พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการบริษัทชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างมากระหว่างการดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างน้อยเป็นผู้บริหารดำเนินกิจการของบริษัทที่พิพาท โดยจำเลยทั้งสองร่วมกับบุคคลภายนอกปลอมรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติปลดโจทก์ที่ 6 ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทที่พิพาทและตั้งจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 6 ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามรายงานการประชุมดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งหกมีเหตุสมควรที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในระหว่างการพิจารณาเพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการบริษัทเพื่อบริหารกิจการในระหว่างการพิจารณาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 และโดยที่โจทก์ทั้งหกเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างมาก การกำหนดสัดส่วนของผู้จัดการฝ่ายโจทก์ทั้งหกให้มีจำนวน 5 คน ให้ร่วมกับจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการเพื่อบริหารบริษัทที่พิพาทเป็นการชั่วคราวในระหว่างการพิจารณานั้น นับว่าเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว
คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้าน ที่ทำการค้าพิพาทได้ ทั้งเป็นคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาให้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องแก้ไขหรือเพิกถอนอำนาจกรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้ ส่วนการกำหนดให้ผู้จัดการจำนวน 4 ใน 7 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทที่พิพาทได้นั้น ก็เป็นกรณีมีคำสั่งที่เกี่ยวกับการกำหนดวิธีเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในอันที่จะทำให้บริษัทที่พิพาทสามารถดำเนินกิจการไปได้โดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคในระหว่างการพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้พิพากษา
คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้าน ที่ทำการค้าพิพาทได้ ทั้งเป็นคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาให้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องแก้ไขหรือเพิกถอนอำนาจกรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้ ส่วนการกำหนดให้ผู้จัดการจำนวน 4 ใน 7 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทที่พิพาทได้นั้น ก็เป็นกรณีมีคำสั่งที่เกี่ยวกับการกำหนดวิธีเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในอันที่จะทำให้บริษัทที่พิพาทสามารถดำเนินกิจการไปได้โดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคในระหว่างการพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้พิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือหุ้นฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 57(2)
ผู้ที่จะขอเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(2) จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ซึ่งหมายความว่าผลของคดีตามกฎหมายจะเป็นผลไปถึงตนโดยจะต้องเป็นผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีโดยตรง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัด เป็นนิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น มีกรรมการเป็นผู้จัดการแทน หากโจทก์ชนะคดี ต้องเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลย ผู้มีหน้าที่ต้องจัดการต่อไปตามผลของคดีก็คือจำเลยโดยกรรมการของจำเลยผู้ถือหุ้นหาได้มีหน้าที่ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ต่อผลของคำพิพากษาที่โจทก์ขอบังคับด้วยไม่ สิทธิของผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นของจำเลยยังคงมีอยู่โดยสมบูรณ์เช่นเดิม ผู้ร้องจึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามความหมายของมาตรา 57 (2)
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัด เป็นนิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น มีกรรมการเป็นผู้จัดการแทน หากโจทก์ชนะคดี ต้องเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลย ผู้มีหน้าที่ต้องจัดการต่อไปตามผลของคดีก็คือจำเลยโดยกรรมการของจำเลยผู้ถือหุ้นหาได้มีหน้าที่ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ต่อผลของคำพิพากษาที่โจทก์ขอบังคับด้วยไม่ สิทธิของผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นของจำเลยยังคงมีอยู่โดยสมบูรณ์เช่นเดิม ผู้ร้องจึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามความหมายของมาตรา 57 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือหุ้นไม่มีส่วนได้เสียโดยตรงในคดีเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ จึงไม่สามารถเป็นจำเลยร่วมได้
ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) หมายความว่าผลของคดีตามกฎหมายเป็นผลไปถึงตนโดยเป็นผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีโดยตรง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด หากโจทก์ชนะคดีผู้มีหน้าที่ต้องจัดการต่อไปตามผลของคดีคือจำเลยที่ 1 โดยกรรมการ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหามีหน้าที่ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ต่อผลของคำพิพากษาไม่ การที่ผู้ร้องอ้างว่าได้เข้าร่วมประชุมและลงมติขอเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อนำสืบให้ศาลทราบว่าการประชุมดำเนินการไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็อาจขอให้จำเลยทั้งสี่นำผู้ร้องและพยานหลักฐานที่ผู้ร้องมีเข้านำสืบอ้างส่งเป็นพยานฝ่ายจำเลยได้ หาจำต้องร้องเข้ามาด้วยไม่
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด หากโจทก์ชนะคดีผู้มีหน้าที่ต้องจัดการต่อไปตามผลของคดีคือจำเลยที่ 1 โดยกรรมการ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหามีหน้าที่ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ต่อผลของคำพิพากษาไม่ การที่ผู้ร้องอ้างว่าได้เข้าร่วมประชุมและลงมติขอเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อนำสืบให้ศาลทราบว่าการประชุมดำเนินการไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็อาจขอให้จำเลยทั้งสี่นำผู้ร้องและพยานหลักฐานที่ผู้ร้องมีเข้านำสืบอ้างส่งเป็นพยานฝ่ายจำเลยได้ หาจำต้องร้องเข้ามาด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทหลักทรัพย์จากข่าวเท็จ
โจทก์เป็นผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. ตลอดจนเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นผู้บริหารในตำแหน่งประธานกรรมการ และมีหุ้นถืออยู่ร้อยละ 80.93 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ถือได้ว่าโจทก์มีความเกี่ยวพันกับบริษัทดังกล่าวเป็นพิเศษ ความเชื่อถือของประชาชนต่อธุรกิจของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. จึงอาศัยชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์เป็นสำคัญ ฉะนั้น เมื่อมีผู้กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงที่เป็นผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในกิจการของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. แล้ว โจทก์ก็ย่อมได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณทางทำมาหาได้ของโจทก์ด้วย แม้ว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. จะมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์ก็ตาม ดังนั้น การที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจากการแถลงข่าวอันเป็นเท็จของจำเลยทั้งสอง เป็นผลให้ประชาชนผู้ฝากเงินเกรงว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. จะไม่มีเงินให้ถอนคืนเพราะขาดสภาพคล่องทางการเงินจึงมารุมถอนเงินมากผิดปกติ อีกทั้งจำเลยได้สั่งให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. หยุดกิจการ และให้โจทก์พ้นจากหน้าที่ การกระทำของจำเลยที่มีผลถึงโจทก์ ถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2788/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือหุ้นไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น จึงขอเป็นจำเลยร่วมไม่ได้
ผู้ที่จะขอเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี คือ จะต้องเป็นผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีนี้โดยตรง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดเป็นนิติบุคคล มีสิทธิและหน้าที่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น หากโจทก์ชนะคดี ผู้มีหน้าที่ต้องจัดการต่อไปตามผลของคดีคือจำเลยที่ 1 โดยกรรมการของจำเลยที่ 1 ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหาได้มีหน้าที่ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ตามคำพิพากษาไม่ สิทธิของผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ยังคงมีอยู่โดยสมบูรณ์เช่นเดิม ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ไม่อาจขอเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดเป็นนิติบุคคล มีสิทธิและหน้าที่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น หากโจทก์ชนะคดี ผู้มีหน้าที่ต้องจัดการต่อไปตามผลของคดีคือจำเลยที่ 1 โดยกรรมการของจำเลยที่ 1 ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหาได้มีหน้าที่ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ตามคำพิพากษาไม่ สิทธิของผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ยังคงมีอยู่โดยสมบูรณ์เช่นเดิม ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ไม่อาจขอเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของบริษัทเลิกแล้ว: ผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจฟ้องแทน ต้องเป็นผู้ชำระบัญชี
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด และได้มีคำพิพากษาของศาลให้เลิกบริษัทและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี โดยชอบไปแล้ว ผู้มีอำนาจจัดการกิจการของโจทก์ได้แก่ผู้ชำระบัญชี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1259 โดยไม่มีบทกฎหมายให้อำนาจผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ซึ่งเลิกบริษัทแล้วได้ ส่วนมาตรา 1169 เป็นเรื่องที่บริษัทยังมิได้เลิก และกรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท ถ้าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการ ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้
เมื่อบริษัทโจทก์เลิกโดยคำพิพากษาไปแล้ว และไม่มีบทกฎหมายให้อำนาจผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดฟ้องคดีแทนบริษัทได้ ซ. ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์จึงฟ้องคดีแทนโจทก์ไม่ได้ แม้ผู้ชำระบัญชีที่ศาลแต่งตั้งใหม่แทนคนเดิม ที่ถูกเพิกถอน จะเพิ่งนำบอกให้จดทะเบียนและประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วก็เป็นเรื่องที่ ผู้ชำระบัญชีคนเดิมปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติกฎหมาย การที่ผู้ชำระบัญชีคนเดิมไม่นำบอก ให้จดทะเบียนการเลิกบริษัทโจทก์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่เป็นเหตุให้บริษัทโจทก์กลับฟื้นขึ้นมาใหม่ และไม่เป็นเหตุให้ผู้ชำระบัญชีที่ยังไม่ถูกถอดถอนหมดอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ นำบอกให้จดทะเบียนการเลิกบริษัทโจทก์และจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ชำระบัญชีคนใหม่และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายหลังจากที่ ซ. ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์แล้วก็ตาม ซ. ก็หามีอำนาจฟ้องคดีนี้ในนามของโจทก์ได้ไม่ และการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะผู้ชำระบัญชีได้ยื่นคำร้องหลังจากที่ ซ. ฟ้องคดีนี้ขอเข้าว่าคดีแทนบริษัทโจทก์ เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ชอบมาแต่แรก แม้ต่อมาจะมีการยื่นคำร้องดังกล่าว ก็หาทำให้ฟ้องที่ไม่ชอบกลับเป็นฟ้องที่ชอบขึ้นมาในภายหลังได้ไม่
โจทก์ฎีกาเพียงเรื่องอำนาจฟ้อง มิได้ฎีกาขอให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ.
เมื่อบริษัทโจทก์เลิกโดยคำพิพากษาไปแล้ว และไม่มีบทกฎหมายให้อำนาจผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดฟ้องคดีแทนบริษัทได้ ซ. ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์จึงฟ้องคดีแทนโจทก์ไม่ได้ แม้ผู้ชำระบัญชีที่ศาลแต่งตั้งใหม่แทนคนเดิม ที่ถูกเพิกถอน จะเพิ่งนำบอกให้จดทะเบียนและประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วก็เป็นเรื่องที่ ผู้ชำระบัญชีคนเดิมปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติกฎหมาย การที่ผู้ชำระบัญชีคนเดิมไม่นำบอก ให้จดทะเบียนการเลิกบริษัทโจทก์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่เป็นเหตุให้บริษัทโจทก์กลับฟื้นขึ้นมาใหม่ และไม่เป็นเหตุให้ผู้ชำระบัญชีที่ยังไม่ถูกถอดถอนหมดอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ นำบอกให้จดทะเบียนการเลิกบริษัทโจทก์และจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ชำระบัญชีคนใหม่และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายหลังจากที่ ซ. ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์แล้วก็ตาม ซ. ก็หามีอำนาจฟ้องคดีนี้ในนามของโจทก์ได้ไม่ และการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะผู้ชำระบัญชีได้ยื่นคำร้องหลังจากที่ ซ. ฟ้องคดีนี้ขอเข้าว่าคดีแทนบริษัทโจทก์ เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ชอบมาแต่แรก แม้ต่อมาจะมีการยื่นคำร้องดังกล่าว ก็หาทำให้ฟ้องที่ไม่ชอบกลับเป็นฟ้องที่ชอบขึ้นมาในภายหลังได้ไม่
โจทก์ฎีกาเพียงเรื่องอำนาจฟ้อง มิได้ฎีกาขอให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหลังบริษัทเลิก: ผู้ถือหุ้นฟ้องแทนบริษัทไม่ได้ ผู้ชำระบัญชีต้องฟ้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 เป็นเรื่องที่บริษัทยังไม่เลิกและกรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท ถ้าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้ เมื่อบริษัทโจทก์เลิกโดยคำพิพากษาแล้วไม่มีกฎหมายให้อำนาจผู้ถือหุ้นฟ้องคดีแทนบริษัทได้ ซ. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทโจทก์จึงฟ้องคดีแทนโจทก์ไม่ได้แม้ผู้ชำระบัญชีที่ศาลแต่งตั้งใหม่แทนคนเดิมที่ถูกเพิกถอนจะเพิ่งนำบอกให้จดทะเบียนการเลิกบริษัทโจทก์และประกาศในราชกิจจานุเบกษาหลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้ว ก็เป็นเรื่องผู้ชำระบัญชีคนเดิมปฏิบัติหน้าที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายไม่เป็นเหตุให้บริษัทโจทก์กลับฟื้นขึ้นมาใหม่และไม่เป็นเหตุให้ผู้ชำระบัญชีที่ยังไม่ถูกถอดถอนหมดอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์และแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องหลังจากที่ ซ. ฟ้องคดีแล้วขอเข้าว่าคดีแทนบริษัทโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้น ก็หาทำให้ฟ้องที่ไม่ชอบกลับเป็นฟ้องที่ชอบขึ้นมาในภายหลังไม่
โจทก์ฎีกาเรื่องอำนาจฟ้อง มิได้ฎีกาขอให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อโจทก์เสียไว้เกินต้องคืนให้แก่โจทก์
โจทก์ฎีกาเรื่องอำนาจฟ้อง มิได้ฎีกาขอให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อโจทก์เสียไว้เกินต้องคืนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ (บริษัท) แทนการหมายเรียกเข้าศาล และการเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้ถือหุ้นเพื่อชำระหนี้ภาษี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 234 บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของ ลูกหนี้จะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีนั้นด้วย ก็เพื่อประสงค์ให้ลูกหนี้ได้มี โอกาสรักษาสิทธิของตน ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีนี้แทนการขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) จึงถือได้ว่ามีการเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติ ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 แล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 แทนการขอหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้เข้ามาในคดีได้ หาเป็นเหตุที่จะต้องยกฟ้องโจทก์ไม่ทั้งไม่เป็นเหตุขัดข้องที่จะพิพากษาให้จำเลยอื่นชำระหนี้แก่โจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ มิได้หมายเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดี โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก็เนื่องจาก ศาลฎีกาเคยพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้รายเดียวกันนี้ให้แก่โจทก์ไปก่อนแล้วจึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 อีก ทั้งเมื่อมิได้มีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 ศาลก็พิพากษาบังคับจำเลยที่ 1 ไม่ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 กรณีดังกล่าวหาเป็นเหตุให้ฟ้องโจทก์ต้องเสียไปถึงกับยกฟ้องโจทก์ไม่และการฟ้องเรียกทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 คืนจากผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1269 กฎหมายก็มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ดังนี้การที่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ไว้แล้วดำเนินกระบวนพิจารณา ตั้งแต่ให้จำเลยทั้งหมดยื่นคำให้การใหม่และพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของกรรมการ ผู้ถือหุ้น และผู้สั่งการในสัญญาจัดอบรมสัมมนา
เมื่อฝ่ายจำเลยกับโจทก์ทำสัญญากันให้โจทก์จัดสถานที่ อบรมสัมมนาที่พักพร้อมอาหารเครื่องดื่มให้แก่ฝ่ายจำเลยซึ่งวัตถุประสงค์แห่งสัญญาดังกล่าวไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาตามฟ้องจึงไม่เป็นโมฆะ ส่วนโจทก์แม้จะยังไม่ได้ รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการโรงแรมก็เป็นการไม่ปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2478 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกันไม่มีผลกระทบสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้มาติดต่อใช้โรงแรม ของโจทก์จัดอบรมสัมมนา และตกลงชำระค่าจัดอบรมสัมมนา เป็นเช็คโดยมีข้อตกลงกันว่า หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยทั้งห้าจะร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ซึ่งต่อมาธนาคารได้ ปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ก็ออกเช็คชำระหนี้ บางส่วนให้แก่โจทก์ทั้งจำเลยที่ 5 ชำระหนี้บางส่วนเป็นเงิน 50,000 บาท ให้แก่โจทก์ด้วย ย่อมเป็นการบ่งชี้ว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 มีส่วนร่วมในการจัดอบรมสัมมนา นอกจากนี้ยังปรากฏว่า การดำเนินกิจการและการจ่ายเงินของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 เป็นผู้สั่งและตัดสินใจคนเดียว ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 จะเป็น ข้าราชการแต่ก็ได้ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการ ของจำเลยที่ 1แทน แสดงว่าจำเลยที่ 4 ร่วมดำเนินกิจการกับ จำเลยที่ 1 ด้วย ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 และ ที่ 5 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ดำเนินกิจการ อบรมสัมมนาและทำสัญญาตามฟ้องกับโจทก์ จำเลยที่ 4 และ ที่ 5 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 รับผิดชำระหนี้ ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงบริษัท: การถือหุ้น, การประชุมผู้ถือหุ้น, และการประทับตราบริษัท
ป.น.และส.มิได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ขายในสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขและไม่มีหลักฐานว่าได้มอบอำนาจ ให้จำเลยเป็นผู้ขายหุ้นของตนหรือ บริษัทก. เป็นผู้ขายหุ้นของป.น.และส.ถือไม่ได้ว่าป.น.และส. ได้ขายหุ้นของตนให้แก่โจทก์ สัญญาขายหุ้นจึงไม่มีผลผูกพัน ป.น. และส.โจทก์ไม่มีตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ป.น. และส. โอนให้แก่โจทก์เป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้โอน กับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็น อย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสอง มาแสดง ถือไม่ได้ว่าหุ้นของป.น.และส.ได้โอนไปยังโจทก์แล้วป.น.และส. ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทก. สัญญาขายหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข ซึ่งมีข้อความส่วนหนึ่งระบุว่า "อนึ่ง ในวันทำสัญญานี้ผู้ขาย ได้ทำตราสารการโอนหุ้นมีผลเป็นการโอนหุ้นที่ตกลงซื้อตาม ข้อ 1 เสร็จ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้นายว. เก็บรักษาไว้จนกว่าผู้ซื้อจะดำเนินการตามสัญญาเสร็จ" ถือไม่ได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นแบบตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่เป็นหนังสือโดยลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อ นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสองเพราะข้อความดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไข ทั้งสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขก็มิใช่แบบตราสาร การโอนหุ้นตามมาตรา 1129 วรรคสอง ป.น.และส.จึงยังเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทก.