คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิพากษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4449/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องฐานเป็นเจ้าสำนักจัดให้มีการเล่นการพนัน ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีข้อความย่อ ศาลฎีกายกประเด็นการพิพากษาเกินคำขอ
แม้ในบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จะบรรยายถึงฐานความผิดของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 รับเป็นเจ้าบ้านฯ อันเป็นการใช้คำอย่างย่อโดยละข้อความที่จะตามมาเสีย แต่ในเอกสารฉบับเดียวกันนั่นเองเมื่อกล่าวถึงฐานความผิดของจำเลยที่ 1 ก็บรรยายโดยใช้คำเต็มว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าบ้านจัดให้มีการเล่นและเมื่อศาลชั้นต้นได้บันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาตรา 19 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าสำนักผู้จัดการให้มีการเล่นเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน จึงย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 นั่นเอง คำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพการที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันจึงมิใช่เป็นเรื่องพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวมาในฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2ยังมิได้วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ไม่ร้ายแรงนัก จึงมีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลยที่ 1 และคุมความประพฤติไว้ กรณีเช่นว่าเป็นเหตุในลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 โดยรอการลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้ร่วมเล่นการพนันการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้ร่วมเล่นการพนันอีกฐานหนึ่ง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้พิพากษาแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยาน-ประเด็นสินสมรส: ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงครบถ้วนก่อนพิพากษา
คำแถลงโต้แย้งคำสั่ง ศาลชั้นต้นของจำเลยมีความว่าที่ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและนัดฟังคำพิพากษาจำเลยไม่เห็นพ้องด้วยเพราะข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลย ยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้งดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นได้ว่าจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลที่ให้งดสืบพยานเพียงอย่างเดียว ส่วนการกำหนดประเด็นข้อพิพาทจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่อง กำหนดประเด็นข้อพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) โจทก์ฟ้องว่า ป. ได้กู้เงินและรับเงินไปจำนวน4,000,000 บาท และให้ถือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานการกู้เงินด้วย จำเลยให้การว่า จำนวนเงินที่โจทก์จ่ายจริงไม่ถึง 4,000,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้ง ไม่กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าต้นเงินถูกต้องหรือไม่ จึงให้งดสืบพยานข้อนี้และถือว่าป. รับเงินไปแล้ว 4,000,000 บาท จึงชอบแล้ว จำเลยให้การว่า ทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. การจำนองที่ดินดังกล่าวจำเลยมีส่วนรู้เห็นหรือให้ความยินยอมโจทก์รู้อยู่แล้วว่า จำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า สัญญาจำนองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ทรัพย์จำนองเป็นสินสมรส ระหว่าง ป. กับจำเลยแล้ว การที่ ป. ทำนิติกรรมจำนองโดยปราศจากความยินยอมของจำเลย นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ ต่อเมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาจำนองแล้ว หรือในขณะที่ ทำนิติกรรมนั้นโจทก์ผู้รับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 การที่ศาลล่างทั้งสอง พิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาของผู้มีจิตบำบัด: จำเป็นต้องตรวจสอบสภาพจิตก่อนพิพากษา
ข้อเท็จจริงหรือเหตุที่ทำให้ศาลเชื่อหรือสงสัยว่าจำเลย เป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ อาจเป็นเพราะศาลสังเกต เห็นจากอากัปกิริยาของจำเลยเอง หรือมีผู้เสนอข้อเท็จจริง ให้ศาลทราบก็ได้ ในวันที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น ธ. น้องจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นพร้อมใบตรวจโรคของแพทย์โรงพยาบาลว่า จำเลยเป็นโรคจิตเภท มีอาการระแวง พูดจาวกวน โรงพยาบาลรับตัวจำเลยไว้รักษารวม 4 ครั้งและหลังเกิดเหตุคดีนี้เพียง 3 วัน โรงพยาบาลก็ได้รับตัว จำเลยไว้รักษาอีกครั้งหนึ่งครั้งนี้จำเลยมีอาการหงุดหงิด ง่าย พูดและยิ้มคนเดียว โรงพยาบาลจำต้องดูแลรักษาต่อไป อย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้อาการกำเริบยิ่งขึ้น ดังนี้เมื่อ กรณีมีเหตุควรเชื่อในเบื้องต้นว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ศาลจึงชอบที่จะสั่งให้แพทย์ตรวจ จำเลยโดยละเอียด แล้วเรียกแพทย์ผู้ตรวจมาให้ถ้อยคำต่อศาล หรือมาให้การว่าจำเลยวิกลจริตถึงขนาดไม่สามารถต่อสู้ ได้หรือไม่เสียก่อน แล้วจึงพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้พิจารณาคำร้องของธ. น้องจำเลยเป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาลงโทษ จำเลยโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 ก่อน จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นฎีกาได้ และศาลฎีกา ย่อมมีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบด้วยมาตรา 225 สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้ศาลชั้นต้นส่งตัวจำเลยไป ให้แพทย์โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาหรือโรงพยาบาลอื่นที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควร ตรวจสภาพจิตและเรียกแพทย์ผู้ตรวจจำเลย มาให้ถ้อยคำหรือให้การต่อศาลว่าตรวจได้ผลประการใดแล้ว ดำเนินการพิจารณาพิพากษาไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอ: โจทก์ต้องขอให้นับโทษจำคุกในคำฟ้อง มิเช่นนั้น ศาลพิพากษาเกินเลย
คดีทั้งสามสำนวนนี้โจทก์ได้ขอรวมการพิจารณาพิพากษา เข้าด้วยกัน และจำเลยไม่ได้คัดค้านทั้งสามสำนวน ดังนั้น คำขอท้ายฟ้องคดีทั้งสามสำนวนนี้จึงถือเป็นข้อเท็จจริงและ เป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่อโจทก์มีความประสงค์มาแต่ต้น โดยต้องการให้ศาลชั้นต้นนับโทษจำคุกจำเลยต่อกับคดีอื่น โจทก์ต้องระบุหรือกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือขอแก้ไขเพิ่มเติม ฟ้องในภายหลังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 เสียก่อนที่จะมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เมื่อคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวและไม่มีคำขอให้นับโทษจำคุกจำเลย ต่อกันไว้การที่โจทก์ขอรวมพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสามสำนวน ด้วยกันก็เพื่อประโยชน์ในการนำสืบพยานหลักฐานชุดเดียวกัน ของคู่ความเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติม ฟ้องทำนองขอให้นับโทษในคดีต่อกันดังที่โจทก์แก้ฎีกา ด้วยเหตุนี้ การที่ศาลล่างพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดรวมทั้งสิ้น 11 กระทง และให้นับโทษจำคุกจำเลยต่อกันจึงเป็นการพิพากษา เกินคำขอของโจทก์ที่มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1882/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อจากการก่อสร้าง การพิพากษาเกินคำขอ
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในระหว่างการก่อสร้าง บ้านจำเลยได้มีการใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็ม แรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็มอาจทำให้กำแพงรั้วคอนกรีตและตัวบ้านเสียหาย โจทก์ได้สั่งให้จำเลยแก้ไขแล้วแต่จำเลยกลับเพิกเฉยและยังใช้ ปั้นจั่นตอกเสาเข็มต่อไปจนเสร็จ โดยไม่ได้แก้ไขเรื่องแรง สั่นสะเทือนหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องตอกเสาเข็มแต่อย่างใด อีกทั้งมิได้หาทางป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่บ้านโจทก์ และด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยทำให้กำแพงรั้วคอนกรีต คานและหลังคา ค.ส.ล. บนกำแพง รั้วคอนกรีตของบ้านโจทก์ รวมทั้งอุปกรณ์ตกแต่งอื่น ๆที่ติดอยู่ภายในกำแพงรั้วคอนกรีต ได้รับความเสียหายนั้น เป็นการบรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดจาก การกระทำของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มิใช่ให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 428 ซึ่งเป็นเรื่องผู้ว่าจ้าง ทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อ ให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง เพราะ ตามคำฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยว่าจ้างใคร และมีส่วนผิด ในการงานที่สั่งให้ทำอย่างไร และแม้ความรับผิดตามมาตรา 420 อาจซ้อนกับมาตรา 428 ได้ แต่คำฟ้องโจทก์ก็จะต้องแสดง ให้แจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็น หลักแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยรับผิด ตามมาตรา 428 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีเกี่ยวกับยาเสพติด: การพิจารณาปริมาณ, เจตนา, และคำรับสารภาพของผู้ต้องหา
โจทก์ฟ้องจำเลยให้การรับสารภาพ และคดีนี้มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่าง และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยย่อมฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ มาตรา 15 วรรคสอง บัญญัติว่า "การผลิต นำเข้าส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณ เป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่าผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย" จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน50 เม็ด น้ำหนักรวม 4.12 กรัม จำเลยจึงน่าจะมีความผิดเพียงฐานมียาเสพติดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้นได้
ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง ในปริมาณซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ 20กรัม ขึ้นไป เป็นปริมาณที่มาก จนกระทั่งกฎหมายเห็นว่า การผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองในปริมาณดังกล่าวผู้กระทำน่าจะมีเจตนามิใช่เพื่อการใช้อย่างปกติทั่วไปคือเพื่อเสพ แต่น่าจะมีเจตนาพิเศษคือเพื่อจำหน่าย กฎหมายจึงสันนิษฐานโดยให้ถือว่าการกระทำในปริมาณดังกล่าวเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อจำหน่าย
แม้จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในความครอบครองเพียง 4.12กรัม ทั้งมิได้คำนวณเป็นปริมาณสารบริสุทธิ์ จะไม่เข้าข้อสันนิษฐานของบทกฎหมายที่ว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายก็ตาม แต่ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นเพราะจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนมากถึง 50 เม็ด และมีพฤติการณ์ว่าน่าจะมีไว้เพื่อจำหน่าย ในชั้นสอบสวนเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยเพิ่มเติมว่ามียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำเลยให้การรับสารภาพ และในชั้นพิจารณาของศาลจำเลยก็ให้การรับสารภาพเช่นเดิมอีก เมื่อศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยแล้วเชื่อว่าจำเลยมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจริง จึงได้ลงโทษตามพยานหลักฐานที่พิจารณาได้ความเช่นนี้ ศาลล่างทั้งสองหาได้ลงโทษโดยนำข้อสันนิษฐานของกฎหมายมาปรับใช้ไม่ ดังนี้ คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6588/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ไม่ชอบ
การที่ทนายโจทก์อ้างว่ามีอาการป่วยวิงเวียนศีรษะต้องจอดรถอาเจียนข้างถนนจึงทำให้มาถึงศาลช้าไปนั้นโจทก์ก็รับว่ามาศาลหลังเวลานัดสืบพยานโจทก์ประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที และภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีไปแล้ว 10 นาที ถือว่าโจทก์และทนายโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัด จึงเป็นกรณีโจทก์ขาดนัดพิจารณา ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่งบัญญัติบังคับให้ศาลสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความและเมื่อคำสั่งให้จำหน่ายคดีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่ง ศาลชั้นต้นได้ เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้จำหน่ายคดีของโจทก์ โดยศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณาและศาลจำหน่ายคดี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์หรือมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 แล้ว ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6205/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีอาญา: พยานหลักฐานไม่เพียงพอต่อการรับฟังความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและพาอาวุธ
เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ ใช้อาวุธมีดฟันและแทงผู้ตายจนถึงแก่ความตาย ก็ย่อมฟังไม่ได้ว่า จำเลยกระทำผิดฐานพาอาวุธไปในเมืองและทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ด้วย เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน แม้ความผิด ฐานนี้จะยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องในคดีความผิดฐานนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6058/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เมื่อศาลยกเลิกการประนอมหนี้ ต้องพิพากษาให้ล้มละลายตามกฎหมาย
ตามบทบัญญัติของมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มีความหมายชัดแจ้งอยู่แล้วว่า เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้แล้ว ต้องพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายสถานเดียว จะกลับไปนำมาตรา 14 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้มิได้เพราะบทบัญญัติดังกล่าวต้องใช้บังคับแก่กรณีที่ยังไม่ได้ มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5697/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. พยายามฆ่า: การพิพากษาความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายเมื่อไม่มีเจตนาฆ่า
แม้ก่อนที่จำเลยจะใช้มีดพร้าไล่ฟันผู้เสียหาย จำเลยกับผู้เสียหายทะเลาะโต้เถียงกันเรื่องที่จำเลยกล่าวหาว่าผู้เสียหายลักเศษยางพาราของจำเลยไปแต่การโต้เถียงดังกล่าวเมื่อไม่ทำให้จำเลยเกิดโทสะถึงขนาดกับต้องการเอาชีวิตผู้เสียหาย การที่จำเลยใช้มีดพร้าฟันผู้เสียหายด้วยอารมณ์โกรธชั่วแล่นเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อการกระทำของจำเลยไม่บรรลุผล เพราะผู้เสียหายหลบทัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่น แม้ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายก็ตาม แต่การกระทำความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายเป็นการกระทำที่รวมอยู่ในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยฐานพยายามทำร้ายร่างกายได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย
of 37