกเช่นไร ต้องเป็นไปตามกฎหมายต่าง ๆซึ่งว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยในส่วนผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นความรับผิดก็เมื่อหนี้นั้นได้ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698การที่เจ้าหนี้ได้รับโอนหุ้นเพื่อชำระหนี้มาจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อตีราคาตลาดที่แท้จริงแล้วชำระหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ได้เพียงบางส่วน หนี้ส่วนของผู้ค้ำประกันก็ย่อมระงับเพียงบางส่วนเท่านั้น การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดไปเสียทีเดียว ย่อมขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าว ข้อกำหนดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 แต่เมื่อรายการดังกล่าวมิใช่รายการสำคัญและพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ก็ได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตราดังกล่าวแล้วการที่ข้อกำหนดดังกล่าวตกไปจึงไม่กระทบถึงความสมบูรณ์ของแผน ถือว่าแผนมีรายการครบถ้วนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/42 ประกอบ 90/58 วรรคสอง แล้ว
ปัญหาที่ว่า มีเหตุผลอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้หรือไม่เป็นปัญหาในชั้นพิจารณาคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/10 อันเป็นกระบวนพิจารณาก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และคำสั่งดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว กรณีจึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะยกเหตุดังกล่าวขึ้นคัดค้านแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้และผลของการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันหลังเกิดหนี้ใหม่ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบหนี้ก่อนบอกเลิก
สัญญาค้ำประกันตามสัญญากู้เงินฉบับแรกเป็นการค้ำประกันถึงหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681 วรรคสอง แต่ลักษณะของสัญญาค้ำประกันดังกล่าว เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้คือธนาคารโจทก์ ซึ่งผู้ค้ำประกันคือจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 8อาจใช้สิทธิบอกเลิกการค้ำประกันเพื่อคราวอันเป็นอนาคตต่อโจทก์ตามมาตรา 699 ได้เมื่อจำเลยที่ 6 และที่ 8 ได้มีหนังสือขอถอนการค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แล้ว สัญญาค้ำประกันจึงเป็นอันระงับไป โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 6 และที่ 8 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญากู้เงินฉบับที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์หลังจากวันที่จำเลยที่ 6 และที่ 8 บอกเลิกการค้ำประกันไปแล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันจำกัดตามข้อตกลงในสัญญา การชดใช้หนี้โดยโจทก์เองไม่ถือเป็นการทำให้ทรัพย์สินโจทก์เสียหาย
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์ระบุว่า เมื่อจำเลยที่ 1เข้าปฏิบัติงานกับโจทก์แล้วทำให้ทรัพย์สินของโจทก์สูญหายหรือเสียหายด้วยประการใด ๆ ฉ้อโกงหรือยักยอก จำเลยที่ 2 ยอมรับชดใช้แทนจำเลยที่ 1 จนครบถ้วน โจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เก็บเงินจากลูกค้าของบริษัท ส. จำเลยที่ 1 เก็บเงินจากลูกค้าแล้วไม่นำไปมอบให้แก่บริษัท ส. ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิได้ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์สูญหายหรือเสียหายและมิได้ฉ้อโกงหรือยักยอกทรัพย์ของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด การที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้ชดใช้เงินให้แก่บริษัท ส. แทนจำเลยที่ 1 จะถือว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์สูญหายหรือเสียหายมิได้ หากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในกรณีดังกล่าวด้วยก็ต้องระบุไว้ให้ชัดแจ้งในสัญญาค้ำประกัน หากไม่ได้ระบุไว้ก็ต้องตีความให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์หากไม่ระบุจำนวนเงินที่ค้ำประกัน ทำให้ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว การตีความจึงต้องเป็นไปโดย เคร่งครัด
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันต่อหน้าโจทก์โดยระบุว่าใช้หนี้สินทั้งหมดของจำเลยที่ 1 แต่ในสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงแบบที่พิมพ์ไว้โดยเว้นช่องว่างเพื่อกรอกรายละเอียดต่าง ๆ โดยมิได้ระบุจำนวนเงินไว้และข้อความที่ว่า ยอมรับผิดในหนี้สินทั้งหมด เป็นข้อความต่อเนื่องจากข้อความในตอนแรกที่ต้องกรอกจำนวนเงินไว้ก่อน เมื่อในสัญญาค้ำประกันไม่กำหนดจำนวนเงินที่จะค้ำประกันไว้จึงเป็นเอกสารไม่สมบูรณ์และไม่อาจอนุมานได้ว่า ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่าใด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันต่อหน้าโจทก์โดยระบุว่าใช้หนี้สินทั้งหมดของจำเลยที่ 1 แต่ในสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงแบบที่พิมพ์ไว้โดยเว้นช่องว่างเพื่อกรอกรายละเอียดต่าง ๆ โดยมิได้ระบุจำนวนเงินไว้และข้อความที่ว่า ยอมรับผิดในหนี้สินทั้งหมด เป็นข้อความต่อเนื่องจากข้อความในตอนแรกที่ต้องกรอกจำนวนเงินไว้ก่อน เมื่อในสัญญาค้ำประกันไม่กำหนดจำนวนเงินที่จะค้ำประกันไว้จึงเป็นเอกสารไม่สมบูรณ์และไม่อาจอนุมานได้ว่า ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่าใด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์หากไม่ระบุจำนวนเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว การตีความจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันต่อหน้าโจทก์โดยระบุว่าใช้หนี้สินทั้งหมดของจำเลยที่ 1 แต่ในสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงแบบที่พิมพ์ไว้โดยเว้นช่องว่างเพื่อการกรอกรายละเอียดต่าง ๆ โดยมิได้ระบุจำนวนเงินดังนั้น ข้อความที่ว่ายอมรับผิดในหนี้สินทั้งหมด จึงเป็นข้อความต่อเนื่องจากข้อความในตอนแรกที่ต้องกรอกจำนวนเงินไว้ก่อน เมื่อในสัญญาค้ำประกัน ไม่ได้กำหนดจำนวนเงินที่จะค้ำประกันไว้ จึงเป็นเอกสารไม่สมบูรณ์และไม่อาจอนุมานได้ว่า ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่าใด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์