คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ชำระบัญชี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 152 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการเป็นผู้ชำระบัญชีชั่วคราว การประชุมใหญ่ต้องรับรองหรือเลือกตั้งใหม่ และเหตุถอนผู้ชำระบัญชี
การที่ กรรมการบริษัทเป็น ผู้ชำระบัญชีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเมื่อบริษัทเลิกกันนั้นถือว่าเป็นการชั่วคราวเมื่อมีการประชุมใหญ่ก็ต้องเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาว่าควรให้กรรมการบริษัทนั้นคงเป็นผู้ชำระบัญชีต่อไปหรือไม่หรือจะเลือกตั้งบุคคลอื่นขึ้นเป็นผู้ชำระบัญชีแทนที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1256(1)กรรมการบริษัทจึงเป็นผู้ชำระบัญชีโดยชอบจนกว่าจะมีการเลือกบุคคลอื่นขึ้นแทนหาใช่ว่าต้องให้ที่ประชุมใหญ่รับรองเสียก่อนจึงจะเป็นผู้ชำระบัญชีโดยสมบูรณ์ไม่ คดีที่ผู้คัดค้านที่2ถึงที่5ถูกฟ้องว่ายักยอกเงินบริษัทผู้คัดค้านที่1ซึ่งเป็นคดีที่กระทำในขณะดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริษัทผู้คัดค้านที่1อยู่ระหว่างพิจารณายังไม่อาจทราบได้แน่นอนว่าทุจริตจริงหรือไม่และผู้ร้องทั้งหกมิได้นำสืบให้เห็นว่าผู้คัดค้านที่2ถึงที่5บกพร่องในหน้าที่ผู้ชำระบัญชีอย่างไรอีกทั้งเหตุที่ผู้คัดค้านที่2ถึงที่5ไม่อาจทำหน้าที่ผู้ชำระบัญชีต่อไปได้ก็มิใช่ความผิดของผู้คัดค้านที่2ถึงที่5จึง ไม่มีเหตุให้ ถอนผู้คัดค้านที่2ถึงที่5จาก ผู้ชำระบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีเมื่อเลิกบริษัท กรรมการบริษัทสามารถเป็นผู้ชำระบัญชีได้หากที่ประชุมใหญ่ยังไม่เลือกบุคคลอื่น
เมื่อที่ประชุมกรรมการบริษัทผู้คัดค้านที่1มีมติตั้งกรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีโดยข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดการตั้งผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่นการตั้งผู้ชำระบัญชีจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่กรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อบริษัทเลิกกันนั้นถือว่าเป็นการชั่วคราวเมื่อมีการประชุมใหญ่ก็จะต้องเสนอให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณาว่าจะควรให้กรรมการบริษัทคงเป็นผู้ชำระบัญชีต่อไปหรือไม่หรือจะเลือกบุคคลอื่นแทนหาใช่ว่าจะต้องให้ที่ประชุมใหญ่รับรองก่อนจึงจะเป็นผู้ชำระบัญชีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกขอตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลศรีสุทธา ซึ่ง ก.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตาม ป.พ.พ.มาตรา 1251 วรรคสอง จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเมื่อหุ้นส่วนตาย และการมีอำนาจร้องขอตั้งผู้ชำระบัญชี
หุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลตายหุ้นส่วนอื่นที่คงเหลืออยู่เพียงแต่ได้แสดงเจตนาจะขอซื้อหุ้นของหุ้นส่วนดังกล่าว กรณียังไม่เป็นการรับซื้อหุ้นของหุ้นส่วนที่ตาย ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา1060 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลจึงเป็นอันเลิกกันและต้องมีการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1069,1055(5) ผู้จัดการมรดกของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ตาย เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 วรรคสอง มีอำนาจร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกในการร้องขอตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลศรีสุทธา ซึ่ง ก.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1251 วรรคสอง จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายหลังเลิกบริษัท: อำนาจของผู้ชำระบัญชีและความแน่นอนของหนี้ภาษี
การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหมายเรียกถึงผู้จัดการของจำเลยภายหลังที่จำเลยได้จดทะเบียนเลิกบริษัท เพื่อให้ไปให้ถ้อยคำและชี้แจงเกี่ยวกับภาษีรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2517 - 2518 โดยมิได้มีหมายเรียกไปถึงผู้ชำระบัญชีซึ่งมีอำนาจหน้าที่จึงไม่ชอบ และแม้ผู้จัดการของจำเลยได้มอบอำนาจให้ผู้ชำระบัญชีไปให้ถ้อยคำชี้แจงต่อเจ้าพนักงานของโจทก์ก็เป็นการมอบอำนาจที่ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจจะกระทำได้มาแต่ต้นจึงไม่มีผลแต่อย่างใด และไม่อาจถือได้ว่าผู้ชำระบัญชีได้ทราบโดยชอบแล้ว
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายกับภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังกรรมการและผู้จัดการของจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจเป็นการแจ้งการประเมินโดยไม่ชอบ
กรรมการหรือผู้จัดการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนนิติบุคคลนั้นย่อมหมายถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่มีอำนาจดำเนินการแทนโดยชอบอยู่ มิได้หมายความถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่ไม่มีอำนาจแล้ว กรณีที่จำเลยจดทะเบียนเลิกบริษัทและแต่งตั้งผู้ชำระต่อไปคือผู้ชำระบัญชี ซึ่งเป็นไปตาม ป.พ.พ. ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีอากรแล้ว จำเลยยังไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรได้ จึงถือไม่ได้ว่าหนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน ตามมาตรา 9 (3) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เพราะอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้จำนวนดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งประเมินภาษีหลังเลิกบริษัท: ต้องแจ้งผู้ชำระบัญชี ไม่ใช่กรรมการ/ผู้จัดการ
บริษัทจำเลยได้จดทะเบียนเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1250,1259(3) กรรมการหรือผู้จัดการของจำเลยหามีอำนาจอีกต่อไปไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรมีหมายเรียกและแจ้งการประเมินภาษีของบริษัทไปยังกรรมการและผู้จัดการของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีอากรจำนวนดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงยังไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรได้ จึงถือไม่ได้ว่าหนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9(3) เพราะอาจจะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำหนี้นี้มาฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4784/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดสิทธิบังคับคดี – ไม่มีส่วนได้เสีย – ตั้งผู้ชำระบัญชี
แม้โจทก์จะเป็นหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์เพียงแต่ยื่นคำขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีไว้แต่หาได้แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์สินใด ๆ ของจำเลยที่ 1 ไม่กลับปล่อยเวลาล่วงเลย 10 ปี จึงได้ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยทื่ 1โดยอ้างว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครขีดชื่อบริษัทออกเสียจากทะเบียน ดังนี้ ขณะที่โจทก์ยื่นคำขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1นั้น โจทก์หมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 แล้ว เพราะล่วงพ้นกำหนดเวลาที่โจทก์จะร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในขณะยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีบริษัท จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิร้องขอตั้งผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดสิทธิบังคับคดีแล้ว ไม่มีสิทธิร้องขอตั้งผู้ชำระบัญชี
แม้โจทก์จะเป็นหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์เพียงแต่ยื่นคำขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีไว้แต่หาได้แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์สินใด ๆ ของจำเลยที่ 1 ไม่กลับปล่อยเวลาล่วงเลย 10 ปี จึงได้ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1โดยอ้างว่า บริษัทจำเลยที่ 1 ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครขีดชื่อบริษัทออกเสียจากทะเบียน ดังนี้ ขณะที่โจทก์ยื่นคำขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1นั้น โจทก์หมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 แล้ว เพราะล่วงพ้นกำหนดเวลาที่โจทก์จะร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในขณะยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิร้องขอตั้งผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในกำหนด จึงหมดสิทธิร้องขอตั้งผู้ชำระบัญชี
โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษา แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์เพียงแต่ยื่นคำขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีไว้ โดยหาได้แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์สินใด ๆ ของจำเลยที่ 1 ไม่ กลับปล่อยเวลาล่วงเลย 10 ปีไปแล้วจึงได้ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1 โดยอ้างว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครขีดชื่อบริษัทออกเสียจากทะเบียน ดังนี้ ขณะที่โจทก์ยื่นคำขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1 นั้น โจทก์หมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 แล้ว เพราะล่วงพ้นกำหนดเวลาที่โจทก์จะร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ดังนั้น โจทก์ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย จึงไม่มีสิทธิร้องขอตั้งผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 วรรคสอง
of 16