พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรงจากการเบียดเบียนลูกค้าและฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง
จำเลยประกอบธุรกิจธนาคาร ได้มีคำสั่งห้ามพนักงานมีส่วนเกี่ยวพันกับลูกค้าในลักษณะที่อาจจะให้เป็นที่ครหา การกู้ยืมเงินลูกค้า การเรียกร้องหรือแสวงหาผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนจากลูกค้า ซึ่งการกระทำเหล่านี้เป็นการเบียดเบียนลูกค้าของธนาคารโจทก์เป็นพนักงานสินเชื่อทำหน้าที่หัวหน้าฝ่าย การที่ ด. ภริยาโจทก์ขอยืมเงินจาก อ. ลูกค้าของจำเลยประจำหน่วยนั้นและในการกู้ยืมนี้โจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่ อ. ด้วยเป็นการรู้เห็นเป็นใจ ความประพฤติของโจทก์เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการเบียดเบียนลูกค้าในทำนองเดียวกันโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ และเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากเบียดเบียนลูกค้าและฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างชอบธรรมไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยประกอบธุรกิจธนาคาร ได้มีคำสั่งห้ามพนักงานมีส่วนเกี่ยวพันกับลูกค้าในลักษณะที่อาจจะให้เป็นที่ครหา การกู้ยืมเงินลูกค้า การเรียกร้อง หรือแสวงหาผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนจากลูกค้า ซึ่งการกระทำเหล่านี้เป็นการเบียดเบียนลูกค้าของธนาคาร โจทก์เป็นพนักงานสินเชื่อทำหน้าที่หัวหน้าหน่วย การที่ค.ภริยาโจทก์ขอยืมเงินจากอ. ลูกค้าของจำเลยประจำหน่วยนั้น และในการกู้ยืมนี้ โจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่อ. ด้วย เป็นการรู้เห็นเป็นใจ ความประพฤติของโจทก์เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการเบียดเบียนลูกค้าในทำนองเดียวกัน โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ และเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายยแรง จำเลยเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าว จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5601/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานต้องระบุวันทราบคำสั่งและวันฝ่าฝืนอย่างชัดเจน เพื่อให้ศาลคำนวณโทษปรับรายวันได้
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้จำเลยรื้อถอน สิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นโดยผิดกฎหมายให้กลับสู่สภาพเดิม มีบทลงโทษ ปรับเป็นรายวัน เมื่อคำฟ้องโจทก์ไม่มีข้อความว่าจำเลยทราบคำสั่งวันใด และฝ่าฝืนคำสั่งวันใดแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่มีทางลงโทษ ปรับจำเลยเป็นรายวันตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คำฟ้องฐานนี้ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2738/2526)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2738/2526)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5601/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานต้องระบุวันทราบ/ฝ่าฝืนชัดเจน จึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้จำเลยรื้อถอน สิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นโดยผิดกฎหมายให้กลับสู่สภาพเดิม มีบทลงโทษ ปรับเป็นรายวัน เมื่อคำฟ้องโจทก์ไม่มีข้อความว่าจำเลยทราบคำสั่งวันใด และฝ่าฝืนคำสั่งวันใดแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่มีทางลงโทษ ปรับจำเลยเป็นรายวันตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คำฟ้องฐานนี้ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2738/2526)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกเงินโดยผู้จัดการธนาคารร่วมกับผู้อื่น โดยทุจริตและฝ่าฝืนคำสั่งของธนาคาร
การที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของโจทก์ร่วมได้อนุมัติให้จ่ายเงิน 5,870,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในขณะที่ยังไม่ทราบผลการเรียกเก็บเงินตามเช็ค 2 ฉบับ รวมเงินจำนวน 7,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 2นำเข้าบัญชีเพื่อให้ธนาคารเรียกเก็บเงิน อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ร่วมที่สั่งให้งดจ่ายเงินในกรณีที่ลูกค้าเอาเช็คเข้าบัญชีโดยยังไม่ทราบผลของการเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้น เชื่อ ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้อนุมัติจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวไปโดยทุจริตโดยคบคิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพื่อเอาเงินของโจทก์ร่วม จึงมีความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 353.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3522/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างประจำโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งและได้รับการตักเตือน
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างละทิ้งงานไปและถูกตักเตือนเป็นหนังสือซึ่งข้อความในหนังสือเตือนมีว่า โจทก์ได้ละทิ้งหน้าที่การงานไป และได้รับการตักเตือนแล้ว โดยโจทก์จำเลยลงชื่อไว้ หนังสือดังกล่าวมีข้อความอยู่ในตัวเองแล้วว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้แสดงความผิดของโจทก์ให้ปรากฏว่าโจทก์ได้ละทิ้งหน้าที่การงานไป จึงเตือนให้โจทก์ระมัดระวังสังวรณ์ ไว้ เป็นทำนองว่ามิให้ละทิ้งงานอีกจึงเป็นหนังสือเตือนของนายจ้างที่ได้ตักเตือนลูกจ้างที่ได้กระทำการฝ่าฝืนคำสั่ง โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยผู้เป็นนายจ้างและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3522/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างประจำโดยชอบด้วยกฎหมาย หากลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งและได้รับการตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างละทิ้งงานไปและถูกตักเตือนเป็นหนังสือซึ่งข้อความในหนังสือเตือนมีว่า โจทก์ได้ละทิ้งหน้าที่การงานไป และได้รับการตักเตือนแล้ว โดยโจทก์จำเลยลงชื่อไว้หนังสือดังกล่าว มีข้อความอยู่ในตัวเองแล้วว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้แสดงความผิด ของโจทก์ให้ปรากฏว่าโจทก์ได้ละทิ้งหน้าที่การงานไปจึงเตือนให้โจทก์ ระมัดระวังสังวรณ์ ไว้ เป็นทำนองว่ามิให้ละทิ้งงานอีกจึงเป็นหนังสือเตือนของนายจ้างที่ได้ตักเตือนลูกจ้างที่ได้กระทำการฝ่าฝืนคำสั่ง โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วเมื่อโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยผู้เป็นนายจ้างและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วนายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและฝ่าฝืนคำสั่งระงับ-โทษปรับอาคารพาณิชย์-การเป็นความผิดสองกรรม
บทบัญญัติมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หมายความว่า ผู้ใดก็ตามที่จัดให้มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณก็ดีผิดไปจากแบบแปลนก็ดี ผิดไปจากรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตก็ดีผู้ไปจากวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตก็ดี การกระทำผิดไปเพียงอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31 ทั้งสิ้นหาจำเป็นต้องเป็นการกระทำผิดพร้อมกันทั้งหมดไม่
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดในระหว่างวันที่ 7 กันยายน 2522 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่าจำเลยก่อสร้างผิดแบบแปลนตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 และจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2523 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 จำเลยจะขอให้นับระยะเวลาถึงเพียงวันที่ 1 กรกฎาคม 2523 ซึ่งการก่อสร้างของจำเลยยังไม่แล้วเสร็จหาได้ไม่
อาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมแม้ใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารจะระบุว่าเพื่อใช้พาณิชย์พักอาศัย และอาคารดังกล่าวจะใช้เพื่ออยู่อาศัยด้วยก็มิได้หมายความว่าอาคารดังกล่าวมิได้ใช้เพื่อพาณิชยกรรมตามความหมายของมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นการกระทำความผิดไปกรรมหนึ่งแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ระงับการก่อสร้างจำเลยก็ยังคงก่อสร้างต่อไปอีกเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งต่างไปจากกรรมแรก แม้ระยะเวลากระทำผิดทั้งสองกรรมจะซ้อนกันในช่วงหลังก็ตามการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำอันเป็นความผิดสองกรรม
ความผิดกระทงแรกนอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา 65 วรรคแรกแล้ว วรรคสองยังให้ปรับอีกวันละ 500 บาท ส่วนความผิดกระทงหลังนั้นมาตรา 67 บัญญัติให้ปรับวันละ 500 บาท ปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมถ้าศาลจะเลือกลงโทษปรับสถานเดียวแต่ละกระทงจะต้องปรับเป็นสิบเท่าตามมาตรา 70 คือปรับวันละ 5,000 บาทและอาคารที่จำเลยก่อสร้างยังเป็นของจำเลย เองถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายของ มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 69 บัญญัติให้วางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ จึงต้องปรับ จำเลยสำหรับแต่ละกระทงวันละ 10,000 บาท
(วรรค 4 และ 5 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2528)
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดในระหว่างวันที่ 7 กันยายน 2522 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่าจำเลยก่อสร้างผิดแบบแปลนตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 และจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2523 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 จำเลยจะขอให้นับระยะเวลาถึงเพียงวันที่ 1 กรกฎาคม 2523 ซึ่งการก่อสร้างของจำเลยยังไม่แล้วเสร็จหาได้ไม่
อาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมแม้ใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารจะระบุว่าเพื่อใช้พาณิชย์พักอาศัย และอาคารดังกล่าวจะใช้เพื่ออยู่อาศัยด้วยก็มิได้หมายความว่าอาคารดังกล่าวมิได้ใช้เพื่อพาณิชยกรรมตามความหมายของมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นการกระทำความผิดไปกรรมหนึ่งแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ระงับการก่อสร้างจำเลยก็ยังคงก่อสร้างต่อไปอีกเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งต่างไปจากกรรมแรก แม้ระยะเวลากระทำผิดทั้งสองกรรมจะซ้อนกันในช่วงหลังก็ตามการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำอันเป็นความผิดสองกรรม
ความผิดกระทงแรกนอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา 65 วรรคแรกแล้ว วรรคสองยังให้ปรับอีกวันละ 500 บาท ส่วนความผิดกระทงหลังนั้นมาตรา 67 บัญญัติให้ปรับวันละ 500 บาท ปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมถ้าศาลจะเลือกลงโทษปรับสถานเดียวแต่ละกระทงจะต้องปรับเป็นสิบเท่าตามมาตรา 70 คือปรับวันละ 5,000 บาทและอาคารที่จำเลยก่อสร้างยังเป็นของจำเลย เองถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายของ มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 69 บัญญัติให้วางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ จึงต้องปรับ จำเลยสำหรับแต่ละกระทงวันละ 10,000 บาท
(วรรค 4 และ 5 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและฝ่าฝืนคำสั่งระงับการก่อสร้าง ถือเป็นความผิดสองกรรม ปรับตามอัตราที่สูงขึ้น
บทบัญญัติมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522 หมายความว่าผู้ใดก็ตามที่จัดให้มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณก็ดีผิดไปจากแบบแปลนก็ดีผิดไปจากรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตก็ดีผิดไปจากวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตก็ดีการกระทำผิดไปเพียงอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวย่อมเป็นการฝ่าฝืนมาตรา31ทั้งสิ้นหาจำเป็นต้องเป็นการกระทำผิดพร้อมกันทั้งหมดไม่
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดในระหว่างวันที่ 7กันยายน 2522 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่าจำเลยก่อสร้างผิดแบบแปลนตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 และจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2523 ถึงวันที่ 11สิงหาคม 2523จำเลยจะขอให้นับระยะเวลาถึงเพียงวันที่1 กรกฎาคม 2523 ซึ่งการก่อสร้างของจำเลยยังไม่แล้วเสร็จหาได้ไม่
อาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมแม้ใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารจะระบุว่าเพื่อใช้พาณิชย์พักอาศัย และอาคารดังกล่าวจะใช้เพื่ออยู่อาศัยด้วยก็มิได้หมายความว่าอาคารดังกล่าวมิได้ใช้เพื่อพาณิชยกรรมตามความหมายของมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522 จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นการกระทำความผิดไปกรรมหนึ่งแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ระงับการก่อสร้าง จำเลยก็ยังคงก่อสร้างต่อไปอีกเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งต่างไปจากกรรมแรก แม้ระยะเวลากระทำผิดทั้งสองกรรมจะซ้อนกันในช่วงหลังก็ตามการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำอันเป็นความผิดสองกรรม
ความผิดกระทงแรกนอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา 65 วรรคแรกแล้ว วรรคสองยังให้ปรับอีกวันละ 500 บาท ส่วนความผิดกระทงหลังนั้นมาตรา 67 บัญญัติให้ปรับวันละ 500 บาทปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมถ้าศาลจะเลือกลงโทษปรับสถานเดียว แต่ละกระทงจะต้องปรับเป็นสิบเท่าตามมาตรา 70 คือปรับวันละ5,000 บาทและอาคารที่จำเลยก่อสร้างยังเป็นของจำเลย เอง ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายของ มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 69 บัญญัติให้วางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ จึงต้องปรับ จำเลยสำหรับแต่ละกระทงวันละ 10,000 บาท (วรรค 4 และ 5 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่9/2528)
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดในระหว่างวันที่ 7กันยายน 2522 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่าจำเลยก่อสร้างผิดแบบแปลนตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 และจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2523 ถึงวันที่ 11สิงหาคม 2523จำเลยจะขอให้นับระยะเวลาถึงเพียงวันที่1 กรกฎาคม 2523 ซึ่งการก่อสร้างของจำเลยยังไม่แล้วเสร็จหาได้ไม่
อาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมแม้ใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารจะระบุว่าเพื่อใช้พาณิชย์พักอาศัย และอาคารดังกล่าวจะใช้เพื่ออยู่อาศัยด้วยก็มิได้หมายความว่าอาคารดังกล่าวมิได้ใช้เพื่อพาณิชยกรรมตามความหมายของมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522 จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นการกระทำความผิดไปกรรมหนึ่งแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ระงับการก่อสร้าง จำเลยก็ยังคงก่อสร้างต่อไปอีกเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งต่างไปจากกรรมแรก แม้ระยะเวลากระทำผิดทั้งสองกรรมจะซ้อนกันในช่วงหลังก็ตามการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำอันเป็นความผิดสองกรรม
ความผิดกระทงแรกนอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา 65 วรรคแรกแล้ว วรรคสองยังให้ปรับอีกวันละ 500 บาท ส่วนความผิดกระทงหลังนั้นมาตรา 67 บัญญัติให้ปรับวันละ 500 บาทปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมถ้าศาลจะเลือกลงโทษปรับสถานเดียว แต่ละกระทงจะต้องปรับเป็นสิบเท่าตามมาตรา 70 คือปรับวันละ5,000 บาทและอาคารที่จำเลยก่อสร้างยังเป็นของจำเลย เอง ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายของ มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 69 บัญญัติให้วางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ จึงต้องปรับ จำเลยสำหรับแต่ละกระทงวันละ 10,000 บาท (วรรค 4 และ 5 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่9/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3495/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้างอย่างร้ายแรง กรณีสูบบุหรี่ในพื้นที่ห้ามสูบซึ่งอาจก่อให้เกิดอัคคีภัย
โรงงานผลิตกล่องกระดาษของจำเลยเคยถูกไฟไหม้เสียหายนับล้านบาทจำเลยจึงมีคำสั่งห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณโรงงาน และได้วางมาตรการป้องกันเพลิงไหม้อย่างเข้มแข็ง จัดให้มีเครื่องดับเพลิงและป้ายห้ามสูบบุหรี่ทั่วบริเวณโรงงาน โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างยืนสูบบุหรี่ข้าง ๆ กองกล่องกระดาษซึ่งมีกล่องกระดาษเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง