คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องซ้อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกทรัพย์มรดกซ้ำกับคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่า ที่ดินพิพาทคดีนี้กับทรัพย์สินอื่นรวม 11 รายการเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. ต่อมา ท. ถึงแก่กรรม ขอให้บังคับจำเลยแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท. แก่กองมรดก ท. ถ้าการแบ่งไม่เป็นที่ตกลงกันให้ประมูลหรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วน เพื่อนำไปแบ่งระหว่างทายาทกับให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนใส่ชื่อ ท. ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลย คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้อ้างเหตุเดียวกันอีก แม้โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของท. ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยก็ตาม แต่ในการที่จะบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ ศาลจำต้องวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. และเป็นทรัพย์มรดกของ ท. ครึ่งหนึ่งหรือไม่เสียก่อน กรณีจึงเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน เพียงแต่โจทก์มีคำขอบังคับแตกต่างไปจากคำขอในคดีก่อนเท่านั้น ซึ่งคำขอบังคับดังกล่าวโจทก์สามารถขอได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว ฟ้องของโจทก์ จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องขอแบ่งสินสมรส/ทรัพย์มรดกซ้ำในขณะที่คดีเดิมยังพิจารณาค้างอยู่
คดีก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทคดีนี้กับทรัพย์สินอื่นรวม 11 รายการ เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. ต่อมา ท. ถึงแก่กรรมขอให้บังคับจำเลยแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท. แก่กองมรดก ท. ถ้าการแบ่งไม่เป็นที่ตกลงกัน ให้ประมูลหรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วนเพื่อนำไปแบ่งระหว่างทายาท กับให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนใส่ชื่อ ท. ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลย คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้อ้างเหตุเดียวกันอีก แม้โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยก็ตามแต่ในการที่จะบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ ศาลจำต้องวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. และเป็นทรัพย์มรดกของ ท. ครึ่งหนึ่งหรือไม่เสียก่อน กรณีจึงเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน เพียงแต่โจทก์มีคำขอบังคับแตกต่างไปจากคำขอในคดีก่อนเท่านั้น ซึ่งคำขอบังคับดังกล่าวโจทก์สามารถขอได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องขอจดทะเบียนโอนสิทธิในทรัพย์มรดกที่เคยฟ้องแบ่งสินสมรสแล้ว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่า ที่ดินพิพาทคดีนี้กับทรัพย์สินอื่นเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. ต่อมา ท. ถึงแก่กรรม ขอให้บังคับจำเลยแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท. แก่กองมรดก ท. ถ้าการแบ่งไม่เป็นที่ตกลงกันให้ประมูลหรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วน เพื่อนำไปแบ่งระหว่างทายาท กับให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนใส่ชื่อ ท. ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. เป็นทรัพย์มรดกของ ท. ครึ่งหนึ่ง ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลย ซึ่งศาลจำต้องวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. และเป็นทรัพย์มรดกของ ท. ครึ่งหนึ่งหรือไม่เสียก่อน จึงเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกันเพียงแต่โจทก์มีคำขอบังคับแตกต่างไปจากคำขอในคดีก่อนเท่านั้น ทั้งคำขอบังคับดังกล่าวโจทก์สามารถขอได้ในคดีก่อนอยู่แล้วแต่โจทก์ไม่ขอ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้อง, ฟ้องซ้อน, เหตุสุดวิสัย, การขยายอายุความ, ผลของการจำหน่ายคดี
คดีที่ศาลพิพากษาให้ยกฟ้องเพราะคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล ต้องเป็นคดีที่ฟ้องในศาลที่ไม่มีเขตอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2 หมวด 1 ส่วนฟ้องซ้อนเป็นคดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาแล้วห้ามมิให้ โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือ ศาลอื่นอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ฉะนั้น การที่ศาลพิพากษา ยกฟ้องโจทก์ในคดีก่อนเพราะเหตุฟ้องซ้อน ไม่ใช่ยกฟ้อง เพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล โจทก์จึงอ้างเอาการที่ศาล ยกคำฟ้องในคดีดังกล่าวเพื่อการขยายอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 หาได้ไม่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่งห้ามเฉพาะโจทก์มิให้อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณา ดังนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ไม่เป็นการ ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต คดีแรก ที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยนั้น ได้เสร็จไปโดยศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 193/17 วรรคหนึ่งส่วนคดีที่สองที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยอันเป็น มูลกรณีเดียวกับคดีแรกนั้น ศาลยกฟ้องเพราะเหตุเป็นคดี ฟ้องซ้อน ต้องถือว่าอายุความเกี่ยวกับคดีนี้ไม่เคยสะดุดหยุดลง ตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดี, ฟ้องซ้อน, เหตุสุดวิสัย, การจำหน่ายคดี, ผลกระทบต่ออายุความ
คดีที่ศาลพิพากษาให้ยกฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล ต้องเป็นคดีที่ฟ้องในศาลที่ไม่มีเขตอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2 หมวด 1 ส่วนฟ้องซ้อนเป็นกรณีที่เมื่อมีคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาแล้วห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่นอีก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) ฉะนั้น การที่ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะเหตุเป็นการฟ้องซ้อน จึงหาใช่เป็นการพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลไม่ ดังนั้นโจทก์จะอ้างการที่ศาลยกคำฟ้องเพราะเหตุดังกล่าวเพื่อการขยายอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 หาได้ไม่ ที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีแพ่ง (คดีก่อน) เพราะโจทก์ไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และเมื่อการที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาเป็นความผิดของโจทก์ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวต่อเนื่องจากการกระทำของโจทก์ ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่งห้ามโจทก์มิให้อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณาการที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตดังนั้น การที่คดีแพ่งยังไม่ถึงที่สุดเพราะจำเลยอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี ทำให้โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ไม่ได้นั้น จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยขัดขวางไม่ให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ไม่ได้ คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยได้เสร็จไปโดยศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยอันเป็นมูลกรณีเดียวกับคดีก่อนที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจาก สารบบความเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณานั้น เมื่อศาลพิพากษา ยกคำฟ้องเพราะเหตุเป็นคดีฟ้องซ้อน จึงต้องถือว่าอายุความ เกี่ยวกับคดีหลังนี้ไม่เคยสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 เช่นเดียวกัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเพราะเหตุที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา ย่อมไม่ตัดสิทธิของโจทก์ ที่จะเสนอคำฟ้องใหม่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ว่าด้วยอายุความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 วรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่จำต้องระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่อีก แต่โจทก์ก็ต้องฟ้องคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความเสียให้ถูกต้อง เมื่อศาลไม่ระบุในคำพิพากษา ว่าให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์ในการที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การยื่นคำร้องสอดที่มีประเด็นซ้ำกับคดีที่กำลังพิจารณาอยู่
ป.วิ.พ.มาตรา 1(3), 57, 58, 173
ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดว่า ผู้ร้องได้ซื้อและครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาท และได้ฟ้องโจทก์และจำเลยเป็นคดีแพ่ง ขอให้บังคับโจทก์และจำเลยในคดีนี้ดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาทให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีเหตุจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ เป็นการตั้งสิทธิขึ้นมาใหม่เพื่อพิพาทกับคู่ความเดิม จึงเป็นการร้องสอดเข้ามาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) ผู้ร้องมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่า ตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ตามมาตรา 58 วรรคแรก และคำร้องสอดดังกล่าวถือว่าเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1 (3) ปรากฏว่าก่อนยื่นคำร้องสอดคดีนี้ ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลเดียวกันนี้อ้างว่า ผู้ร้องได้ซื้อและครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาทอยู่ในปัจจุบัน ขอให้ดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาทให้แก่ผู้ร้อง อันเป็นประเด็นเดียวกับที่ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ เมื่อคดีที่ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนนั้นยังอยู่ในระหว่างพิจารณา จึงห้ามมิให้ผู้ร้องยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น ตามมาตรา 173 (1) การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องสอดที่เป็นฟ้องซ้อน กรณีมีคดีข้อพิพาทเดียวกันอยู่ระหว่างพิจารณาแล้ว
ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดว่า ผู้ร้องได้ซื้อและครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาท และได้ฟ้องโจทก์และจำเลยเป็นคดีแพ่ง ขอให้บังคับโจทก์และจำเลยในคดีนี้ดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาทให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึง เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีเหตุจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่เป็นการตั้งสิทธิขึ้นมาใหม่เพื่อพิพาทกับคู่ความเดิมจึงเป็นการร้องสอดเข้ามาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ผู้ร้องมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่า ตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดี เรื่องใหม่ ตามมาตรา 58 วรรคแรก และคำร้องสอด ดังกล่าวถือว่าเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1(3) ปรากฏว่า ก่อนยื่นคำร้องสอดคดีนี้ ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลย ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลเดียวกันนี้อ้างว่า ผู้ร้องได้ซื้อ และครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาทอยู่ในปัจจุบัน ขอให้ดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาท ให้แก่ผู้ร้อง อันเป็นประเด็นเดียวกับที่ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ เมื่อคดีที่ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนนั้นยังอยู่ในระหว่าง พิจารณา จึงห้ามมิให้ผู้ร้องยื่นคำฟ้องเรื่อง เดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น ตามมาตรา 173(1) การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7283/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-คดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง: สัญญาเช่าซื้อกับคดีอาญา ยักยอกทรัพย์ สิทธิเรียกร้องแยกจากกัน
คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกเครื่องรับโทรทัศน์ และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป ซึ่งการขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมา แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง แม้คำขอบังคับจะเป็นการขอให้จำเลยที่ 1 คืนเครื่องรับโทรทัศน์หรือใช้ราคาเหมือนกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีอาญาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น มาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาเช่าซื้อเมื่อมูลหนี้ในคำฟ้องทั้งสองคดีเป็นคนละอย่างประกอบกับคำฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องการผิดสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะพนักงานอัยการในคดีอาญาจึงไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องสัญญาเช่าซื้อมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้กรณีมิใช่เป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1) ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คดีก่อนศาลแขวงเชียงใหม่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7283/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-คดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง: สัญญาเช่าซื้อต่างจากคดีอาญาฐานยักยอก สิทธิเรียกร้องแยกขาด
คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกเครื่องรับโทรทัศน์ และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป ซึ่งการขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมา แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง แม้คำขอบังคับจะเป็นการขอให้จำเลยที่ 1 คืนเครื่องรับโทรทัศน์หรือใช้ราคาเหมือนกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีอาญาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น มาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาเช่าซื้อเมื่อมูลหนี้ในคำฟ้องทั้งสองคดีเป็นคนละอย่างประกอบกับคำฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องการผิดสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะพนักงานอัยการในคดีอาญาจึงไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องสัญญาเช่าซื้อมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้กรณีมิใช่เป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1) ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คดีก่อนศาลแขวงเชียงใหม่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7283/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนและอำนาจฟ้องในคดีเช่าซื้อ: มูลหนี้ต่างกันและวัตถุประสงค์ของโจทก์
แม้พนักงานอัยการจะเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิด ฐานยักยอกเครื่องรับโทรทัศน์สี และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ ที่ยักยอกไป การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหาย ที่พนักงานอัยการขอมาในคำฟ้องคดีอาญาแม้จะถือว่า เป็นการขอแทนผู้เสียหายตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญา เท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อ เครื่องรับโทรทัศน์สี ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง ถึงแม้คำขอบังคับ จะมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน คือขอให้จำเลยที่ 1 คืนเครื่องรับโทรทัศน์สีหรือใช้ราคา แต่ข้ออ้างที่อาศัย เป็นหลักแห่งข้อหานั้นมิได้เป็นอย่างเดียวกัน ในคดีอาญานั้น ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการ ขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น เป็นที่เห็นได้ว่ามาจากข้ออ้าง เนื่องจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาเช่าซื้อในเมื่อมูลหนี้ ในคำฟ้องทั้งสองคดีเป็นคนละอย่างเช่นนี้ ประกอบกับคำฟ้อง ของโจทก์ กรณีของการผิดสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นอำนาจของ คู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ในคดีอาญา ไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องของสัญญาเช่าซื้อมาเป็นข้ออ้าง ในคำขอส่วนแพ่งได้จึงมิใช่เป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน ในความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1) ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน หนังสือบริคณห์สนธิของโจทก์ข้อ 2 ระบุว่า ขาย โอน จำนองจำนำ แลกเปลี่ยน และจำหน่ายทรัพย์สินโดยประการอื่นและข้อ 8 ระบุว่า ประกอบกิจการค้า เครื่องจักร เครื่องยนต์เครื่องมือกล เครื่องทุ่นแรง ยานพาหนะ เครื่องกำเนิด และเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ การที่โจทก์ให้เช่าซื้อ เครื่องรับโทรทัศน์สีอันเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ถือเป็นการจำหน่าย ทรัพย์สินโดยประการอื่นและเป็นการประกอบกิจการค้าตามความหมาย ในหนังสือบริคณห์สนธิของโจทก์ข้อ 2 และข้อ 8 จึงเป็นการกระทำซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง คดีส่วนอาญาศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดและลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานยักยอกทรัพย์ ส่วนคดีแพ่งโจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาในความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
of 31