คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ปกครอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการยื่นคำร้องขอตั้งผู้ปกครองและการรับบุตรบุญธรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากมารดา
ผู้รับบุตรบุญธรรมยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง บ. บุตรเขยเป็นผู้ปกครองบุตรบุญธรรมซึ่งเป็นผู้เยาว์ เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ญาติหรือเป็นพนักงานอัยการ จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1556
เมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมยังไม่ได้จดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรมหรือถูกถอนอำนาจปกครอง ทั้งมารดาผู้เยาว์ยังมีชีวิตอยู่แม้ไม่ทราบที่อยู่ไม่อาจติดต่อได้ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะจัดให้มีผู้ปกครองผู้เยาว์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555 เมื่อไม่อาจตั้งผู้ปกครองได้การตั้งผู้ปกครองหลายคนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1559 จึงไม่อาจทำได้
บ. ยังไม่ได้รับความยินยอมจากมารดาผู้เยาว์ ย่อมรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกสินสอดสงวนเฉพาะบิดามารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมายเท่านั้น
ผู้ที่มิใช่บิดามารดาและไม่เป็นผู้ปกครองของหญิง ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินสินสอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1436 วรรคท้าย ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกสินสอด: ผู้ไม่ใช่บิดามารดาหรือผู้ปกครอง ไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้ที่มิใช่บิดามารดาและไม่เป็นผู้ปกครองของหญิงย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินสินสอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 วรรคท้าย ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้ปกครอง: บุคคลที่ไม่ใช่ญาติของบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิขอเป็นผู้ปกครอง
น้องผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ใช่ญาติของบุตรบุญธรรม ดังนั้น น้องผู้รับบุตรบุญธรรม จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองบุตรบุญธรรมซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้ปกครองในการยินยอมรับบุตรบุญธรรม: การมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการจดทะเบียน
ผู้ปกครองของผู้เยาว์ตามคำสั่งศาลย่อมเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์มีอำนาจที่จะให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรมฉะนั้นเมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมได้แสดงเจตนาให้ความยินยอมในการที่จะให้ผู้อื่นรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมแล้วผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมตั้งตัวแทนไปทำการจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมแทนตนได้ เพราะการลงชื่อในทะเบียนเป็นเพียงแบบพิธีของกฎหมายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก: การถอนอำนาจผู้ปกครองเดิมและตั้งผู้ปกครองใหม่
กรณีที่เกี่ยวกับผู้เยาว์อันว่าด้วยเรื่องอำนาจปกครองและความปกครองนั้นไม่เหมือนกับคดีธรรมดาสามัญอื่นทั่วไป.บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ลักษณะ 2หมวด 2 และ 3 ให้อำนาจแก่ศาลเป็นพิเศษ. ในอันที่จะป้องกันสวัสดิภาพและรักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์. แม้ผู้เยาว์นั้นจะมีบิดามารดาหรือผู้ปกครองอยู่แล้ว ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งถอนอำนาจปกครองเสียบางส่วนหรือทั้งหมด. และจะสั่งถอนผู้ปกครองเสียก็ได้. อำนาจเช่นว่านี้ศาลจะสั่งเองโดยไม่จำต้องมีใครร้องขอก็ได้ในเมื่อมีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครองอยู่แล้ว หรือจะสั่งในเมื่อมีบุคคลผู้มีสิทธิร้องขอขึ้นมาก็ได้ตามมาตรา 1552,1574 และ 1575เพราะอำนาจควบคุมและคุ้มครองของศาลยังคงมีอยู่เรื่อยไป.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 797/2499).
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ตามคำสั่งศาล และตั้งโจทก์เป็นผู้ปกครองแทน. การฟ้องขอให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ของผู้เยาว์. เมื่อปรากฏเรื่องการใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ต่อศาลภายหลังที่มีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครอง. ศาลมีอำนาจที่จะนำมาตรา 1552 มาบังคับคดีและเรียกผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กเข้ามาในการไต่สวนเกี่ยวกับการถอนผู้ปกครองเดิมและการตั้งผู้ปกครองใหม่ได้. แม้โจทก์จะถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา. ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งจำหน่ายคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 454/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลคดีเด็กฯ ในคดีเปลี่ยนผู้ปกครอง: การพิจารณาจากบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลคดีเด็กฯ ขอให้ถอนอำนาจปกครองจากจำเลยแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแทน แม้ว่าคำฟ้องของโจทก์อาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1503 เป็นหลักซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ.2494 มาตรา 8(2) ไม่ได้บัญญัติให้มาตรา 1503 นี้อยู่ในอำนาจศาลคดีเด็กฯก็ตามแต่การที่โจทก์ขอให้ศาลสั่งเปลี่ยนอำนาจปกครองจากจำเลยให้อยู่แก่โจทก์ผู้เป็นมารดาซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลจะสั่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538(6) ด้วย และมาตรานี้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ.2494 มาตรา 8(2)บัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กฯ ฉะนั้นศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 669/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงดูบุตรเมื่อผู้ปกครองยังไม่ได้เปลี่ยนตัว และหน้าที่บิดาในการอุปการะเลี้ยงดู
การที่บิดามารดาหย่ากันเอง และตกลงให้บิดาเป็นผู้ปกครองบุตรผู้เยาว์นั้น ตามปกติบิดาย่อมเป็นผู้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามควรแก่กรณี หากบิดาละเลยหรือประพฤติมิชอบให้เห็นว่าไม่สมควรแก่หน้าที่จนบุตรนั้นหนีมาอยู่กับมารดาเป็นเหตุให้มารดาต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูไปก็ดี มารดาก็ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินนั้นจากบิดาได้ แต่มารดาอาจร้องขอต่อศาลให้ถอนบิดาจากการเป็นผู้ปกครองเสียได้โดยขอตั้งผู้ปกครองใหม่ แล้วใช้สิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากบิดาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 669/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า: ผู้ปกครองมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู หากละเลยอาจถูกถอนอำนาจ
การที่บิดามารดาหย่ากันเอง และตกลงให้บิดาเป็นผู้ปกครองบุตรผู้เยาว์นั้นตามปกติบิดาย่อมเป็นผู้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามควรแก่กรณี หากบิดาละเลยหรือประพฤติมิชอบให้เห็นว่าไม่สมควรแก่หน้าที่จนบุตรนั้นหนีมาอยู่กับมารดาเป็นเหตุให้มารดาต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูไปก็ดีมารดาก็ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินนั้นจากบิดาได้แต่มารดาก็อาจร้องขอต่อศาลให้ถอนบิดาจากการเป็นผู้ปกครองเสียได้โดยขอตั้งผู้ปกครองใหม่แล้วใช้สิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากบิดาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1536

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1838/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้จากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมรดกโดยผู้ปกครอง ไม่ถือเป็นการทำนิติกรรมใหม่ และไม่ขาดอายุความ
ภายหลังเจ้ามรดกตายเกิน 1 ปีแล้ว ผู้ปกครองของผู้เยาว์ผู้รับมรดกได้ยินยอมตกลงปฏิบัติตามสัญญาจะขายที่ดินที่ผู้ตายเจ้ามรดกได้ทำไว้ เรียกได้ว่าเป็นการรับสภาพต่อเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 188 วรรคท้าย กรณีเช่นนี้ หาใช่เป็นการทำนิติกรรมขายที่ดินมรดกขึ้นใหม่อันจะต้องขออนุญาตต่อศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 ไม่
of 10