พบผลลัพธ์ทั้งหมด 477 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากคู่ความไม่มาศาล และหน้าที่จำเลยในการแจ้งความประสงค์ให้พิจารณาต่อไป
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยที่ 1 มาศาล ส่วนผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ทนายโจทก์ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องสอบถามจำเลยที่มาศาลก่อน แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่มาศาลต้องแจ้งต่อศาลในวันหรือก่อนวันสืบพยานว่าตนตั้งใจจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้แจ้งต่อศาลชั้นต้นในวันหรือก่อนวันสืบพยานโจทก์ว่าตนตั้งใจจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ หาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอันจะต้องเพิกถอนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาคดี: ต้องทำหลังมีคำพิพากษา และต้องโต้แย้งคำสั่งก่อน
โจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ในวันเดียวกันศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตและถือว่าไม่ติดใจสืบพยาน ซึ่งเป็นคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ และเมื่อจำเลย แถลงไม่สืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้นัดฟังคำพิพากษา คำสั่งไม่อนุญาต ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานโจทก์ของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่าง พิจารณา โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้จะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ และต้อง อุทธรณ์คำสั่งภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าว และโจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งนี้ก่อนเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวแม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ไว้ ศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบ และถือว่าปัญหานี้ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ การที่โจทก์ฎีกาปัญหานี้ขึ้นมาจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกอุทธรณ์กับยกฎีกาของโจทก์ คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด ในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7430/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีเยาวชน การลดโทษ และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ในชั้นพิจารณา ผู้เสียหายเบิกความบ่ายเบี่ยงเป็นทำนองช่วยเหลือจำเลย ย่อมไม่มีน้ำหนักให้รับฟังเท่าคำให้การในชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย ซึ่งให้การในระยะกระชั้นชิดกับเวลาเกิดเหตุ เพราะผู้เสียหายยังไม่มีโอกาสไตร่ตรองบิดเบือนข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นแม้เป็นพยานบอกเล่าแต่มีเหตุผลให้น่าเชื่อถือ
คำให้การของพยานโจทก์ที่ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วยกันกับจำเลยมิได้เป็นการซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์จากการซัดทอดนั้น ทั้งยังมีเหตุผลและสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย จึงมีน้ำหนักรับฟังได้
ฎีกาจำเลยที่ว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินการตามวิธีพิจารณาคดีสำหรับเยาวชน ไม่สั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจ การสอบสวน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นการกระทำความผิดขณะจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ซึ่งเป็นเยาวชน เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนในศาลจังหวัดนนทบุรีและศาลจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2532มาตรา 3 ให้เปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนขึ้นในศาลจังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เป็นต้นไปจึงได้มีการโอนคดีที่ศาลจังหวัดนนทบุรีมาพิจารณาพิพากษาที่ศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวแล้วตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 15 บัญญัติว่าในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องอายุ หรือการบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสของบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือศาลอื่นใดได้รับพิจารณาพิพากษาคดีโดยไม่ต้องด้วยมาตรา 13ซึ่งถ้าปรากฏเสียแต่ต้นจะเป็นเหตุให้ศาลนั้น ๆ ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาก็ตาม ข้อบกพร่องดังกล่าวไม่ทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาและศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเสียไป
เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ซึ่งความผิดอาญาได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจ ดำเนินการสอบสวนมาแล้วโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 แม้ภายหลังจะมีการโอนคดีมาพิจารณาพิพากษายังศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวก็ตาม ก็ไม่ทำให้การสอบสวนที่กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปได้
การสั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจไม่ใช่การดำเนินการชั้นสอบสวนของพนักงานสอบสวน
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญาหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยได้ ศาลล่างทั้งสองพิจารณาและพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย โดยไม่ใช้ดุลพินิจให้นำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แทนการลงโทษทางอาญานั้น จึงเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104วรรคท้าย จะนำมาใช้ในกรณีศาลพิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าควรจะกักตัวหรือควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชนตาม (1) หรือ (2) ต่อไป หลังจากที่เด็กหรือเยาวชนมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ศาลระบุในคำพิพากษาให้ส่งตัวไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนด การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีอายุ 28 ปี จำคุก 7 ปี 6 เดือนการส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมในสถานพินิจนั้นเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม จึงให้ส่งตัวจำเลยไปเรือนจำจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นไม่ปรับบทตามมาตรา 104 วรรคท้าย
คำให้การของพยานโจทก์ที่ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วยกันกับจำเลยมิได้เป็นการซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์จากการซัดทอดนั้น ทั้งยังมีเหตุผลและสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย จึงมีน้ำหนักรับฟังได้
ฎีกาจำเลยที่ว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินการตามวิธีพิจารณาคดีสำหรับเยาวชน ไม่สั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจ การสอบสวน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นการกระทำความผิดขณะจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ซึ่งเป็นเยาวชน เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนในศาลจังหวัดนนทบุรีและศาลจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2532มาตรา 3 ให้เปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนขึ้นในศาลจังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เป็นต้นไปจึงได้มีการโอนคดีที่ศาลจังหวัดนนทบุรีมาพิจารณาพิพากษาที่ศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวแล้วตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 15 บัญญัติว่าในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องอายุ หรือการบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสของบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือศาลอื่นใดได้รับพิจารณาพิพากษาคดีโดยไม่ต้องด้วยมาตรา 13ซึ่งถ้าปรากฏเสียแต่ต้นจะเป็นเหตุให้ศาลนั้น ๆ ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาก็ตาม ข้อบกพร่องดังกล่าวไม่ทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาและศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเสียไป
เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ซึ่งความผิดอาญาได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจ ดำเนินการสอบสวนมาแล้วโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 แม้ภายหลังจะมีการโอนคดีมาพิจารณาพิพากษายังศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวก็ตาม ก็ไม่ทำให้การสอบสวนที่กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปได้
การสั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจไม่ใช่การดำเนินการชั้นสอบสวนของพนักงานสอบสวน
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญาหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยได้ ศาลล่างทั้งสองพิจารณาและพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย โดยไม่ใช้ดุลพินิจให้นำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แทนการลงโทษทางอาญานั้น จึงเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104วรรคท้าย จะนำมาใช้ในกรณีศาลพิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าควรจะกักตัวหรือควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชนตาม (1) หรือ (2) ต่อไป หลังจากที่เด็กหรือเยาวชนมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ศาลระบุในคำพิพากษาให้ส่งตัวไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนด การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีอายุ 28 ปี จำคุก 7 ปี 6 เดือนการส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมในสถานพินิจนั้นเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม จึงให้ส่งตัวจำเลยไปเรือนจำจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นไม่ปรับบทตามมาตรา 104 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญต้องทำในระหว่างคดีความยังไม่ถึงที่สุด หากคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลไม่อาจส่งความเห็นได้
การที่ศาลจะส่งความเห็นเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 264 ต้องเป็นกรณีที่คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาพิพากษาของศาล หากคดีถึงที่สุดแล้วย่อมไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะส่งคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกต่อไป เพราะแม้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ก็ไม่อาจกระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด
คดีนี้ถึงที่สุดแล้วตาม พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 โดยจำเลยมิได้ร้องขอให้ศาลส่งความเห็นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในระหว่างการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว กรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่งแล้ว
คดีของจำเลยถึงที่สุดแล้วเหลือเพียงการส่งจำเลยข้ามแดนเท่านั้นการยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีของจำเลย หามีผลให้คดีกลับกลายเป็นคดีที่ยังไม่ถึงที่สุดอีกครั้งหนึ่งไม่
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 264วรรคสอง ระบุให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาว่า คำโต้แย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่งที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ตาม แต่ในกรณีที่จะต้องพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวเข้าเหตุตามมาตรา 264วรรคหนึ่ง หรือไม่ ย่อมต้องเป็นหน้าที่ของศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจปรับบทกฎหมายและตีความบทกฎหมายที่ไม่เกี่ยวกับการวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่รับคำร้องของจำเลยไว้พิจารณาเพราะล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 264 วรรคหนึ่ง จึงเป็นอำนาจที่จะกระทำได้โดยชอบ
คดีนี้ถึงที่สุดแล้วตาม พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 โดยจำเลยมิได้ร้องขอให้ศาลส่งความเห็นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในระหว่างการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว กรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่งแล้ว
คดีของจำเลยถึงที่สุดแล้วเหลือเพียงการส่งจำเลยข้ามแดนเท่านั้นการยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีของจำเลย หามีผลให้คดีกลับกลายเป็นคดีที่ยังไม่ถึงที่สุดอีกครั้งหนึ่งไม่
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 264วรรคสอง ระบุให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาว่า คำโต้แย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่งที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ตาม แต่ในกรณีที่จะต้องพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวเข้าเหตุตามมาตรา 264วรรคหนึ่ง หรือไม่ ย่อมต้องเป็นหน้าที่ของศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจปรับบทกฎหมายและตีความบทกฎหมายที่ไม่เกี่ยวกับการวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่รับคำร้องของจำเลยไว้พิจารณาเพราะล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 264 วรรคหนึ่ง จึงเป็นอำนาจที่จะกระทำได้โดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลไม่ต้องส่งความเห็นขัดรัฐธรรมนูญให้ศาลรัฐธรรมนูญ
การที่ศาลจะส่งความเห็นว่าบทบัญญัติของกฎหมายขัด หรือแย้ง กับรัฐธรรมนูญไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นกรณีที่ คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาพิพากษาของศาล จึงให้รอการพิจารณา พิพากษาคดีไว้ชั่วคราวหาใช่กรณีถึงที่สุดแล้วแต่อย่างใดไม่ เพราะหากคดีถึงที่สุด แล้วย่อมไม่มีประโยชน์ที่จะส่งคำร้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกต่อไป เพราะแม้ส่งไปและศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ ก็ไม่อาจกระทบกระเทือนถึง คำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้วตามมาตรา 264 วรรคท้าย
คดีนี้ถึงที่สุดแล้วตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 แม้จำเลยจะร้องขอและอุทธรณ์ต่อศาลให้รื้อฟื้นคดีของจำเลยขึ้นมาพิจารณาใหม่ตามมาตรา 247 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ เพื่อเป็นข้ออ้างว่าคดียังไม่ถึงที่สุดแต่แท้ที่จริงคดีของจำเลยถึงที่สุดแล้วเหลือเพียงการส่งจำเลยข้ามแดนเท่านั้น การยื่นคำร้องของจำเลยหามีผลให้คดีที่ถึงที่สุดแล้วกลับกลายเป็นคดีที่ยังไม่ถึงที่สุดอีกครั้งหนึ่งไม่ จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
แม้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 264 วรรคสอง จะระบุให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาว่าคำโต้แย้งใดของคู่ความว่าบทบัญญัติของกฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย และศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้ แต่การที่จะพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวเข้าเหตุตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง หรือไม่ ย่อมต้องเป็นหน้าที่ของศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจปรับและตีความบทกฎหมายอันเป็นการทั่วไปในเบื้องต้นที่ไม่เกี่ยวกับการวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ กับกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง ดังนั้น เมื่อคำร้องของจำเลยล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการได้ตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ศาลล่างจึงมีอำนาจโดยชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าวเพื่อส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไปได้
คดีนี้ถึงที่สุดแล้วตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 แม้จำเลยจะร้องขอและอุทธรณ์ต่อศาลให้รื้อฟื้นคดีของจำเลยขึ้นมาพิจารณาใหม่ตามมาตรา 247 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ เพื่อเป็นข้ออ้างว่าคดียังไม่ถึงที่สุดแต่แท้ที่จริงคดีของจำเลยถึงที่สุดแล้วเหลือเพียงการส่งจำเลยข้ามแดนเท่านั้น การยื่นคำร้องของจำเลยหามีผลให้คดีที่ถึงที่สุดแล้วกลับกลายเป็นคดีที่ยังไม่ถึงที่สุดอีกครั้งหนึ่งไม่ จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
แม้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 264 วรรคสอง จะระบุให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาว่าคำโต้แย้งใดของคู่ความว่าบทบัญญัติของกฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย และศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้ แต่การที่จะพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวเข้าเหตุตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง หรือไม่ ย่อมต้องเป็นหน้าที่ของศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจปรับและตีความบทกฎหมายอันเป็นการทั่วไปในเบื้องต้นที่ไม่เกี่ยวกับการวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ กับกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง ดังนั้น เมื่อคำร้องของจำเลยล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการได้ตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ศาลล่างจึงมีอำนาจโดยชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าวเพื่อส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายจำเลยขาดนัดพิจารณาคดีจำเลยขาดนัดตามไปด้วย แม้จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดี
จำเลยแต่งตั้งให้ น.เป็นทนายความแก้ต่างแล้ว ต้องถือว่า น.เป็นตัวแทนของจำเลยในการดำเนินกระบวนพิจารณา เมื่อ น.ทราบวันนัดของศาลแล้วไม่ไปศาลตามนัดและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ต้องถือว่าจำเลยขาดนัดโดยจงใจ
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้หากจำเลยไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลชั้นต้นจะต้องหมายแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยให้จำเลยทราบเพื่อที่จะได้สืบพยานจำเลยต่อไป ตามที่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยผู้ฎีกายกขึ้นอ้างได้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน ทนายจำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วมิได้มาศาล ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี ซึ่งป.วิ.พ.มาตรา 202 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วพิพากษาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว คดีนี้ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยก็มิได้มาศาลแม้จำเลยจะได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ก็ต้องถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาคดีไปได้
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้หากจำเลยไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลชั้นต้นจะต้องหมายแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยให้จำเลยทราบเพื่อที่จะได้สืบพยานจำเลยต่อไป ตามที่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยผู้ฎีกายกขึ้นอ้างได้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน ทนายจำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วมิได้มาศาล ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี ซึ่งป.วิ.พ.มาตรา 202 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วพิพากษาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว คดีนี้ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยก็มิได้มาศาลแม้จำเลยจะได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ก็ต้องถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาคดีไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากทนายความไม่ไปศาล และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
จำเลยแต่งตั้งให้ น. เป็นทนายความแก้ต่างแล้ว ต้องถือว่าน. เป็นตัวแทนของจำเลยในการดำเนินกระบวนพิจารณา เมื่อ น. ทราบวันนัดของศาลแล้ว ไม่ไปศาลตามนัดและไม่แจ้งเหตุขัดข้องต้องถือว่าจำเลยขาดนัดโดยจงใจ
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้หากจำเลยไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลชั้นต้นจะต้องหมายแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยให้จำเลยทราบเพื่อที่จะได้สืบพยานจำเลยต่อไปตามที่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยผู้ฎีกายกขึ้นอ้างได้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน ทนายจำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วมิได้มาศาล ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วพิพากษาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว คดีนี้ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยก็มิได้มาศาล แม้จำเลยจะได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ก็ต้องถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาคดีไปได้
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้หากจำเลยไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลชั้นต้นจะต้องหมายแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยให้จำเลยทราบเพื่อที่จะได้สืบพยานจำเลยต่อไปตามที่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยผู้ฎีกายกขึ้นอ้างได้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน ทนายจำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วมิได้มาศาล ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วพิพากษาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว คดีนี้ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยก็มิได้มาศาล แม้จำเลยจะได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ก็ต้องถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาคดีไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจขาดนัดพิจารณาคดี: การสำคัญผิดเวลานัดไม่ใช่การจงใจ
การจงใจขาดนัดจะต้องเป็นเรื่องที่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดได้รู้ถึงวันและเวลานัดที่ถูกต้องแล้วไม่มาศาลตามวันเวลาที่ศาลนัดไว้ การที่ทนายโจทก์จดเวลานัดผิด และได้มาศาลพร้อมกับตัวโจทก์ตามเวลาที่ทนายโจทก์จดบันทึกไว้ในสมุดนัดเป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์สำคัญผิดเวลานัด และไม่รู้เวลานัดที่ถูกต้อง แม้การสำคัญผิดนั้นจะเกิดจากความผิดพลาดของฝ่ายโจทก์เอง ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจขาดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจขาดนัดพิจารณาคดี: ความสำคัญของการรับรู้เวลานัดที่ถูกต้อง แม้เกิดจากความผิดพลาดของโจทก์
การจงใจขาดนัดต้องเป็นเรื่องที่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดได้รู้ถึง วันและเวลานัดที่ถูกต้องแล้วไม่มาศาลตามวันเวลาที่ศาลนัดไว้
โจทก์จดเวลานัดผิดและได้มาศาลพร้อมกับตัวโจทก์ตามเวลาที่ ทนายโจทก์จดบันทึกไว้ในสมุดนัดเป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์สำคัญผิดเวลานัดและไม่รู้เวลานัดที่ถูกต้อง แม้การสำคัญผิดนั้นจะเกิดจากความผิดพลาด ของฝ่ายโจทก์เอง ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจขาดนัด
โจทก์จดเวลานัดผิดและได้มาศาลพร้อมกับตัวโจทก์ตามเวลาที่ ทนายโจทก์จดบันทึกไว้ในสมุดนัดเป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์สำคัญผิดเวลานัดและไม่รู้เวลานัดที่ถูกต้อง แม้การสำคัญผิดนั้นจะเกิดจากความผิดพลาด ของฝ่ายโจทก์เอง ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจขาดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์และการพิจารณาคดีเมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลมีอำนาจตามมาตรา 213 ป.วิ.อ.
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลงแล้วโดยกรณีไม่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปให้ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้นหากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขึ้นมา
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้นหากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขึ้นมา