พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: ศาลฎีกาพิพากษากลับให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลย เนื่องจากมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้จะมีการชำระหนี้บางส่วน
จำเลยทั้งสองและ ส. ต่างเป็นลูกหนี้โจทก์ร่วมกัน โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่จำเลยทั้งสองกับ ส. ก็ยังคงต้องผูกพันอยู่จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 ดังนั้นการที่โจทก์บังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 และของ ส. แต่ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2เพียงรายเดียว และรับชำระหนี้จาก ส. 7,200,000 บาท แล้วปลดจำนองให้ ส. นั้นจึงเป็นการใช้สิทธิของโจทก์ที่กระทำได้โดยชอบ การที่ศาลจะพิพากษาให้ผู้ใดล้มละลายเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลเฉพาะบุคคลนั้น ๆ จะนำเหตุที่โจทก์ไม่ฟ้อง ส. ให้ล้มละลาย ทั้งที่ ส. เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยทั้งสองมาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักฐานยืนยันถึงจำนวนเงินรายได้ต่อเดือนมาแสดง ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินมายืนยันอีกทั้งทรัพย์สินบางรายการก็ติดจำนอง กับเป็นมรดกระหว่างพี่น้องจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องตามมาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2441/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้ก่อนล้มละลายสำเร็จ ทำให้ลูกหนี้พ้นจากภาวะล้มละลาย และคดีพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดสิ้นสุดลง
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 56, 57, 58, 60, 77
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแจ้งให้โอนคืน แต่ไม่สร้างหนี้ได้
หนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเป็นเพียงหนังสือแจ้งเตือนให้ผู้ร้องรับรู้ว่าการรับโอนที่ดินระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับ อ.และระหว่างอ.กับผู้ร้องเป็นการโอนขายที่ดินภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาด แม้จะมีถ้อยคำขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1ภายใน 30 วัน อยู่ด้วยก็ตาม แต่เมื่อผลถึงที่สุดแล้วหากผู้ร้องไม่ปฏิบัติตาม ผู้คัดค้านหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 ก็หามีอำนาจที่จะถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นเด็ดขาดไม่เพราะไม่ถือว่าการที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวคืนเป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่ 1 ที่มีมาก่อนการขอให้ลูกหนี้ที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับความเสียหายตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิของบุคคลภายนอกและขอบเขตอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
หนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ขอให้ผู้ร้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 สืบเนื่องมาจากการสอบสวนของผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และทราบมาว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้ทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 4 แปลง ให้แก่ อ. ต่อมา อ.กับบุคคลอื่นได้รวมโฉนดที่ดินทั้ง 4 แปลง เข้าด้วยกันเป็นโฉนดเดียว แล้วแบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงหรือหลายโฉนดโอนขายให้ผู้ร้อง 8 แปลง การโอนที่ดินระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับ อ.และระหว่างอ.กับผู้ร้องเป็นการโอนภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดการที่ผู้คัดค้านมีความเห็นว่าการที่ลูกหนี้ที่ 1 โอนที่ดินให้แก่ อ.และที่ อ.โอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายล้มละลายนั้น แต่การกระทำดังกล่าวที่เกี่ยวกับผู้ร้องต้องถือว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอก และสิทธิของบุคคลภายนอกหากจะได้รับผลกระทบถึง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินคดีขอให้เพิกถอนต่อไป แต่หนังสือของผู้คัดค้านที่มีไปถึงผู้ร้องแจ้งหรือเตือนให้ผู้ร้องรับรู้ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวทั้ง 8 แปลง ไม่ชอบเท่านั้น แม้จะมีถ้อยคำขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ภายใน 30 วัน ไว้ด้วยก็ตาม แต่เมื่อผลถึงที่สุดแล้วหากผู้ร้องไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ก็หามีอำนาจที่จะถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นเด็ดขาดไม่ เพราะไม่ถือว่าการที่จะต้องโอนที่ดินดังกล่าวคืนเป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีมาก่อนการขอให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับความเสียหายตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ดังนี้ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิของบุคคลภายนอกและขอบเขตอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
หนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ขอให้ ผู้ร้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 สืบเนื่องมาจากการสอบสวนของผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์และทราบมาว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้ทำนิติกรรม โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 4 แปลง ให้แก่ อ.ต่อมาอ. กับบุคคลอื่นได้รวมโฉนดที่ดินทั้ง 4 แปลง เข้าด้วยกัน เป็นโฉนดเดียว แล้วแบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงหรือหลายโฉนด โอนขายให้ผู้ร้อง 8 แปลง การโอนที่ดินระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับ อ.และระหว่างอ. กับผู้ร้องเป็นการโอนภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดการที่ผู้คัดค้านมีความเห็นว่าการที่ลูกหนี้ที่ 1 โอนที่ดิน ให้แก่ อ. และที่ อ. โอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายล้มละลายนั้น แต่การกระทำดังกล่าวที่เกี่ยวกับผู้ร้องต้องถือว่าผู้ร้อง เป็นบุคคลภายนอก และสิทธิของบุคคลภายนอกหากจะได้รับ ผลกระทบถึง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินคดี ขอให้เพิกถอนต่อไป แต่หนังสือของผู้คัดค้านที่มีไปถึงผู้ร้อง แจ้งหรือเตือนให้ผู้ร้องรับรู้ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินดังกล่าวทั้ง 8 แปลง ไม่ชอบเท่านั้น แม้จะมีถ้อยคำ ขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ภายใน 30 วัน ไว้ด้วยก็ตาม แต่เมื่อผลถึงที่สุดแล้ว หากผู้ร้องไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ของลูกหนี้ก็หามีอำนาจที่จะถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สิน ของลูกหนี้เป็นเด็ดขาดไม่ เพราะไม่ถือว่าการที่จะต้อง โอนที่ดินดังกล่าวคืนเป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีมาก่อนการขอให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้อง จึงยังไม่ได้รับความเสียหายตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ดังนี้ ผู้ร้องจะยื่นคำร้อง ขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีเงินเดือนและหุ้นสหกรณ์ แต่มีภาระหนี้สินสูงกว่าทรัพย์สิน ศาลพิพากษาสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้จำเลยจะมีเงินเดือนประจำ และมีทรัพย์สินเป็น หุ้นอยู่ในสหกรณ์ออมทรัพย์กรมชลประทานก็ตาม แต่เงินเดือน ของจำเลยหลังจากหักค่าใช้จ่ายในครอบครัวแล้วคงเหลือ ประมาณ 2,000 บาท ซึ่งพอเพียงสำหรับการผ่อนชำระหนี้ ได้เฉพาะดอกเบี้ยเท่านั้น แต่จำเลยก็หาได้ชำระให้แก่โจทก์ไม่นอกจากนี้จำเลยยังเป็นหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์สูงเกินกว่าทุนเรือนหุ้นที่จำเลยถืออยู่ในสหกรณ์อีกด้วย ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ทั้งไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้ล้มละลายตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6748/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าปรับและค่าจ้างเพิ่มหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การลดหนี้จากหนังสือค้ำประกัน
เจ้าหนี้ตกลงว่าจ้างให้ลูกหนี้ทำการก่อสร้างคลองส่งน้ำดาดคอนกรีต ท่อส่งน้ำถึงบ่อพักน้ำ บ้านพักพนักงานสูบน้ำ 1 หลัง อาคารควบคุมระบบไฟฟ้าและโรงเก็บพัสดุ 1 หลัง รั้วลวดหนามพร้อมประตูตาข่ายและป้ายชื่อสถานีฐานรองรับและท่อส่งน้ำ ณ สถานีสูบน้ำ กำหนดแล้วเสร็จภายใน 250 วัน ลูกหนี้ได้รับการต่ออายุสัญญา 3 ครั้ง เป็นเวลา 510 วัน ครบกำหนดส่งมอบงานในวันที่ 28 ตุลาคม 2532 แต่ลูกหนี้ทำการก่อสร้างตามสัญญาไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์และไม่สามารถส่งมอบงานในวันที่ครบกำหนดดังกล่าว ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาต่อมาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2536 ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเจ้าหนี้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาเข้าทำการก่อสร้างคลองส่งน้ำให้แล้วเสร็จตามสัญญาภายใน 15 วัน แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาก่อสร้างตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 จนกระทั่งวันที่ 31 มกราคม 2537 เจ้าหนี้จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาก่อสร้างแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และในการที่ลูกหนี้ผิดนัดผิดสัญญา เจ้าหนี้มีสิทธิปรับลูกหนี้เป็นรายวันตามสัญญาวันละ 3,627 บาท นับแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2532 เป็นต้นไป แม้เหตุผิดนัดผิดสัญญาทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระเงินค่าปรับเป็นรายวันจากลูกหนี้ซึ่งมีมาก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดก็ตาม แต่ตามสัญญาได้กำหนดให้ลูกหนี้ผู้ผิดนัดผิดสัญญาต้องเสียค่าปรับแก่เจ้าหนี้เป็นรายวันทุกวันที่ยังผิดนัดผิดสัญญาอยู่มูลหนี้ในเงินค่าปรับจึงเกิดขึ้นเป็นรายวัน ดังนี้ มูลหนี้ในเงินค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาส่วนที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ เพราะฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94
ตามสัญญาก่อสร้างฉบับพิพาทระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่า การที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างได้เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน ตราบใดที่เจ้าหนี้ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเจ้าหนี้จะเรียกเอาเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะว่าจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างไม่ได้การที่เจ้าหนี้เพิ่งบอกเลิกสัญญาเมื่อเวลาภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว มูลหนี้ในเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้เงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น
ในการที่ลูกหนี้ทำสัญญาก่อสร้างคลองส่งน้ำกับเจ้าหนี้ ลูกหนี้ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารจำนวนเงิน 362,610 บาท มอบให้เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาของลูกหนี้ เมื่อเจ้าหนี้บอกเลิกสัญญาแก่ลูกหนี้และในวันเดียวกันนั้นเจ้าหนี้ได้เรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันและธนาคารดังกล่าวได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่เจ้าหนี้แล้วเป็นจำนวนเงิน362,610 บาท ดังนั้น สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าปรับเป็นรายวันจึงต้องลดลงตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้เงินค่าปรับรายวันโดยไม่หักจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 362,610 บาท จึงไม่ชอบปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 และ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153
ตามสัญญาก่อสร้างฉบับพิพาทระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่า การที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างได้เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน ตราบใดที่เจ้าหนี้ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเจ้าหนี้จะเรียกเอาเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะว่าจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างไม่ได้การที่เจ้าหนี้เพิ่งบอกเลิกสัญญาเมื่อเวลาภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว มูลหนี้ในเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้เงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น
ในการที่ลูกหนี้ทำสัญญาก่อสร้างคลองส่งน้ำกับเจ้าหนี้ ลูกหนี้ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารจำนวนเงิน 362,610 บาท มอบให้เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาของลูกหนี้ เมื่อเจ้าหนี้บอกเลิกสัญญาแก่ลูกหนี้และในวันเดียวกันนั้นเจ้าหนี้ได้เรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันและธนาคารดังกล่าวได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่เจ้าหนี้แล้วเป็นจำนวนเงิน362,610 บาท ดังนั้น สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าปรับเป็นรายวันจึงต้องลดลงตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้เงินค่าปรับรายวันโดยไม่หักจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 362,610 บาท จึงไม่ชอบปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 และ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6748/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าปรับและค่าจ้างจากการบอกเลิกสัญญาก่อสร้างหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ข้อจำกัดตามพ.ร.บ.ล้มละลาย
แม้เหตุผิดนัดผิดสัญญาทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระเงินค่าปรับเป็นรายวันจากลูกหนี้ซึ่งมีมาก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดก็ตาม แต่ตามสัญญาได้กำหนดให้ลูกหนี้ผู้ผิดนัดผิดสัญญาต้องเสียค่าปรับแก้เจ้าหนี้เป็นรายวันทุกวันที่ยังผิดนัดผิดสัญญาอยู่ มูลหนี้ในเงินค่าปรับจึงเกิดขึ้นเป็นรายวันดังนี้ มูลหนี้ในเงินค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาส่วนที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94
ตามสัญญาก่อสร้างระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำงานต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์เห็นได้ว่า การที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างได้ เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน เมื่อเจ้าหนี้เพิ่งบอกเลิกสัญญาภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว มูลหนี้ในเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94
เมื่อปรากฏว่าธนาคารได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่เจ้าหนี้แล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าปรับเป็นรายวันจึงต้องลดลงตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
ตามสัญญาก่อสร้างระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำงานต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์เห็นได้ว่า การที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างได้ เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน เมื่อเจ้าหนี้เพิ่งบอกเลิกสัญญาภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว มูลหนี้ในเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94
เมื่อปรากฏว่าธนาคารได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่เจ้าหนี้แล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าปรับเป็นรายวันจึงต้องลดลงตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6748/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าปรับและค่าจ้างเพิ่มหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การลดหนี้จากหนังสือค้ำประกัน
เจ้าหนี้ตกลงว่าจ้างให้ลูกหนี้ทำการก่อสร้างคลองส่งน้ำดาดคอนกรีต ท่อส่งน้ำถึงบ่อพักน้ำ บ้านพักพนักงานสูบน้ำ1 หลัง อาคารควบคุมระบบไฟฟ้าและโรงเก็บพัสดุ 1 หลังรั้วลวดหนามพร้อมประตูตาข่ายและป้ายชื่อสถานีฐานรองรับและท่อส่งน้ำ ณ สถานีสูบน้ำ กำหนดแล้วเสร็จภายใน250 วัน ลูกหนี้ได้รับการต่ออายุสัญญา 3 ครั้ง เป็นเวลา510 วัน ครบกำหนดส่งมอบงานในวันที่ 28 ตุลาคม 2532แต่ลูกหนี้ทำการก่อสร้างตามสัญญาไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์และไม่สามารถส่งมอบงานในวันที่ครบกำหนดดังกล่าว ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา ต่อมาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2536ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเจ้าหนี้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาเข้าทำการก่อสร้างคลองส่งน้ำให้แล้วเสร็จตามสัญญาภายใน 15 วัน แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิเสธ ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาก่อสร้างตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122จนกระทั่งวันที่ 31 มกราคม 2537 เจ้าหนี้จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาก่อสร้างแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และในการที่ลูกหนี้ผิดนัดผิดสัญญา เจ้าหนี้มีสิทธิปรับลูกหนี้เป็นรายวันตามสัญญาวันละ 3,627 บาท นับแต่วันที่ 29ตุลาคม 2532 เป็นต้นไป แม้เหตุผิดนัดผิดสัญญาทำให้เจ้าหนี้ มีสิทธิรับชำระเงินค่าปรับเป็นรายวันจากลูกหนี้ซึ่งมีมาก่อน วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดก็ตาม แต่ตามสัญญาได้กำหนดให้ลูกหนี้ผู้ผิดนัดผิดสัญญาต้องเสียค่าปรับ แก่เจ้าหนี้เป็นรายวันทุกวันที่ยังผิดนัดผิดสัญญาอยู่ มูลหนี้ในเงินค่าปรับจึงเกิดขึ้นเป็นรายวัน ดังนี้ มูลหนี้ ในเงินค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาส่วนที่เกิดขึ้นภายหลัง วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สิน ของลูกหนี้ได้ เพราะฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 ตามสัญญาก่อสร้างฉบับพิพาทระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่าการที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น เพราะจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างได้เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน ตราบใดที่เจ้าหนี้ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเจ้าหนี้จะเรียกเอาเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะว่าจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างไม่ได้ การที่เจ้าหนี้เพิ่งบอกเลิกสัญญาเมื่อเวลาภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว มูลหนี้ในเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 94 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ เงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ในการที่ลูกหนี้ทำสัญญาก่อสร้างคลองส่งน้ำกับเจ้าหนี้ ลูกหนี้ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารจำนวนเงิน 362,610 บาท มอบให้เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาของลูกหนี้ เมื่อเจ้าหนี้บอกเลิกสัญญาแก่ลูกหนี้และในวันเดียวกันนั้นเจ้าหนี้ได้เรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันและธนาคารดังกล่าวได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่เจ้าหนี้แล้วเป็นจำนวนเงิน362,610 บาท ดังนั้น สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าปรับเป็นรายวันจึงต้องลดลงตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้เงินค่าปรับรายวันโดยไม่หักจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน362,610 บาท จึงไม่ชอบปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยหนี้และการฟ้องคดีภายในอายุความในคดีล้มละลาย: การพิจารณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และระยะเวลาฟ้อง
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไว้ชั่วคราวในคดีล้มละลายเรื่องหนึ่งไว้แล้ว แต่หลังจากนั้นเจ้าหนี้ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายนี้อีกและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไว้เด็ดขาดในคดีนี้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2536 เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ขอรับชำระหนี้ได้จนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2536อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย ไว้เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 เจ้าหนี้ได้ฟ้องจำเลยและผู้ค้ำประกันให้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 27 ฉบับ ต่อศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2531 เมื่อนับถึงวันที่ตั๋วสัญญา ใช้เงินแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงินยังไม่พ้น 3 ปี ถือว่าโจทก์ ได้ฟ้องจำเลยภายในอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดี เฉพาะจำเลยชั่วคราว แต่ต่อมาศาลชั้นต้นก็ได้พิพากษา ให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว แก่เจ้าหนี้ หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 27 ฉบับ จึงไม่ขาดอายุความ