คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องอาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 546 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2060/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องอาญาต้องพิจารณาจากข้อหาที่ศาลพิพากษา ไม่ใช่ข้อหาที่โจทก์ฟ้อง เพื่อความเป็นธรรมแก่จำเลย
อัตราโทษในการพิจารณากำหนดอายุความฟ้องผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา95ต้องถือตามข้อหาหรือฐานความผิดที่ศาลพิจารณาได้ความไม่ใช่พิจารณาจากข้อหาหรือฐานความผิดที่โจทก์ฟ้องมิฉะนั้นอาจเป็นการขยายอายุความฟ้องคดีซึ่งเป็นโทษต่อจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของฟ้องอาญา: รายละเอียดวิธีการเล่นพนันไม่จำเป็นต้องระบุในฟ้อง
คำบรรยายฟ้องของโจทก์ที่ว่าเมื่อวันที่1เมษายน2537เวลากลางวันจำเลยกับพวกที่หลบหนีร่วมกันเล่นการพนันสลากกินรวบอันเป็นการพนันที่ระบุไว้ในบัญชีข.อันดับที่16ท้ายพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478พนันเอาทรัพย์สินกันโดยจำเลยเป็นเจ้ามือสลากกินรวบรับกินรับใช้ส่วนพวกที่หลบหนีเป็นลูกค้าผู้เข้าร่วมเล่นการพนันโดยเป็นผู้ซื้อสลากกินรวบเป็นการบรรยายการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วส่วนการกระทำที่ว่าถือเอาเลขสองตัวหรือสามตัวของรางวัลที่1ตรงไหนเป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบเป็นวิธีการเล่นการพนันสลากกินรวบซึ่งเป็นรายละเอียดที่โจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้องฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7019/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแก้ไข/เพิ่มเติมฟ้องของโจทก์ร่วมในคดีอาญาที่อัยการเป็นโจทก์
โจทก์ร่วมเข้ามาดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง โดยอาศัยสิทธิตามฟ้องของพนักงานอัยการ เมื่อคำฟ้องของพนักงานอัยการไม่มีคำขอให้ริบของกลาง โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องให้นอกเหนือไปจากฟ้องของพนักงานอัยการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของฟ้องอาญา: การระบุรายละเอียดอาวุธและผู้กระทำความผิดไม่จำเป็นต้องระบุในฟ้อง
ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ในคดีอาญาเคลือบคลุมหรือไม่ แม้จะมิได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกอีก 2 คน ที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องร่วมกันใช้อาวุธมีดดาบ มีดพกปลายแหลมและเหล็กขูดชาฟท์รุมแทงฟัน ประทุษร้ายแก่ร่างกายผู้เสียหายหลายครั้ง ทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย แม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่าจำเลยกับพวกคนใดใช้อาวุธชนิดใด และแต่ละคนกระทำการอย่างไรบ้างก็พอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนการที่จำเลยกับพวกคนใดใช้อาวุธชนิดใด และแต่ละคนกระทำการอย่างไรบ้างเป็นเรื่องรายละเอียดที่โจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของวันเวลาในฟ้องอาญา การระบุช่วงเวลาที่โจทก์สามารถระบุได้ถือว่าไม่เคลือบคลุม
บรรยายฟ้องคดีอาญาฐานลักทรัพย์ว่าเหตุเกิดระหว่างต้นเดือนมีนาคม 2534 ถึงวันที่ 14 พฤษภาคม 2534 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดเป็นฟ้องที่บอกวันเวลาตามที่สามารถจะบอกให้จำเลยเข้าใจดีแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องอาญา และ เอกสารที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 และ 268 ในวันที่ 31 สิงหาคม 2513 และ 15 มีนาคม 2520โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยสำหรับความผิดดังกล่าวภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันกระทำความผิดทั้งนี้ไม่ว่าโจทก์จะได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ แต่โจทก์เพิ่งฟ้องจำเลยสำหรับความผิดดังกล่าวเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2533 โจทก์จึงไม่ได้ฟ้องจำเลยภายในกำหนดสิบปี นับแต่วันกระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) ตามคำขอรังวัดเปลี่ยน น.ส.3 เป็น น.ส.3 ก. ที่จำเลยยื่นต่อนายอำเภอโดยลงชื่อจำเลยเป็นผู้ขอและมีข้อความระบุว่าจำเลยเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดิน น.ส.3 เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่จำเลยยื่นต่อเจ้าพนักงานมิใช่เอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานที่จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความลงในเอกสารนั้นการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 ดังนั้นการที่จำเลยนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ที่เจ้าพนักงานที่ดินออกให้ตามคำขอของจำเลยดังกล่าวซึ่งไม่ใช่เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม มาตรา 267 ไปคัดค้านการรังวัดออกโฉนดที่ดินของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของฟ้องอาญา ม.300: การพิจารณาอาการบาดเจ็บและความสัมพันธ์กับระยะเวลาป่วย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300 โดยบรรยายฟ้องในส่วนผลของการกระทำว่า ผู้เสียหายที่ 2ที่ 3 ได้รับอันตรายแก่กายถึงสาหัสต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันและจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันรายละเอียด ปรากฏตามผลชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้อง แม้ตามรายงานของแพทย์จะลงความเห็นว่า เมื่อได้รับการรักษาและไม่มีอาการแทรกซ้อนจะหายภายใน 8 สัปดาห์สำหรับผู้เสียหายที่ 2 และ 6 สัปดาห์สำหรับผู้เสียหายที่ 3 ก็ตาม ก็หมายความว่า ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3ต้องป่วยเจ็บเป็นเวลาเกินกว่า 20 วัน ซึ่งการเจ็บป่วยนี้ย่อมหมายความรวมถึงอาจเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้ด้วย ไม่จำเป็นที่แพทย์ต้องลงความเห็นว่า ผู้เสียหายที่ 2 ที่ 3 ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน เพราะผู้เสียหายที่ 2 ที่ 3 จะป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา การบรรยายฟ้องโจทก์และความเห็นของแพทย์ดังกล่าวมาข้างต้นมิได้ขัดต่อข้อเท็จจริง ฟ้องโจทก์ถูกต้องสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาทำร้ายร่างกาย: การบรรยายฟ้องถึงพวกของผู้กระทำผิดและรายละเอียดการทำร้าย ไม่ถือว่าฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กับพวกฝ่ายหนึ่ง และจำเลยที่ 2และที่ 3 กับพวกอีกฝ่ายหนึ่ง ได้สมัครใจทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันโดยจำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันใช้มีดปลายแหลมและท่อนไม้เป็นอาวุธแทงฟันและตีกับใช้กำลังกายชกต่อยเตะทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 2 และที่ 3กับพวกหลายครั้ง ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกร่วมกันใช้เก้าอี้นั่งและเหล็กแป๊บเป็นอาวุธตี และใช้กำลังกายชกต่อยเตะทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 1 กับพวกหลายครั้งเช่นกัน ย่อมแสดงว่าจำเลยสองฝ่ายต่างสมัครใจทำร้ายซึ่งกันและกัน ซึ่งแต่ละฝ่ายมีพวกตั้งแต่สองคนขึ้นไป ได้ร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดในการทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเป็นการบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ที่เกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยแต่ละฝ่ายเข้าใจข้อหาได้ดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3577/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และการใช้ดุลยพินิจในการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องมาชัดเจน และได้แนบสำเนาประกาศกระทรวงเกษตรเรื่องกำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484มาท้ายฟ้องด้วยประกาศนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลใช้บังคับแล้ว จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า พนักงานเจ้าหน้าที่จากที่ใดนำประกาศดังกล่าวไปปิดประกาศไว้สถานที่เกิดเหตุในคดีนี้ หรือไม่ อย่างไรแต่เมื่อใดนั้นหาใช่ข้อสาระสำคัญที่โจทก์ต้องบรรยายไว้ในฟ้องไม่ฟ้องของโจทก์สมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 158(5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องหมิ่นประมาท แม้รายละเอียดกรรมมิชัดเจน
โจทก์ได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ รวมทั้งถ้อยคำพูดอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาทพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158แล้ว แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องให้ชัดเจนว่า ที่จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระนั้นเป็นจำนวนกี่กรรม และแต่ละกรรมนั้นจำเลยกระทำความผิดเมื่อใด และอย่างไร ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
of 55