พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4186/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมเปรียบเทียบปรับในความผิดศุลกากร ถือเป็นการยอมรับความเท็จของพิกัดอัตราศุลกากร ทำให้สิทธิในการฟ้องร้องคดีแพ่งหมดไป
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงว่า เป็นสินค้าอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 34.02 ข. และได้ชำระอากรขาเข้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทดังกล่าว ต่อมากรมศุลกากรจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์ว่าโจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าที่โจทก์นำเข้าไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้โจทก์เสียค่าอากรขาดไปและแจ้งด้วยว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นความผิดอาญาฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 99 และมาตรา 27 ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรจำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบปรับและงดการฟ้องร้องได้แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 102 หรือ 102 ทวิ ดังนี้ ถ้าโจทก์เห็นว่าการที่โจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าวยังไม่เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามข้อกล่าวหาของจำเลยที่ 1 โจทก์ก็ต้องไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบและไม่ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบปรับและได้ชำระค่าปรับตามที่จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบกับชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าที่ขาดเรียบร้อยแล้ว ย่อมเป็นการเปรียบเทียบปรับที่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับแล้วว่าพิกัดอัตราศุลกากรที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้านั้นเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรถึงแม้ว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาจะจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทอื่นก็ตาม โจทก์จะนำมาเป็นมูลฟ้องเป็นคดีแพ่งไม่ได้ และการที่โจทก์ขอสงวนสิทธิ์โต้แย้งไว้ก็ไม่เพียงพอให้ถือว่าโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: วอเตอร์ชิลเลอร์เป็นเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องทำความเย็น เพื่อการลดหย่อนอากร
เครื่องวอเตอร์ชิลเลอร์ เป็นเครื่องปรับอากาศที่อาศัยน้ำเป็นตัวสื่อ ทำความเย็น ไม่ใช่เครื่องทำน้ำเย็น เมื่อโจทก์นำเข้ามาเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรม โจทก์จึงมีสิทธิได้ลดอากรเหลืออัตราร้อยละ 30ตามประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก. 10/2525.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรแผ่นเพลทกับฟิล์ม: สินค้าใดได้รับการลดหย่อนอากร
กรรมวิธีในการทำภาพในแผ่นแม่พิมพ์หรือเพลท จะต้องใช้ฟิล์มโพสซิติปทาบกับแผ่นเพลท แล้วปิดด้วยกระจกอัดให้ฟิล์มสนิทนแน่นกับแผ่นเพลทโดยวิธีดูดลม จากนั้นจึงฉายแสงอุลตราไวโอเลตผ่านฟิล์ม แล้วนำแผ่นเพลทไปล้างด้วยสารละลายจึงจะปรากฏภาพบนแม่พิมพ์หรือเพลทนั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์นำเข้าแผ่นอะลูมิเนียมเคลือบสารไวแสงใช้ทำเป็นแม่พิมพ์ สินค้าดังกล่าวจึงเป็นแผ่นเพลทสำหรับใช้ทำแม่พิมพ์ มิใช่ฟิล์มสำหรับใช้ในการทำแม่พิมพ์ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 37.01 ข. จึงมิได้รับการลดอัตราอากรจากอัตราร้อยละ 40 ลงเหลือร้อยละ 10 ตามประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.4/2515 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2515 ที่ใช้บังคับขณะนำเข้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: แผ่นเพลท vs. ฟิล์มสำหรับทำแม่พิมพ์ และสิทธิในการลดหย่อนอัตราอากร
กรรมวิธีในการทำภาพในแผ่นแม่พิมพ์หรือเพลท จะต้องใช้ฟิล์มโพสซิติปทาบกับแผ่นเพลท แล้วปิดด้วยกระจกอัดให้ฟิล์มสนิทนแน่นกับแผ่นเพลทโดยวิธีดูดลม จากนั้นจึงฉายแสงอุลตราไวโอเลตผ่านฟิล์ม แล้วนำแผ่นเพลทไปล้างด้วยสารละลายจึงจะปรากฏภาพบนแม่พิมพ์หรือเพลทนั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์นำเข้าแผ่นอะลูมิเนียมเคลือบสารไวแสงใช้ทำเป็นแม่พิมพ์ สินค้าดังกล่าวจึงเป็นแผ่นเพลทสำหรับใช้ทำแม่พิมพ์ มิใช่ฟิล์มสำหรับใช้ในการทำแม่พิมพ์ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 37.01ข. จึงมิได้รับการลดอัตราอากรจากอัตราร้อยละ 40 ลงเหลือร้อยละ 10 ตามประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.4/2515 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม2515 ที่ใช้บังคับขณะนำเข้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทพิกัดอัตราศุลกากรของพลาสติกม้วน: เศษพลาสติกหรือพลาสติกสำเร็จรูป
สินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นพลาสติกที่เป็นแผ่นหรือแถบซึ่งม้วนพันอยู่รอบแกนกระดาษ ด้านข้างทั้งสองด้านรวมทั้งแกนกระดาษตัดเรียบเสมอกันเป็นพลาสติกใสไม่ยับยู่ยี่ ทุกม้วนหน้ากว้าง 8 นิ้ว หนักม้วนละ 16.5 ปอนด์ ซึ่งบางม้วนมีกระดาษปิดบอกน้ำหนัดไว้ทั้งยังมีพลาสติกพันหรือหุ้มห่อไว้อีกชั้นหนึ่งสภาพดีใช้การได้ มีสภาพแตกต่างจากเศษพลาสติกที่นำเข้ามาพร้อมกัน ถือได้ว่าเป็นพลาสติกสำเร็จรูปต้องชำระอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่ 39.02 ข.แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 จึงมิใช่เศษพลาสติกที่ใช้เป็นวัตถุดิบ สำหรับเอามาหล่อ หลอม อัด หรือผสมเป็นของสำเร็จรูปรวมทั้งการที่ต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่39.02 ก..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทพิกัดอัตราศุลกากรของพลาสติกม้วน: เศษพลาสติกหรือพลาสติกสำเร็จรูป
สินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นพลาสติกที่เป็นแผ่นหรือแถบซึ่งม้วนพันอยู่รอบแกนกระดาษ ด้านข้างทั้งสองด้านรวมทั้งแกนกระดาษตัดเรียบเสมอกันเป็นพลาสติกใสไม่ยับยู่ยี่ทุกม้วนหน้ากว้าง 8 นิ้ว หนักม้วนละ 16.5 ปอนด์ซึ่งบางม้วนมีกระดาษปิดบอกน้ำหนัดไว้ทั้งยังมีพลาสติกพันหรือหุ้มห่อไว้อีกชั้นหนึ่งสภาพดีใช้การได้ มีสภาพแตกต่างจากเศษพลาสติกที่นำเข้ามาพร้อมกัน ถือได้ว่าเป็นพลาสติกสำเร็จรูปต้องชำระอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่ 39.02 ข.แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 จึงมิใช่เศษพลาสติกที่ใช้เป็นวัตถุดิบ สำหรับเอามาหล่อ หลอม อัด หรือผสมเป็นของสำเร็จรูปรวมทั้งการที่ต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่39.02ก..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: คอนเดนเซอร์เป็นส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ ไม่ใช่เครื่องจักร
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 35) พ.ศ. 2521 ซึ่งใช้บังคับขณะมีข้อพิพาท ไม่ได้ให้ความหมายของคำว่าเครื่องจักรไว้เป็นพิเศษ จึงต้องถือตามความหมายธรรมดา ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่าเป็นกลอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามคำเบิกความของพยานโจทก์จำเลยไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์สามารถนำไปใช้ผลิตอะไรขึ้นมาได้โดยลำพังอันจะถือได้ว่าเป็นเครื่องจักร
สินค้าที่จะถือว่าอยู่ในพิกัดประเภทที่ 84.17 ก. นั้นจะต้องเป็นเครื่องจักร เครื่องจักรโรงงานหรือเครื่องที่คล้ายกันสำหรับใช้ในห้องทดลองเสียก่อน และเครื่องจักรจะเข้าอยู่ในพิกัดประเภทดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นเครื่องจักรที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพโดยกรรมวิธีดังที่ระบุไว้ด้วย แม้คอนเดนเซอร์จะสามารถเปลี่ยนสภาพของก๊าซได้โดยกรรมวิธีที่ระบุไว้ในพิกัดประเภทที่ 84.17 ก. ก็หาได้หมายความว่าคอนเดนเซอร์จะกลายเป็นเครื่องจักรไปด้วยไม่ ไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์สามารถนำไปใช้ผลิตอะไรขึ้นมาได้โดยลำพังอันจะถือได้ว่าเป็นเครื่องจักร หากแต่ต้องนำไปประกอบกับส่วนประกอบอื่นๆ อีก จึงสามารถทำงานเป็นเครื่องปรับอากาศได้ คอนเดนเซอร์จึงมีลักษณะเป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศยิ่งกว่าเป็นเครื่องจักรในตัวของมันเอง จึงต้องเสียอากรตามพิกัดประเภทที่ 84.15 ข. หาใช่พิกัดประเภทที่ 84.17 ก. ซึ่งมิได้กล่าวถึงส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศไว้แต่อย่างใดไม่
ไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เมื่อสามารถนำคอนเดนเซอร์ไปใช้ประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศได้มาแต่เดิมก็ต้องถือว่าเป็นเครื่องประกอบเครื่องปรับอากาศมาตั้งแต่ตอนโจทก์นำเข้ามาจากต่างประเทศแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้นำส่วนประกอบอื่นเข้ามาด้วย และยังไม่ได้มีการประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศก็ตาม
สินค้าที่จะถือว่าอยู่ในพิกัดประเภทที่ 84.17 ก. นั้นจะต้องเป็นเครื่องจักร เครื่องจักรโรงงานหรือเครื่องที่คล้ายกันสำหรับใช้ในห้องทดลองเสียก่อน และเครื่องจักรจะเข้าอยู่ในพิกัดประเภทดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นเครื่องจักรที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพโดยกรรมวิธีดังที่ระบุไว้ด้วย แม้คอนเดนเซอร์จะสามารถเปลี่ยนสภาพของก๊าซได้โดยกรรมวิธีที่ระบุไว้ในพิกัดประเภทที่ 84.17 ก. ก็หาได้หมายความว่าคอนเดนเซอร์จะกลายเป็นเครื่องจักรไปด้วยไม่ ไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์สามารถนำไปใช้ผลิตอะไรขึ้นมาได้โดยลำพังอันจะถือได้ว่าเป็นเครื่องจักร หากแต่ต้องนำไปประกอบกับส่วนประกอบอื่นๆ อีก จึงสามารถทำงานเป็นเครื่องปรับอากาศได้ คอนเดนเซอร์จึงมีลักษณะเป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศยิ่งกว่าเป็นเครื่องจักรในตัวของมันเอง จึงต้องเสียอากรตามพิกัดประเภทที่ 84.15 ข. หาใช่พิกัดประเภทที่ 84.17 ก. ซึ่งมิได้กล่าวถึงส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศไว้แต่อย่างใดไม่
ไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เมื่อสามารถนำคอนเดนเซอร์ไปใช้ประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศได้มาแต่เดิมก็ต้องถือว่าเป็นเครื่องประกอบเครื่องปรับอากาศมาตั้งแต่ตอนโจทก์นำเข้ามาจากต่างประเทศแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้นำส่วนประกอบอื่นเข้ามาด้วย และยังไม่ได้มีการประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร กรณีซิลิโคนใช้ได้ทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป ต้องจัดเข้าประเภทอัตราอากรสูงที่สุด
ซิลิโคนบริสุทธิ์ที่โจทก์นำเข้ามาใช้ประโยชน์ทั้งสองทางพร้อมกันคือใช้ได้ทั้งเป็นวัตถุดิบและวัตถุสำเร็จรูป
การพิจารณาว่าซิลิโคนที่นำเข้าใช้เป็นวัตถุดิบหรือไม่ให้ดู 'ชนิด' ของซิลิโคน หาใช่ดูการใช้ซิลิโคนจำนวนนั้นจริง ๆ ไม่ เมื่อซิลิโคนที่โจทก์นำเข้าเป็นได้ทั้งชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบตามพิกัดประเภทที่ 39.01 ก. และวัตถุสำเร็จรูปอันเป็นชนิดอื่น ๆ ตามพิกัดประเภทที่ 39.01 ข. จึงเป็นกรณีของชนิดหนึ่งอาจจัดเข้าได้ 2 ประเภทหรือมากกว่านั้น ต้องอาศัยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร ตามภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 บังคับ กรณีนี้มิใช่ประเภทหนึ่งระบุลักษณะของของไว้ชัดแจ้ง และอีกประเภทหนึ่งระบุไว้อย่างกว้าง ๆ ตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ก) ทั้งมิใช่กรณีของซึ่งผสมหรือประกอบด้วยวัตถุต่างชนิดกันตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ข) จึงต้องเข้าประเภทซึ่งมีอัตราอากรสูงที่สุด คือประเภทที่ 39.01ข. ตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ค)
การพิจารณาว่าซิลิโคนที่นำเข้าใช้เป็นวัตถุดิบหรือไม่ให้ดู 'ชนิด' ของซิลิโคน หาใช่ดูการใช้ซิลิโคนจำนวนนั้นจริง ๆ ไม่ เมื่อซิลิโคนที่โจทก์นำเข้าเป็นได้ทั้งชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบตามพิกัดประเภทที่ 39.01 ก. และวัตถุสำเร็จรูปอันเป็นชนิดอื่น ๆ ตามพิกัดประเภทที่ 39.01 ข. จึงเป็นกรณีของชนิดหนึ่งอาจจัดเข้าได้ 2 ประเภทหรือมากกว่านั้น ต้องอาศัยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร ตามภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 บังคับ กรณีนี้มิใช่ประเภทหนึ่งระบุลักษณะของของไว้ชัดแจ้ง และอีกประเภทหนึ่งระบุไว้อย่างกว้าง ๆ ตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ก) ทั้งมิใช่กรณีของซึ่งผสมหรือประกอบด้วยวัตถุต่างชนิดกันตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ข) จึงต้องเข้าประเภทซึ่งมีอัตราอากรสูงที่สุด คือประเภทที่ 39.01ข. ตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ค)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: ซิลิโคนจัดอยู่ในประเภทวัตถุดิบหรือของสำเร็จรูป พิจารณาจากชนิด ไม่ใช่การใช้งาน
บัญชีพิกัดอัตราอากรขาเข้าตามภาค2ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2503พิกัดประเภทที่39.01กำหนดไว้ความว่าซิลิโคนก.ชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับเอามาหล่อหลอมอัดหรือผสมเป็นของสำเร็จรูปฯลฯอัตราอากรร้อยละ40ข.อื่นๆอัตราอากรร้อยละ60การพิจารณาว่าซิลิโคนที่นำเข้าใช้เป็นวัตถุดิบหรือไม่ให้ดู "ชนิด"ของซิลิโคนหาใช่ดูการใช้ซิลิโคนจำนวนนั้นจริงๆไม่เมื่อซิลิโคนที่โจทก์นำเข้าเป็นได้ทั้งชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบตามพิกัดประเภทที่39.01ก.และวัตถุสำเร็จรูปอันเป็นชนิดอื่นๆตามพิกัดประเภทที่39.01ข.จึงเป็นกรณีของชนิดหนึ่งอาจจัดเข้าได้2ประเภทหรือมากกว่านั้นต้องอาศัยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามภาค1ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2503บังคับกรณีนี้มิใช่ประเภทหนึ่งระบุลักษณะของไว้ชัดแจ้งและอีกประเภทหนึ่งระบุไว้อย่างกว้างๆตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ก)ทั้งมิใช่กรณีของซึ่งผสมหรือประกอบด้วยวัตถุต่างชนิดกันตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ข)จึงต้องจัดเข้าประเภทซึ่งมีอัตราอากรสูงที่สุดคือประเภท39.01ข.ตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ค)จำเลยเรียกเก็บในอัตราร้อยละ60จึงถูกต้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรกรณีซิลิโคนใช้ได้ทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป ต้องใช้หลักเกณฑ์อัตราอากรสูงที่สุด
ซิลิโคนบริสุทธิ์ที่โจทก์นำเข้ามาใช้ประโยชน์ทั้งสองทางพร้อมกันคือใช้ได้ทั้งเป็นวัตถุดิบและวัตถุสำเร็จรูป การพิจารณาว่าซิลิโคนที่นำเข้าใช้เป็นวัตถุดิบหรือไม่ให้ดู'ชนิด'ของซิลิโคนหาใช่ดูการใช้ซิลิโคนจำนวนนั้นจริงๆไม่เมื่อซิลิโคนที่โจทก์นำเข้าเป็นได้ทั้งชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบตามพิกัดประเภทที่39.01ก.และวัตถุสำเร็จรูปอันเป็นชนิดอื่นๆตามพิกัดประเภทที่39.01ข.จึงเป็นกรณีของชนิดหนึ่งอาจจัดเข้าได้2ประเภทหรือมากกว่านั้นต้องอาศัยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามภาค1ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2503บังคับกรณีนี้มิใช่ประเภทหนึ่งระบุลักษณะของของไว้ชัดแจ้งและอีกประเภทหนึ่งระบุไว้อย่างกว้างๆตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ก)ทั้งมิใช่กรณีของซึ่งผสมหรือประกอบด้วยวัตถุต่างชนิดกันตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ข)จึงต้องเข้าประเภทซึ่งมีอัตราอากรสูงที่สุดคือประเภทที่39.01ข.ตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ค).