พบผลลัพธ์ทั้งหมด 670 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7432/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานเบิกความยืนยันเหตุการณ์ต่างกันได้ หากคำเบิกความสอดคล้องกับพยานหลักฐานอื่น จึงรับฟังได้
แม้ ล.ประจักษ์พยานได้นั่งอยู่ในห้องพิจารณาด้วยในขณะที่ผู้เสียหายทั้งสองเบิกความต่อศาลก็ตาม แต่ผู้เสียหายทั้งสองเบิกความว่า เห็นเหตุการณ์ตอนไฟไหม้บ้านแล้ว ไม่เห็นว่าใครเป็นคนจุดไฟ ส่วน ล.เบิกความยืนยันว่าเห็นจำเลยเป็นคนใช้ไฟแช็กจุดไฟเผาบ้านผู้เสียหายที่ 1 แล้วไฟลุกลามไปไหม้บ้านผู้เสียหายที่ 2 บางส่วนด้วย คำเบิกความของ ล.จึงมิได้เบิกความตามที่ได้ยินผู้เสียหายทั้งสองเบิกความแต่อย่างใด ทั้งโจทก์ยังมี ค.ประจักษ์พยานอีกปากหนึ่งเบิกความยืนยันว่าจำเลยเป็นคนจุดไฟเผาบ้านผู้เสียหายที่ 1 แล้วไฟลุกลามไหม้บ้านผู้เสียหายที่ 2 สอดคล้องกัน คำเบิกความของ ล.จึงรับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7228/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกา, การนำสืบพยานนอกคำให้การ, และความไม่ชอบของสัญญาประนีประนอมยอมความ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 49,000 บาท และให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินคนละ 240,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะเป็นว่า ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินคนละ 120,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้องทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา สำหรับจำเลยที่ 2 กับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เหตุเกิดจากความประมาทของผู้ตายเพียงฝ่ายเดียว หรือผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย และโจทก์เรียกค่าขาดไร้อุปการะสูงเกินจริง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นพิพาทว่า ได้มีการตกลงระงับข้อพิพาทกันแล้ว โดยอ้างข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสำคัญเพียงฉบับเดียว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2นำสืบอ้างว่ามีการตกลงระงับข้อพิพาทกันตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเพิ่มเติมในชั้นสืบพยานจำเลยจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ทั้งเอกสารฉบับนี้ไม่ได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้ในบัญชีระบุพยานของจำเลยที่ 2 ด้วย จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามป.วิ.พ.มาตรา 87
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์เป็นฝ่ายได้รับความเสียหายจากมูลละเมิด จึงเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฉะนั้น จำเลยทั้งสองจึงอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และ ที่ 2ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 850, 851 สัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ จึงเป็นสัญญาที่ไม่ชอบ จำเลยที่ 2 จะอ้างเอาสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นพิพาทว่า ได้มีการตกลงระงับข้อพิพาทกันแล้ว โดยอ้างข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสำคัญเพียงฉบับเดียว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2นำสืบอ้างว่ามีการตกลงระงับข้อพิพาทกันตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเพิ่มเติมในชั้นสืบพยานจำเลยจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ทั้งเอกสารฉบับนี้ไม่ได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้ในบัญชีระบุพยานของจำเลยที่ 2 ด้วย จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามป.วิ.พ.มาตรา 87
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์เป็นฝ่ายได้รับความเสียหายจากมูลละเมิด จึงเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฉะนั้น จำเลยทั้งสองจึงอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และ ที่ 2ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 850, 851 สัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ จึงเป็นสัญญาที่ไม่ชอบ จำเลยที่ 2 จะอ้างเอาสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7156/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินที่เป็นโมฆะเนื่องจากขาดพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติไว้ชัดว่า พยานที่จะรับรองลายพิมพ์นิ้วมือต้องมี 2 คน ปรากฏว่าตามสัญญากู้ยืมเงินมี ผ. เป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยเพียงคนเดียว ส่วนโจทก์ลงลายมือชื่อแต่ในช่องผู้ให้กู้เท่านั้น ไม่ได้ลงลายมือชื่อในช่องพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือแม้โจทก์จะเป็นผู้เขียนข้อความตามสัญญากู้ยืมเงิน โดยเฉพาะจะได้เขียนข้อความว่า"รอยพิมพ์นิ้วมือ ง." ไว้ก็ตาม แต่โจทก์มิได้ลงชื่อเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยด้วย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ลงชื่อเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยจึงมีไม่ถึง 2 คน สัญญากู้ยืมเงินย่อมจะถือเสมอกับจำเลยลงลายมือชื่อยังไม่ได้ โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6671/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความพยานนอกบัญชีรายชื่อพยานไม่มีผลต่อการวินิจฉัยคดีหากมีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายคิดเป็นเงิน 5,300 บาท พิพากษาให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จ การวินิจฉัยคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นรับฟังจากพยานหลักฐานทั้งปวงที่โจทก์นำสืบ มิได้รับฟังจากเฉพาะคำเบิกความของ ค. เพียงปากเดียวและแม้โจทก์จะไม่มี ค. เข้าเบิกความ ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีของศาลชั้นต้นเปลี่ยนแปลงไปดังนั้น แม้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ค. พยานโจทก์เข้าเบิกความโดยไม่มีชื่อในบัญชีพยานโจทก์ อันเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88และมาตรา 106 ก็ไม่ทำให้พยานโจทก์อื่น ๆ เสียไป หรือหาก ค. ไม่เข้าเบิกความแล้วผลของคดีจะเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาข้อกฎหมายในเรื่องดังกล่าวของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4022/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตคัดคำเบิกความพยานก่อนสืบพยานเสร็จสิ้น ศาลยังคงรับฟังได้หากไม่กระทบคำวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์คัดคำเบิกความพยานฝ่ายโจทก์ ขณะที่การสืบพยานฝ่ายโจทก์ยังไม่เสร็จสิ้น โดยไม่ปรากฏว่า มีพฤติการณ์พิเศษอย่างใดนั้นเป็นการไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 54(2) แต่ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้เป็นการเด็ดขาดมิให้ศาลรับฟังคำเบิกความ ของพยานที่นำมาสืบในภายหลัง และในบางกรณีกฎหมายก็ยัง ให้เป็นดุลพินิจของศาลในอันที่จะรับฟังคำเบิกความของพยาน ที่เบิกความโดยได้ฟังคำพยานคนก่อนเบิกความต่อหน้าตนมาแล้วได้ หากศาลเห็นว่า คำเบิกความเช่นว่านี้เป็นที่เชื่อฟังได้ หรือมิได้ เปลี่ยนแปลงไปโดยได้ฟังคำเบิกความของพยานคนก่อน หรือไม่ สามารถทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 114 ดังนั้น ศาลจึง รับฟังคำพยานโจทก์ที่มาเบิกความหลังจากที่โจทก์คัดคำเบิกความพยานฝ่ายโจทก์แล้วได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนฐานความผิด ศาลต้องยกฟ้องเมื่อโจทก์ไม่นำสืบพยาน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักลอบ นำพาของกลางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยง การเสียภาษีอากร หรือจำเลยได้ซื้อ รับไว้ และช่วยพาเอาไปเสีย ช่วยจำหน่าย ช่วยซ่อนเร้น ซึ่งของกลางดังกล่าวโดยรู้อยู่แล้วว่า เป็นของผู้อื่นลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษี ข้างต้น ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นคนละฐานกัน และโจทก์มี ความประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาหนึ่งเพียงฐานเดียว จะลงโทษจำเลยในเรื่องเดียวกันทั้งสองฐานไม่ได้ คำให้การ ของจำเลยที่ให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการยังไม่ชัดเจน พอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใด ย่อมเป็นหน้าที่ ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบพยานต่อไปให้ได้ความถึงการกระทำผิด ของจำเลยว่าได้กระทำความผิดฐานใดแน่หาใช่เป็นหน้าที่ ของศาลที่จะสอบถามจำเลยว่าจะให้การรับสารภาพในฐานความผิดใดเมื่อโจทก์แถลงไม่สืบพยาน คำให้การรับสารภาพของจำเลยดังกล่าว จึงไม่อาจฟังลงโทษจำเลยได้ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องและคดี ไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณา สอบถามคำให้การของจำเลยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2069/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาโดยจำเลยมีทนายความแล้ว การให้การรับสารภาพและไม่ติดใจซักค้านพยาน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดไว้ในครอบครองเพื่อขาย อันเป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไปแต่ไม่ถึงประหารชีวิต ในวันเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นได้สอบจำเลยเรื่องทนายความแล้ว จำเลยแถลงว่า จะหาทนายความเอง ศาลชั้นต้นจึงสั่งให้นัดสืบพยานโจทก์ ต่อมาเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยตั้ง ช.เป็นทนายความ และ ช.ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173วรรคสอง แล้ว และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ที่เลื่อนไป จำเลยยื่นคำร้องว่าจำเลยขอให้การรับสารภาพและขอให้ศาลลงโทษจำเลยสถานเบา ศาลชั้นต้นสอบจำเลยแล้วยืนยันให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพไปในวันนั้น แม้ในวันดังกล่าวทนายจำเลยจะไม่มาศาลก็ไม่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในวันดังกล่าวเสียไปเพราะจำเลยมีทนายความแล้ว และการที่จำเลยให้การรับสารภาพและขอให้ศาลลงโทษจำเลยสถานเบา โดยไม่ได้ขอให้ศาลเลื่อนคดีไปเพราะทนายความไม่มาศาล แสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะให้ทนายความจำเลยซักค้านพยานโจทก์แก้ต่างในการพิจารณาคดีวันดังกล่าวแต่อย่างใด การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือของพยาน, พฤติการณ์ผิดปกติ, และการยกประโยชน์แห่งความสงสัยในคดีวางเพลิง
พฤติการณ์ของพยานที่ยินยอมออกจากบ้านไปกับจำเลยในยามค่ำมืดล่วงเลยกำหนดเวลาที่บุคคลทั่วไปจะรับประทานขนมโดยยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยทุกประการไม่ว่าจำเลยจะสั่งให้ขับรถจักรยานยนต์ไปในทิศทางใดและจอดหยุดรอณที่ใดแม้จะให้นำรถจักรยานยนต์ไปซ่อนไว้ในคูข้างถนนและเฝ้ารถจักรยานยนต์ไว้ขณะที่จำเลยกับพวกนำถึงปุ๋ยเข้าไปในโรงเรียนที่เกิดเหตุพยานก็ยินยอมปฏิบัติตามโดยดีอีกทั้งไม่ได้แสดงอาการตื่นเต้นตกใจเมื่อไฟไหม้โรงเรียนแต่กลับขับรถจักรยานยนต์พาจำเลยกับพวกไปส่งยังสถานที่ซึ่งจำเลยซ่อนรถจักรยานยนต์ของตนไว้ทั้งๆที่ทราบดีว่าจำเลยกับพวกวางเพลิงพฤติการณ์ดังกล่าวจึงเป็นการผิดปกติวิสัยของบุคคลผู้ถูกหลอกลวงให้เดินทางไปกับคนร้ายและพบการกระทำความผิดที่ร้ายแรงเพราะโดยสัญชาตญาณของผู้ที่ประสบเหตุร้ายแรงดังกล่าวและในฐานะที่เป็นชาวมุสลิมเช่นเดียวกับประชาชนส่วนใหญ่ในละแวกที่เกิดเหตุพยานน่าที่จะร้องตะโกนบอกให้ประชาชนเหล่านั้นทราบเพื่อจะได้ช่วยกันดับเพลิงและแจ้งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองทราบในโอกาสต่อมาแต่ไม่ปรากฏว่าพยานได้ดำเนินการใดๆคงเก็บงำไว้เป็นเวลานานถึง2วันจึงเล่าให้ส. เพื่อนร่วมงานฟังเป็นการผิดปกติวิสัยของบุคคลผู้อยู่ในภาวะเช่นพยานจะพึงกระทำจึงเป็นการส่อพิรุธว่าพยานอาจจะไม่รู้เหตุการณ์ดังที่เบิกความในคืนเกิดเหตุนอกจากจะมีการวางเพลิงโรงเรียนที่เกิดเหตุแล้วยังมีการวางเพลิงโรงเรียนอื่นในเขตจังหวัดสงขลายะลาปัตตานีและนราธิวาสในเวลาเดียวกันได้ใช้วิธีการและวัสดุเชื้อเพลิงเหมือนๆกันอีกถึง37แห่งเชื่อว่าเป็นการกระทำของกลุ่มขบวนการก่อการร้ายเดียวกันซึ่งดำเนินงานอย่างมีระบบโดยวางแผนกำหนดตัวบุคคลวิธีการปฏิบัติตลอดถึงวัสดุเชื้อเพลิงที่ใช้ไว้อย่างรอบคอบและรัดกุมงานก่อการร้ายจึงสำเร็จลุล่วงไปได้ตัวบุคคลผู้ดำเนินงานจึงน่าจะเป็นผู้ที่อยู่ในขบวนการเดียวกันและไว้วางใจได้ไม่มีเหตุอันใดที่จะชักชวนบุคคลอื่นซึ่งอยู่นอกขบวนการให้เข้ามาทำงานเพราะอาจทำให้แผนงานที่กำหนดไว้เสียหายและยังเป็นการเปิดเผยความลับของขบวนการแก่บุคคลภายนอกอีกด้วยฉะนั้นคำเบิกความของพยานจึงขัดต่อเหตุผลไม่น่าเชื่อถือพยานหลักฐานโจทก์มีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้หรือไม่จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา227วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7624/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกทุนทรัพย์ตามสัญญา และการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเกินกำหนด
หนี้ตามสัญญายืมที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องและหนี้ตามสัญญาจ้างที่โจทก์ฟ้อง ต่างเป็นหนี้คนละรายกัน และมูลความแห่งคดีของหนี้ทั้งสองรายสามารถแยกออกจากกันได้ ดังนั้นทุนทรัพย์ในคดีจึงต้องแยกตามสัญญายืมและสัญญาจ้างเป็นคนละส่วนกัน
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม พร้อมกับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลชั้นต้นขณะ ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 13) พ.ศ.2535 ใช้บังคับการที่จำเลยยื่นคำร้องดังกล่าวหลังจากที่การชี้สองสถานเสร็จไปแล้ว จึงเป็นการยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตามมาตรา 88 วรรคหนึ่ง ได้สิ้นสุดลง แต่เมื่อตามคำฟ้องและสำเนาสัญญาจ้างกับสำเนารายการเบิกเงินงวดงานเอกสารท้ายฟ้องก็ได้ความชัดว่าโจทก์รับจ้างก่อสร้างซึ่งไม่รวมถึงงานติดตั้งระบบประปา และระบบสุขาภิบาลทั้งจำเลยก็ยอมรับในฎีกาว่า โจทก์และจำเลยทำสัญญาติดตั้งระบบประปาและระบบสุขาภิบาลภายหลังที่ทำสัญญาจ้างฉบับที่พิพาทกันแล้ว ดังนั้นจำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วว่ามีสัญญาดังกล่าวมาแต่แรกและจำเลยสามารถยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้ตามที่มาตรา 88 วรรคหนึ่ง กำหนดเวลาไว้ ดังนี้ คำร้องดังกล่าวของจำเลยจึงยื่นฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคท้าย ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม พร้อมกับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลชั้นต้นขณะ ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 13) พ.ศ.2535 ใช้บังคับการที่จำเลยยื่นคำร้องดังกล่าวหลังจากที่การชี้สองสถานเสร็จไปแล้ว จึงเป็นการยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตามมาตรา 88 วรรคหนึ่ง ได้สิ้นสุดลง แต่เมื่อตามคำฟ้องและสำเนาสัญญาจ้างกับสำเนารายการเบิกเงินงวดงานเอกสารท้ายฟ้องก็ได้ความชัดว่าโจทก์รับจ้างก่อสร้างซึ่งไม่รวมถึงงานติดตั้งระบบประปา และระบบสุขาภิบาลทั้งจำเลยก็ยอมรับในฎีกาว่า โจทก์และจำเลยทำสัญญาติดตั้งระบบประปาและระบบสุขาภิบาลภายหลังที่ทำสัญญาจ้างฉบับที่พิพาทกันแล้ว ดังนั้นจำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วว่ามีสัญญาดังกล่าวมาแต่แรกและจำเลยสามารถยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้ตามที่มาตรา 88 วรรคหนึ่ง กำหนดเวลาไว้ ดังนี้ คำร้องดังกล่าวของจำเลยจึงยื่นฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคท้าย ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจน ความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท โจทก์มีหน้าที่สืบพยาน
แม้ตามคำฟ้องโจทก์ได้แยกกระทงเรียงเป็นลำดับว่าเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม กล่าวคือ ข้อแรก จำเลยทั้งห้าร่วมกันทำไม้มะค่าโมงซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในเขตป่าขุนซ่องโดยใช้เลื่อยโซ่ยนต์ตัดฟันเป็นท่อน ๆรวม 2 ท่อน วัดปริมาตรได้ 3.48 ลูกบาศก์เมตร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่...ฯลฯ... ข้อสอง จำเลยทั้งห้าร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินบุกรุกเข้าไปทำไม้ ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นการกระทำให้เกิดการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เข้าไปทำไม้มะค่าโมงจำนวน 2 ต้น ทำลายต้นไม้ในป่าขุนซ่องอันเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต...ฯลฯ... ก็ตาม แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันเวลาในการกระทำผิดว่า จำเลยทั้งห้ากระทำผิดในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2538 เวลากลางวัน โดยไม่ได้ระบุว่าการกระทำผิดฐานใดกระทำในวันเวลาใดให้ชัดแจ้ง การบรรยายฟ้องดังกล่าวจึงถือได้ว่าจำเลยทั้งห้ากระทำความผิดในคราวเดียวกันเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท มิใช่เป็นการกระทำคนละคราวอันจะเป็นความผิดหลายกรรม
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าฐานร่วมกันลักลอบนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางอันเป็นของผลิตในต่างประเทศที่ยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร หรือรับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์โดยจำเลยทั้งห้ารู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้ลักลอบนำเข้าหลบหนีด่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้นอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27, 27 ทวิ แสดงว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียวเพราะความผิดดังกล่าวเป็นความผิดคนละฐาน ดังนี้ ศาลจะลงโทษจำเลยทั้งห้าในทั้งสองฐานความผิดย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิดฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยทั้งห้า เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยทั้งห้าไม่ได้ และหากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้งโจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย คดีจึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคำให้การของจำเลยทั้งห้าใหม่
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าฐานร่วมกันลักลอบนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางอันเป็นของผลิตในต่างประเทศที่ยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร หรือรับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์โดยจำเลยทั้งห้ารู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้ลักลอบนำเข้าหลบหนีด่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้นอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27, 27 ทวิ แสดงว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียวเพราะความผิดดังกล่าวเป็นความผิดคนละฐาน ดังนี้ ศาลจะลงโทษจำเลยทั้งห้าในทั้งสองฐานความผิดย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิดฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยทั้งห้า เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยทั้งห้าไม่ได้ และหากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้งโจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย คดีจึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคำให้การของจำเลยทั้งห้าใหม่