คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 131 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการยึดทรัพย์ของจำเลยที่นำมาเป็นประกันหนี้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ปล่อยทรัพย์
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องปรากฏว่าทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทั้ง 7 รายการเป็นของจำเลย จำเลยเพียงแต่นำมาเป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยกู้ยืมไปจากผู้ร้องเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิยึดทรัพย์ดังกล่าวของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อนำมาชำระหนี้โจทก์ได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอ ให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดของสมรสซ้อนด้วยการหย่าทำให้ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้อง
แม้ผู้ร้องกับพันตรี ป. ได้จดทะเบียนสมรสกันในขณะที่พันตรี ป. มีคู่สมรสอยู่แล้วอันมีผลทำให้การสมรสระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป. เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1452, 1496 แต่มาตรา 1501 ก็ได้บัญญัติว่า การสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่าหรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า การสมรสระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป.ได้สิ้นสุดลงแล้วด้วยการหย่าก่อนที่ผู้ร้องจะมาร้องขอในคดีนี้ การสมรสซ้อนระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป.จึงไม่มีผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ทั้งตามคำร้องของผู้ร้องก็มิได้กล่าวว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป. เป็นเหตุให้มีผู้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงร้องขอให้ศาลพิพากษาว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป.เป็นโมฆะไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดของสมรสโดยการหย่าก่อนการฟ้องร้อง ทำให้การสมรสซ้อนไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้อง
ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ภายหลังผู้ร้องทราบว่า ก่อนที่ ป. จดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องได้เคยจดทะเบียนสมรสกับส.มาก่อน แม้ผู้ร้องกับป.ได้จดทะเบียนสมรสกัน ในขณะที่ป.มีคู่สมรสอยู่แล้ว อันมีผลทำให้การสมรสระหว่างผู้ร้องกับป. เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452,1496และตามมาตรา 1495 จะบัญญัติว่า คำพิพากษาศาลเท่านั้นจะแสดงว่าการสมรสใดเป็นโมฆะ แต่ตามมาตรา 1501 ก็ได้บัญญัติว่า การสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน เมื่อการสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ป. ได้สิ้นสุดลงแล้วด้วยการหย่าก่อนที่ผู้ร้องจะมาร้องขอในคดีนี้ การสมรสซ้อนระหว่างผู้ร้องกับ ป.จึงไม่มีผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง อันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องมีอำนาจร้องขอต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ผู้ร้องจึงร้องขอให้ศาลพิพากษาว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ป. เป็นโมฆะไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนและการสิ้นสุดของสมรสด้วยการหย่า ไม่ส่งผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้อง
แม้ผู้ร้องกับพันตรี ป. ได้จดทะเบียนสมรสกันในขณะที่ พันตรี ป.มีคู่สมรสอยู่แล้ว อันมีผลทำให้การสมรสระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป.เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1452,1496 แต่มาตรา1501 ก็ได้บัญญัติว่า การสมรสสิ้นสุด ลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน เมื่อข้อเท็จจริง ได้ความว่า การสมรสระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป. ได้สิ้นสุดลงแล้วด้วยการหย่าก่อนที่ผู้ร้องจะมาร้องขอในคดีนี้ การสมรสซ้อน ระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป. จึงไม่มีผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ทั้งตามคำร้องของผู้ร้องก็มิได้กล่าวว่าการจดทะเบียนสมรส ซ้อนระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป. เป็นเหตุให้มีผู้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้อง ผู้ร้อง จึงร้องขอให้ศาลพิพากษาว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างผู้ร้อง กับพันตรี ป. เป็นโมฆะไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับมรดกของคนสาบสูญ: ผู้ร้องต้องมีสิทธิรับมรดกแทนที่ก่อนที่ผู้สาบสูญถึงแก่ความตาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผ. เป็นคนสาบสูญโดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ผ. ดังนี้ หากศาลสั่งให้ ผ.เป็นคนสาบสูญตามกฎหมายก็ต้องถือว่าผ. ถึงแก่ความตายเมื่อครบ 7 ปี นับแต่ไปจากภูมิลำเนา คิดแล้วไม่เกินปี พ.ศ. 2476 แต่ท.บิดาผู้ร้องถึงแก่กรรมเมื่อปีพ.ศ.2478ดังนั้นถึงท.จะมีสิทธิรับมรดกของ ผ. ในฐานะลุง ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิรับมรดกของ ผ.แทนที่ท.เพราะขณะที่ถือว่าผ.ถึงแก่ความตายนั้นท. ยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผ. เป็นคนสาบสูญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับมรดกของบุคคลสาบสูญ: ผู้ร้องต้องมีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้มีสิทธิเดิมที่ยังมีชีวิตอยู่
ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผ.เป็นคนสาบสูญโดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ผ.แทนที่ท. บิดาผู้ร้องซึ่งเป็นลุงของ ผ.ดังนี้หากศาลสั่งให้ผ. เป็นคนสาบสูญตามกฎหมายก็ต้องถือว่า ผ. ถึงแก่ความตายเมื่อครบ 7 ปี นับแต่ไปจากภูมิลำเนา คิดแล้วไม่เกินปี พ.ศ. 2476 เพราะ ผ. ไปจากภูมิลำเนาเมื่อปี พ.ศ. 2469 แต่ ท. บิดาผู้ร้องถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2478 ดังนั้น ถึง ท.จะมีสิทธิรับมรดกของผ.ในฐานะลุงดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิรับมรดกของผ.แทนที่ท.เพราะขณะที่ถือว่าผ. ถึงแก่ความตายนั้นท.ยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผ. เป็นคนสาบสูญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องขัดทรัพย์หลังการขายทอดตลาด: สิทธิของผู้ร้องที่ยื่นคำร้องไม่ทันก่อนการขาย
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องอ้างว่า ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้และขายทอดตลาดเป็นของผู้ร้องทั้งสอง โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์ของผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและดำเนินการขายทอดตลาดโดยผู้ร้องทั้งสองไม่รู้เห็นมาก่อน การบังคับคดีจึงกระทำไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามคำร้องเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ขอให้ยกกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวงเกี่ยวกับการบังคับคดีครั้งนี้ อันมีความมุ่งหมายเพื่อได้รับผลที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้องทั้งสองไปในที่สุด จึงเป็นกรณีที่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องร้องขัดทรัพย์นั่นเอง มิใช่เป็นการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกกระบวนวิธีการบังคับคดีตามมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 และการจะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้องทั้งสองได้นั้น ตามมาตรา 288 วรรคแรกก็กำหนดให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงาน-บังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปก่อนแล้ว ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับตามสัญญาประนีประนอม ผู้ร้องไม่ใช่คู่ความ ศาลไม่สามารถบังคับได้โดยตรง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิบังคับผู้ร้องจดทะเบียนทางภาระจำยอมตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ใช้สิทธิบังคับผู้ร้องตามสัญญาดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องขอให้ศาลบังคับคดีเอากับจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับผู้ร้องที่เป็นบุคคลภายนอกปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5472/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดก เหตุผู้ร้องไม่มีสิทธิ/ส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
มาตรา 1727 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 กรณีคือ กรณีแรกเพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่กรณีที่สองเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร กรณีที่สองนี้มิได้จำกัดว่าจะต้องเป็นการกระทำโดยมิชอบอย่างใดอย่างหนึ่งในการทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก แต่หมายความรวมถึงเหตุอื่นใดก็ได้ที่ทำให้ผู้จัดการมรดกไม่ควรเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป เช่น การเป็นผู้ไม่มีสิทธิขอเป็นผู้จัดการมรดก หรือการขาดคุณสมบัติของผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดกเป็นต้น ซึ่งเหตุเช่นว่านี้อาจมีอยู่แล้วในขณะที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกหากแต่ในขณะนั้นยังไม่ปรากฏต่อศาลก็ได้ แม้ผู้คัดค้านจะมิได้อ้างในคำร้องคัดค้านว่าผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกก็ตาม แต่ก็อ้างเป็นใจความว่าผู้ร้องมิได้เป็นผู้มีสิทธิหรือผู้มีส่วนได้เสียอันจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเพราะไม่มีทรัพย์มรดกที่จะต้องจัดการเนื่องจากทรัพย์มรดกคือที่ดิน 1 แปลงตามที่ระบุในคำร้องของผู้ร้องนั้นเป็นของผู้คัดค้านทั้งสอง อันเป็นเหตุอย่างอื่นที่ทำให้ผู้ร้องไม่ควรเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านว่าไม่ใช่เรื่องขอให้เพิกถอนเพราะผู้จัดการมรดกทำผิดหน้าที่จึงไม่ชอบ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับ คำร้อง ของ ผู้คัดค้านทั้งสองไว้พิจารณาต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์โดยมิชอบ: ศาลฎีกายกคำร้อง เนื่องจากโจทก์มิได้แสดงเหตุผลว่าบ้านมิใช่ของผู้ร้อง
โจทก์มิได้กล่าวมาให้ชัดแจ้งว่าตามข้อเท็จจริงอย่างไรที่แสดงว่าบ้านพิพาทไม่ควรเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องเพราะเหตุใดจึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างอิงโดยชัดแจ้งในฎีกาศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย ในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้จากพยานหลักฐานว่าบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้อง แล้วจึงกล่าวถึงปัญหาที่ผู้ร้องขายบ้านพิพาทให้แก่จำเลยตามข้อนำสืบของโจทก์จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นที่ว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยแล้วหรือไม่ตามข้อนำสืบของโจทก์อันเป็นประเด็นที่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น.
of 14