พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความคุ้มครองของ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 ไม่ครอบคลุมความผิดฐานนำเข้าอาวุธปืนจากต่างประเทศ
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 5 มุ่งคุ้มครองเฉพาะความผิดฐานมีอาวุธปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามเท่านั้นไม่ คุ้มครองถึงความผิดฐานนำเข้ามาจากภายนอกราชอาณาจักรซึ่งอาวุธปืนดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ฉบับแก้ไขต่อคดีอาญา: การยกฟ้องจากเหตุขออนุญาตภายในเก้าสิบวัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดฐานปล้นทรัพย์และร่วมกันมีอาวุธปืนฯ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้องในข้อหาปล้นทรัพย์ และยกฟ้องโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1 ในข้อหามีอาวุธปืนฯ โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 2 มิได้ฎีการะหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 ออกมาใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 3 บัญญัติความว่า ผู้มีอาวุธปืนฯซึ่งยังไม่ได้รับอนุญาตถ้าได้นำมาขอรับอนุญาตภายในกำหนดเก้าสิบวันผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ ฉะนั้นจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับโทษ
แม้ข้อหาฐานมีอาวุธปืนฯ สำหรับจำเลยที่ 2 จะยุติในชั้นอุทธรณ์แล้วก็ตาม แต่คดีของจำเลยที่ 2 ก็ยังไม่ถึงที่สุด จึงต้องนำพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 3 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 2 ด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานนี้เช่นกัน
แม้ข้อหาฐานมีอาวุธปืนฯ สำหรับจำเลยที่ 2 จะยุติในชั้นอุทธรณ์แล้วก็ตาม แต่คดีของจำเลยที่ 2 ก็ยังไม่ถึงที่สุด จึงต้องนำพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 3 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 2 ด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานนี้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นโทษทางอาญาจาก พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 กรณีมอบอาวุธปืนให้ นายทะเบียน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่ใช้เฉพาะในการสงครามไว้ในครอบครอง ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 5 บัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะในการสงคราม นำไปมอบให้นายทะเบียนท้องที่ภายใน 90 วันนับแต่วันพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ ดังนั้น แม้จะฟังข้อเท็จจริงได้ตามฟ้อง จำเลยก็ได้รับยกเว้นโทษ จะริบอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางอันเป็นทรัพย์สินที่จะพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 ไม่ได้ เพราะกฎหมายผ่อนผันให้ผู้มีไว้ในครอบครองนำไปมอบให้นายทะเบียนท้องที่ภายใน 90 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งกายด้วยเครื่องแบบทหารบางส่วนไม่ถือเป็นความผิดฐานแต่งเครื่องแบบทหาร
จำเลยแต่งกายด้วยกางเกงขายาวสีกากีแกมเขียวรองเท้าหุ้มข้อหนังสีดำเข็มขัดผ้าสีกากีแกมเขียว มีหัวเข็มขัดโลหะทองเหลืองเครื่องหมายกองทัพบกซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครื่องแบบทหารตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร พ.ศ.2477มาตรา 4 ยังไม่เรียกว่า แต่งเครื่องแบบทหารตามความหมายในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2485 ที่ยกเลิกแก้ไขมาตรา 6 เดิม จำเลยจึงยังไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งกายด้วยเครื่องแบบทหารบางส่วนไม่ถือเป็นความผิดฐานแต่งเครื่องแบบทหารโดยไม่มีสิทธิ
จำเลยแต่งกายด้วยกางเกงขายาวสีกากีแกมเขียว รองเท้าหุ้มข้อหนังสีดำเข็มขัดผ้าสีกากีแกมเขียว มีหัวเข็มขัดโลหะทองเหลืองเครื่องหมายกองทัพบกซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครื่องแบบทหารตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร พ.ศ.2477 มาตรา 4 ยังไม่เรียกว่า แต่งเครื่องแบบทหาร ตามความหมายในมาตรา 3แห่งพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2485 ที่ยกเลิกแก้ไขมาตรา 6 เดิม จำเลยจึงยังไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการยกเว้นโทษ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2510: ครอบคลุมเฉพาะอาวุธปืนที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 มาตรา 5, 6ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืนบางชนิดซึ่งยังมิได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายหรือยังมิได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนฯ มาขอรับอนุญาตเพื่อปฏิบัติการให้ถูกต้องตามกฎหมายภายในกำหนดเวลา โดยไม่ต้องรับโทษนั้น หมายความถึงอาวุธปืนที่ยังไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นมิได้หมายความรวมถึงอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ แล้ว ฉะนั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยมีอาวุธปืนที่มีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในความครอบครองโดยไม่รับอนุญาตก็ไม่มีเหตุจะอ้างว่า จำเลยไม่ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้
(เทียบฎีกาประชุมใหญ่ที่ 295/2513)
(เทียบฎีกาประชุมใหญ่ที่ 295/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้กฎหมายอาวุธปืน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510: เฉพาะอาวุธที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
พระราชบัญญัติอาวุธปืน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 มาตรา 5 ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืนบางชนิดซึ่งยังมิได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายมาขอรับอนุญาต เพื่อปฏิบัติการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ภายในกำหนดเวลาโดยไม่ต้องรับโทษนั้นหมายความถึงอาวุธปืนที่ยังไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว ฉะนั้นเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยมีอาวุธปืนที่มีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในความครอบครองโดยไม่รับอนุญาต ก็ไม่มีเหตุที่จะอ้างว่าจำเลยไม่ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2513)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้มาตรา 5 พ.ร.บ.อาวุธปืน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 เฉพาะอาวุธปืนที่ยังไม่ได้รับอนุญาต
พระราชบัญญัติอาวุธปืน(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 มาตรา 5ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืนบางชนิดซึ่งยังมิได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายมาขอรับอนุญาตเพื่อปฏิบัติการให้ถูกต้องตามกฎหมายภายในกำหนดเวลาโดยไม่ต้องรับโทษนั้นหมายความถึงอาวุธปืนที่ยังไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว ฉะนั้นเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยมีอาวุธปืนที่มีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในความครอบครองโดยไม่รับอนุญาตก็ไม่มีเหตุที่จะอ้างว่าจำเลยไม่ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2513)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินหลังการขายและการเช่า การบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา และการเรียกร้องค่าเสียหาย
ที่พิพาทเป็นที่นาซึ่งไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน เมื่อเจ้าของขายและมอบการครอบครองให้โจทก์แล้ว โจทก์ก็ได้สิทธิครอบครองในที่นั้น ไม่ใช่โจทก์ได้สิทธิครอบครองโดยการแจ้งการครอบครอง
จำเลยทำหนังสือสัญญาเช่ากับโจทก์ตลอดมาจนถึง พ.ศ. 2503 แต่เมื่อที่พิพาทที่จำเลยเช่ามีเนื้อที่เพียง 40 ไร่ และอยู่ตำบลบางเพรียง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นท้องที่ที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2493 และพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 9(2) กำหนดให้สัญญาเช่ามีอายุต่อไปอีก 5 ปีในเมื่อจำเลยประสงค์จะเช่าต่อไป เมื่อจำเลยยังคงยึดถือครอบครองนาพิพาทต่อมา ก็ต้องถือว่าจำเลยประสงค์จะเช่าต่อไป สัญญาเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยจึงมีอายุต่อไป 5 ปี คือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 ถึง พ.ศ. 2507 เมื่อถือว่าจำเลยเช่านาจากโจทก์ตลอดมา กรณีเป็นเรื่องจำเลยยึดถือครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ในฐานะผู้เช่า จำเลยไม่มีสิทธิครอบครองในที่พิพาท คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ตลอดมาจนถึง พ.ศ. 2503 และสัญญาเช่ามีอายุต่อไปจนถึง พ.ศ. 2507 ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2493 มาตรา (2) แม้สัญญาเช่าจะมิได้ทำเป็นหนังสือ จำเลยก็ต้องชำระค่าเช่านาในปีการเช่าดังกล่าวให้โจทก์ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2493 มาตรา 12
เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยมีอายุเพียงสิ้น พ.ศ. 2507 การที่จำเลยยังคงทำนาพิพาทตลอดมา ต้องถือว่าจำเลยเข้าทำโดยละเมิดต่อโจทก์ แม้โจทก์จะขอให้จำเลยชำระค่าเช่าจนกว่าจำเลยจะเลิกทำนา ก็เป็นที่เห็นได้ว่า ค่าเช่าที่โจทก์ฟ้องเรียกตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยไม่มีสัญญาเช่าผูกพันต่อกันนั้นก็คือค่าเสียหายนั่นเอง ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยชดใช้ให้โจทก์ได้ (อ้างฎีกา 857-859/2503)
จำเลยทำหนังสือสัญญาเช่ากับโจทก์ตลอดมาจนถึง พ.ศ. 2503 แต่เมื่อที่พิพาทที่จำเลยเช่ามีเนื้อที่เพียง 40 ไร่ และอยู่ตำบลบางเพรียง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นท้องที่ที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2493 และพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 9(2) กำหนดให้สัญญาเช่ามีอายุต่อไปอีก 5 ปีในเมื่อจำเลยประสงค์จะเช่าต่อไป เมื่อจำเลยยังคงยึดถือครอบครองนาพิพาทต่อมา ก็ต้องถือว่าจำเลยประสงค์จะเช่าต่อไป สัญญาเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยจึงมีอายุต่อไป 5 ปี คือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 ถึง พ.ศ. 2507 เมื่อถือว่าจำเลยเช่านาจากโจทก์ตลอดมา กรณีเป็นเรื่องจำเลยยึดถือครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ในฐานะผู้เช่า จำเลยไม่มีสิทธิครอบครองในที่พิพาท คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ตลอดมาจนถึง พ.ศ. 2503 และสัญญาเช่ามีอายุต่อไปจนถึง พ.ศ. 2507 ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2493 มาตรา (2) แม้สัญญาเช่าจะมิได้ทำเป็นหนังสือ จำเลยก็ต้องชำระค่าเช่านาในปีการเช่าดังกล่าวให้โจทก์ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2493 มาตรา 12
เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยมีอายุเพียงสิ้น พ.ศ. 2507 การที่จำเลยยังคงทำนาพิพาทตลอดมา ต้องถือว่าจำเลยเข้าทำโดยละเมิดต่อโจทก์ แม้โจทก์จะขอให้จำเลยชำระค่าเช่าจนกว่าจำเลยจะเลิกทำนา ก็เป็นที่เห็นได้ว่า ค่าเช่าที่โจทก์ฟ้องเรียกตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยไม่มีสัญญาเช่าผูกพันต่อกันนั้นก็คือค่าเสียหายนั่นเอง ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยชดใช้ให้โจทก์ได้ (อ้างฎีกา 857-859/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1629/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.ค้าของเก่า: ไม่ครอบคลุมผู้ค้าเร่
พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ. 2474 มุ่งประสงค์ควบคุมการค้าของเก่าอันมีที่ทำการค้า มิได้มุ่งหมายถึงหาบเร่ซื้อของเก่าไปขายแก่ร้านค้าของเก่า