คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้แทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 150 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิด: ผู้แทนโจทก์คืออธิบดีกรมเท่านั้น การนับอายุความเริ่มเมื่ออธิบดีทราบเรื่อง
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เรื่องระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 32 วรรคสอง บัญญัติว่า กรมมีอธิบดีเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ฯลฯ เช่นนี้ ต้องถือว่าโจทก์มีอธิบดีคนเดียวเท่านั้นเป็นผู้แทน จะถือว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนของโจทก์เป็นผู้แทนของโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าอธิบดีโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 18กุมภาพันธ์ 2528 นับถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2529 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2458/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเวนคืน: แม้ผู้ว่าฯ ทำหน้าที่แทน แต่จำเลยในฐานะนิติบุคคลต้องรับผิดชอบ
ทางหลวงที่จะสร้างตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมถนนสุขุมวิท 39 (พร้อมพงษ์) กับถนนเพชรบุรี พ.ศ.2524 เป็นทางหลวงเทศบาลอันเป็นเรื่องที่อยู่ในกิจการของกรุงเทพมหานครจำเลยจะต้องดำเนินการ แต่จำเลยเป็นนิติบุคคลการดำเนินการต่าง ๆ จึงต้องดำเนินการโดยผู้แทนทั้งหลายของจำเลย ดังนั้น การที่พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือบทกฎหมายกำหนดอำนาจไว้ให้เป็นของเจ้าหน้าที่ก็ดีนั้นก็เป็นการกำหนดตัวบุคคลผู้จะต้องปฏิบัติแทนนิติบุคคลนั้นในฐานะผู้แทนทั้งหลาย ในเมื่อการกระทำของผู้แทนทั้งหลายของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2458/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเวนคืน: นิติบุคคลต้องรับผิดชอบการกระทำของผู้แทน แม้กฎหมายมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่
ทางหลวงที่จะสร้างตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมถนนสุขุมวิท 39(พร้อมพงษ์) กับถนนเพชรบุรี พ.ศ. 2524 เป็นทางหลวงเทศบาลอันเป็นเรื่องที่อยู่ในกิจการของกรุงเทพมหานครจำเลยจะต้องดำเนินการ แต่จำเลยเป็นนิติบุคคลการดำเนินการต่าง ๆ ต้องดำเนินการโดย ผู้แทนทั้งหลายของจำเลย ดังนั้น การที่พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือบทกฎหมายกำหนดอำนาจไว้ให้เป็นของเจ้าหน้าที่ก็ดีก็เป็นการกำหนดตัวบุคคลผู้จะต้องปฏิบัติแทนนิติบุคคลนั้นในฐานะผู้แทนทั้งหลายในเมื่อการกระทำของผู้แทนทั้งหลายของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์: การเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมและอำนาจฟ้องคดีโดยไม่ต้องมียินยอม
คดีมีปัญหามาสู่ศาลฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องหรือไม่ ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจะต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจาก พยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา247 โจทก์ทั้งสามยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 วรรคแรก ทั้งคดีไม่ปรากฏว่าอำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาแต่ฝ่ายเดียว ดังเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 1566 วรรคสอง ต้องถือว่าโจทก์ทั้งสามอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาทั้งสองคน บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งจึงมีสิทธิใช้อำนาจปกครองโจทก์ทั้งสามได้ มารดาจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมตามมาตรา 1569 มีสิทธิฟ้องคดีแทนโจทก์ ทั้งสามได้ ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าบิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรก่อนมารดานั้น ไม่มีกฎหมายสนับสนุน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าที่ดินตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ทั้งสามมิใช่สินสมรสระหว่างสามีภริยา ส. ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการฟ้องร้องของบริษัท: คำร้องทุกข์ที่ลงชื่อกรรมการบริษัท ถือเป็นคำร้องทุกข์ของบริษัท
บริษัทโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนโดยระบุว่า นาย จ.มาแจ้งว่านาย จ.ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 2 และต่อจากนั้นเป็นรายละเอียดข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงผู้แจ้ง จึงแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง และในช่องผู้แจ้งได้ลงลายมือชื่อของนาย จ.และนางสาว ศ.กรรมการของโจทก์อีกคนหนึ่งด้วย ดังนั้น ที่ระบุไว้ในคำร้องทุกข์ว่า นาย จ.ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่านาย จ.ร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ ทั้งมูลเหตุที่ผู้แจ้งอ้างว่าจำเลยทั้งสองฉ้อโกงนั้นเกิดจากการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงให้ผู้แจ้งซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวกับจำเลยที่ 2 เท่ากับอ้างว่าโจทก์ถูกฉ้อโกง และในช่องผู้แจ้งนอกจากจะลงลายมือชื่อ นาย จ.แล้ว นางสาว ศ.กรรมการของโจทก์อีกคนหนึ่งก็ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ซึ่งตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ก็ปรากฏว่ากรรมการของโจทก์ที่มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทโจทก์ได้นั้นก็คือนาย จ.กับนางสาว ศ.ลงลายมือชื่อร่วมกัน คำร้องทุกข์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นคำร้องทุกข์ของบริษัทโจทก์โดยชอบแล้ว หาใช่เป็นคำร้องทุกข์ของนาย จ.ในฐานะส่วนตัวไม่
ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียเองได้ก็ตาม แต่เห็นว่าประเด็นนี้สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย เพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้แทนสหกรณ์ และการจำนำหุ้นเพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้
ผู้จัดการสหกรณ์ผู้ร้องซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ผู้ร้องให้ดำเนินคดีแทนผู้ร้องได้ มีฐานะเป็นผู้แทนสหกรณ์ผู้ร้อง มีอำนาจทำการแทนผู้ร้องได้ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2524 คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ผู้ร้องหาจำเป็นต้องทำใบมอบอำนาจอีกขั้นหนึ่งไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2451-2452/2517) การที่จำเลยนำหุ้นสหกรณ์ไปจำนำแก่ผู้ร้องภายหลังจากจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และศาลพิพากษาตามยอมแล้วเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่า จำเลยและผู้ร้องได้ร่วมกันจำนำหุ้นทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยเสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ผู้ร้องจึงไม่อาจที่จะขอรับชำระหนี้ในเงินค่าหุ้นดังกล่าวก่อนโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3416/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล แม้ผู้แทนโดยชอบธรรมยินยอมก็ไม่สมบูรณ์
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรม มีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อนหรือถือว่านิติกรรมที่ผู้เยาว์กระทำด้วยตนเองในขณะยังไม่บรรลุนิติภาวะโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลมีผลผูกพันผู้เยาว์เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อขายที่จำเลยที่ 8 ได้กระทำไปในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 8 แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 8 จะบรรลุนิติภาวะแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2728/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับหนังสือแจ้งประเมินภาษีโดยผู้แทนที่อยู่บ้านเดียวกัน ถือเป็นการรับโดยผู้รับเอง และเริ่มนับระยะเวลาฟ้องคดีตามกฎหมาย
ประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคแรก บัญญัติว่า"หมายเรียก หนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรหรือหนังสืออื่นซึ่งมีถึงบุคคลใดตามลักษณะนี้ ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ" ส่วนการส่งทางไปรษณีย์ จะมีผลอย่างไรและเมื่อใดต้องพิจารณาตามไปรษณียนิเทศพ.ศ. 2529 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ฯ และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทยฯ เมื่อภรรยาของโจทก์ซึ่งอยู่บ้านเรือนเดียวกับโจทก์ย่อมถือว่าเป็นผู้แทนของโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2529ต้องถือว่าโจทก์ได้รับแล้วตั้งแต่วันดังกล่าว ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 333,334 และข้อ 336 แห่งไปรษณียนิเทศโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันที่ 2 มกราคม 2530 ซึ่งล่วงเลยกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกจากการกระทำของผู้แทน หากผู้แทนกระทำภายในขอบอำนาจและเป็นประโยชน์ต่อบริษัท
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2,3 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการ และจำเลยที่ 3เป็นกรรมการรับเงินจากโจทก์ในฐานะดังกล่าว ณ ที่ทำการของจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2,3 ออกเช็คแทนจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสามปฏิบัติต่อเจ้าของเงินที่จำเลยที่ 2,3 รับเงินมารายอื่น ๆ เช่นเดียวกับที่ปฏิบัติต่อโจทก์ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลเจตนาของนิติบุคคลย่อมแสดงออกทางผู้แทนนิติบุคคล เมื่อผู้แทนนิติบุคคลได้แสดงเจตนาซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลแล้ว ต้องถือว่าเป็นเจตนาของนิติบุคคล และผูกพันนิติบุคคล พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสามทำให้บุคคลภายนอกเชื่อ ว่า การกระทำของจำเลยที่ 2,3 เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมา การที่จำเลยที่ 2,3 รับเงินจากโจทก์ แล้วไม่ได้มอบหรือนำเข้าบัญชีให้จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นเรื่องที่ตัวแทนไม่ส่งมอบทรัพย์ให้ตัวการ ดังนี้จำเลยที่ 1 จะอ้างเอาการที่จำเลยที่ 2,3 ซึ่งเป็นตัวแทนของตน กระทำการทุจริต หรือไม่ส่งมอบเงินแก่ตนนั้นมาบอกปัดความรับผิดต่อโจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้รับเช็คในฐานะผู้แทนห้างหุ้นส่วน ไม่มีอำนาจเป็นผู้เสียหาย
โจทก์ร่วมได้รับเช็คพิพาทจากจำเลยในฐานะเป็นผู้แทน ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ไม่ใช่ฐานะส่วนตัว โจทก์ร่วมในฐานะส่วนตัวจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์
of 15