คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ว่าราชการจังหวัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้ว่าฯ ออกประกาศบังคับทำรายงานค้าข้าว-การริบข้าวจากความผิดละเว้นรายงาน
คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ. 2489 ออกประกาศฉบับที่ 69 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2499 แต่งตั้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบการค้าข้าวแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสจึงออกประกาศฉบับที่ 2 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2507 ให้ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าวทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้เสร็จสิ้นในวันรุ่งขึ้นและเก็บไว้ ณ สถานที่ประกอบการค้าข้าว ดังนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่ารายงานการค้าข้าวประจำวันนั้นก็คือ การแจ้งปริมาณข้าวที่คงเหลือในวันหนึ่ง ๆ นั่นเอง ฉะนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสจึงมีอำนาจออกประกาศให้ทำรายงานการค้าข้าวได้ตามอำนาจในประกาศคณะกรรมการฉบับที่ 69 ข้อ 6 (5) และผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสย่อมจะมีอำนาจกำหนดระยะเวลาให้ผู้ค้าข้าวทำรายงานดังกล่าวให้เสร็จในวันรุ่งขึ้นได้ด้วยอำนาจที่ให้ไว้ในมาตรา 12 ประกอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ. 2489
บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำรายงานการค้าข้าวประจำวันครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2508 โดยลงบัญชีข้าวสารเจ้าเหลือเมื่อสิ้นวัน จำนวน 8,800 กิโลกรัม ครั้นต่อมาเมื่อระหว่างตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2508 ตลอดมาถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2508 เวลากลางวัน จำเลยได้บังอาจละเว้นไม่ทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้เสร็จสิ้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2508 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้น และจำเลยได้ฝ่าฝืนมิได้ทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้เสร็จในวันรุ่งขึ้นตลอดมาจนถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2508 ฟ้องเช่นนี้ย่อมมีความหมายที่เข้าใจได้ชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่า จำเลยทำรายงานการค้าข้าวครั้งสุดท้ายเพียงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2508 เท่านั้น หลังจากนั้น คือ วันที่ 14 - 19 พฤศจิกายน 2508 ตลอดมา จำเลยมิได้ทำรายงานประจำวันเลย และจำเลยก็ให้การรับสารภาพชี้แจงเหตุผลว่าที่ไม่ได้ทำรายงานเพราะคนทำบัญชีเกิดเจ็บป่วย ตัวจำเลยเองโง่เขลารู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนี้ ย่อมแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาของโจทก์ดีอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมอย่างใด ส่วนที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องด้วยว่าเจ้าพนักงานได้ตรวจพบการกระทำผิดของจำเลยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2508 นั้น ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องเสียไป เพราะเจ้าพนักงานอาจพบว่าจำเลยไม่ทำรายงานการค้าข้าวตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2508 นั้นได้ และตราบใดที่จำเลยยังคงไม่ทำรายงาน จำเลยก็ย่อมได้ชื่อว่ากระทำผิดทุกวันตลอดมา
คำว่า "ข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดให้ริบเสีย" ตามมาตรา 21 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าวฯ นั้น จะต้องเป็นข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดโดยตรง จำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวโดยชอบแล้ว จำเลยทำผิดเพียงละเว้นไม่ทำรายงานการค้าข้าวประจำวันเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าข้าวนั้นได้เกี่ยวเนื่องกับความผิดของจำเลยอย่างใดจึงไม่ริบข้าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471-1472/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะผู้ว่าฯ-นายอำเภอในการรักษาที่สาธารณสมบัติ และผลผูกพันคำพิพากษาเดิม
ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอเป็นผู้มีหน้าที่รักษาที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน มีสิทธิและหน้าที่อย่างเดียวกัน ตามกฎหมายในเรื่องที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ผู้ว่าราชการจังหวัดกับนายอำเภอไม่มีฐานะต่างกัน
เดิม ศาลพิพากษาในคดีแดงที่ 15/2495 ซึ่งนายอำเภอวารินชำราบเป็นโจทก์ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ให้ยกฟ้องในคดีนั้น ที่พิพาทในคดีนี้เป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่พิพาทในคดีแดงที่ 15/2495 ซึ่งศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แม้โจทก์ในคดีนี้จะเป็นจำเลยในคดีแดงที่ 15/2495 และศาลมิได้ชี้ขาดในคดีแดงที่ 15/2495 โดยตรงว่า ที่พิพาทในคดีนั้นเป็นของจำเลยในคดีนั้น ( คือ โจทก์ในคดีนี้ ) แต่ผลของคำพิพากษาที่วินิจฉัยว่าโจทก์ในคดีนั้นไม่มีพยานหลักฐานพอฟังว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ก็ผูกพันโจทก์คดีนี้และผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี จำเลยคดีนี้ มิได้รื้อฟ้องพิพาทกันในคดีนี้อีกว่า ที่พิพาทเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งดำเนินคดีอาญาต่อข้าราชการทุจริต: ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอในฐานะประธานกรรมการสุขาภิบาล
จำเลยฎีกาว่า การดำเนินคดีอาญากับจำเลยนายอำเภอสั่งในตำแหน่งนายอำเภอไม่ได้ เพราะสุขาภิบาลเป็นนิติบุคคล ต้องสั่งในนามประธานกรรมการสุขาภิบาล ดังนี้ เป็นฎีกาปัญหาข้อกฎหมายจำเลยย่อมฎีกาได้
ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนชั้นจัตวา ดำรงตำแหน่งเสมียนตราอำเภอและโดยคำสั่งทางราชการให้ดำรงตำแหน่งและหน้าที่กรรมการสุขาภิบาลอีกด้วย หากฟังได้ว่าจำเลยได้รับเงินไว้ แล้วไม่ลงบัญชี เป็นเหตุให้เงินขาดหายไปจากบัญชี ซึ่งถือว่าทุจริตต่อหน้าที่ เบียดบังเอาทรัพย์ไปเมื่อจำเลยไม่ใช้เงินที่ขาดหายไป อันอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงสั่งให้นายอำเภอดำเนินคดีกับจำเลย นายอำเภอได้สั่งให้ปลัดอำเภอไปแจ้งความดำเนินคดีก็ย่อมกระทำได้เพราะพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 นายอำเภอเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง ที่นายอำเภอสั่งให้ปลัดอำเภอไปแจ้งความดำเนินคดีกับจำเลย จะถือว่านายอำเภอไม่ใช่สั่งในตำแหน่งประธานกรรมการสุขาภิบาลด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งดำเนินคดีอาญาของนายอำเภอในฐานะกรรมการสุขาภิบาล: ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอมีอำนาจสั่งดำเนินคดีได้
จำเลยฎีกาว่า การดำเนินคดีอาญากับจำเลย นายอำเภอสั่งในตำแหน่งนายอำเภอไม่ได้ เพราะสุขาภิบาลเป็นนิติบุคคล ต้องสั่งในนามประธานกรรมการสุขาภิบาล ดังนี้ เป็นฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย จำเลยย่อมฎีกาได้
ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนชั้นจัตวาดำรงตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ และโดยคำสั่งทางราชการให้ดำรงตำแหน่งและหน้าที่กรรมการสุขาภิบาลอีกด้วย หากฟังได้ว่าจำเลยได้รับเงินไว้แล้วไม่ลงบัญชี เป็นเหตุให้เงินขาดหายไปจากบัญชีซึ่งถือว่าทุจริตต่อหน้าที่ เบียดบังเอาทรัพย์ไป เมื่อจำเลยไม่ใช้เงินที่ขาดหายไป อันอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงสั่งให้นายอำเภอดำเนินคดีกับจำเลย นายอำเภอได้สั่งให้ปลัดอำเภอไปแจ้งความดำเนินคดีก็ย่อมกระทำได้เพราะพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 นายอำเภอเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง ที่นายอำเภอสั่งให้ปลัดอำเภอไปแจ้งความดำเนินคดีกับจำเลย จะถือว่านายอำเภอไม่ใช่สั่งในตำแหน่งประธานกรรมการสุขาภิบาลด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีอากรต่อผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องกรรมการทั้งหมด
ตามประมวลรัษฎากรที่บัญญัติว่าเมื่อผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จะต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลนั้นการฟ้องศาลดังกล่าวผู้อุทธรณ์ย่อมฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะเป็นประธานกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ไม่จำต้องฟ้องกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ร่วมกันทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341-350/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของจังหวัดจากการกระทำของผู้ว่าราชการจังหวัด และการรุกล้ำที่สาธารณสมบัติ
จังหวัดซึ่งเป็นนิติบุคคลและมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนนั้น เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้กระทำการใดอันเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ราชการในตำแหน่งแล้ว จังหวัดก็จะต้องรับผิดชอบ โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายจึงมีอำนาจฟ้องจังหวัดเป็นจำเลยได้
โจทก์ปลูกสร้างอาคารลงในที่ดินของตนต่อมาน้ำในแม่น้ำได้เซาะตลิ่งพังเข้าไปถึงใต้ถุนอาคาร โจทก์จึงได้ต่อเสาและเอาไม้ค้ำยันเพื่อป้องกันมิให้อาคารของตนพังลงนั้น หาใช่โจทก์เข้าไปปลูกปักอาคารในที่ซึ่งเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามความหมายของประกาสคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 44 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341-350/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของจังหวัดจากคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด และการรุกล้ำที่สาธารณะ
จังหวัดซึ่งเป็นนิติบุคคลและมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนนั้นเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้กระทำการใดอันเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ราชการในตำแหน่งแล้วจังหวัดก็จะต้องรับผิดชอบ โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายจึงมีอำนาจฟ้องจังหวัดเป็นจำเลยได้
โจทก์ปลูกสร้างอาคารลงในที่ดินของตน ต่อมาน้ำในแม่น้ำได้เซาะตลิ่งพังเข้าไปถึงใต้ถุนอาคารโจทก์จึงได้ต่อเสาและเอาไม้ค้ำยันเพื่อป้องกันมิให้อาคารของตนพังลงนั้น หาใช่โจทก์เข้าไปปลูกปักอาคารในที่ซึ่งเป็นทางสัญจรของประชาชน หรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามความหมายของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 44 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อความเสียหายจากการทุจริตของลูกน้อง และการฟ้องร่วมสำหรับความเสียหาย
คำบรรยายฟ้องที่ถือว่าไม่เคลือบคลุมและฟ้องไม่ขาดอายุความ
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่งข้าวไปจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎร และมอบให้กระทรวงเศรษฐการกับกระทรวงมหาดไทยดำเนินการ กระทรวงเศรษฐการจัดส่งข้าวไปที่คลังข้าวจังหวัดชุมพร แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองเป็นผู้ไปรับข้าวจากคลังจังหวัดชุมพร ไปยังจังหวัดระนองและจัดการจำหน่ายแก่ประชาชน ในการขนข้าวจากชุมพรไปยังระนองนั้น กระทรวงมหาดไทยจ้างให้ผู้อื่นเป็นผู้ขน แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองก็มอบให้จ่าจังหวัดระนองเป็นผู้รับข้าวและจำหน่ายข้าว เงินที่จำหน่ายข้าวได้จะต้องส่งไปใช้ค่าข้าวแก่กระทรวงเศรษฐการ และใช้ค่าจ้างขนส่งข้าวแก่กระทรวงมหาดไทย การดำเนินการของกระทรวงทั้งสองนี้เป็นการปฏิบัติราชการตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นเรื่องดำเนินการในทางปกครอง มิใช่เรื่องประกอบการค้าขาย เมื่อกระทรวงทั้งสองเป็นโจทก์ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดกัาบจ่าจังหวัดเรียกเงินที่ค้างชำระ จำเลยจะต่อสู้ว่าการค้าข้าวที่กระทรวงทั้งสองทำไปเป็นการนอกเหนืออำนาจหน้าที่เพราะโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์จะทำการค้า จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ทางราชการที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
การที่กระทรวงทั้งสองนั้นเป็นโจทก์ฟ้องคดีรวมกันมา โดยกระทรวงเศรษฐการเรียกร้องให้ร่วมกันใช้เงินค่าข้าว และกระทรวงมหาดไทยเรียกร้องให้ใช้ค่าขนข้าว เมื่อศาลชั้นต้นรับฟ้องไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จการ พิจารณาพิพากษาแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่จะถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย และไม่มีเหตุควรยกฟ้องหรือให้โจทก์ไปฟ้องร้องใหม่ และเมื่อมูลกรณีเกิดในเขตศาลจังหวัดระนอง มูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งอยกจากกันได้ และจำเลยบางคนมีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลนี้ได้ รวมทั้งจำลยที่ไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้ด้วย
กระทรวงเศรษฐการส่งข้าวมาให้เจ้าหน้าที่จังหวัดระนองเป็นผู้จัดจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎร ไม่ใช่เป็นเรื่องจังหวัดระนองซื้อข้าวมาจำหน่าย ข้าวสารที่ส่งมาจำหน่ายและเงินที่จำหน่ายได้จึงเป็นของกระทรวงเศรษฐการ กระทรวงเศรษฐการมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าข้าวได้
จ่าจังหวัดได้รับมอบให้เป็นผู้ดำเนินการจำหน่ายข้าว และรู้ระเบียบดีแล้วว่าจะต้องรีบเก็บเงินที่ขายข้าวได้ส่งไปให้กระทรวงเศรษฐการ เงินนี้มิใช่เงินในงบประมาณของจังหวัด ไม่มีเหตุที่จะเข้าใจผิดว่าทางจังหวัดจะเอาเงินนี้ไปใช้ในราชการของจังหวัดได้โดยชอบ ถ้านำเงินนี้จ่ายไปในราชการของจังหวัด แม้จะจ่ายไปตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ตนก็ไม่พ้นความรับผิด เพราะมิใช่คำสั่งตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติงานในหน้าที่โดยอาการที่เสี่ยงต่อความรับผิดชอบในเขตจังหวัดที่ตนมอบหมายเอง เมื่อจ่าจังหวัดทำละเมิดก็ไม่พ้นความรับผิด
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการรับจะจำหน่ายข้าว ตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการนี้ขอมอบหมายให้จ่ายจังหวัดทำหน้าที่นี้ ก็ย่อมเป็นการมอบหมายการงานในหน้าที่ของตนให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำเนินการ ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดละเลยไม่ควบคุมจนเป็นเหตุให้จ่าจังหวัดกระทำมิชอบ กระทรวงเศรษฐการและกระทรวงมหาดไทยเสียหาย ผู้ว่าราชการจังหวัดก็ต้องรับผิดในความเสียหายด้วย จะอ้างว่าจ่าจังหวัดมิใช่ลูกจ้างของตนและไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติต่อตัวการต่อตัวแทนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ว่าราชการจังหวัดและลูกจ้างในการจัดการจำหน่ายข้าว การละเลยควบคุมทำให้เกิดความเสียหาย
คำบรรยายฟ้องที่ถือว่าไม่เคลือบคลุม และฟ้องไม่ขาดอายุความ
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่งข้าวไปจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎรและมอบให้กระทรวงเศรษฐการกับกระทรวงมหาดไทยดำเนินการกระทรวงเศรษฐการจัดส่งข้าวไปที่คลังข้าวจังหวัดชุมพรแล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองเป็นผู้ไปรับข้าวจากคลังจังหวัดชุมพรไปยังจังหวัดระนองและจัดการจำหน่ายแก่ประชาชนในการขนข้าวจากชุมพรไปยังระนองนั้นกระทรวงมหาดไทยจ้างให้ผู้อื่นเป็นผู้ขน แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองก็มอบหมายให้จ่าจังหวัดระนองเป็นผู้รับข้าวและจำหน่ายข้าวเงินที่จำหน่ายข้าวได้จะต้องส่งไปใช้ค่าข้าวแก่กระทรวงเศรษฐการและใช้ค่าจ้างขนส่งข้าวแก่กระทรวงมหาดไทยการดำเนินการของกระทรวงทั้งสองนี้เป็นการปฏิบัติราชการตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นเรื่องดำเนินการในทางปกครอง มิใช่เรื่องประกอบการค้าขายเมื่อกระทรวงทั้งสองเป็นโจทก์ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดกับจ่าจังหวัดเรียกเงินที่ค้างชำระจำเลยจะต่อสู้ว่าการค้าข้าวที่กระทรวงทั้งสองทำไปเป็นการนอกเหนืออำนาจหน้าที่เพราะโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์จะทำการค้า จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ทางราชการที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
การที่กระทรวงทั้งสองนั้นเป็นโจทก์ฟ้องคดีรวมกันมาโดยกระทรวงเศรษฐการเรียกร้องให้ร่วมกันใช้เงินค่าข้าว และกระทรวงมหาดไทยเรียกร้องให้ใช้ค่าขนข้าวเมื่อศาลชั้นต้นรับฟ้องไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จการพิจารณาพิพากษาแล้วก็ไม่มีเหตุที่จะถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและไม่มีเหตุควรยกฟ้องหรือให้โจทก์ไปฟ้องร้องใหม่ และเมื่อมูลกรณีเกิดในเขตศาลจังหวัดระนอง มูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้และจำเลยบางคนมีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลนี้ได้ รวมทั้งจำเลยที่ไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้ด้วย
กระทรวงเศรษฐการส่งข้าวมาให้เจ้าหน้าที่จังหวัดระนองเป็นผู้จัดการจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎร ไม่ใช่เป็นเรื่องจังหวัดระนองซื้อข้าวมาจำหน่าย ข้าวที่ส่งมาจำหน่ายและเงินที่จำหน่ายได้จึงเป็นของกระทรวงเศรษฐการกระทรวงเศรษฐการมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าข้าวได้
จ่าจังหวัดได้รับมอบให้เป็นผู้ดำเนินการจำหน่ายข้าว และรู้ระเบียบดีแล้วว่าจะต้องรีบเก็บเงินที่ขายข้าวได้ส่งไปให้กระทรวงเศรษฐการไม่มีเหตุที่จะเข้าใจผิดไปว่าทางจังหวัดจะเอาเงินนี้ไปใช้ในราชการของจังหวัดได้โดยชอบถ้านำเงินนี้จ่ายไปในราชการของจังหวัด แม้จะจ่ายไปตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ตนก็ไม่พ้นความรับผิด เพราะไม่ใช่ทำตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติการงานในหน้าที่โดยอาการที่เสี่ยงต่อความรับผิดชอบในจ่าจังหวัดที่ตนมอบหมายเองเมื่อจ่าจังหวัดทำละเมิด ตนก็ไม่พ้นความรับผิด
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการรับและจำหน่ายข้าวตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการนี้ เมื่อมอบหมายให้จ่าจังหวัดทำหน้าที่นี้ก็ย่อมเป็นการมอบหมายการงานในหน้าที่ของตนให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำเนินการ ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดละเลยไม่ควบคุมจนเป็นเหตุให้จ่าจังหวัดกระทำมิชอบกระทรวงเศรษฐการและกระทรวงมหาดไทยเสียหายผู้ว่าราชการจังหวัดก็ต้องรับผิดในความเสียหายด้วยจะอ้างว่าจ่าจังหวัดมิใช่ลูกจ้างของตนและไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติของตัวการต่อตัวแทนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ภาษีเกินกำหนด ไม่สามารถรื้อการประเมินได้ แม้ผู้ว่าฯ จะให้เหตุผลเพิ่มเติม
เมื่อปรากฎว่าได้อุทธรณ์การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานเกินกำหนดเวลา 15 วันแล้วแม้ผู้ว่าราชการจังหวัดจะสั่งยกอุทธณ์เพราะยื่นเกินกำหนดแล้วจะได้ให้เหตุผลไว้ในคำสั่งด้วยว่า ผู้อุทธรณ์ขายที่ดินเป็นการค้ากำไร ก็ไม่ทำให้คำชี้ขาดยกอุทธรณ์นั้นเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น และผู้อุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจจะโต้แย้งการประเมินต่อไป
การอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 วรรค 3 มาตรา 227,247 นั้น เสียค่าขึ้นศาลเพียง 50 บาทตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ถึงแม้จะได้ความว่าในศาลชั้นต้นได้เสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์มาแล้วก็ตาม.
of 7