คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ประกอบการค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีจากสินค้าที่นำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตของตนเอง ไม่ถือเป็นผู้ประกอบการค้า ต้องเสียภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการค้าต้องเป็น "ผู้ประกอบการค้า" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ซึ่งได้แก่ผู้ประกอบการค้า 2 ประเภท คือ ผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้กำหนดประเภทการค้าและรายการที่ประกอบการค้าไว้ประการหนึ่ง ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าตามอัตราที่ระบุไว้ในบัญชีนั้น ตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง กับผู้ที่บัญญัติในหมวด 4 ที่ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบการค้าด้วยอีกประการหนึ่ง ประเภทหลังนี้คือผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (1) และ (2)
สำหรับผู้ประกอบการค้าประเภทหลังตามมาตรา 78 วรรคสอง อธิบดีกรมสรรพากร (โดยอนุมัติรัฐมนตรี) มีอำนาจประกาศให้บุคคล 4 จำพวกเท่านั้น ซึ่งได้แก่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้ขายทอดใดทอดหนึ่งหรือหลายทอด ซึ่งสินค้าตามที่กำหนดไว้ในประกาศ (ซึ่งไม่เป็นผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้ระบุไว้โดยเฉพาะ) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าซึ่งสินค้าใด ๆ ตามที่จะกำหนดไว้ในประกาศ แต่อธิบดี ๆ ไม่มีอำนาจกำหนดอัตราภาษีการค้าที่บุคคลเหล่านี้จะต้องเสียให้นอกเหนือเกินเลยไปจากอัตราภาษีการค้าตามที่มาตรา 78 วรรคสอง (1) และ (2) ได้บัญญัติไว้แล้ว
โจทก์สั่งหินสำลีซึ่งเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตเพื่อขายเป็นสินค้าอื่น มิใช่ส่งเข้ามาเพื่อขายให้แก่โรงงานอื่นหรือผู้อื่น โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าหินสำลี และจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าสำหรับหินสำลีในฐานะผู้นำเข้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ฉะนั้น มาตรา 78 วรรคสองและประกาศอธิบดี ๆ (ฉบับที่ 2) ข้อ 3 รวมตลอดทั้งประกาศอธิบดี ฯ (ฉบับที่ 3) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 79(6) ซึ่งให้ถือว่าโจทก์ได้ขายหินสำลีในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จึงนำมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าทั้งสองประเภทตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง และมาตรา 78 วรรคสอง ดังกล่าว
คำว่า "ผลิตเพื่อขาย" ตามมาตรา 78 ทวิ (1) ต้องอ่านประกอบกับประโยคหน้าและจึงควรหมายความว่า "โดยมิใช่ผลิตเพื่อขาย" ด้วย จึงจะถูกต้องตามความมุ่งหมายของมาตรา 79 ทวิ วรรคแรก กล่าวคือการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาขายก็ดี การนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขายก็ดี กฎหมายให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าตามวรรคแรกแห่งมาตรานี้ เพราะการผลิตเพื่อขายย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า "มิใช่นำมาขาย" ในตอนต้นของมาตรา 79 ทวิ (1) อยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นอันใดจะต้องใส่คำว่า "ผลิตเพื่อขาย" ลงไปอีก และโดยเฉพาะถ้าไม่อ่านประกอบประโยคหน้าดังกล่าวเช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่มีทางใช้ข้อยกเว้นตามข้อ (ก) ของมาตรา 79 ทวิ (1) ซึ่งบัญญัติยกเว้นในกรณีที่นำเข้ามาใช้ส่วนตัวตามปกติดและตามสมควรได้เลย ส่วนการนำเข้าซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิดอื่นอีก 8 ชนิดนั้น มาตรา 79 ทวิ วรรคแรก ให้ถือเป็นการขายสินค้าทั้งสิ้น
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีจากสินค้าที่นำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตของตนเอง ไม่ถือเป็นผู้ประกอบการค้าต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการค้าต้องเป็น 'ผู้ประกอบการค้า'ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77. ซึ่งได้แก่ผู้ประกอบการค้า2 ประเภท. คือ ผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้กำหนดประเภทการค้าและรายการที่ประกอบการค้าไว้ประเภทหนึ่ง. ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าตามอัตราที่ระบุไว้ในบัญชีนั้น ตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง. กับผู้ที่บทบัญญัติในหมวด 4 ที่ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบการค้าด้วยอีกประเภทหนึ่ง. ประเภทหลังนี้คือผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (1)และ (2).
สำหรับผู้ประกอบการค้าประเภทหลังตามมาตรา 78 วรรคสอง.อธิบดีกรมสรรพากร(โดยอนุมัติรัฐมนตรี) มีอำนาจประกาศให้บุคคล 4 จำพวกเท่านั้น ซึ่งได้แก่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้ขายทอดใดทอดหนึ่งหรือหลายทอด. ซึ่งสินค้าตามที่กำหนดไว้ในประกาศ (ซึ่งไม่เป็นผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้ระบุให้เสียภาษีไว้โดยเฉพาะ). มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าซึ่งสินค้าใดๆ ตามที่จะกำหนดไว้ในประกาศ.แต่อธิบดีฯ ไม่มีอำนาจกำหนดอัตราภาษีการค้าที่บุคคลเหล่านี้จะต้องเสียให้นอกเหนือเกินเลยไปจากอัตราภาษีการค้าตามที่มาตรา 78 วรรคสอง(1)และ (2) ได้บัญญัติไว้แล้ว.
โจทก์สั่งหินสำลีซึ่งเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตเพื่อขายเป็นสินค้าอื่น มิใช่สั่งเข้ามาเพื่อขายให้แก่โรงงานอื่นหรือผู้อื่น. โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าหินสำลี. และจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าสำหรับหินสำลีในฐานะผู้นำเข้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า.ฉะนั้น มาตรา 78 วรรคสองและประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 2)ข้อ 3 รวมตลอดทั้งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 3) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 79(6) ซึ่งให้ถือว่าโจทก์ได้ขายหินสำลีในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จึงนำมาใช้บังคับไม่ได้. เพราะโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าทั้งสองประเภทตามมาตรา78 วรรคหนึ่งและมาตรา 78 วรรคสอง ดังกล่าว.
คำว่า'ผลิตเพื่อขาย'ตามมาตรา 79ทวิ(1) ต้องอ่านประกอบกับประโยคหน้าและจึงควรหมายความว่า 'โดยมิใช่ผลิตเพื่อขาย' ด้วย จึงจะถูกต้องตามความมุ่งหมายของมาตรา 79ทวิ วรรคแรก. กล่าวคือการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาขายก็ดี.การนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขายก็ดี. กฎหมายให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าตามวรรคแรกแห่งมาตรานี้ เพราะการผลิตเพื่อขายย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า 'มิใช่นำมาขาย' ในตอนต้นของมาตรา 79ทวิ(1) อยู่แล้ว. ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องใส่คำว่า 'ผลิตเพื่อขาย' ลงไปอีก. และโดยเฉพาะถ้าไม่อ่านประกอบประโยคหน้าดังกล่าวเช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่มีทางใช้ข้อยกเว้นตามข้อ(ก) ของมาตรา 79ทวิ(1) ซึ่งบัญญัติยกเว้นในกรณีที่นำเข้ามาใช้ส่วนตัวตามปกติและตามสมควรได้เลย. ส่วนการนำเข้าซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิดอื่นอีก 8 ชนิดนั้น มาตรา 79ทวิวรรคแรก ให้ถือเป็นการขายสินค้าทั้งสิ้น. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2512).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการรับค่าทดแทนเวนคืน: เจ้าของทรัพย์สิน vs. ผู้ประกอบการค้าในฐานะนิติบุคคล
โจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวซึ่งได้ใช้ประกอบการค้าโดยบริษัทชาญสิริเทรดดิ้งจำกัด ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้นทั้งหลายของบริษัท. โจทก์เป็นเพียงผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการผู้หนึ่งอยู่ในบริษัทฯ จึงเรียกไม่ได้ว่าโจทก์ประกอบการค้าในตึกแถวดังกล่าว. แต่บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการค้าภายในตึกแถวนั้น. เมื่อมีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ให้เวนคืนตึกแถวของโจทก์ดังกล่าว. บริษัทฯจึงได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ประกอบการค้าภายในตึกแถวนั้นและต้องออกไปจากตึก. จึงเป็นผู้เสียหายมิใช่โจทก์ ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอรับค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497 มาตรา 14 วรรคสาม. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเขารถยนต์ส่วนตัวและการเป็นผู้ประกอบการค้าเพื่อเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ และบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 1 ชนิด 1 เท่านั้น ถ้าเป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร จึงจะไม่ถือว่าผู้นำเข้ามาเป็นผู้ประกอบการค้า ส่วนรถยนต์นั่งอยู่ในประเภทการค้า 1 ชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็นของใช้ส่วนตัวหรือไม่ก็ตาม เมื่อโจทก์เป็นผู้นำรถยนต์นั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร และกรณีไม่มีข้อสงสัยอันจะต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายที่ต้องเสียในมูลหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเขารถยนต์ส่วนตัวและการเป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 เท่านั้น ถ้าเป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร จึงจะไม่ถือว่าผู้ที่นำเข้ามาเป็นผู้ประกอบการค้า ส่วนรถยนต์นั่งอยู่ในประเภทการค้า 1 ชนิดอื่นไม่ว่าจะเป็นของใช้ส่วนตัวหรือไม่ก็ตาม เมื่อโจทก์เป็นผู้นำรถยนต์นั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากรและกรณีไม่มีข้อสงสัยอันจะต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายที่ต้องเสียในมูลหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำบัญชีของผู้ประกอบการค้าก่อนมีประกาศรัฐมนตรี: ไม่ถือเป็นความผิด
ผู้ประกอบกิจการค้าซึ่งต้องเสียภาษีโรงค้ามิใช่เฉพาะป้ายไม่ทำบัญชีตามที่รัฐมนตรีประกาศนั้นหากประกอบกิจการค้ามาก่อนรัฐมนตรีประกาศไม่มีบทมาตราใน พระราชบัญญัติการบัญชีบัญญัติว่า เป็นความผิด
การไม่ทำบัญชีเสียเลยนั้น ไม่ถือว่าเป็นการละเว้นลงรายการตามมาตรา 19

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8546/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาซื้อขายข้าว, ฟ้องซ้อน, การเป็นผู้ประกอบการค้า
ป.พ.พ. มาตรา 193/34 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความสองปี (1) ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้ประกอบศิลปอุตสาหกรรม หรือช่างฝีมือ เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง" และมาตรา 193/33 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี (5) สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 193/34 (1) (2) และ (5) ที่ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี" ซึ่งความหมายของผู้ประกอบการค้า นอกจากเป็นผู้ประกอบธุรกิจการค้าโดยทำการซื้อขายสินค้าแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่ประกอบการค้าเป็นปกติธุระเพื่อหวังผลกำไรในทางการค้าด้วย โจทก์เป็นองค์การของรัฐจัดตั้งตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ.2496 และ พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การคลังสินค้า พ.ศ.2498 มีวัตถุประสงค์ทำกิจการทั้งปวงเกี่ยวกับสินค้าเกษตร ฯลฯ ทั้งการซื้อขายข้าวเปลือกระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 สืบเนื่องมาจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2548/2549 ของรัฐบาลในสมัยนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยสามารถจำนำข้าวได้ในราคาสูง ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง อีกทางหนึ่งก็คงเป็นเพราะเพื่อลดภาระในการดูแลรักษาข้าวเปลือกดังกล่าวของโจทก์ซึ่งฝากไว้ในโกดังเก็บข้าวของจำเลยที่ 1 ซึ่งเข้าร่วมในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2548/2549 โดยให้จำเลยที่ 1 สามารถขายข้าวเปลือกดังกล่าวไปได้ ดังนั้นการขายข้าวเปลือกดังกล่าวของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 จึงมิได้มุ่งหวังกำไรเพื่อหารายได้เข้ารัฐ โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าในอันที่จะนำอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) มาใช้บังคับ เมื่อกรณีตามสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้ จึงต้องนำกำหนดอายุความ 10 ปี ซึ่งเป็นอายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับ
คดีอาญาเป็นเรื่องที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสอง ฐานยักยอกทรัพย์คือข้าวเปลือกที่จำเลยทั้งสองรับฝากไว้ตามสัญญาฝากเก็บ แปรสภาพ และจัดจำหน่ายข้าว และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่ก็เป็นกรณีที่เนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญาอันเป็นมูลละเมิดเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซื้อข้าวเปลือกจากโจทก์และยังคงค้างชำระราคาข้าวเปลือก จึงขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระราคาข้าวเปลือกที่ยังคงค้างชำระแก่โจทก์ อันเป็นมูลหนี้มาจากการผิดสัญญา ถึงแม้คำขอบังคับในคดีอาญาและคดีนี้เป็นอย่างเดียวกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิใช่เป็นอย่างเดียวกัน นอกจากนี้คำฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องผิดสัญญา การโต้แย้งสิทธิที่จะนำคดีมาสู่ศาลเป็นเรื่องของคู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ในคดีอาญาไม่อาจอาศัยสิทธิในเรื่องจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาซื้อขายข้าวเปลือกมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้ เพราะมิได้เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 43 กรณีจึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้อนตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14319/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญญาเช่าเวลาออกอากาศ สถานีโทรทัศน์มีฐานะผู้ประกอบการค้า
โจทก์โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เป็นผู้ดำเนินการหรือบริการภายใต้ข้อตกลงตามสัญญาและเงื่อนไขตามสัญญาเช่าเวลาเพื่อออกอากาศรายการระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง และในการดำเนินการก็ต้องเป็นไปตามระเบียบกองทัพบกว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2536 ตลอดจนการควบคุมจัดการการตกลงกำหนดวันเวลาที่จะแพร่ภาพออกอากาศที่มีการกำหนดกันไว้เป็นการแน่นอน โดยคิดค่าบริการหรือค่าตอบแทนตามอัตราที่โจทก์กำหนดไว้ ถือได้ว่าโจทก์โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เป็นผู้ค้ารับทำการงานดังกล่าวให้จำเลยทั้งสองในฐานะผู้รับบริการ โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6938/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องหนี้ค่าสินค้าทางการค้า: ผู้ประกอบการค้า vs. ลูกหนี้ใช้ในธุรกิจ
จำเลยซื้อสินค้าประเภทอาหารกุ้งและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งไปจากโจทก์ โดยจำนวนสินค้าที่จำเลยซื้อจากโจทก์แต่ละครั้งมีจำนวนหลายรายการและมีปริมาณค่อนข้างมาก อีกทั้งสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าประเภทอาหารกุ้งและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งซึ่งโดยสภาพของสินค้านั้นนำไปใช้กับกิจการเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งเท่านั้น ประกอบกับกิจการการเลี้ยงกุ้งเป็นการเลี้ยงไว้เพื่อจำหน่ายมิใช่เลี้ยงไว้เพื่อบริโภคเอง การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ค่าสินค้าดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินค้าจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ที่สั่งซื้อมาเพื่อใช้ในกิจการของลูกหนี้นั้นเอง สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9197/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าสินค้า การรับสภาพหนี้ และข้อยกเว้นอายุความสำหรับผู้ประกอบการค้า
ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) กำหนดว่าสิทธิเรียกร้องของผู้ประกอบการค้าที่จะเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบให้มีกำหนดอายุความ 2 ปี แต่กรณีระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามความในท้าย (1) ซึ่งหมายถึงกิจการระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นพ่อค้าไม้กับจำเลยซึ่งเป็นผู้นำไม้ที่ซื้อมาจากโจทก์ไปรับเหมาก่อสร้างซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าด้วยกัน สิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1) หากแต่อยู่ในบังคับอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)
of 6