พบผลลัพธ์ทั้งหมด 380 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลระหว่างพิจารณา และการรับฟังพยานหลักฐานจากเอกสารที่เจ้าหน้าที่รับรอง
การชี้สองสถานของศาลชั้นต้น หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นสั่งไม่ชอบอย่างไรก็ชอบที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ เพราะคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งนั้นต่อไป ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) เมื่อจำเลยมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงไม่อาจฎีกาในปัญหานี้ได้
การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีการนำชี้หรือทำแผนที่พิพาทประกอบคดีซึ่งหากจำเลยมีความจำนงที่จะดำเนินการเช่นนั้น ก็ชอบที่จะแสดงความจำนงต่อศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 แต่จำเลยมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงฎีกาว่าศาลชั้นต้นไม่ได้มีการนำชี้หรือทำแผนที่พิพาทประกอบคดีเป็นการไม่ชอบไม่ได้
แบบแจ้งการครอบครองที่ดินแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แม้จะเป็นสำเนาเอกสารก็ตาม แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินรับรองความถูกต้องแล้วและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ซักค้านหรือนำสืบให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินนั้นไม่มีหน้าที่รับรองเอกสารดังกล่าวอย่างไร ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีการนำชี้หรือทำแผนที่พิพาทประกอบคดีซึ่งหากจำเลยมีความจำนงที่จะดำเนินการเช่นนั้น ก็ชอบที่จะแสดงความจำนงต่อศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 แต่จำเลยมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงฎีกาว่าศาลชั้นต้นไม่ได้มีการนำชี้หรือทำแผนที่พิพาทประกอบคดีเป็นการไม่ชอบไม่ได้
แบบแจ้งการครอบครองที่ดินแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แม้จะเป็นสำเนาเอกสารก็ตาม แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินรับรองความถูกต้องแล้วและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ซักค้านหรือนำสืบให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินนั้นไม่มีหน้าที่รับรองเอกสารดังกล่าวอย่างไร ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนผู้จัดการมรดกหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุด และผลกระทบต่อการพิจารณาคำร้อง
++ เรื่อง ขอจัดการมรดก
++ (ชั้นร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกและขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณา) ++
++
++
++ กรณีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม (เอกสารฝ่ายเมือง) ของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อซึ่งได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 แต่ก่อนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2521 หม่อมหลวงเจริญ (เจ้ามรดก) ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ที่จะพึงได้จากผลคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 10798/2520ของศาลชั้นต้น ให้ผู้ร้องในอัตราส่วนร้อยละ 40 ตามจำนวนค่าว่าจ้างทนายความที่ผู้ร้องจะได้จากผลคดีนั้น
ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรของนายไต๋และนางเง็ก ศิวะเกื้อ เจ้ามรดกเป็นภรรยาคนหนึ่งของนายไต๋ ก่อนถึงแก่กรรมเจ้ามรดกได้มาอาศัยอยู่กับผู้คัดค้านที่ 1 และได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทและไม่มีส่วนได้เสีย ขอให้ยกคำร้องและตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก
ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุตรของเจ้ามรดกและนายแทน บุนนาค ก่อนถึงแก่กรรมเจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ผู้ใด ทรัพย์มรดกจึงตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ผู้เป็นทายาทโดยธรรม ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ไม่มีสิทธิจะเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกคำร้องของผู้ร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2 ตั้งให้นายเติม ศิวะเกื้อ ผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้จัดการมรดกของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ ให้มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
ผู้ร้องฎีกา
ศาลฎีกาพิพากษายืน
ต่อมานายดาบตำรวจชุมพล ทองอินทร์ ผู้ร้องขอได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นว่า ผู้ร้องขอเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ โดยผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2355/2525 หมายเลขแดงที่ 10941/2530ของศาลชั้นต้น ระหว่าง นายดาบตำรวจชุมพล ทองอินทร์ โจทก์(ผู้ร้องขอ) นายเติม ศิวะเกื้อ จำเลย (ผู้คัดค้านที่ 1) ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25 ธันวาคม 2527ตามเอกสารหมาย จ.6 หรือเอกสารหมาย ค.1 ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 8104/2529 ของศาลชั้นต้น (หมายถึงพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25ธันวาคม 2527 ของผู้คัดค้านที่ 1 ใช้เป็นข้ออ้างขอเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก) เพราะเป็นโมฆะ (ใช้บังคับไม่ได้ตามกฎหมาย) และจำเลยในคดีดังกล่าวหรือผู้คัดค้านที่ 1 ในคดีนี้ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา และโดยผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังผลให้พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ เจ้ามรดก ฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม2521 มีผลใช้บังคับ ผู้ร้องขอจึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมฉบับดังกล่าว ด้วยเหตุที่ว่านี้และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1727 ขอให้เพิกถอนนายเติม ศิวะเกื้อ ผู้คัดค้านที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกคดีนี้เสีย และมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องขอและหรือนายเกรียง วิศิษฎ์สรอรรถ เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันตามพินัยกรรมต่อไป
ในวันเดียวกันผู้ร้องขอได้ยื่นคำร้องขอใช้วิธีการเพื่อขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยอ้างว่า หากศาลมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกก็จะเกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องขอได้ จึงขอให้สั่งห้ามมิให้ผู้คัดค้านที่ 1 ดำเนินการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในที่ดินมรดกโฉนดเลขที่ 8151, 43796,43797 ตำบลทุ่งวัดดอน (บ้านทวาย) อำเภอยานนาวา (บางรัก)กรุงเทพมหานคร พร้อมตึกแถวเลขที่ 1535/21.22 จำนวน 2 คูหาบนที่ดิน หรือกำหนดวิธีการอย่างอื่น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกว่าคดีได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุดให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องขอจึงไม่อาจอ้างคำพิพากษาคดีอื่นที่ยังไม่ถึงที่สุดและอยู่ในชั้นศาลที่ต่ำกว่าคดีนี้มาเพิกถอนเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาคดีนี้ได้ ให้ยกคำร้อง ค่าคำร้องเป็นพับ
ส่วนในเรื่องขอใช้วิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีมีเหตุฉุกเฉินศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศาลได้ยกคำร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกของผู้ร้องแล้ว คำขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาจึงตกไปโดยไม่ต้องไต่สวนยกคำขอ ค่าคำขอเป็นพับ
ผู้ร้องขออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นทั้งสองกรณี
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องขอให้เพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดก ให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของผู้ร้องขอดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำสั่งตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งเมื่อมีคำสั่งใหม่ ส่วนอุทธรณ์เรื่องวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้ยกอุทธรณ์
ผู้คัดค้านที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว เห็นว่า เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลฎีกาว่าผู้ร้องขอได้มรณะและถูกจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนราษฎรเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2536 ตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรที่ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม2540 ในชั้นไต่สวนเรื่องความมรณะของผู้ร้องขอตามคำสั่งศาลฎีกาทั้งไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้ร้องขอภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ร้องขอมรณะ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 จึงให้จำหน่ายคดีในส่วนของผู้ร้องขอเสียจากสารบบความ แต่คดีก็ยังต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ 1 ต่อไปว่าควรรับคำร้องขอของผู้ร้องขอไว้พิจารณาต่อไปหรือไม่ เห็นว่า ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 10941/2530 ของศาลชั้นต้นซึ่งผู้ร้องขอเป็นโจทก์ว่า พินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25 ธันวาคม 2527ตามเอกสารหมาย จ.6 ในคดีดังกล่าว หรือเอกสารหมาย ค.1ในคดีนี้ไม่ใช่พินัยกรรมปลอม ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2536ดังนั้น จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องของผู้ร้องขอ จึงไม่ควรรับคำร้องขอของผู้ร้องขอไว้พิจารณาต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามาในส่วนนี้นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาผู้คัดค้านที่ 1 ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำร้องของผู้ร้องขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.
++ (ชั้นร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกและขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณา) ++
++
++
++ กรณีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม (เอกสารฝ่ายเมือง) ของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อซึ่งได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 แต่ก่อนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2521 หม่อมหลวงเจริญ (เจ้ามรดก) ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ที่จะพึงได้จากผลคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 10798/2520ของศาลชั้นต้น ให้ผู้ร้องในอัตราส่วนร้อยละ 40 ตามจำนวนค่าว่าจ้างทนายความที่ผู้ร้องจะได้จากผลคดีนั้น
ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรของนายไต๋และนางเง็ก ศิวะเกื้อ เจ้ามรดกเป็นภรรยาคนหนึ่งของนายไต๋ ก่อนถึงแก่กรรมเจ้ามรดกได้มาอาศัยอยู่กับผู้คัดค้านที่ 1 และได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทและไม่มีส่วนได้เสีย ขอให้ยกคำร้องและตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก
ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุตรของเจ้ามรดกและนายแทน บุนนาค ก่อนถึงแก่กรรมเจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ผู้ใด ทรัพย์มรดกจึงตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ผู้เป็นทายาทโดยธรรม ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ไม่มีสิทธิจะเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกคำร้องของผู้ร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2 ตั้งให้นายเติม ศิวะเกื้อ ผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้จัดการมรดกของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ ให้มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
ผู้ร้องฎีกา
ศาลฎีกาพิพากษายืน
ต่อมานายดาบตำรวจชุมพล ทองอินทร์ ผู้ร้องขอได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นว่า ผู้ร้องขอเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ โดยผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2355/2525 หมายเลขแดงที่ 10941/2530ของศาลชั้นต้น ระหว่าง นายดาบตำรวจชุมพล ทองอินทร์ โจทก์(ผู้ร้องขอ) นายเติม ศิวะเกื้อ จำเลย (ผู้คัดค้านที่ 1) ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25 ธันวาคม 2527ตามเอกสารหมาย จ.6 หรือเอกสารหมาย ค.1 ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 8104/2529 ของศาลชั้นต้น (หมายถึงพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25ธันวาคม 2527 ของผู้คัดค้านที่ 1 ใช้เป็นข้ออ้างขอเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก) เพราะเป็นโมฆะ (ใช้บังคับไม่ได้ตามกฎหมาย) และจำเลยในคดีดังกล่าวหรือผู้คัดค้านที่ 1 ในคดีนี้ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา และโดยผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังผลให้พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ เจ้ามรดก ฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม2521 มีผลใช้บังคับ ผู้ร้องขอจึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมฉบับดังกล่าว ด้วยเหตุที่ว่านี้และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1727 ขอให้เพิกถอนนายเติม ศิวะเกื้อ ผู้คัดค้านที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกคดีนี้เสีย และมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องขอและหรือนายเกรียง วิศิษฎ์สรอรรถ เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันตามพินัยกรรมต่อไป
ในวันเดียวกันผู้ร้องขอได้ยื่นคำร้องขอใช้วิธีการเพื่อขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยอ้างว่า หากศาลมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกก็จะเกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องขอได้ จึงขอให้สั่งห้ามมิให้ผู้คัดค้านที่ 1 ดำเนินการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในที่ดินมรดกโฉนดเลขที่ 8151, 43796,43797 ตำบลทุ่งวัดดอน (บ้านทวาย) อำเภอยานนาวา (บางรัก)กรุงเทพมหานคร พร้อมตึกแถวเลขที่ 1535/21.22 จำนวน 2 คูหาบนที่ดิน หรือกำหนดวิธีการอย่างอื่น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกว่าคดีได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุดให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องขอจึงไม่อาจอ้างคำพิพากษาคดีอื่นที่ยังไม่ถึงที่สุดและอยู่ในชั้นศาลที่ต่ำกว่าคดีนี้มาเพิกถอนเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาคดีนี้ได้ ให้ยกคำร้อง ค่าคำร้องเป็นพับ
ส่วนในเรื่องขอใช้วิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีมีเหตุฉุกเฉินศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศาลได้ยกคำร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกของผู้ร้องแล้ว คำขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาจึงตกไปโดยไม่ต้องไต่สวนยกคำขอ ค่าคำขอเป็นพับ
ผู้ร้องขออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นทั้งสองกรณี
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องขอให้เพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดก ให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของผู้ร้องขอดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำสั่งตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งเมื่อมีคำสั่งใหม่ ส่วนอุทธรณ์เรื่องวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้ยกอุทธรณ์
ผู้คัดค้านที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว เห็นว่า เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลฎีกาว่าผู้ร้องขอได้มรณะและถูกจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนราษฎรเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2536 ตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรที่ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม2540 ในชั้นไต่สวนเรื่องความมรณะของผู้ร้องขอตามคำสั่งศาลฎีกาทั้งไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้ร้องขอภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ร้องขอมรณะ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 จึงให้จำหน่ายคดีในส่วนของผู้ร้องขอเสียจากสารบบความ แต่คดีก็ยังต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ 1 ต่อไปว่าควรรับคำร้องขอของผู้ร้องขอไว้พิจารณาต่อไปหรือไม่ เห็นว่า ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 10941/2530 ของศาลชั้นต้นซึ่งผู้ร้องขอเป็นโจทก์ว่า พินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25 ธันวาคม 2527ตามเอกสารหมาย จ.6 ในคดีดังกล่าว หรือเอกสารหมาย ค.1ในคดีนี้ไม่ใช่พินัยกรรมปลอม ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2536ดังนั้น จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องของผู้ร้องขอ จึงไม่ควรรับคำร้องขอของผู้ร้องขอไว้พิจารณาต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามาในส่วนนี้นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาผู้คัดค้านที่ 1 ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำร้องของผู้ร้องขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความแตกต่างวันเวลากระทำผิดในฟ้อง ไม่ถึงสาระสำคัญ ศาลลงโทษตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้
โจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2536 ถึงวันที่ 8มีนาคม 2536 แต่พยานโจทก์เบิกความว่า เกิดเมื่อระหว่างปี 2535 ถือได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องข้อเท็จจริงดังกล่าวจะเป็นผลให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องนั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดี ดังนั้นการที่พยานโจทก์เบิกความเกี่ยวกับวันเวลากระทำความผิดแตกต่างจากที่โจทก์ฟ้องก็ตาม ซึ่งเป็นเพียงรายละเอียด และเมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันเวลาความผิดต่างจากฟ้องไม่เป็นสาระสำคัญ ศาลลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาได้
โจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2536ถึงวันที่ 8 มีนาคม 2536 แต่พยานโจทก์เบิกความว่า เกิดเมื่อระหว่างปี 2535 ถือได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องข้อเท็จจริงดังกล่าวจะเป็นผลให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องนั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดี ดังนั้นการที่พยานโจทก์เบิกความเกี่ยวกับวันเวลากระทำความผิดแตกต่างจากที่โจทก์ฟ้องก็ตาม ซึ่งเป็นเพียงรายละเอียด และเมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7279/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาและการเลื่อนคดีเพื่อแก้ไขสถานะจำเลย
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก นอกจากฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลแล้วจำเลยทั้งสามก็ไม่มาศาลเพราะยังส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1ไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 มิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ สำหรับจำเลยที่ 3ที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ก็ยังมีสิทธิยื่นคำให้การภายหลังวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกนั้น กรณีเช่นนี้แม้โจทก์และพยานโจทก์จะมาศาลก็ไม่อาจสืบพยานโจทก์ได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งเลื่อนคดีไปเพื่อมีคำสั่งเกี่ยวกับจำเลยทั้งสามเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหนายคดีเสียจากสารบบความย่อมไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมหลังพ้นกำหนด - ศาลต้องพิจารณาคำสั่งก่อนพิพากษา
เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้าน พร้อมกับยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะทรัพย์ตามพินัยกรรม ศาลอุทธรณ์จำต้องพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมก่อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา239 แต่ศาลอุทธรณ์มิได้พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
ตามคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านเพิ่งยื่นในวันนัดสืบพยาน ซึ่งสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสองแล้ว ทั้งคำร้องมิได้ระบุเหตุแห่งความล่าช้าหรือเหตุสมควรอื่นใดตามมาตรา 88 วรรคสี่ จึงไม่อาจพิจารณาสั่งรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านได้
ตามคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านเพิ่งยื่นในวันนัดสืบพยาน ซึ่งสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสองแล้ว ทั้งคำร้องมิได้ระบุเหตุแห่งความล่าช้าหรือเหตุสมควรอื่นใดตามมาตรา 88 วรรคสี่ จึงไม่อาจพิจารณาสั่งรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5420/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์ในรถยนต์ที่ล็อคอยู่: การผ่านสิ่งกีดขวางเพื่อลักทรัพย์ และการพิจารณาโทษที่เหมาะสม
จำเลยเปิดประตูรถยนต์ซึ่งล็อกไว้ แล้วเข้าไปลักวิทยุเทปที่ติดตั้งอยู่ในรถยนต์เป็นการผ่านสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์เข้าไปลักทรัพย์ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3) วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5211/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดนอกคำขอฟ้อง: ข้อจำกัดในการลงโทษนอกประเด็นที่โจทก์บรรยาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 149,157 และตามคำฟ้องโจทก์บรรยายยืนยันว่า จำเลยเรียกและรับเงินจำนวน 20,000 บาทจาก อ.สำหรับตนเองโดยมิชอบ เพื่อจะได้เปิดกุญแจห้องขังและปล่อยตัว อ.ให้หลบหนีไปจากห้องควบคุม เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวน กรมตำรวจ ซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยกระทำการโดยประมาทหลับนอนขณะมีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขัง เป็นเหตุให้ อ.หลบหนีการควบคุมไปอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 205 ซึ่งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและขอให้ศาลพิพากษาลงโทษไว้ ข้อแตกต่างตามคำฟ้องกับที่พิจารณาได้ความมิใช่ข้อแตกต่างระหว่างความผิดโดยเจตนาหรือประมาท แต่เป็นข้อแตกต่างที่ถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 205 ตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้ เพราะเกินคำขอ
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ อ.หลุดพ้นจากการคุมขังโดยที่จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้นั้น เมื่อปรากฎว่าคดีนี้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำผิดตาม ป.อ.มาตรา204, 205 แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ อ.หลุดพ้นจากการคุมขังโดยที่จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้นั้น เมื่อปรากฎว่าคดีนี้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำผิดตาม ป.อ.มาตรา204, 205 แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงพิจารณาคดีหมิ่นประมาท การแบ่งแยกความผิดหลายกรรม และการพิจารณาเฉพาะข้อที่อยู่ในอำนาจ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328,83 ต่อศาลแขวง โดยบรรยายฟ้องแยกเป็น 3 ข้อ แต่ละข้อวันเวลาเกิดเหตุต่างกันและการกระทำของจำเลยไม่เหมือนกันแต่ละกรรมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองจึงเป็นความผิดหลายกรรมมิใช่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทที่ศาลจะต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 เมื่อปรากฏว่าความผิดฟ้องข้อ 1เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22(5)ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ตามฟ้องข้อ 1 นี้ได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วมีคำสั่งไปตามรูปคดีแม้ว่าความผิดตามฟ้องข้อ 2 และข้อ 3 จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกิน 200,000 บาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาเลื่อนคดีก่อนสั่งงดสืบพยาน: ศาลต้องพิจารณาคำขอเลื่อนคดีก่อน หากอนุญาตเลื่อนคดีได้ วันนั้นไม่ถือเป็นวันนัดสืบพยาน
ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคสอง ที่กำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน นั้น หมายความว่าจะต้องเป็นวันนัดที่ได้มีการสืบพยานกันจริง ๆ แต่ถ้าหากถึงวันนัดแล้วศาลอนุญาตให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลื่อนคดีได้ก็ไม่ถือว่าวันนัดดังกล่าวเป็นวันนัดสืบพยานตามความหมายของมาตรา 88 วรรคสอง ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มาศาลและแถลงขอเลื่อนคดีอ้างว่า ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ซึ่งต้องเบิกความเป็นพยานต่อศาลติดธุระไม่สามารถมาศาลได้ ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาสั่งเกี่ยวกับการขอเลื่อนคดีของโจทก์เสียก่อนเพราะถ้าหากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีได้วันนัดดังกล่าวก็ไม่เป็นวันนัดสืบพยานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสอง และโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งใหม่ให้ถูกต้องได้ การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งงดสืบพยานโจทก์เสียก่อนโดยไม่ได้พิจารณาสั่งเรื่องการขอเลื่อนคดีของโจทก์เช่นนี้ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง โจทก์ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายโดยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามรูปคดีจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2 ก แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์