คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟื้นฟูกิจการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 199 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4227/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งฟื้นฟูกิจการไปยังภูมิลำเนาเจ้าหนี้ต่างชาติที่ถูกต้อง เพื่อให้เจ้าหนี้สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ทันตามกำหนด
เจ้าหนี้มีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดส่งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้เสนอคำขอรับชำระหนี้ไปยังห้องชุดซึ่งเจ้าหนี้ได้บอกเลิกสัญญาเช่าและเดินทางกลับประเทศมาเลเซียแล้ว กรณียังถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ได้ทราบถึงการแจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้ทราบตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/24 วรรคสอง คดีมีเหตุตามกฎหมายที่จะรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3987/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการรับชำระหนี้ค่าธรรมเนียมค้ำประกันค้างชำระในคดีฟื้นฟูกิจการ แม้เจ้าหนี้ชั้นต้นได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนแล้ว
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันรวม 3 ฉบับ ในมูลหนี้ค้ำประกันคงเหลือ และค่าธรรมเนียมค้ำประกันค้างชำระ การพิจารณาถึงสิทธิในการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงต้องแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ในภาระค้ำประกันคงเหลืออันเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน ลูกหนี้จะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้รายที่ 190 ซึ่งเป็นการขอรับชำระหนี้ตามภาระค้ำประกันที่คงเหลือในจำนวนที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในภายหน้า เมื่อปรากฏว่าเจ้าหนี้ที่ 190 ขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้ย่อมไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ส่วนนี้อีกตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/27 วรรคสอง ส่วนหนี้ค่าธรรมเนียมค้ำประกันค้างชำระ เป็นหนี้ค่าตอบแทนแก่เจ้าหนี้ที่ลูกหนี้ตกลงจ่ายให้ในการขอให้เจ้าหนี้ออกหนังสือค้ำประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้รายที่ 190 จึงเป็นการขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้โดยตรง เจ้าหนี้จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้เพียงใดจะต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3747/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหักกลบลบหนี้ของเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ แม้มีมติยอมรับแผนแล้ว หากยังไม่ผูกมัดตามเงื่อนไข
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/33 ให้สิทธิเจ้าหนี้หักกลบลบหนี้ได้ถ้าเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นหนี้ลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เว้นแต่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ดังนี้ เมื่อผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และลูกหนี้มีเงินฝากอยู่กับผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านรับฝากเงินไว้ก่อนที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เงินฝากดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านตั้งแต่มีการฝากเงิน ลูกหนี้ผู้ฝากเงินมีสิทธิที่จะถอนเงินฝากไปได้ และผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบตามจำนวนที่ขอถอน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านกับลูกหนี้ต่างเป็นหนี้ซึ่งกันและกันอยู่ในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แม้หนี้ที่ผู้คัดค้านมีสิทธิได้รับชำระหนี้จะถูกกำหนดให้ได้รับชำระตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาตามแผนฟื้นฟูกิจการ ก็ยังอาจหักกลบลบหนี้ได้เนื่องจากการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ มาตรา 90/27 บัญญัติให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ ถ้ามูลหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหนี้หรือมีเงื่อนไขก็ตาม และแม้ผู้คัดค้านแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ต่อลูกหนี้ภายหลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการแต่เป็นช่วงเวลาก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน ซึ่งเจ้าหนี้ยังไม่ถูกผูกมัดให้ได้รับชำระหนี้ตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ในแผนตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3747/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหักกลบลบหนี้ของเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ส่วนลูกหนี้มีเงินฝากอยู่กับผู้คัดค้านตามบัญชีเงินฝากรวม 2 บัญชี โดยผู้คัดค้านรับฝากเงินไว้ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เงินฝากดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านตั้งแต่มีการฝากเงิน ลูกหนี้ผู้ฝากเงินมีสิทธิที่จะถอนเงินฝากไปได้และผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบตามจำนวนที่ขอถอน ถึงเห็นกรณีที่ผู้คัดค้านกับลูกหนี้ต่างเป็นหนี้ซึ่งกันและกันอยู่ในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ผู้คัดค้านจึงใช้สิทธินำเงินฝากทั้งสองบัญชีดังกล่าวของลูกหนี้มาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้คัดค้านได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/33 ภายหลังที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการแต่ก็เป็นช่วงเวลาก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนดังกล่าว ซึ่งเจ้าหนี้ยังไม่ถูกผูกมัดให้ได้รับชำระหนี้ตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ในแผนตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3135/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เพื่อขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ และขอบเขตการได้รับชำระหนี้
ก่อนยื่นคำขอรับชำระหนี้คดีนี้เจ้าหนี้ได้ฟ้องบริษัท ส. และลูกหนี้เป็นจำเลยในข้อหาผิดสัญญาซื้อขาย รับสภาพหนี้ และใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ โดยฟ้องว่า บริษัท ส. ผิดสัญญาไม่ชำระค่าสินค้าให้เจ้าหนี้ ซึ่งต่อมาบริษัท ส. ได้ทำสัญญารับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ว่าเป็นหนี้ค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยเป็นเงิน 38,065,534.81 บาท และขอผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน แต่ก็ผิดนัดชำระหนี้และปรากฏว่าก่อนหน้านี้ลูกหนี้ได้ว่าจ้างบริษัท ส. ดังกล่าว ก่อสร้างและติดตั้งระบบภายในอาคารของลูกหนี้ โดยมีการส่งมอบงานแก่ลูกหนี้ 3 งวด รวมทั้งสิ้น 76 ครั้ง คิดเป็นเงิน 127,000,000 บาท และบริษัท ส. รับสมอ้างว่าได้รับค่าจ้างจำนวนดังกล่าวไปจากลูกหนี้แล้วซึ่งไม่เป็นความจริง เจ้าหนี้จึงแจ้งให้บริษัท ส. ใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องลูกหนี้ให้ชำระหนี้ดังกล่าวเพื่อจะได้นำมาชำระหนี้ค่าสินค้าแก่เจ้าหนี้ แต่บริษัท ส. เพิกเฉยทำให้เจ้าหนี้เสียหายและเสียประโยชน์ ขอให้บังคับบริษัท ส. และลูกหนี้ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินจำนวน 38,065,534.81 บาท พร้อมดอกเบี้ย บริษัท ส. และลูกหนี้ให้การต่อสู้คดี แต่ระหว่างการพิจารณาคดีลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการและศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะลูกหนี้ชั่วคราว และต่อมาได้พิพากษาให้บริษัท ส. ชำระหนี้ดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ คดีถึงที่สุด ดังนี้ การที่เจ้าหนี้ได้ฟ้องบริษัท ส. และลูกหนี้เป็นจำเลยในคดีแพ่งแทนการขอให้ศาลออกหมายเรียกให้บริษัท ส. เข้ามาในคดีในการใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้ ก็ถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้ดำเนินการตาม ป.พ.พ. มาตรา 234 ที่มุ่งหมายให้ลูกหนี้เข้ามาในคดีเพื่อรักษาสิทธิของตนแล้ว และการที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการในนามตนเองแทนบริษัท ส. เป็นกระบวนการที่สืบเนื่องมาจากการที่เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องของบริษัท ส. ซึ่งเป็นลูกหนี้นั่นเอง เมื่อบริษัท ส. ไม่มีทรัพย์สินที่เจ้าหนี้จะบังคับมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ และบริษัท ส. ก็มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ด้วย จึงเป็นกรณีที่บริษัท ส. เพิกเฉยไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์ เจ้าหนี้จึงใช้สิทธิเรียกร้องของบริษัท ส. ในนามตนเองขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ตามจำนวนหนี้ที่บริษัท ส. เป็นหนี้เจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการมีอำนาจกระทำการแทนลูกหนี้และร่วมรับผิดในค่าชดเชยแรงงาน แต่ไม่เป็นการส่วนตัว
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/25 จึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าชดเชยต่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างแต่ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ ต้องเป็นหนี้ซึ่งกันและกันในเวลาที่มีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ
การใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/33 บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นหนี้ลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้นั้นอาจใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ เว้นแต่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่ใช้ในกรณีที่เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการขอใช้สิทธิหักกลบลบหนี้โดยเฉพาะ หมายความว่า ถ้าเจ้าหนี้กับลูกหนี้ผู้ถูกฟื้นฟูกิจการต่างเป็นหนี้ซึ่งกันและกันอยู่ในเวลาที่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้นั้นอาจใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ได้ อันจะยังผลให้หนี้ในส่วนนั้นระงับไป สำหรับข้อยกเว้นสำคัญคือเจ้าหนี้จะต้องไม่ได้สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ภายหลังที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว ส่วนข้อความ "...ในเวลาที่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ..." ในมาตราดังกล่าวก็คือในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการนั่นเองหาได้มีความหมายเลยไปถึงช่วงเวลาภายหลังที่ศาลได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเพราะหนี้ประเภทใดบ้างที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนที่เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการนั้น มาตรา 90/27 วรรคสาม ได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ คดีนี้เมื่อเจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้ในเงินที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มภายหลังเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ กรณีจึงไม่ใช่เจ้าหนี้กับลูกหนี้ต่างเป็นหนี้ซึ่งกันและกันอยู่ในเวลาที่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้ย่อมไม่อาจใช้สิทธิขอหักกลบลบหนี้สำหรับหนี้ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องซ้ำในประเด็นที่ศาลวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายล้มละลาย
ผู้บริหารของลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาซึ่งมีข้อความเหมือนกับคำร้องฉบับลงวันที่เดียวกันที่ยื่นต่อศาลล้มละลายกลาง โดยขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งยกเลิกการแต่งตั้งผู้ทำแผนและมีคำสั่งว่าแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นโมฆะ และให้ยกเลิกแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าว โดยขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งบริษัท ท. เป็นผู้ทำแผนแทน ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเป็นคำสั่งคำร้องศาลฎีกาว่า "คดีนี้ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษายืนเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว และประเด็นตามคำร้องได้มีการวินิจฉัยในคำพิพากษาดังกล่าวแล้ว ให้ยกคำร้อง..." การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้บริหารของลูกหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางมีข้อความทำนองเดียวกับที่ยื่นต่อศาลฎีกาในวันเดียวกัน กับทั้งประเด็นเดียวกับที่มีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน อันเป็นการขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ: สิทธิเรียกร้องที่มีข้อต่อสู้ไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้ได้
แม้แผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มิได้มีข้อกำหนดห้ามมิให้มีการหักกลบลบหนี้ในหนี้ของเจ้าหนี้ ผู้บริหารแผนชอบที่จะใช้สิทธิแสดงเจตนาขอหักกลบลบหนี้ระหว่างหนี้ที่ลูกหนี้กับเจ้าหนี้ต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกันได้ก็ตาม แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าในคดีฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้ ลูกหนี้คดีนี้โดยผู้บริหารแผนได้นำมูลหนี้ที่ขอหักกลบลบหนี้กับเจ้าหนี้ดังกล่าวไปขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ได้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้และขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในหนี้ดังกล่าวจึงยังมีข้อต่อสู้อยู่ หาอาจจะเอามาหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 ได้ไม่
แม้เจ้าหนี้เพิ่งหยิบยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง โดยมิได้กล่าวอ้างมาก่อนในชั้นไต่สวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ตาม แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ต้องพิจารณาให้ได้ความจริงถึงสิทธิในการขอหักกลบลบหนี้ของผู้บริหารแผนว่าอาจจะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏอยู่ในสำนวนคดีและกระบวนการดำเนินการชั้นฟื้นฟูกิจการของทั้งสองฝ่ายแล้ว การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้หยิบยกข้อเท็จจริงถึงการเป็นหนี้ของลูกหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ขึ้นมาวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบและศาลชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการหลังศาลอนุมัติ: ผู้บริหารแผนมีอำนาจเสนอแก้ไขได้ แม้คณะกรรมการเจ้าหนี้มีอำนาจเสนอแนะ
เมื่อพิจารณา พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/63 วรรคหนึ่งและวรรคสามแล้วจะเห็นได้ว่าในการขอแก้ไขแผนหลังจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้วนั้น หากมีเหตุอันสมควรและมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ศาลใช้เป็นเหตุในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป ผู้บริหารแผนซึ่งเป็นบุคคลที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบจะต้องปฏิบัติและดำเนินการตามแผนให้สำเร็จลุล่วงไปเพียงผู้เดียวมีอำนาจที่จะเสนอขอแก้ไขแผนนั้นได้ โดยยื่นข้อเสนอนั้นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แล้วให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณา หากที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอขอแก้ไขแผนดังกล่าวนั้นตามมาตรา 90/46 แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องรายงานศาลเพื่อพิจารณาว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่
การที่แผนปรับโครงสร้างหนี้ทางการเงินกำหนดว่าคณะกรรมการเจ้าหนี้มีอำนาจในการตกลงเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญหรือแก้ไขเอกสารปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เมื่อนำมาพิจารณาประกอบอำนาจของคณะกรรมการเจ้าหนี้ตามมาตรา 90/55 วรรคหนึ่ง และมาตรา 90/67 เห็นได้ว่า คณะกรรมการเจ้าหนี้มีอำนาจในการเสนอแนะและสอดส่องให้ผู้บริหารแผนดำเนินการปฏิบัติไปตามแผนแทนเจ้าหนี้ทั้งหลายเท่านั้น หาได้มีอำนาจในการที่จะเสนอขอแก้ไขแผนด้วยตนเองไม่ ตามที่แผนกำหนดให้คณะกรรมการเจ้าหนี้มีอำนาจในการตกลงเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญหรือแก้ไขเอกสารปรับโครงสร้างหนี้ ฯลฯ ก็หมายความเพียงว่า เมื่อเข้าเงื่อนไขในการขอแก้ไขแผนแล้ว คณะกรรมการเจ้าหนี้มีอำนาจในการเสนอเรื่องดังกล่าวให้ผู้บริหารแผนดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/63 ได้ แต่ขณะเดียวกัน เมื่ออำนาจในการเสนอขอแก้ไขแผนนั้นเป็นอำนาจของผู้บริหารแผนโดยตรง ผู้บริหารแผนเองก็ย่อมมีอำนาจในการที่จะเสนอขอแก้ไขแผนตามที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นกัน และเมื่อผู้บริหารได้ยื่นข้อเสนอขอแก้ไขแผนแล้ว การประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอแก้ไขแผน การลงมติของที่ประชุมเจ้าหนี้จะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/63
เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องแก้ไขแผนให้เกิดความชัดเจนสามารถปฏิบัติได้และสอดคล้องกับความประสงค์ของเจ้าหนี้ ทั้งเจ้าหนี้เกือบทั้งหมดซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขแผนได้ยอมรับข้อเสนอขอแก้ไขแผนนั้นแล้ว ชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผน ไม่มีเจ้าหนี้คัดค้าน ข้อเสนอขอแก้ไขแผนดังกล่าวไม่ขัดต่อ พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/58 กรณีจึงสมควรเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผน
of 20