คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พยานบุคคล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 235 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7009/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขาย: ห้ามเปลี่ยนแปลงแก้ไขด้วยพยานบุคคล
ตามสัญญาจะซื้อจะขายไม่มีข้อความว่า จำเลยต้องจัดการให้ผู้เช่าขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่ 1กันยายน 2533 การที่โจทก์อ้างและนำสืบว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญา เพราะไม่จัดการให้ผู้เช่าออกไปจากที่ดินพิพาท จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งโจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง การนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารเช่นนี้ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) ไม่อาจรับฟังตามที่โจทก์นำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7009/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาด้วยพยานบุคคลขัดต่อหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ตามสัญญาจะซื้อจะขายไม่มีข้อความว่าจำเลยต้องจัดการให้ผู้เช่าขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่1 กันยายน 2533 การที่โจทก์อ้างและนำสืบว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญา เพราะไม่จัดการให้ผู้เช่าออกไปจากที่ดินพิพาท จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งโจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารเช่นนี้ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)ไม่อาจรับฟังตามที่โจทก์นำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6315/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองและกู้ต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบพยานบุคคลขัดกับข้อตกลงในสัญญา
สัญญากู้และสัญญาจำนอง ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่งและมาตรา 714 บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อโจทก์มีสัญญากู้และสัญญาจำนองมาแสดง จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อตกลงเพิ่มเติมไปกว่าข้อความที่มีอยู่ในสัญญาทั้งสองนั้นอยู่อีก จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความแพ่ง มาตรา 94 (ข)
ปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) นี้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขี้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6315/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาที่ต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบพยานบุคคลขัดต่อมาตรา 94(ข) ว.พ.พ.
สัญญากู้และสัญญาจำนองประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งและมาตรา 714 บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อโจทก์มีสัญญากู้และสัญญาจำนองมาแสดง จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อตกลงเพิ่มเติมไปกว่าข้อความที่มีอยู่ในสัญญาทั้งสองนั้นอยู่อีก จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ปัญหาข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) นี้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพชั้นสอบสวนเป็นหลักฐานสำคัญประกอบการพิสูจน์ความผิด แม้ไม่มีพยานบุคคล
คำเบิกความของพนักงานสอบสวนพยานโจทก์ที่ว่า พยานเป็นผู้ร่วมสอบสวนจำเลย จำเลยได้ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน มีการจัดให้จำเลยนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและถ่ายภาพไว้ เป็นคำเบิกความของประจักษ์-พยานในข้อที่ว่าคดีนี้มีการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนคนใดและจำเลยให้การชั้นสอบสวนว่าอย่างไร
จำเลยให้รายละเอียดต่าง ๆ ในการร่วมกระทำความผิดกับพวกตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาและบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพรวมทั้งภาพถ่ายไว้เป็นขั้นเป็นตอนมีเหตุมีผลต่อเนื่องเชื่อมโยงกันควรแก่การเชื่อถือฟังได้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพทั้งในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนโดยความสมัครใจตามความเป็นจริง แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นการกระทำความผิดของจำเลยและพวก แต่เมื่อฟังคำเบิกความของพนักงานสอบสวนกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนประกอบกันแล้ว เชื่อได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้ร่วมกับพวกทำการลักรถยนต์ของผู้เสียหายไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน การเลื่อนกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงด้วยพยานบุคคล
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้โจทก์ โดยกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ในหนังสือสัญญาจะซื้อขายการที่โจทก์นำสืบว่ามีการเลื่อนกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์จากวันที่กำหนดไว้ในสัญญาหาใช่นำสืบว่าวันที่กำหนดโอนไว้ในสัญญาไม่ใช่วันที่ระบุไว้ในสัญญา จึงมิใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายความหมายของสัญญาเช่า ไม่ถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา
สัญญาเช่าและหนังสือต่อท้ายสัญญาเช่าระบุไว้แต่เพียงว่าจำเลยจะต้องสร้างตึกแถวอาคารพาณิชย์เท่านั้นการที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่ามีข้อตกลงด้วยวาจาว่าจำเลยจะต้องสร้างตึกแถวอาคารพาณิชย์3ชั้นและ2ชั้นหน้ากว้าง4เมตรลึก14ถึง16เมตรเป็นการนำสืบอธิบายความหมายของคำว่าตึกแถวอาคารพาณิชย์ในสัญญาไม่ใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าและหนังสือต่อท้ายสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)โจทก์จึงนำพยานบุคคลมาสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานบุคคลเพื่อพิสูจน์เอกสารปลอม แม้ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นแรก ก็ทำได้หากมีเหตุตามฟ้อง
การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าโจทก์ที่2ไม่ได้ไปสำนักงานที่ดินในวันทำสัญญา ซื้อขาย ที่ดิน และไม่ทราบว่าเพราะเหตุใดจึงมีลายมือชื่อโจทก์ที่2ปรากฏอยู่ในหนังสือ สัญญาซื้อขายที่ดินที่ระบุว่า จ. กับโจทก์ที่2และจำเลยร่วมกันเป็นผู้ซื้อนั้นเป็นการนำสืบเพื่อแสดงว่าเอกสารนั้นเป็น เอกสารปลอม จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้เช่นนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคสอง โจทก์ทั้งสี่เพียงแต่ บรรยายฟ้องว่าโจทก์ที่2ในฐานะส่วนตัวมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์กับเจ้ามรดกและจำเลยโดยมิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้มี สิทธิครอบครองที่ดินจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะต้องให้การถึงหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวฉะนั้นเมื่อต่อมาโจทก์นำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินนั้นมาสืบจำเลยย่อมมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบว่าเป็นเอกสารปลอมเพื่อสนับสนุนข้อเถียงของจำเลยที่ได้ให้การว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินได้ไม่เป็นการสืบนอกคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2772/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานบุคคลเพื่อขยายความสัญญาที่ไม่ชัดเจน ย่อมทำได้หากเพื่อทำให้สัญญานั้นชัดเจนขึ้น
สัญญาซื้อขายมีความว่า ผู้ขายได้ขายที่นา 2 ไร่เศษ ให้แก่ผู้ซื้อและยอมส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ซื้อชำระไว้ 30,000 บาท ก่อนและยังค้างผู้ซื้ออีก 10,000 บาท เป็นสัญญาซื้อขายที่ไม่ได้ระบุจำนวนเนื้อที่ดินไว้แน่นอน และไม่ได้กำหนดเวลาชำระเงินที่เหลือไว้ จึงเป็นสัญญาที่ไม่ชัดแจ้งการที่โจทก์ผู้ซื้อนำสืบพยานบุคคลว่า ยังต้องทำการรังวัดจำนวนเนื้อที่ดินกันก่อนแล้วจึงชำระราคาส่วนที่เหลือในวันโอนกรรมสิทธิ์ จึงเป็นการนำสืบถึงข้อตกลงต่างหากจากสัญญาซื้อขาย เพื่อให้สัญญาชัดเจนขึ้นและปฏิบัติตามสัญญาได้ โจทก์จึงมีสิทธินำสืบพยานบุคคลได้ ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อความในเอกสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2772/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ไม่ชัดเจน การนำสืบพยานบุคคลเพื่อขยายความสัญญาไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญา
สัญญาซื้อขายมีความว่า ผู้ขายได้ขายที่นา 2 ไร่เศษให้แก่ผู้ซื้อและยอมส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อผู้ซื้อชำระไว้ 30,000 บาท ก่อนและยังค้างผู้ซื้ออีก10,000 บาท เป็นสัญญาซื้อขายที่ไม่ได้ระบุจำนวนเนื้อที่ดินไว้แน่นอน และไม่ได้กำหนดเวลาชำระเงินที่เหลือไว้ จึงเป็นสัญญาที่ไม่ชัดแจ้ง การที่โจทก์ผู้ซื้อนำสืบพยานบุคคลว่ายังต้องทำการรังวัดจำนวนเนื้อที่ดินกันก่อน แล้วจึงชำระราคาส่วนที่เหลือในวันโอนกรรมสิทธิ์ จึงเป็นการนำสืบถึงข้อตกลงต่างหากจากสัญญาซื้อขาย เพื่อให้สัญญาชัดเจนขึ้นและปฏิบัติตามสัญญาได้ โจทก์จึงมีสิทธินำสืบพยานบุคคลได้ ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อความในเอกสาร
of 24