พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบถ่านไม้ที่ได้มาจากการกระทำผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ กรณีมีไว้เกินปริมาณที่กำหนด
จำเลยนำถ่านไม้อันเป็นของป่าเคลื่อนที่โดยไม่มีใบเบิกทางของพนักงานเจ้าหน้าที่ และมีถ่านไม้ดังกล่าวไว้เกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้ขอรับอนุญาต เมื่อถ่านไม้ของกลางที่จำเลยมีไว้เกินปริมาณที่รัฐมนตรีกำหนด อันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้แล้ว ถือได้ว่ามีไว้เนื่องจากการกระทำผิดตามความหมายในมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 แล้ว จึงต้องริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์ในความผิดพ.ร.บ.ป่าไม้: ศาลพิจารณาจากบทบัญญัติทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญาได้ แม้มีกฎหมายเฉพาะ
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ++
++ โจทก์ฎีกา ++
++
++ คำพิพากษาสั่งออก - รอย่อ
++ แจ้งการอ่านแล้ว / โปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++
รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ให้ลูกจ้างของตนนำไปบรรทุกถ่านจากผู้ที่ลักลอบเผา โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นถ่านที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น แม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้จะมีบทบัญญัติเกี่ยวแก่การริบทรัพย์เป็นพิเศษซึ่งไม่อาจใช้บังคับแก่รถยนต์ของกลางคันนี้ได้ แต่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ไม่มีข้อความใดบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นอันจะแสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการให้นำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับ ต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 มาใช้บังคับในการที่จะริบรถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 531/2510)
++ โจทก์ฎีกา ++
++
++ คำพิพากษาสั่งออก - รอย่อ
++ แจ้งการอ่านแล้ว / โปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++
รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ให้ลูกจ้างของตนนำไปบรรทุกถ่านจากผู้ที่ลักลอบเผา โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นถ่านที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น แม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้จะมีบทบัญญัติเกี่ยวแก่การริบทรัพย์เป็นพิเศษซึ่งไม่อาจใช้บังคับแก่รถยนต์ของกลางคันนี้ได้ แต่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ไม่มีข้อความใดบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นอันจะแสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการให้นำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับ ต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 มาใช้บังคับในการที่จะริบรถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 531/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเครื่องจักรและปรับบทลงโทษฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
เครื่องจักรเลื่อยวงเดือน เครื่องจักรเลื่อยสายพานเครื่องจักรใช้เจาะไม้และเครื่องจักรไสไม้ ซึ่งจำเลยใช้ในการตั้งโรงงานแปรรูปไม้สัก ไม้ยาง โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 116 ข้อ 4 จึงต้องริบ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 4)พ.ศ.2503 มาตรา 18(อ้างฎีกาที่ 1572/2505)
ความผิดฐานตั้งโรงงานไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติโรงงานมีอัตราโทษปรับสถานเดียว จึงเบากว่าความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้สัก ไม้ยาง โดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้ ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกและปรับ ต้องปรับบทลงโทษฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้สัก ไม้ยาง โดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยฐานตั้งโรงงานไม่ได้รับอนุญาต วางโทษปรับ 5,000 บาทโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนมา ศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้ปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง โดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย
ความผิดฐานตั้งโรงงานไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติโรงงานมีอัตราโทษปรับสถานเดียว จึงเบากว่าความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้สัก ไม้ยาง โดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้ ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกและปรับ ต้องปรับบทลงโทษฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้สัก ไม้ยาง โดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยฐานตั้งโรงงานไม่ได้รับอนุญาต วางโทษปรับ 5,000 บาทโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนมา ศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้ปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง โดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3054/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้แปรรูปเป็นบานประตูหน้าต่างสำเร็จรูป ไม่ถือเป็นไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
บ้านประตูหน้าต่างของกลางมีตะปูขันเกลียว มีสลักยึดและไสกบประกอบขึ้นอย่างมั่นคง มีลักษณะอย่างเดียวกับบานประตูหน้าต่างที่มีขายทั่วไป แสดงให้เห็นเจตนาเพื่อจะใช้เป็นบานประตูหน้าต่างโดยเฉพาะ แม้ยังไม่ได้เซาะร่อง ติดกลอน และติดบานพับก็เป็นบานประตูหน้าต่างสำเร็จรูปแล้ว จึงเป็นเครื่องใช้สำหรับสิ่งปลูกสร้างไม่ใช่ไม้แปรรูปตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 4(4) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 4
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2516)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2793/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความประเภทไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: ไม้ยางแดงเป็น 'ไม้หวงห้ามประเภท ก.' หรือ 'ไม้อื่น' ที่ต้องออกพระราชกฤษฎีกากำหนด
พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 5 บัญญัติว่าไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้อื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เมื่อไม้ยางแดงถูกกำหนดให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 จึงต้องแปลว่าไม้ยางแดงเป็นไม้อื่นตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 7แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 5(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 35/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2793/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความประเภทไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: ไม้ยางแดงจัดเป็น 'ไม้อื่น' ตามกฎหมาย แม้ถูกกำหนดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. โดยพระราชกฤษฎีกา
พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 5 บัญญัติว่าไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้อื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เมื่อไม้ยางแดงถูกกำหนดให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 จึงต้องแปลว่าไม้ยางแดงเป็นไม้อื่นตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2503 มาตรา 5(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 35/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ถ่านไม่ใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ผู้ครอบครองจึงไม่มีความผิด
ถ่านเป็นวัตถุธาตุที่ได้จากการเอาไม้ไปเผาหรืออบ ไม่มีสภาพเป็นไม้ จึงไม่เป็นไม้แปรรูปตามความหมายของพระราชบัญญัติป่าไม้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ถ่านไม่ใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ การมีถ่านในครอบครองจึงไม่เป็นความผิด
ถ่านเป็นวัตถุธาตุที่ได้จากการเอาไม้ไปเผาหรืออบ ไม่มีสภาพเป็นไม้. จึงไม่เป็นไม้แปรรูปตามความหมายของพระราชบัญญัติป่าไม้.(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2511).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาว่าไม้เป็นสิ่งปลูกสร้างหรือไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ และการส่งรายงานตรวจพิสูจน์แก่จำเลย
อย่างไรจึงจะเรียกว่าเป็นไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือว่า เป็นไม้แปรรูปตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(4) วรรคหนึ่ง
ในกรณีที่โจทก์อ้างผู้ชำนาญการพิเศษมาเป็นพยานเพื่อให้เบิกความประกอบรายงานการตรวจพิสูจน์ไม้ของกลางในคดีอาญานั้นไม่จำต้องส่งสำเนารายงานการตรวจพิสูจน์นั้นให้จำเลยทราบล่วงหน้า 3 วัน ก่อนเบิกความ เพราะมิใช่กรณีที่ศาลสั่งให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 243 วรรคสอง
ในกรณีที่โจทก์อ้างผู้ชำนาญการพิเศษมาเป็นพยานเพื่อให้เบิกความประกอบรายงานการตรวจพิสูจน์ไม้ของกลางในคดีอาญานั้นไม่จำต้องส่งสำเนารายงานการตรวจพิสูจน์นั้นให้จำเลยทราบล่วงหน้า 3 วัน ก่อนเบิกความ เพราะมิใช่กรณีที่ศาลสั่งให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 243 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'ผ่าน' ในความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา 41 ต้องพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม
พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 41 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดนำไม้หรือของป่าผ่านด่านป่าไม้ในระหว่างเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้นเว้นแต่จะได้รับอนุญาตฯลฯแต่พระราชบัญญัติป่าไม้ไม่มีวิเคราะห์ศัพท์คำว่า 'ผ่าน' ก็ต้องตีความหมายธรรมดา (ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน) หมายถึงกิริยาที่ล่วงพ้นไป ตัดไปลัดไป หรือข้ามไปฉะนั้นเมื่อคดีได้ความว่าจำเลยเพียงแต่นำไม้เข้ามาในเขตด่านป่าไม้ จะแปลว่าจำเลยได้นำไม้ผ่านด่านป่าไม้ไม่ได้จำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 41