พบผลลัพธ์ทั้งหมด 423 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4300/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมในที่ดินจัดสรร: การลดทอนประโยชน์ใช้สอยและอำนาจฟ้องของเจ้าของสามยทรัพย์
การจัดสรรที่ดิน ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 1 หมายความว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด โดยมิได้มีข้อกำหนดว่าผู้จัดสรรที่ดินที่ทำการจัดสรรที่ดินต้องเป็นบุคคลคนเดียวกันกับผู้ที่ทำการแบ่งแยกที่ดินที่นำมาจัดสรร แม้เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้รังวัดแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อย แล้วต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ซื้อที่ดินที่เจ้าของเดิมแบ่งแยกไว้ทั้งหมดนำมาจัดจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป ก็หาทำให้การดำเนินการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวไม่ ส่วนที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
การดำเนินการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. เป็นการจัดสรรที่ดิน ทางเท้า ท่อระบายน้ำใต้ทางเท้าและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเป็นสาธารณูปโภคในที่ดินพิพาทย่อมตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่สาธารณูปโภคดังกล่าวก่อสร้างในที่ดินย่อมตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินในโครงการทุกแปลง แม้จำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัท ซ. ซึ่งซื้อที่ดินดังกล่าวมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลในคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลาย ตามที่จำเลยนำสืบอันเป็นทำนองอ้างว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทดังกล่าวมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่ทำให้ภาระจำยอมนั้นสิ้นไป จำเลยจึงต้องรับภาระตามกฎหมายดังกล่าวด้วย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่สาธารณูปโภคก่อสร้างในที่ดินเป็นภาระจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 โจทก์ซึ่งซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ในที่ดินจัดสรรดังกล่าวย่อมมีสิทธิใช้ประโยชน์แห่งภาระจำยอม และเมื่อมีการกั้นรั้วสังกะสี บนถนนคอนกรีตเสริมเหล็กที่ก่อสร้างในที่ดินพิพาทแล้วต่อมาได้สร้างเป็นกำแพงคอนกรีตยาวตลอดแนวทำให้ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กดังกล่าวแคบลง ก็เป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก โจทก์ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องให้ปลดเปลื้องความเสียหายดังกล่าวได้ โดยมิต้องคำนึงว่ายังมีผู้อื่นทำให้โจทก์เสื่อมประโยชน์ในการใช้ภารยทรัพย์และโจทก์ได้ฟ้องบุคคลเหล่านั้นหรือไม่
ป.พ.พ. มาตรา 1477 ได้บัญญัติให้สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องต่อสู้หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ แม้จะเกี่ยวด้วยการจัดการสินสมรส โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรส
การดำเนินการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. เป็นการจัดสรรที่ดิน ทางเท้า ท่อระบายน้ำใต้ทางเท้าและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเป็นสาธารณูปโภคในที่ดินพิพาทย่อมตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่สาธารณูปโภคดังกล่าวก่อสร้างในที่ดินย่อมตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินในโครงการทุกแปลง แม้จำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัท ซ. ซึ่งซื้อที่ดินดังกล่าวมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลในคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลาย ตามที่จำเลยนำสืบอันเป็นทำนองอ้างว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทดังกล่าวมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่ทำให้ภาระจำยอมนั้นสิ้นไป จำเลยจึงต้องรับภาระตามกฎหมายดังกล่าวด้วย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่สาธารณูปโภคก่อสร้างในที่ดินเป็นภาระจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 โจทก์ซึ่งซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ในที่ดินจัดสรรดังกล่าวย่อมมีสิทธิใช้ประโยชน์แห่งภาระจำยอม และเมื่อมีการกั้นรั้วสังกะสี บนถนนคอนกรีตเสริมเหล็กที่ก่อสร้างในที่ดินพิพาทแล้วต่อมาได้สร้างเป็นกำแพงคอนกรีตยาวตลอดแนวทำให้ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กดังกล่าวแคบลง ก็เป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก โจทก์ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องให้ปลดเปลื้องความเสียหายดังกล่าวได้ โดยมิต้องคำนึงว่ายังมีผู้อื่นทำให้โจทก์เสื่อมประโยชน์ในการใช้ภารยทรัพย์และโจทก์ได้ฟ้องบุคคลเหล่านั้นหรือไม่
ป.พ.พ. มาตรา 1477 ได้บัญญัติให้สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องต่อสู้หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ แม้จะเกี่ยวด้วยการจัดการสินสมรส โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3563/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดิน, ภาระจำยอม, การจดทะเบียน, และการยกเว้นการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่ชัดแจ้งในชั้นอุทธรณ์
ปัญหาข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่คู่ความติดใจจะยกขึ้นว่ากล่าวไม่ว่าในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกา ไม่ว่าจะเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ คู่ความต้องกล่าวมาโดยชัดแจ้งในอุทธรณ์หรือฎีกา เพื่อศาลจะได้ทราบรายละเอียดว่าคู่ความติดใจอุทธรณ์หรือฎีกาโต้แย้งปัญหาใดได้โดยชัดแจ้ง เมื่อจำเลยกล่าวอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่วินิจฉัยได้ เพราะไม่เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
ในชั้นยื่นคำร้องขอแบ่งแยกที่ดิน ก.ได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานแทนจำเลยว่า จำเลยทราบแล้วว่าการจัดแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยติดต่อกัน 10 แปลงขึ้นไปเพื่อจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทน โดยมีการให้คำมั่นโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะต่าง ๆ หรือปรับปรุงที่นั้น ๆ ให้เป็นที่อยู่อาศัย ประกอบการพาณิชย์หรืออุตสาหกรรมเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งผู้จัดสรรจะต้องได้รับอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวเสียก่อนจึงจะดำเนินการได้ การที่จำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินและจัดแบ่งที่ดินแปลงพิพาทเป็นถนนก็เพื่อประโยชน์ในการขายที่ดินของตน ถนนที่จัดแบ่งดังกล่าวเป็นสาธารณูปโภคเพื่อการขาย ตกเป็นภาระจำยอมสำหรับโจทก์ผู้ซื้อที่ดินที่จำเลย แบ่งแยกขายตามความหมายของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิปิดกั้นมิให้โจทก์ผู้ซื้อที่ดินที่จำเลยแบ่งขายได้ใช้สอย
ไม่มีกฎหมายใดห้ามการจดทะเบียนภาระจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ทั้งการที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1391
ภาระจำยอมนั้นเกิดได้โดยทางนิติกรรม โดยกฎหมาย หรือโดยอายุความจากการใช้ได้ทั้งสามทาง การที่โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นภาระจำยอมตามกฎหมายและโดยอายุความจากการใช้ หาเป็นคำฟ้องเคลือบคลุมไม่การที่จำเลยเข้าใจคำฟ้องและต่อสู้คดีการได้มาซึ่งภาระจำยอมของโจทก์ทั้งสองทางเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ในชั้นยื่นคำร้องขอแบ่งแยกที่ดิน ก.ได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานแทนจำเลยว่า จำเลยทราบแล้วว่าการจัดแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยติดต่อกัน 10 แปลงขึ้นไปเพื่อจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทน โดยมีการให้คำมั่นโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะต่าง ๆ หรือปรับปรุงที่นั้น ๆ ให้เป็นที่อยู่อาศัย ประกอบการพาณิชย์หรืออุตสาหกรรมเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งผู้จัดสรรจะต้องได้รับอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวเสียก่อนจึงจะดำเนินการได้ การที่จำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินและจัดแบ่งที่ดินแปลงพิพาทเป็นถนนก็เพื่อประโยชน์ในการขายที่ดินของตน ถนนที่จัดแบ่งดังกล่าวเป็นสาธารณูปโภคเพื่อการขาย ตกเป็นภาระจำยอมสำหรับโจทก์ผู้ซื้อที่ดินที่จำเลย แบ่งแยกขายตามความหมายของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิปิดกั้นมิให้โจทก์ผู้ซื้อที่ดินที่จำเลยแบ่งขายได้ใช้สอย
ไม่มีกฎหมายใดห้ามการจดทะเบียนภาระจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ทั้งการที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1391
ภาระจำยอมนั้นเกิดได้โดยทางนิติกรรม โดยกฎหมาย หรือโดยอายุความจากการใช้ได้ทั้งสามทาง การที่โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นภาระจำยอมตามกฎหมายและโดยอายุความจากการใช้ หาเป็นคำฟ้องเคลือบคลุมไม่การที่จำเลยเข้าใจคำฟ้องและต่อสู้คดีการได้มาซึ่งภาระจำยอมของโจทก์ทั้งสองทางเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: ขอบเขตการใช้ทาง, การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต, และการดูแลรักษาทาง
จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทางภาระจำยอม ส่วนบริษัท ท. เป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะเป็น ผู้แทนของบริษัท การที่จำเลยทั้งสองยอมให้รถยนต์ของบริษัทและรถยนต์ของผู้มาติดต่อธุรกิจกับบริษัทจอดในทางภาระจำยอมนั้นในลักษณะปิดกั้น หรือกีดขวางการใช้ทางดังกล่าวเข้าออก ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้ทาง ภาระจำยอม ย่อมเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ตาม ป.พ.พ. ม. 1390 โจทก์มีสิทธิ ห้ามจำเลยทั้งสองประกอบกรรมดังกล่าวได้
แม้คำขอจดทะเบียนทางภาระจำยอมจะระบุให้ใช้เป็นทางเดิน แต่เมื่อวิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปมีการสัญจรตามถนนและตรอกซอกซอยด้วยรถยนต์เป็นปกติธรรมดาเช่นเดียวกับทางเท้า อีกทั้งจำเลยทั้งสองก็ใช้รถยนต์ในทางภาระจำยอมเช่นกัน ฉะนั้นการที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ใช้รถยนต์ผ่านทางภาระจำยอมซึ่งเดิมเคยใช้เป็นทางเท้า ย่อมเป็นการใช้ทางภาระจำยอมสัญจรตามปกติ ไม่เป็นการทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1388 และโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิใช้รถยนต์เข้าออกทางภาระจำยอมตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของเจ้าของสามยทรัพย์นั้น มิได้ขึ้นอยู่กับจำนวนรถยนต์ที่ใช้ว่ามีจำนวนมากหรือน้อย เหตุนี้การใช้รถยนต์เข้าออกเป็นจำนวน 200 คัน ผ่านทางภาระจำยอม หากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ยังดูแลรักษาทางภาระจำยอมมิให้เกิดความเสียหาย ก็ถือได้ว่าโจทก์มิได้ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นแก่ทางภาระจำยอมนั้น ส่วนเสาไฟฟ้าที่จำเลยทั้งสองขอให้รื้อถอนเป็นเสาไฟฟ้าถาวร ที่โจทก์ขอให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการเพิ่มแทนเสาไฟฟ้าเดิม ซึ่งเป็นไปตามความเปลี่ยนแปลงและความเจริญของบ้านเมือง หาได้ทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิปักเสาไฟฟ้าทั้งสองต้นนั้นได้
แม้คำขอจดทะเบียนทางภาระจำยอมจะระบุให้ใช้เป็นทางเดิน แต่เมื่อวิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปมีการสัญจรตามถนนและตรอกซอกซอยด้วยรถยนต์เป็นปกติธรรมดาเช่นเดียวกับทางเท้า อีกทั้งจำเลยทั้งสองก็ใช้รถยนต์ในทางภาระจำยอมเช่นกัน ฉะนั้นการที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ใช้รถยนต์ผ่านทางภาระจำยอมซึ่งเดิมเคยใช้เป็นทางเท้า ย่อมเป็นการใช้ทางภาระจำยอมสัญจรตามปกติ ไม่เป็นการทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1388 และโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิใช้รถยนต์เข้าออกทางภาระจำยอมตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของเจ้าของสามยทรัพย์นั้น มิได้ขึ้นอยู่กับจำนวนรถยนต์ที่ใช้ว่ามีจำนวนมากหรือน้อย เหตุนี้การใช้รถยนต์เข้าออกเป็นจำนวน 200 คัน ผ่านทางภาระจำยอม หากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ยังดูแลรักษาทางภาระจำยอมมิให้เกิดความเสียหาย ก็ถือได้ว่าโจทก์มิได้ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นแก่ทางภาระจำยอมนั้น ส่วนเสาไฟฟ้าที่จำเลยทั้งสองขอให้รื้อถอนเป็นเสาไฟฟ้าถาวร ที่โจทก์ขอให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการเพิ่มแทนเสาไฟฟ้าเดิม ซึ่งเป็นไปตามความเปลี่ยนแปลงและความเจริญของบ้านเมือง หาได้ทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิปักเสาไฟฟ้าทั้งสองต้นนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม-การใช้ประโยชน์-การเปลี่ยนแปลงภารยทรัพย์-การดูแลรักษาทางภารจำยอม
จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทางภารจำยอมและบริษัท ท. เป็นนิติบุคคลต้องมีผู้แทนดำเนินกิจการ จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจึงอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทในการประกอบกิจการ การที่จำเลยทั้งสองยอมให้รถยนต์ของบริษัทและรถยนต์ของผู้มาติดต่อธุรกิจกับบริษัทจอด ในทางภารจำยอมซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองในลักษณะปิดกั้น หรือกีดขวางการใช้ทางดังกล่าวเข้าออกทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้ทางภารจำยอมย่อมเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือ เสื่อมความสะดวกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390
โจทก์ใช้รถยนต์ผ่านทางภารจำยอมซึ่งเดิมเคยใช้เป็นทางเดินเท้าย่อมเป็นการใช้ทางภารจำยอมสัญจรตามปกติ ไม่เป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388
เจ้าของที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ย่อมมีสิทธิใช้รถยนต์เข้าออกทางภารจำยอมโดยเสมอหน้ากัน ขึ้นอยู่กับความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของเจ้าของสามยทรัพย์นั้น มิได้ขึ้นอยู่กับจำนวนรถยนต์ที่ใช้ว่ามี จำนวนมากหรือน้อย เหตุนี้การใช้รถยนต์เข้าออกเป็นจำนวน 200 คัน ผ่านทางภารจำยอม หากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ยังดูแลรักษา ทางภารจำยอมมิให้เกิดความเสียหาย ก็ถือได้ว่าโจทก์มิได้ทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ทางภารจำยอมนั้น
โจทก์ขอให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการเพื่อแทนเสาไฟฟ้าเดิมซึ่งเป็นไปตามความเปลี่ยนแปลงและความเจริญของบ้านเมือง ไม่ทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ โจทก์ย่อมมีสิทธิปักเสาไฟฟ้าดังกล่าว
โจทก์ใช้รถยนต์ผ่านทางภารจำยอมซึ่งเดิมเคยใช้เป็นทางเดินเท้าย่อมเป็นการใช้ทางภารจำยอมสัญจรตามปกติ ไม่เป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388
เจ้าของที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ย่อมมีสิทธิใช้รถยนต์เข้าออกทางภารจำยอมโดยเสมอหน้ากัน ขึ้นอยู่กับความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของเจ้าของสามยทรัพย์นั้น มิได้ขึ้นอยู่กับจำนวนรถยนต์ที่ใช้ว่ามี จำนวนมากหรือน้อย เหตุนี้การใช้รถยนต์เข้าออกเป็นจำนวน 200 คัน ผ่านทางภารจำยอม หากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ยังดูแลรักษา ทางภารจำยอมมิให้เกิดความเสียหาย ก็ถือได้ว่าโจทก์มิได้ทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ทางภารจำยอมนั้น
โจทก์ขอให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการเพื่อแทนเสาไฟฟ้าเดิมซึ่งเป็นไปตามความเปลี่ยนแปลงและความเจริญของบ้านเมือง ไม่ทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ โจทก์ย่อมมีสิทธิปักเสาไฟฟ้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2968/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิภาระจำยอม - ผู้รับโอนทราบข้อพิพาทต้องรับภาระ
การมอบอำนาจให้ฟ้องหรือต่อสู้คดี ย่อมหมายความว่า มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนทั้งเรื่องจนกว่าจะเสร็จสิ้น การที่จะมีคู่ความฝ่ายอื่นเช่นผู้ร้องสอดหรือผู้ร้องขัดทรัพย์เข้ามาในคดีหรือไม่ เป็นเรื่องที่ไม่อาจรู้ได้ในขณะที่เริ่มฟ้องหรือต่อสู้คดี ผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจกระทำการแทนตัวความในการต่อสู้คดีกับบุคคลภายนอกที่เข้ามาในคดีในภายหลังได้
ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ โจทก์จึงซื้อที่ดินจากจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะต้องจัดให้โจทก์ได้ภาระจำยอมเหนือที่ดินทุกแปลงที่เป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะ จำเลยก็ได้แบ่งแยกที่ดินจนเหลือเป็นรูปถนนจดที่ดินของโจทก์ และจดที่ดินทั้งสี่แปลงที่โจทก์ซื้อจากจำเลยเพิ่มเติม ซึ่งโจทก์อาจใช้เป็นถนนขนาดให้รถยนต์เข้าออกได้หมด ข้อตกลงเช่นนี้แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี
จำเลยโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และมีการทำแผนที่พิพาทแล้ว โดยจำเลยและจำเลยร่วมทราบข้อเท็จจริงที่ถูกฟ้องแล้วว่าที่ดินแปลงนี้จะต้องถูกบังคับให้ตกอยู่ภายใต้ภาระจำยอมตามกฎหมาย คำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีกล่าวอ้างว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทไปโดยรู้แล้วว่าที่ดินแปลงนี้กำลังถูกฟ้องบังคับให้ตกอยู่ในภาระจำยอมเท่ากับจำเลยร่วมรับโอนโดยไม่สุจริต เมื่อจำเลยร่วมยื่นคำให้การเข้ามาในคดีจำเลยร่วมหาได้ปฏิเสธว่าตนเองรับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยร่วมยอมรับตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์แล้วว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต สิทธิและหน้าที่ของจำเลยในที่ดินแปลงนี้มีอยู่อย่างไร จำเลยร่วมย่อมต้องรับโอนจากจำเลยไปทั้งหมด รวมทั้งหน้าที่ที่จะต้องถูกบังคับให้ที่ดินแปลงนี้ตกอยู่ในภาระจำยอม
ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ โจทก์จึงซื้อที่ดินจากจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะต้องจัดให้โจทก์ได้ภาระจำยอมเหนือที่ดินทุกแปลงที่เป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะ จำเลยก็ได้แบ่งแยกที่ดินจนเหลือเป็นรูปถนนจดที่ดินของโจทก์ และจดที่ดินทั้งสี่แปลงที่โจทก์ซื้อจากจำเลยเพิ่มเติม ซึ่งโจทก์อาจใช้เป็นถนนขนาดให้รถยนต์เข้าออกได้หมด ข้อตกลงเช่นนี้แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี
จำเลยโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และมีการทำแผนที่พิพาทแล้ว โดยจำเลยและจำเลยร่วมทราบข้อเท็จจริงที่ถูกฟ้องแล้วว่าที่ดินแปลงนี้จะต้องถูกบังคับให้ตกอยู่ภายใต้ภาระจำยอมตามกฎหมาย คำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีกล่าวอ้างว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทไปโดยรู้แล้วว่าที่ดินแปลงนี้กำลังถูกฟ้องบังคับให้ตกอยู่ในภาระจำยอมเท่ากับจำเลยร่วมรับโอนโดยไม่สุจริต เมื่อจำเลยร่วมยื่นคำให้การเข้ามาในคดีจำเลยร่วมหาได้ปฏิเสธว่าตนเองรับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยร่วมยอมรับตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์แล้วว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต สิทธิและหน้าที่ของจำเลยในที่ดินแปลงนี้มีอยู่อย่างไร จำเลยร่วมย่อมต้องรับโอนจากจำเลยไปทั้งหมด รวมทั้งหน้าที่ที่จะต้องถูกบังคับให้ที่ดินแปลงนี้ตกอยู่ในภาระจำยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2968/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม การรับโอนทรัพย์สินโดยไม่สุจริต ผู้รับโอนต้องผูกพันตามภาระเดิม
การมอบอำนาจให้ฟ้องหรือต่อสู้คดี ย่อมหมายความว่ามอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนทั้งเรื่องจนกว่าจะเสร็จสิ้น การที่จะมีคู่ความฝ่ายอื่นเช่นผู้ร้องสอดหรือผู้ร้องขัดทรัพย์เข้ามาในคดีหรือไม่ เป็นเรื่องที่ไม่อาจรู้ได้ในขณะที่เริ่มฟ้องหรือต่อสู้คดีผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจกระทำการแทนตัวความในการต่อสู้คดีกับบุคคลภายนอกที่เข้ามาในคดีในภายหลังได้
ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ โจทก์จึงซื้อที่ดินจากจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะต้องจัดให้โจทก์ได้ภารจำยอมเหนือที่ดินทุกแปลงที่เป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะจำเลยก็ได้แบ่งแยกที่ดินจนเหลือเป็นรูปถนนจดที่ดินของโจทก์และจดที่ดินทั้งสี่แปลงที่โจทก์ซื้อจากจำเลยเพิ่มเติม ซึ่งโจทก์อาจใช้เป็นถนนขนาดให้รถยนต์เข้าออกได้หมด ข้อตกลงเช่นนี้แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี
จำเลยโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และมีการทำแผนที่พิพาทแล้ว โดยจำเลยและจำเลยร่วมทราบข้อเท็จจริงที่ถูกฟ้องแล้วว่าที่ดินแปลงนี้จะต้องถูกบังคับให้ตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมตามกฎหมาย คำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีกล่าวอ้างว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทไปโดยรู้แล้วว่าที่ดินแปลงนี้กำลังถูกฟ้องบังคับให้ตกอยู่ในภารจำยอมเท่ากับจำเลยร่วมรับโอนโดยไม่สุจริตเมื่อจำเลยร่วมยื่นคำให้การเข้ามาในคดี จำเลยร่วมหาได้ปฏิเสธว่าตนเองรับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยร่วมยอมรับตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์แล้วว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตสิทธิและหน้าที่ของจำเลยในที่ดินแปลงนี้มีอยู่อย่างไร จำเลยร่วมย่อมต้องรับโอนจากจำเลยไปทั้งหมด รวมทั้งหน้าที่ที่จะต้องถูกบังคับให้ที่ดินแปลงนี้ตกอยู่ในภารจำยอม
ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ โจทก์จึงซื้อที่ดินจากจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะต้องจัดให้โจทก์ได้ภารจำยอมเหนือที่ดินทุกแปลงที่เป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะจำเลยก็ได้แบ่งแยกที่ดินจนเหลือเป็นรูปถนนจดที่ดินของโจทก์และจดที่ดินทั้งสี่แปลงที่โจทก์ซื้อจากจำเลยเพิ่มเติม ซึ่งโจทก์อาจใช้เป็นถนนขนาดให้รถยนต์เข้าออกได้หมด ข้อตกลงเช่นนี้แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี
จำเลยโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และมีการทำแผนที่พิพาทแล้ว โดยจำเลยและจำเลยร่วมทราบข้อเท็จจริงที่ถูกฟ้องแล้วว่าที่ดินแปลงนี้จะต้องถูกบังคับให้ตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมตามกฎหมาย คำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีกล่าวอ้างว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทไปโดยรู้แล้วว่าที่ดินแปลงนี้กำลังถูกฟ้องบังคับให้ตกอยู่ในภารจำยอมเท่ากับจำเลยร่วมรับโอนโดยไม่สุจริตเมื่อจำเลยร่วมยื่นคำให้การเข้ามาในคดี จำเลยร่วมหาได้ปฏิเสธว่าตนเองรับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยร่วมยอมรับตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์แล้วว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตสิทธิและหน้าที่ของจำเลยในที่ดินแปลงนี้มีอยู่อย่างไร จำเลยร่วมย่อมต้องรับโอนจากจำเลยไปทั้งหมด รวมทั้งหน้าที่ที่จะต้องถูกบังคับให้ที่ดินแปลงนี้ตกอยู่ในภารจำยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2647/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมต้องเกิดจากการใช้สิทธิอย่างเปิดเผยและต่อเนื่องในนามเจ้าของที่ดิน ไม่ใช่การใช้ของผู้อยู่อาศัย
++ เรื่อง ภาระจำยอม ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++ +++++++++++++++++++++++++ ++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 ตำบลบางอ้ออำเภอบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ติดต่อกัน และทางด้านทิศเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 ติดต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3597 ของจำเลยซึ่งในที่ดินของจำเลยด้านที่ติดกับที่ดินของโจทก์ จำเลยได้สร้างทางกว้าง 5 เมตร ยาวตลอดแนวเขตที่ดินประมาณ 50 เมตร ไปเชื่อมต่อกับซอยโรจน์นิมิตรเพื่อออกสู่ถนนสาธารณะ บุคคลที่อยู่อาศัยในที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ได้ใช้ทางในเขตที่ดินของจำเลยเพื่อออกสู่ถนนสาธารณะเมื่อประมาณเดือนกันยายน 2535 จำเลยและบริวารได้ตัดต้นไม้ที่อยู่ชิดแนวเขตระหว่างที่ดินของโจทก์กับที่ดินของจำเลยแล้วสร้างรั้วคอนกรีตเป็นกำแพงตลอดแนวเขตที่ดินของจำเลยปิดกั้นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์และบุคคลที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ไม่สามารถใช้ทางของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะได้ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ทางกว้าง 5 เมตร ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 3597 ตำบลบางอ้ออำเภอบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่โฉนดที่ดินเลขที่ 3596 และ 4855 ของโจทก์หรือไม่ โจทก์เบิกความว่าโจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 ทั้งสองแปลงมาจากบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2523 โดยซื้อในนามของบริษัทโลเจย์เอนเทอไพรซ จำกัด ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการอยู่ แล้วต่อมาในวันที่ 2 ตุลาคม 2534 จึงได้โอนกรรมสิทธิ์มาเป็นชื่อของโจทก์ ขณะซื้อมีทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ถนนในที่ดินของจำเลยอยู่แล้ว และขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวมานั้น ในที่ดินของโจทก์มีผู้พักอาศัยอยู่ประมาณ 40 คน โจทก์ไม่เคยเข้าไปพักอาศัยในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่ซื้อมาเลย แต่โจทก์จะเข้าไปดูที่ดินของโจทก์ปีละหลายครั้งเห็นได้ว่าตั้งแต่โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 มาตั้งแต่ในนามของบริษัทโลเจย์เอนเทอไพรซ จำกัด โจทก์หรือบริษัทดังกล่าวไม่เคยเข้าไปพักอาศัยหรือทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์เลย โจทก์มีนางชูศรีช้างต่อ มาเบิกความเป็นพยานว่า นางชูศรีพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 205/ขซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์มาตั้งแต่นางชูศรีเกิดเป็นเวลา 48 ปี แล้วและได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกมาประมาณ 10 ปี แล้ว ในที่ดินของโจทก์มีบ้านปลูกอยู่ 5 หลัง แต่ได้รื้อไปแล้ว 1 หลัง และนางชูศรีไม่ทราบว่าบิดามารดานางชูศรีเข้ามาอยู่ในที่ดินของโจทก์นี้ได้อย่างไรเห็นว่า นางชูศรีหรือบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ได้พักอาศัยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์มาก่อนที่โจทก์จะเข้ามาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ปรากฏว่านางชูศรีหรือบุคคลอื่นที่พักอาศัยในที่ดินของโจทก์ดังกล่าวได้อยู่อาศัยโดยได้รับมอบหมายจากเจ้าของที่ดินเดิมอย่างไรหรือไม่โจทก์เองก็เบิกความรับว่าบุคคลผู้ที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์นั้นมิได้เป็นผู้เช่าบ้าน และมิใช่ญาติพี่น้องของโจทก์ ทุกคนอยู่มาก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินดังกล่าว เพียงแต่โจทก์ยินยอมให้พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ต่อไปเท่านั้น แสดงว่านางชูศรีหรือบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ไม่ใช่บริวารของโจทก์หรือของเจ้าของที่ดินคนก่อน การใช้ทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยเป็นการใช้ของบุคคลผู้พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์เพื่อประโยชน์ของตนเท่านั้น มิใช่เพื่อประโยชน์ของเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 แต่อย่างใด การที่บุคคลเหล่านี้ใช้ทางในที่ดินของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่การใช้แทนหรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของเจ้าของที่ดินเดิมหรือของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินทั้งสองแปลงโดยมีเจตนาเพื่อให้ได้มาซึ่งภาระจำยอม แม้บุคคลดังกล่าวจะได้ใช้ทางนั้นมาเกินกว่า 10 ปี แล้วก็ไม่ทำให้ทางกว้าง 5 เมตร ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3597 ของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 ของโจทก์พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่า ทางกว้าง5 เมตร ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3597 ตำบลบางอ้อ อำเภอบางซื่อกรุงเทพมหานคร ของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่3596 และ 4855 ของโจทก์ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ในข้อที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์มาเกิน 10 ปี แล้วหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 1,500 บาทแทนจำเลย.
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++ +++++++++++++++++++++++++ ++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 ตำบลบางอ้ออำเภอบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ติดต่อกัน และทางด้านทิศเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 ติดต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3597 ของจำเลยซึ่งในที่ดินของจำเลยด้านที่ติดกับที่ดินของโจทก์ จำเลยได้สร้างทางกว้าง 5 เมตร ยาวตลอดแนวเขตที่ดินประมาณ 50 เมตร ไปเชื่อมต่อกับซอยโรจน์นิมิตรเพื่อออกสู่ถนนสาธารณะ บุคคลที่อยู่อาศัยในที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ได้ใช้ทางในเขตที่ดินของจำเลยเพื่อออกสู่ถนนสาธารณะเมื่อประมาณเดือนกันยายน 2535 จำเลยและบริวารได้ตัดต้นไม้ที่อยู่ชิดแนวเขตระหว่างที่ดินของโจทก์กับที่ดินของจำเลยแล้วสร้างรั้วคอนกรีตเป็นกำแพงตลอดแนวเขตที่ดินของจำเลยปิดกั้นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์และบุคคลที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ไม่สามารถใช้ทางของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะได้ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ทางกว้าง 5 เมตร ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 3597 ตำบลบางอ้ออำเภอบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่โฉนดที่ดินเลขที่ 3596 และ 4855 ของโจทก์หรือไม่ โจทก์เบิกความว่าโจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 ทั้งสองแปลงมาจากบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2523 โดยซื้อในนามของบริษัทโลเจย์เอนเทอไพรซ จำกัด ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการอยู่ แล้วต่อมาในวันที่ 2 ตุลาคม 2534 จึงได้โอนกรรมสิทธิ์มาเป็นชื่อของโจทก์ ขณะซื้อมีทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ถนนในที่ดินของจำเลยอยู่แล้ว และขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวมานั้น ในที่ดินของโจทก์มีผู้พักอาศัยอยู่ประมาณ 40 คน โจทก์ไม่เคยเข้าไปพักอาศัยในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่ซื้อมาเลย แต่โจทก์จะเข้าไปดูที่ดินของโจทก์ปีละหลายครั้งเห็นได้ว่าตั้งแต่โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 มาตั้งแต่ในนามของบริษัทโลเจย์เอนเทอไพรซ จำกัด โจทก์หรือบริษัทดังกล่าวไม่เคยเข้าไปพักอาศัยหรือทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์เลย โจทก์มีนางชูศรีช้างต่อ มาเบิกความเป็นพยานว่า นางชูศรีพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 205/ขซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์มาตั้งแต่นางชูศรีเกิดเป็นเวลา 48 ปี แล้วและได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกมาประมาณ 10 ปี แล้ว ในที่ดินของโจทก์มีบ้านปลูกอยู่ 5 หลัง แต่ได้รื้อไปแล้ว 1 หลัง และนางชูศรีไม่ทราบว่าบิดามารดานางชูศรีเข้ามาอยู่ในที่ดินของโจทก์นี้ได้อย่างไรเห็นว่า นางชูศรีหรือบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ได้พักอาศัยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์มาก่อนที่โจทก์จะเข้ามาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ปรากฏว่านางชูศรีหรือบุคคลอื่นที่พักอาศัยในที่ดินของโจทก์ดังกล่าวได้อยู่อาศัยโดยได้รับมอบหมายจากเจ้าของที่ดินเดิมอย่างไรหรือไม่โจทก์เองก็เบิกความรับว่าบุคคลผู้ที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์นั้นมิได้เป็นผู้เช่าบ้าน และมิใช่ญาติพี่น้องของโจทก์ ทุกคนอยู่มาก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินดังกล่าว เพียงแต่โจทก์ยินยอมให้พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ต่อไปเท่านั้น แสดงว่านางชูศรีหรือบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ไม่ใช่บริวารของโจทก์หรือของเจ้าของที่ดินคนก่อน การใช้ทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยเป็นการใช้ของบุคคลผู้พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์เพื่อประโยชน์ของตนเท่านั้น มิใช่เพื่อประโยชน์ของเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 แต่อย่างใด การที่บุคคลเหล่านี้ใช้ทางในที่ดินของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่การใช้แทนหรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของเจ้าของที่ดินเดิมหรือของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินทั้งสองแปลงโดยมีเจตนาเพื่อให้ได้มาซึ่งภาระจำยอม แม้บุคคลดังกล่าวจะได้ใช้ทางนั้นมาเกินกว่า 10 ปี แล้วก็ไม่ทำให้ทางกว้าง 5 เมตร ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3597 ของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 ของโจทก์พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่า ทางกว้าง5 เมตร ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3597 ตำบลบางอ้อ อำเภอบางซื่อกรุงเทพมหานคร ของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่3596 และ 4855 ของโจทก์ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ในข้อที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์มาเกิน 10 ปี แล้วหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 1,500 บาทแทนจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงพื้นที่สาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรที่ดินที่ขัดต่อภาระจำยอมและการใช้อำนาจโดยมิชอบของคณะกรรมการควบคุมการจัดสรร
จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดิน โดยมีเงื่อนไขระบุห้ามมิให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงบริเวณที่กันไว้เป็นบริการสาธารณะซึ่งมีขนาดและเนื้อที่เกินกว่ามาตรฐานไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ที่ดินส่วนที่กันไว้เป็นบริการสาธารณะทั้งหมดจึงตกเป็นภาระจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 หาใช่ตกเป็นภาระจำยอมเฉพาะแต่ส่วนตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2535 ข้อ 45 ไม่ จำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงเนื้อที่ของบริการสาธารณะจากสวนพักผ่อนเป็นโรงเรียนอนุบาล แม้บริการสาธารณะทั้งสองต่างเป็นสาธารณูปโภค แต่ก็เป็นสาธารณูปโภคคนละประเภทกัน การเปลี่ยนแปลงขนาดเนื้อที่ของสวนพักผ่อนจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น แม้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 17 จะให้อำนาจคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินอนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผังโครงการได้ แต่ต้องมิใช่การลดขนาดสาธารณูปโภคและการจัดสรรนั้นยังต้องดำเนินการอยู่ด้วย จำเลยที่ 1 ได้จัดสรรที่ดินจำหน่ายไปหมดแล้ว จึงไม่สามารถขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนผังโครงการได้อีก อำนาจของคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2535 ข้อ 4 เป็นอำนาจที่อาจผ่อนผันให้แก่ผู้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินบางราย หาใช่ว่าคณะกรรมการจะมีอำนาจอนุญาตให้ผู้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินรายใดผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ตามอำเภอใจอันเป็นการขัดต่อกฎหมายได้ มติของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ที่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเปลี่ยนแปลงลดจำนวนพื้นที่สวนพักผ่อนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและการจดทะเบียนภาระจำยอม: โรงเรือนจำกัดเฉพาะบ้านพักอาศัยเท่านั้น
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1312 ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าสร้างโรงเรือนย่อมหมายถึงสร้างบ้านสำหรับอยู่อาศัยเท่านั้น ดังนั้น โรงรถ ท่อน้ำประปา ปั๊มน้ำและแท็งก์น้ำจึงมิใช่โรงเรือนตามความหมายของบทบัญญัติมาตรานี้ และไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโรงเรือนด้วย แม้จำเลยจะสร้างหรือทำรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์จำเลยโดยสุจริต ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1312 ดังกล่าว จำเลยต้องรื้อถอนออกจากที่ดินของโจทก์
ป.พ.พ.มาตรา 1312 บัญญัติให้จดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอมเฉพาะตัวโรงเรือนที่รุกล้ำเท่านั้น จึงไม่มีผลให้บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินของผู้อื่นอีก แม้จะมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้อาคารที่ปลูกในที่ดินเอกชนให้ผนังด้านที่มีหน้าต่าง ประตูหรือช่องระบายอากาศอยู่ห่างเขตที่ดินได้สำหรับชั้นสองลงมาระยะไม่น้อยกว่า 2 เมตร ก็เป็นกรณีที่ผู้ปลูกสร้างอาคารจะต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่กรณีของจำเลยเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวไม่มีผลให้โจทก์ต้องผูกพันในการกระทำของจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องจดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินของโจทก์ทั้งสองให้แก่จำเลยเพิ่มขึ้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวเป็นเนื้อที่ถึง 13 ตารางวา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา161 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้ามิได้ระบุค่าฤชาธรรมเนียมชนิดใดไว้โดยเฉพาะ ค่าฤชา-ธรรมเนียมนั้นให้รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสารและบังคับคดี และค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสีย ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับโดยมิได้สั่งค่าทนายความ จึงรวมถึงค่าทนายความทั้งสองศาลให้เป็นพับด้วยแล้ว
ป.พ.พ.มาตรา 1312 บัญญัติให้จดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอมเฉพาะตัวโรงเรือนที่รุกล้ำเท่านั้น จึงไม่มีผลให้บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินของผู้อื่นอีก แม้จะมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้อาคารที่ปลูกในที่ดินเอกชนให้ผนังด้านที่มีหน้าต่าง ประตูหรือช่องระบายอากาศอยู่ห่างเขตที่ดินได้สำหรับชั้นสองลงมาระยะไม่น้อยกว่า 2 เมตร ก็เป็นกรณีที่ผู้ปลูกสร้างอาคารจะต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่กรณีของจำเลยเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวไม่มีผลให้โจทก์ต้องผูกพันในการกระทำของจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องจดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินของโจทก์ทั้งสองให้แก่จำเลยเพิ่มขึ้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวเป็นเนื้อที่ถึง 13 ตารางวา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา161 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้ามิได้ระบุค่าฤชาธรรมเนียมชนิดใดไว้โดยเฉพาะ ค่าฤชา-ธรรมเนียมนั้นให้รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสารและบังคับคดี และค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสีย ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับโดยมิได้สั่งค่าทนายความ จึงรวมถึงค่าทนายความทั้งสองศาลให้เป็นพับด้วยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8639/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมในที่ดินจัดสรร: ถนนคอนกรีตส่วนกลาง แม้มิปรากฏในแผนผังก็มีผลผูกพันเจ้าของที่ดิน
ที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินในหมู่บ้านจัดสรรอยู่ติดกันและเป็นที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหลังทั้งคู่ โดยมีแนวเขตที่ดินด้านหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างแปลงละ 3 เมตร ยาวตลอดแนวเขตที่ดินของแปลงที่อยู่ด้านหน้าซึ่งผู้จัดสรรได้ทำเป็นถนนคอนกรีตกว้าง 6 เมตร เชื่อมกับถนนสาธารณะของหมู่บ้าน ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของผู้จัดสรรว่า เพื่อต้องการให้เจ้าของที่ดินแปลงในมีทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยสะดวก แม้ถนนคอนกรีตนี้จะไม่ปรากฏอยู่ในแผนผังการจัดสรรที่ดินและเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินแปลงในที่อยู่ด้านหลังก็ตาม แต่เมื่อผู้จัดสรรที่ดินได้ทำถนนคอนกรีตดังกล่าวมาก่อนที่โจทก์และจำเลยจะมาซื้อที่ดินและบ้านในหมู่บ้านย่อมถือได้ว่าถนนคอนกรีตนี้เป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดิน ถนนคอนกรีตดังกล่าวจึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 แม้จำเลยจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เป็นถนนคอนกรีต ก็ไม่มีสิทธิก่อสร้างกำแพงและสิ่งก่อสร้างอื่นบนถนนคอนกรีตนี้