คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ประกอบการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5613/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าสินค้าของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 165
โจทก์ประกอบการผลิตสุราจำหน่ายแก่ประชาชนเป็นปกติธุระถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบศิลป อุตสาหกรรม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165(1) การที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระราคาค่าสุราที่โจทก์ผลิตขายให้จำเลยตามสัญญา เป็นการเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของให้จำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3745/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จากการจัดสรรที่ดิน: หนี้ร่วมและบังคับชำระจากสินสมรส
จำเลยกับผู้ร้องเป็นสามีภริยากันได้ร่วมกันประกอบอาชีพจัดสรรที่ดินและสร้างตึกแถวขาย หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเกิดจากจำเลยผิดสัญญาขายที่ดินพร้อมตึกแถวที่จำเลยเป็นผู้จัดสรรดังกล่าวให้แก่โจทก์ จึงเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 และมีผลให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้จากสินสมรสและสินส่วนตัวได้ตามมาตรา 1489 โจทก์ชอบที่จะบังคับชำระหนี้จากสินสมรสได้ทั้งหมด ผู้ร้องไม่มีสิทธิกันส่วนของตนไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2481/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสันนิษฐานการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงและการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ประกอบการ
แม้ผู้ใดมีน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำกว่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดมีปริมาณตั้งแต่ 200 ลิตรขึ้นไป กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้กระทำการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อจำหน่ายก็ตาม แต่บทบัญญัติของกฎหมายนั้นเองได้ให้โอกาสผู้นั้นพิสูจน์ว่าได้น้ำมันเชื้อเพลิงมาโดยไม่ทราบว่าเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพต่ำกว่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ เมื่อโจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันทำให้คุณภาพน้ำมันลดลง นอกจากนี้จำเลยยังนำสืบต่อสู้ว่า จำเลยซื้อน้ำมันจากบริษัทอื่นโดยวิธีที่รถบรรทุกน้ำมันได้บรรทุกน้ำมันมาถ่ายลงในถังใต้ดิน โดยจำเลยมิได้ตรวจสอบคุณภาพ ทั้งค่าออกเทนของน้ำมันก็ลดลงเพียง .6 เท่านี้จำเลยจึงไม่มีความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างขับรถโดยสารประจำทาง ไม่ถือเป็นผู้ประกอบการขนส่งตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก
รถยนต์ที่จำเลยขับในขณะเกิดเหตุเป็นของบริษัท ย. นำมาเดินร่วมกับบริษัทขนส่งจำกัด ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางสายที่ 34 จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างขับรถยนต์คันดังกล่าวจึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ประจำรถเท่านั้น ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ประกอบการขนส่งแม้รถที่จำเลยขับจะไม่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งจากนายทะเบียน จำเลยก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 23.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะลูกจ้างขับรถ vs. ผู้ประกอบการขนส่ง: ไม่ผิด พ.ร.บ.ขนส่งทางบก หากไม่ใช่ผู้ประกอบการ
รถยนต์ที่จำเลยขับในขณะเกิดเหตุเป็นของบริษัท ย. นำมาเดินร่วมกับบริษัทขนส่งจำกัด ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางสายที่ 34 จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างขับรถยนต์คันดังกล่าว จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ประจำรถเท่านั้น ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ประกอบการขนส่งแม้รถที่จำเลยขับจะไม่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งจากนายทะเบียน จำเลยก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 23.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ข่มขู่เรียกรับเงินจากผู้ประกอบการ
การที่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้นายตรวจสรรพสามิตแยกกันออกตรวจร้านค้าสุราในท้องที่ตามเขตที่กำหนดนั้นเป็นเรื่องของการแบ่งงานเพื่อความเหมาะสมในการปฏิบัติราชการเท่านั้นหาเป็นการจำกัดอำนาจหน้าที่ในการตรวจร้านค้าสุราในท้องที่เขตอื่นไม่และการตรวจร้านค้าสุราก็มิใช่การปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ราชการซึ่งโดยปกติจะกระทำในระหว่างเวลาราชการทั้งไม่ปรากฏว่านายตรวจสรรพสามิตจะต้องปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเวลาราชการดังนั้นการที่จำเลยที่1ถึงที่3ซึ่งเป็นนายตรวจสรรพสามิตได้ไปที่ร้านค้าสุราของผู้เสียหายซึ่งอยู่นอกเขตท้องที่ที่ตนได้รับมอบหมายให้ไปตรวจและไปหลังเวลาราชการโดยเรียกผู้เสียหายออกจากร้านมาพบที่รรถยนต์แล้วพูดว่าจะจับสุราของผู้เสียหายไปนั้นก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่นั่นเองหาใช่เป็นการกระทำส่วนตัวไม่และเมื่อจำเลยที่1ถึงที่3ร่วมกันเรียกร้องให้ผู้เสียหายจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนเพื่อจำเลยที่1ถึงที่3จะไม่จับทั้งที่ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายทำผิดกฎหมายอย่างไรนั้นย่อมเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา148แล้ว ส่วนที่พวกจำเลยพูดกับผู้เสียหายว่าถ้าไม่จ่ายเงินจะจับสุราที่ร้านค้าของผู้เสียหายและจะจับเดือนละ2ครั้งโดยได้ความว่าก่อนเกิดเหตุพวกของจำเลยได้มาขู่เอาเงินไปแล้ว2ครั้งและผู้เสียหายพูดต่อรองไม่ให้จับเพราะกลัวลูกค้าจะเข้าใจผิดว่าขายสุราผิดกฎหมายแล้วผู้เสียหายจ่ายเงินให้พวกจำเลยไปนั้นเป็นการจ่ายเงินให้ไปด้วยความกลังที่เกิดจากถูกพวกจำเลยขู่เข็ญว่าจะแกล้งจับสุราในร้านนั่นเองมิใช่ผู้เสียหายจะไม่มีมูลเหตุต้องกลัวเพราะไม่ได้มีสุราผิดกฎหมายการกระทำของพวกจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา337.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้ประกอบการเดินรถจากการกระทำของคนขับรถรับจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์เก๋งรับจ้างสาธารณะ คันหมายเลขทะเบียน 1 ท-3725 และนำไปวิ่งร่วมกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้างสาธารณะคันดังกล่าวเป็นประจำ หรือจำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่1 เชิดจำเลยที่ 3 ออกแสดงเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1โดยการขับรถยนต์สาธารณะคันดังกล่าว ซึ่งมีตรา หรือเครื่องหมายอันเป็นสัญญลักษณ์ของจำเลยที่ 3 ติดอยู่ที่ประตูด้านหลังของรถยนต์คันดังกล่าวและยังบรรยายฟ้องต่อไปอีกว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการใช้รถยนต์คันดังกล่าวรับจ้างขนส่งผู้โดยสาร จำเลยที่2 จึงต้อง ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ด้วยแสดงให้เห็นว่านอกจากโจทก์ฟ้อง ขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดฐานนายจ้างของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ยังฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 รับผิดในฐานะจำเลยที่ 3 เชิดให้ จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้ประกอบการเดินรถรับจ้างจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ กรณีมีตัวการตัวแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์เก๋งรับจ้างสาธารณะ คันหมายเลขทะเบียน 1 ท-3725 และนำไปวิ่งร่วมกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับขี่ รถยนต์รับจ้างสาธารณะคันดังกล่าวเป็นประจำ หรือจำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่1 เชิดจำเลยที่ 3 ออกแสดงเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1โดยการขับรถยนต์สาธารณะคันดังกล่าว ซึ่งมีตราหรือเครื่องหมายอันเป็น สัญญลักษณ์ของจำเลยที่ 3 ติดอยู่ที่ประตูด้านหลังของรถยนต์คันดังกล่าว และยังบรรยายฟ้องต่อไปอีกว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการใช้รถยนต์คันดังกล่าวรับจ้างขนส่งผู้โดยสารจำเลยที่2 จึงต้อง ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ด้วยแสดงให้เห็นว่านอกจากโจทก์ฟ้อง ขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดฐานนายจ้างของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ยังฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 รับผิดในฐานะจำเลยที่ 3 เชิดให้ จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3912/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกอบการต่อการละเมิดของลูกจ้าง และการลดหย่อนค่าเสียหายจากความประมาทของผู้เสียหาย
เหตุละเมิดเกิดขึ้นโดยคนขับรถของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมีส่วนประมาทอยู่ด้วย เมื่อคนขับรถเป็นลูกจ้างของโจทก์ จึงถือว่าเป็นฝ่ายผู้เสียหายตามความหมายของมาตรา 223 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันทำให้โจทก์ต้องรับผลของการกระทำละเมิดดังกล่าวตามส่วนแห่งความหนักเบาของความประมาทด้วยตามมาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขับรถโดยสารประจำทาง ไม่ใช่ผู้ประกอบการขนส่ง หากเจ้าของรถร่วมกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเป็นผู้รับผิดชอบ
รถยนต์ที่จำเลยขับเป็นรถยนต์ที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้ประกอบการขนส่งประจำทางร่วมกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ดังนั้น เจ้าของรถยนต์ร่วมกับองค์การ ฯ เป็นผู้รับผิดชอบในการใช้รถคันนี้ในการขนส่งประจำทาง จำเลยเป็นเพียงผู้ใช้รถยนต์ ในนามของเจ้าของรถร่วมกับองค์การ ฯ เท่านั้น จำเลยไม่ได้เป็น ผู้ประกอบการขนส่งประจำทางแต่อย่างใด แม้จำเลยจะนำรถยนต์ แล่นรับส่งคนโดยสารนอกเส้นทางที่ได้รับอนุญาตไว้ ก็ไม่เป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก ฯ มาตรา 23, 126
of 11