พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8639/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมในที่ดินจัดสรร: การใช้ถนนส่วนกลางที่ผู้จัดสรรสร้างก่อนการซื้อขาย
ที่ดินของโจทก์และจำเลยอยู่ติดกันทางด้านในและต่างก็เป็นที่ดินจัดสรรในหมู่บ้านผู้จัดสรรที่ดินได้ทำถนนคอนกรีตกว้าง 6 เมตร จากที่ดินแปลงที่อยู่ด้านในผ่านที่ดินแปลงที่อยู่ด้านนอกเชื่อมกับถนนสาธารณะของหมู่บ้านทุกแปลง โดยใช้ที่ดินของโจทก์และจำเลยกว้างแปลงละ 3 เมตร ยาว 20 เมตร ทำถนนคอนกรีตดังกล่าวด้วย ดังนี้ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของผู้จัดสรรที่ดินว่าต้องการให้เจ้าของที่ดินแปลงในมีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยสะดวกแม้ถนนคอนกรีตนี้จะไม่ปรากฏอยู่ในแผนผังการจัดสรรที่ดินและเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหลังก็ตาม แต่เมื่อผู้จัดสรรที่ดินได้ทำถนนคอนกรีตเชื่อมกับถนนสาธารณะของหมู่บ้านก่อนที่โจทก์และจำเลยจะมาซื้อที่ดินและบ้านย่อมถือได้ว่าเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดิน ถนนคอนกรีตดังกล่าวจึงตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 จำเลยไม่มีสิทธิก่อสร้างกำแพงคอนกรีตและสิ่งก่อสร้างอื่นบนถนนคอนกรีตนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8639/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมในที่ดินจัดสรร: เจตนาผู้จัดสรรสร้างถนนสาธารณูปโภคเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแปลงใน
ที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินในหมู่บ้านจัดสรรอยู่ติดกันและเป็นที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหลังทั้งคู่ โดยมีแนวเขตที่ดินด้านหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างแปลงละ 3 เมตร ยาวตลอดแนวเขตที่ดินของแปลงที่อยู่ด้านหน้าซึ่งผู้จัดสรรได้ทำเป็นถนนคอนกรีตกว้าง 6 เมตร เชื่อมกับถนนสาธารณะของหมู่บ้าน ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของผู้จัดสรรว่า เพื่อต้องการให้เจ้าของที่ดินแปลงในมีทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยสะดวก แม้ถนนคอนกรีตนี้จะไม่ปรากฏอยู่ในแผนผังการจัดสรรที่ดินและเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินแปลงในที่อยู่ด้านหลังก็ตาม แต่เมื่อผู้จัดสรรที่ดินได้ทำถนนคอนกรีตดังกล่าวมาก่อนที่โจทก์และจำเลยจะมาซื้อที่ดินและบ้านในหมู่บ้านย่อมถือได้ว่าถนนคอนกรีตนี้เป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดิน ถนนคอนกรีตดังกล่าวจึงตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 แม้จำเลยจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เป็นถนนคอนกรีต ก็ไม่มีสิทธิก่อสร้างกำแพงและสิ่งก่อสร้างอื่นบนถนนคอนกรีตนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 672/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมหมดประโยชน์เมื่อมีการปลูกสร้างเต็มพื้นที่ ทำให้เจ้าของภารยทรัพย์มีสิทธิเรียกให้พ้นจากภารจำยอมได้
ที่ดินโฉนดเลขที่ 2480 เป็นทางภารจำยอมของที่ดินแปลงอื่น ต่อมามีการแบ่งแยกปรากฏว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 2480ที่เหลืออยู่หลังจากการแบ่งแยกที่ดินในส่วนที่ออกเป็นโฉนด เลขที่ 19056,19057 และ 19058 แล้ว มีลักษณะเป็น ถนนซอยกว้างประมาณ 6 เมตร ออกสู่ถนนเพชรเกษม ลักษณะของทางภารจำยอมเป็นซอยตัน ริมทางภารจำยอม มีตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างซึ่งมีสภาพปลูกสร้างมานานหลายปี ปลูกเต็มพื้นที่ของที่ดินโฉนดเลขที่ 19056,19057 และ 19058 แสดงว่าที่ดินที่ถูกใช้เป็นทางภารจำยอมคือที่ดินโฉนดเลขที่ 2480ส่วนที่เหลืออยู่หลังจากการแบ่งแยกที่ดินออกไปแล้วส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 19056,19057 และ 19058 ไม่ได้ถูกใช้เป็นทางภารจำยอมมาเป็นเวลานานเพราะมีสิ่งปลูกสร้างเป็นตึกแถวเต็มพื้นที่ จึงเป็นกรณีที่ภารจำยอมนั้นไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ตามรูปการ หมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์แล้วโจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้พ้นจากภารจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5661/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องทางจำเป็นและภารจำยอม: ศาลต้องพิจารณาตามประเด็นที่ฟ้อง หากไม่ได้ยกประเด็นทางจำเป็น ศาลมิอาจวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวได้
ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ หรือมีการแบ่งโอนที่ดินกันเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ อันเป็นความสำคัญในเรื่องขอให้เปิดทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 และ1350 ฟ้องโจทก์จึงไม่มีประเด็นในเรื่องทางจำเป็น โจทก์เพียงอ้างว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกเกิน 10 ปี จนได้ภารจำยอม ประเด็นข้อพิพาทจึงมีเพียงว่า ทางพิพาทเป็นภารจำยอมหรือไม่เท่านั้นเมื่อได้ความว่า ทางพิพาทมิใช่ทางภารจำยอม ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและบังคับให้จำเลยที่ 1รื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางพิพาทให้แก่โจทก์นั้น จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นและเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องภารจำยอมได้ และสิทธิภารจำยอมเกิดขึ้นได้จากการใช้ทางต่อเนื่อง
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจทำการแทนทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดกได้การฟ้องคดีนี้ก็เพื่อปลดเปลื้องการรบกวนและเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อรักษาไว้ซึ่งภารจำยอมแทนทายาทผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ ถือได้ว่าเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 ส. กับโจทก์ใช้ทางบนที่ดินที่พิพาทมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอม จำเลยเพิ่งซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจาก ส.กับโจทก์ได้ภารจำยอมไปแล้ว แม้ ส. กับโจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนภารจำยอมหรือ(จำเลย)รับโอนภารยทรัพย์มาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภารจำยอมของ ส. กับโจทก์ได้ โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า ขอให้ทางพิพาทตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส. ด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว แต่ก็ได้ระบุเลขที่ดินของ ส. ไว้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์มีคำขอบังคับให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส. แล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของ ส.กับโจทก์ แต่ในคำพิพากษามิได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ด้วย ย่อม ทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่ดินโฉนด เลขที่ 11835 ดังกล่าวนั้นไร้ผล ถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514-3515/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อราคาทรัพย์สินต่ำกว่าเกณฑ์ และสิทธิการฟ้องร้องทางภารจำยอมของผู้เช่า
คดีรวมการพิจารณาพิพากษา เมื่อปรากฏว่าคดีสำนวนแรกราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์อยู่ในที่ดินส่วนที่ปลูกบ้านในฐานะผู้อาศัย โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่โจทก์ปลูกบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ในข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และผลแห่งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในสำนวนหลังด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ศาลฎีกาจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าว
ภาระจำยอมในเรื่องทางเดินเป็นทรัพย์สิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้อาศัย มิใช่เจ้าของที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องในเรื่องทางภาระจำยอมดังกล่าว
ภาระจำยอมในเรื่องทางเดินเป็นทรัพย์สิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้อาศัย มิใช่เจ้าของที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องในเรื่องทางภาระจำยอมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3225/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี แม้เดิมเป็นกรรมสิทธิ์รวม
บรรยายฟ้องว่า ได้ทางภารจำยอมมาโดยอายุความนั้นรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อที่ดินตามโฉนดต่าง ๆ ที่โจทก์ฟ้องและส่วนใดที่ได้ภารจำยอมในที่ดินของจำเลยเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา แม้มิได้บรรยาย ฟ้องของโจทก์ก็ไม่เคลือบคลุม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 กำหนดว่าการที่จะมีภารจำยอมได้จะต้องมีที่ดินสองแปลง โดยที่ดินแปลงหนึ่งตกอยู่ในภารจำยอมของที่ดินอีกแปลงหนึ่ง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 กำหนดว่าการที่จะได้ภารจำยอมโดยอายุความจะต้องเป็นการใช้เพื่อตน มิใช่เป็นการอาศัย ก่อนปี 2518 ทางพิพาทอยู่ในที่ดินของผู้มีชื่อซึ่งเป็นแปลงเดียวกันยังมิได้แบ่งแยก การใช้ทางพิพาทช่วงนี้จึงเป็นการใช้ในฐานะอาศัยเจ้าของที่ดิน ไม่เป็นการใช้สิทธิภารจำยอม ต่อมาภายหลังผู้มีชื่อได้แบ่งแยกที่ดินบางส่วนให้แก่โจทก์โดยพวกของโจทก์ได้ซื้อที่ดินจากโจทก์ และทางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลย โจทก์กับพวกได้ใช้ทางพิพาทเดินเข้าออกสู่ทางสาธารณะเรื่อยมาเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปีแล้วโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งทักท้วงและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใดทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอมโดยอายุความได้สิทธิแก่โจทก์กับพวกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางโดยถือวิสาสะ ไม่ก่อให้เกิดภารจำยอม แม้ใช้เป็นเวลานาน
โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะ แม้ใช้เป็นเวลานานเท่าใดก็ไม่ได้ภารจำยอมในทางพิพาท โจทก์และจำเลยที่ 3 เป็นบุตร ค.และพ. โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3924 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 จำเลยที่ 5 ที่ 6เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5458 ที่ดินทั้งสามแปลงเดิมเป็นที่ดินผืนเดียวกัน มี ค. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินทั้งสามแปลงมีบ้านปลูกอยู่ 4 หลัง รวมทั้งบ้านของ ค.บ้านของค. อยู่ติดแม่น้ำ ถ้าจะออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะก็เดินผ่านทางพิพาทที่อยู่ในที่ดินของจำเลย ทั้งหกซึ่งเป็นบุตรหลานและญาติของตน ลักษณะเป็นการขออาศัย กันในระหว่างหมู่ญาติอันเป็นการเดินโดยถือวิสาสะ โจทก์ เป็นบุตรผู้อาศัยอยู่ในบ้าน ค. ก็เดินผ่านทางพิพาทในลักษณะเดียวกัน หลังจาก ค. ตายก็มิได้เปลี่ยนเจตนาเป็นการใช้ทางพิพาทด้วยเจตนาเป็นทางภารจำยอม การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะ แม้จะใช้เป็นเวลานานเท่าใดโจทก์ก็ไม่ได้ภารจำยอมในทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 และ 5458 ของจำเลยทั้งหก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางร่วมในที่ดินมรดกโดยถือวิสาสะ ไม่ถือเป็นภารจำยอม แม้ใช้ต่อเนื่องนานปี
โจทก์และจำเลยที่ 3 เป็นบุตร ค.และพ.โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3924 จำเลยที่ 1ถึงที่ 4 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5458 ที่ดินทั้งสามแปลง เดิมเป็นที่ดินผืนเดียวกัน มีค. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินทั้งสามแปลงมีบ้านปลูกอยู่ 4 หลัง รวมทั้งบ้านของค.บ้านของค.อยู่ติดแม่น้ำ ถ้าจะออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะก็เดินผ่านทางพิพาทที่อยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งหกซึ่งเป็น บุตรหลายและญาติของตน ลักษณะเป็นการขออาศัยกันใน ระหว่างหมู่ญาติอันเป็นการเดินโดยถือวิสาสะโจทก์เป็นบุตร ผู้อาศัยอยู่ในบ้านค. ก็เดินผ่านทางพิพาทในลักษณะเดียวกันหลังจากค. ตายก็มิได้เปลี่ยนเจตนาเป็นการใช้ทางพิพาทด้วยเจตนาเป็นทางภารจำยอมการที่โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะ แม้จะใช้เป็นเวลานานเท่าใดโจทก์ก็ไม่ได้ภารจำยอม ในทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 และ 5458 ของจำเลยทั้งหก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่สมบูรณ์เมื่อยังมิได้จดทะเบียน และสิทธิจำเป็นไม่มีเมื่อมีทางสาธารณะ
แม้ท.ยินยอมให้ทางพิพาทเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์อันเป็นกรณีที่โจทก์ได้ภารจำยอมโดยทางนิติกรรมเมื่อยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การได้มาจึง ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง คงใช้บังคับได้ในฐานะบุคคลสิทธิเฉพาะโจทก์กับ ท. ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอกด้วย เมื่อ ท. ยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้จำเลยซึ่งเป็นบุตร ถือว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอก ทั้งหาได้มีบทบัญญัติให้ผู้รับต้องรับ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ให้ไปด้วยอย่างกรณี ทายาทรับมรดกไม่ความยินยอมของ ท.ที่ให้ทางพิพาทเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์จึงไม่มีผลผูกพันจำเลย ไม่อาจบังคับให้จำเลยจดทะเบียนภารจำยอมหรือเปิดทางพิพาท โดยอาศัยเหตุนี้ได้ คลองหม่อมเจิมเป็นทางสาธารณะตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349,1350 การที่ปัจจุบันราษฎรมิได้ใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำ เนื่องจากไม่สะดวก เท่าการสัญจรทางบก หาได้ทำให้คลองหม่อมเจิมสิ้นสภาพ จากการเป็นทางสาธารณะไปไม่ เมื่อที่ดินของโจทก์อยู่ ติดคลองหม่อมเจิมซึ่งเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้อีก