พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4524/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อมูลยาเสพติดที่ไม่ชัดเจนและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลต่อการลดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
ตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 ผู้ที่ให้ข้อมูลในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษจะต้องเป็นผู้กระทำความผิดและให้ข้อมูลต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่จับกุมผู้กระทำความผิด หรือพนักงานสอบสวนในคดีที่ผู้กระทำความผิดถูกดำเนินคดี และข้อมูลดังกล่าวต้องเป็นข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
การที่จำเลยบอกข้อมูลว่าเคยซื้อยาเสพติดให้โทษมาจาก ต. อายุประมาณ 45 ปี รูปร่างอ้วน ให้แก่ ว. ภริยาจำเลย พร้อมทั้งให้หมายเลขโทรศัพท์ของ ต. โดยแจ้งให้ ว. นำข้อมูลไปแจ้งแก่เจ้าพนักงานตำรวจ แต่กลับได้ความจาก ว. ว่ารับข้อมูลจากจำเลยว่าเคยซื้อยาเสพติดให้โทษจากผู้หญิงชื่อ ต. มีภูมิลำเนาอยู่แถวพระราม 2 จะส่งยาเสพติดให้โทษที่ตลาดรังสิต จึงนำข้อมูลไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจคนละชุดกับเจ้าพนักงานตำรวจที่จับกุมจำเลย พันตำรวจตรี ป. ได้รับข้อมูลเบื้องต้นของ ต. แล้วจึงสืบสวนหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนวางแผนจับกุม ต. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 1,600 เม็ด จำเลยให้ข้อมูลของ ต. โดยไม่มีรายละเอียดหรือลักษณะรูปพรรณของ ต.ว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะจำเลยอ้างว่าบอกข้อมูลให้ ว. ขณะจำเลยต้องขังในเรือนจำ แต่กลับปรากฏในคำร้องอุทธรณ์คำสั่งขอปล่อยชั่วคราวของจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธและไม่ได้อ้างเหตุดังกล่าว เมื่อการจับกุม ต. ได้โดยไม่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงจากข้อมูลของจำเลยซึ่งให้ข้อมูลที่อ้างอย่างคร่าว ๆ จึงไม่เชื่อว่าจำเลยให้ข้อมูลแก่ ว. ไปแจ้งต่อพันตำรวจตรี ป. ให้ไปจับกุม ต. จริง ทั้งพันตำรวจตรี ป. มิได้เป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่จับกุมจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดในคดีนี้แต่อย่างใด จำเลยจึงไม่ได้รับประโยชน์ตาม มาตรา 100/2 การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยแจ้งข้อมูลผ่าน ว. ให้ไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจเกี่ยวกับข้อมูลของ ต. ผู้เคยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จำเลยจนจับกุม ต. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 1,600 เม็ด จึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
การที่จำเลยบอกข้อมูลว่าเคยซื้อยาเสพติดให้โทษมาจาก ต. อายุประมาณ 45 ปี รูปร่างอ้วน ให้แก่ ว. ภริยาจำเลย พร้อมทั้งให้หมายเลขโทรศัพท์ของ ต. โดยแจ้งให้ ว. นำข้อมูลไปแจ้งแก่เจ้าพนักงานตำรวจ แต่กลับได้ความจาก ว. ว่ารับข้อมูลจากจำเลยว่าเคยซื้อยาเสพติดให้โทษจากผู้หญิงชื่อ ต. มีภูมิลำเนาอยู่แถวพระราม 2 จะส่งยาเสพติดให้โทษที่ตลาดรังสิต จึงนำข้อมูลไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจคนละชุดกับเจ้าพนักงานตำรวจที่จับกุมจำเลย พันตำรวจตรี ป. ได้รับข้อมูลเบื้องต้นของ ต. แล้วจึงสืบสวนหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนวางแผนจับกุม ต. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 1,600 เม็ด จำเลยให้ข้อมูลของ ต. โดยไม่มีรายละเอียดหรือลักษณะรูปพรรณของ ต.ว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะจำเลยอ้างว่าบอกข้อมูลให้ ว. ขณะจำเลยต้องขังในเรือนจำ แต่กลับปรากฏในคำร้องอุทธรณ์คำสั่งขอปล่อยชั่วคราวของจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธและไม่ได้อ้างเหตุดังกล่าว เมื่อการจับกุม ต. ได้โดยไม่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงจากข้อมูลของจำเลยซึ่งให้ข้อมูลที่อ้างอย่างคร่าว ๆ จึงไม่เชื่อว่าจำเลยให้ข้อมูลแก่ ว. ไปแจ้งต่อพันตำรวจตรี ป. ให้ไปจับกุม ต. จริง ทั้งพันตำรวจตรี ป. มิได้เป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่จับกุมจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดในคดีนี้แต่อย่างใด จำเลยจึงไม่ได้รับประโยชน์ตาม มาตรา 100/2 การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยแจ้งข้อมูลผ่าน ว. ให้ไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจเกี่ยวกับข้อมูลของ ต. ผู้เคยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จำเลยจนจับกุม ต. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 1,600 เม็ด จึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อนุญาตฎีกาและคดีถึงที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด การอุทธรณ์ฎีกาจึงไม่ชอบ
เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกา ไม่ส่งคำร้องของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และไม่มีเหตุที่จะงดการอ่านคำสั่งของศาลฎีกา โดยให้ยกคำร้องของจำเลยทั้งสามฉบับ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการต่อไป คดีย่อมเป็นที่สุดนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคสาม จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดและกำหนดโทษในคดียาเสพติดภายหลังการใช้ พ.ร.บ.ยาเสพติด พ.ศ.2564
แม้ พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 4 ยกเลิก พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ ป.ยาเสพติดแทน แต่มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ยังคงให้บทบัญญัติที่ให้สันนิษฐานว่าเป็นการกระทำเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายเดิม ยังมีผลใช้บังคับแก่คดีที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วก่อนวันที่ ป.ยาเสพติดใช้บังคับจนกว่าคดีถึงที่สุด บทสันนิษฐานตามกฎหมายเดิม มาตรา 15 ที่ว่า การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามปริมาณที่กำหนด เช่น แอมเฟตามีน คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไปให้สันนิษฐานว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงยังมีผลใช้บังคับต่อไปในคดีนี้ที่ยังไม่ถึงที่สุด ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 ประกอบมาตรา 66 ซึ่งเป็นกฎหมายเดิม บัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นโดยถือเอาเพียงปริมาณของยาเสพติดเป็นสำคัญ แต่ ป.ยาเสพติด มาตรา 145 ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ บัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นโดยถือเอาพฤติการณ์ในการกระทำความผิดและบทบาทหน้าที่ในการกระทำความผิดเป็นสำคัญ ไม่ได้ถือเอาปริมาณดังเช่นกฎหมายเดิมอีกต่อไป แม้ปริมาณที่มากขึ้นอาจบ่งชี้ถึงพฤติการณ์ในการกระทำความผิดและบทบาทหน้าที่ก็ตาม เมื่อปริมาณยาเสพติดที่มากขึ้นอาจบ่งชี้ได้ถึงพฤติการณ์ในการกระทำความผิดและบทบาทหน้าที่อยู่ในตัว กฎหมายใหม่จึงไม่ได้ยกเลิกความผิดตามกฎหมายเดิม มาตรา 66 วรรคสองและวรรคสาม ไปเสียทีเดียว ดังนั้น ถ้าผู้กระทำความผิดมีพฤติการณ์หรือบทบาทหน้าที่ตามกฎหมายใหม่ มาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสาม ศาลย่อมมีอำนาจปรับบทความผิดตามมาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสามได้ แต่ถ้ายาเสพติดให้โทษมีปริมาณถึงตามกฎหมายเดิม มาตรา 66 วรรคสองหรือวรรคสาม แต่ผู้กระทำความผิดไม่มีพฤติการณ์ในการกระทำความผิดและบทบาทหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายใหม่ มาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสาม ศาลย่อมไม่อาจปรับบทความผิดตามมาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสามได้ คงปรับบทความผิดได้เพียงตามมาตรา 145 วรรคหนึ่ง ส่วนการกำหนดโทษก็ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณทั้งกฎหมายเก่าและกฎหมายใหม่ไม่ว่าในทางใด ทั้งนี้ ตาม ป.อ. มาตรา 3 ส่วนการปรับบทความผิดนั้นขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ปรากฏ คดีนี้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 1,000 เม็ด ให้ผู้ล่อซื้อ และจำเลยทั้งสองเคยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้ต้องหารายอื่นมาก่อนหน้าแล้ว พฤติการณ์ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดดังกล่าวย่อมทำให้เกิดการแพร่กระจายแก่ผู้เสพหลายคนโดยสภาพ ถือเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชนแล้ว กรณีจึงต้องลงโทษจำเลยทั้งสองตามกฎหมายใหม่ มาตรา 145 วรรคสอง (2) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสองล้านบาท อันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณมากกว่าแก่จำเลยทั้งสองที่มีเมทแอมเฟตามีนปริมาณถึงตามกฎหมายเดิม มาตรา 66 วรรคสาม ที่มีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต ปัญหาดังกล่าวล้วนเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ทั้งเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง มาตรา 213 และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3