พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังเช็ค แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
เมื่อเช็คพิพาทมีรายการครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 988 แม้ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ยังเป็นเช็คตามความหมายแห่งมาตรา 987 อันจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตาม มาตรา 900 เมื่อจำเลยที่ 2 เอาเช็คดังกล่าวมาแลกเงินจากโจทก์และสลักหลังมอบเช็คนั้นให้โจทก์โจทก์ย่อมเป็นผู้มีเช็คไว้ในความครอบครองในฐานเป็นผู้รับสลักหลัง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตามมาตรา 904 และเมื่อเช็คดังกล่าวเป็นเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังย่อมเป็นประกัน(อาวัล) สำหรับจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายมี ความรับผิดอย่างเดียวกับบุคคลซึ่งตนประกันตาม มาตรา 921,940 ประกอบด้วยมาตรา 989 และจะต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายรับผิดตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ ตามมาตรา 967 ประกอบด้วย 989 แม้จำเลยที่ 2 จะสลักหลังเช็คหลังจากที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นแล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดตามเช็คพิพาทต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินจากผู้สลักหลังเช็ค & การแต่งทนายในชั้นฎีกา
เช็คสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือ ธนาคารปฏิเสธการใช้เงินแล้วเพราะบัญชีปิดแล้ว ผู้รับเช็คนั้นไปจากโจทก์นำเช็คมาคืนโจทก์ โจทก์ยังเป็นผู้ทรงโดยชอบ โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากผู้สลักหลังได้ในอายุความ 1 ปี
ทนายโจทก์ไม่ได้แต่งทนายตามระเบียบ แต่โจทก์ทำใบแต่งทนายในชั้นจำเลยฎีกา การพิจารณาตั้งแต่ศาลชั้นต้นไม่เสีย ศาลอนุญาตให้ทำให้ถูกได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
ทนายโจทก์ไม่ได้แต่งทนายตามระเบียบ แต่โจทก์ทำใบแต่งทนายในชั้นจำเลยฎีกา การพิจารณาตั้งแต่ศาลชั้นต้นไม่เสีย ศาลอนุญาตให้ทำให้ถูกได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2862/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามเช็ค: ผู้สั่งจ่าย, ผู้สลักหลัง, และผู้ขายลดเช็คต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คเมื่อเช็คไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้
การที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คโดยเจตนาจะให้ผูกพันและชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย โดยจำเลยที่ 1 มีมูลหนี้ต่อโจทก์ เมื่อโจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายกับจำเลยที่ 3 ผู้สลักหลังจึงต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คนั้น ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งทำสัญญาขายลดเช็คให้โจทก์ ก็ได้ให้คำรับรองต่อโจทก์ว่าเมื่อเช็คถึงกำหนดขึ้นเงินไม่ได้ด้วยประการใด ๆ จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดใช้เงินตามเช็คพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 14 ต่อปี จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2862/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามเช็ค: ผู้สั่งจ่าย, ผู้สลักหลัง, และผู้ขายลดเช็ค
การที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คโดยเจตนาจะให้ผูกพันและชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย โดยจำเลยที่ 1 มีมูลหนี้ต่อโจทก์ เมื่อโจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ จำเลยที่1 ผู้สั่งจ่ายกับจำเลยที่ 3 ผู้สลักหลังจึงต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คนั้น ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งทำสัญญาขายลดเช็คให้โจทก์ ก็ได้ให้คำรับรองต่อโจทก์ว่า เมื่อเช็คถึงกำหนดขึ้นเงินไม่ได้ด้วยประการใดๆ จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดใช้เงินตามเช็คพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 14 ต่อปี จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็ค, การรับรองการใช้เงิน, อายุความ, การผิดนัดชำระหนี้, ความรับผิดของผู้สลักหลัง
จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทได้แก้วันที่ลงในเช็คสองครั้ง ครั้งสุดท้ายวันที่ 1 ธันวาคม 2513 โจทก์ฟ้องคดีเรียกเงินตามเช็ควันที่ 25 พฤศจิกายน 2514 จึงไม่พ้นเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ตั๋วเงินถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002
ผู้สลักหลังเช็คเป็นประกันการใช้เงินตามเช็คนั้นต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันและรับผิดร่วมกันกับผู้สั่งจ่ายตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940, 967, 989
กำหนดเวลาที่ต้องยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990 เป็นเรื่องเงือนไขแห่งสิทธิไล่เบี้ยของผู้ทรงเช็คต่อผู้สลักหลังโอนเช็คเท่านั้น ไม่รวมถึงกรณีที่ผู้ทรงเช็คใช้สิทธิไล่ เบี้ยต่อผู้สลักหลังเช็คเป็นประกันซึ่งต้องผูกพันในฐานะผู้รับอาวัลด้วย
โจทก์เพิ่งนำเช็คไปยื่นต่อธนาคาร เพื่อให้ใช้เงินหลังวันที่ลงในเช็คและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์เพราะเหตุผิดนัดแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
ผู้สลักหลังเช็คเป็นประกันการใช้เงินตามเช็คนั้นต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันและรับผิดร่วมกันกับผู้สั่งจ่ายตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940, 967, 989
กำหนดเวลาที่ต้องยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990 เป็นเรื่องเงือนไขแห่งสิทธิไล่เบี้ยของผู้ทรงเช็คต่อผู้สลักหลังโอนเช็คเท่านั้น ไม่รวมถึงกรณีที่ผู้ทรงเช็คใช้สิทธิไล่ เบี้ยต่อผู้สลักหลังเช็คเป็นประกันซึ่งต้องผูกพันในฐานะผู้รับอาวัลด้วย
โจทก์เพิ่งนำเช็คไปยื่นต่อธนาคาร เพื่อให้ใช้เงินหลังวันที่ลงในเช็คและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์เพราะเหตุผิดนัดแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สั่งจ่าย ผู้สลักหลัง และผู้รับประกันเช็คต่อผู้ทรง ผู้ทรงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องได้ทั้งสองคนหรือคนใดคนหนึ่ง
ผู้สั่งจ่ายเช็ค ผู้สลักหลัง หรือผู้รับประกันด้วยอาวัล ต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง และผู้ทรงก็มีสิทธิตามฟ้องหรือเรียกร้องจากบุคคลดังกล่าวเรียงตัวหรือรวมกันก็ได้ โดยมิพักต้องดำเนินการตามลำดับที่บุคคลดังกล่าวมาผูกพัน
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คจะต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็ค การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยทั้งสองแล้วถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ไปนั้น ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คจะต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็ค การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยทั้งสองแล้วถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ไปนั้น ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของผู้สั่งจ่าย, ผู้สลักหลัง, และผู้รับประกันเช็คต่อผู้ทรง
ผู้สั่งจ่ายเช็ค ผู้สลักหลัง หรือผู้รับประกันด้วยอาวัล ต้องร่วมรับผิดต่อผู้ทรงและผู้ทรงก็มีสิทธิฟ้องหรือเรียกร้องจากบุคคลดังกล่าวเรียงตัวหรือรวมกันก็ได้ โดยมิได้พักต้องดำเนินการตามลำดับที่บุคคลดังกล่าวมาผูกพัน
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คจะต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็ค การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยทั้งสองแล้ว ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ไปนั้น ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คจะต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็ค การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยทั้งสองแล้ว ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ไปนั้น ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเช็คและการคิดดอกเบี้ยผิดนัดตามประเพณีธนาคาร
การสลักหลังเช็คซึ่งสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือย่อมเป็นการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921, 989 และตามมาตรา 940 วรรคแรกผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับบุคคลซึ่งตนประกันซึ่งมีความหมายว่าผู้สั่งจ่ายมีความรับผิดต่อผู้ทรงอย่างใดผู้รับอาวัลย่อมต้องมีความรับผิดต่อผู้ทรงเช่นเดียวกันดังนั้นอายุความที่ผู้สลักหลังดังกล่าวจะยกขึ้นต่อสู้ผู้ทรงจึงมีกำหนด 1 ปี นับแต่เช็คถึงกำหนดตามมาตรา 1002 หาใช่ต้องใช้อายุความทั่วไปไม่
จำเลยนำเช็คที่จำเลยลงชื่อสลักหลังมาขายให้ธนาคารโจทก์ โดยจำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคารโจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 14 ต่อปีนับแต่วันที่จำเลยรับเงินค่าขายเช็คไปจากธนาคารโจทก์จนถึงวันที่เช็คถึงกำหนด และธนาคารโจทก์ได้หักดอกเบี้ยนี้ไว้แล้วดังนี้เป็นค่าตอบแทนที่ธนาคารโจทก์รับซื้อเช็คไว้เท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในกรณีธนาคารโจทก์ขึ้นเงินตามเช็คไม่ได้เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีข้อตกลงไว้โดยชัดแจ้งธนาคารผู้ทรงย่อมเรียกร้องจากจำเลยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 7 จะนำประเพณีธนาคารในการคิดดอกเบี้ยมาเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยร้อยละ 14 ต่อปีหาได้ไม่
จำเลยนำเช็คที่จำเลยลงชื่อสลักหลังมาขายให้ธนาคารโจทก์ โดยจำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคารโจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 14 ต่อปีนับแต่วันที่จำเลยรับเงินค่าขายเช็คไปจากธนาคารโจทก์จนถึงวันที่เช็คถึงกำหนด และธนาคารโจทก์ได้หักดอกเบี้ยนี้ไว้แล้วดังนี้เป็นค่าตอบแทนที่ธนาคารโจทก์รับซื้อเช็คไว้เท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในกรณีธนาคารโจทก์ขึ้นเงินตามเช็คไม่ได้เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีข้อตกลงไว้โดยชัดแจ้งธนาคารผู้ทรงย่อมเรียกร้องจากจำเลยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 7 จะนำประเพณีธนาคารในการคิดดอกเบี้ยมาเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยร้อยละ 14 ต่อปีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเช็คและการคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การสลักหลังเช็คซึ่งสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือย่อมเป็นการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921,989 และตามมาตรา940 วรรคแรก ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับบุคคลซึ่งตนประกัน ซึ่งมีความหมายว่าผู้สั่งจ่ายมีความรับผิดต่อผู้ทรงอย่างใด ผู้รับอาวัลย่อมต้องมีความรับผิดต่อผู้ทรงเช่นเดียวกัน ดังนั้นอายุความที่ผู้สลักหลังดังกล่าวจะยกขึ้นต่อสู้ผู้ทรงจึงมีกำหนด 1 ปีนับแต่เช็คถึงกำหนดตามมาตรา 1002 หาใช่ต้องใช้อายุความทั่วไปไม่
จำเลยนำเช็คที่จำเลยลงชื่อสลักหลังมาขายให้ธนาคารโจทก์โดยจำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคารโจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 14 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยรับเงินค่าขายเช็คไปจากธนาคารโจทก์จนถึงวันที่เช็คถึงกำหนด และธนาคารโจทก์ได้หักดอกเบี้ยนี้ไว้แล้ว ดังนี้เป็นค่าตอบแทนที่ธนาคารโจทก์รับซื้อเช็คไว้เท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในกรณีธนาคารโจทก์ขึ้นเงินตามเช็คไม่ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีข้อตกลงไว้โดยชัดแจ้งธนาคารผู้ทรงย่อมเรียกร้องจากจำเลยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 จะนำประเพณีธนาคารในการคิดดอกเบี้ยมาเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยร้อยละ 14 ต่อปีหาได้ไม่
จำเลยนำเช็คที่จำเลยลงชื่อสลักหลังมาขายให้ธนาคารโจทก์โดยจำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคารโจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 14 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยรับเงินค่าขายเช็คไปจากธนาคารโจทก์จนถึงวันที่เช็คถึงกำหนด และธนาคารโจทก์ได้หักดอกเบี้ยนี้ไว้แล้ว ดังนี้เป็นค่าตอบแทนที่ธนาคารโจทก์รับซื้อเช็คไว้เท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในกรณีธนาคารโจทก์ขึ้นเงินตามเช็คไม่ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีข้อตกลงไว้โดยชัดแจ้งธนาคารผู้ทรงย่อมเรียกร้องจากจำเลยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 จะนำประเพณีธนาคารในการคิดดอกเบี้ยมาเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยร้อยละ 14 ต่อปีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็ค: ผู้สลักหลังมีฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้สั่งจ่าย ไม่ใช่ผู้ค้ำประกัน
การลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังเช็คต้องถือว่าเป็นการสลักหลังตั๋วแลกเงินโดยสมบูรณ์. ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 919 อันมีผลให้ผู้สลักหลังต้องรับผิดต่อผู้ทรงตามมาตรา 914 และมาตรา989 ให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ในเรื่องเช็คด้วยผู้สลักหลังจึงต้องรับผิดใช้เงินที่ค้างชำระให้แก่ผู้ทรง ในเมื่อธนาคารไม่ยอมจ่ายเงินตามเช็คนั้น
ผู้สลักหลังมีฐานะเป็นลูกหนี้ต้องร่วมกับผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อผู้ทรงมิได้มีฐานะเป็นผู้ค้ำประกัน จึงนำมาตรา 700 มาใช้บังคับกรณีนี้มิได้
ผู้สลักหลังมีฐานะเป็นลูกหนี้ต้องร่วมกับผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อผู้ทรงมิได้มีฐานะเป็นผู้ค้ำประกัน จึงนำมาตรา 700 มาใช้บังคับกรณีนี้มิได้