คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 691 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9754/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากการให้กู้ยืมเงินผู้ถือหุ้น และการเพิกถอนนิติกรรมยกหนี้ที่ไม่สามารถทำได้ในคดีนี้
จำเลยที่ 1 ให้ อ. และ ป. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและเคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 กู้ยืมเพียงครั้งเดียว มิได้ให้บุคคลอื่นกู้ยืมอีก กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (5) จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
นิติกรรมยกหนี้เงินกู้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับ อ. และ ป. เป็นนิติกรรมสองฝ่ายหาใช่นิติกรรมฝ่ายเดียว การเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวย่อมมีผลกระทบถึงสิทธิของ อ.และ ป. ซึ่งโจทก์มิได้ฟ้องเป็นจำเลยในคดีด้วยจึงไม่อาจเพิกถอนในคดีนี้ได้
อนึ่ง ที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำแก้อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้น เห็นว่า หากจำเลยที่ 2 ประสงค์จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว จำเลยที่ 2 ต้องกระทำโดยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง มิใช่เพียงยื่นคำแก้อุทธรณ์เช่นนี้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8879/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีโดยผู้รับมอบอำนาจของนิติบุคคล ถือเป็นการได้รับแจ้งการประเมินตามกฎหมาย
คำว่า "บุคคล" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ย่อมหมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลด้วย ดังนั้น เมื่อผู้รับมอบอำนาจของโจทก์รับหนังสือแจ้งการประเมินจากเจ้าพนักงานสรรพากรแล้ว ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินให้ไปเสียภาษีในวันดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ทางค้าหรือหากำไรจากสัญญาเช่าและการโอนกรรมสิทธิ์อาคารเข้าข่ายต้องเสียภาษี
โจทก์เช่าที่ดินจาก ร.โดยร. ตกลงให้โจทก์สร้างอาคารบนที่ดินที่เช่าและให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ร. ทันทีที่ลงมือปลูกสร้างแล้วโจทก์มีสิทธินำอาคารดังกล่าวไปให้เช่าจนกว่าจะครบอายุสัญญาเช่า23 ปี การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิตามสัญญาเช่าปลูกสร้างอาคารไว้ในที่ดินที่เช่า บรรดาอาคารสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆจึงมิได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 146 ร. ย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในบรรดาอาคารสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามมาตรา 144 วรรคสอง แต่ ร. ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นเนื่องจากสัญญาเช่าที่ตกลงกันไว้ซึ่งหากโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์มาก่อนโจทก์ย่อมไม่อาจจะตกลงให้ทรัพย์นั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ ร.ทันทีได้ จึงถือได้ว่าโจทก์จำหน่ายจ่ายโอนอาคาร สิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แก่ ร. อันเข้าบทนิยาม คำว่า "ขาย" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/1(4)
โจทก์สร้างอาคารลงบนที่ดินที่เช่าจาก ร. โดยตกลงให้บรรดาอาคารสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ ร.ทันทีที่ลงมือปลูกสร้างแล้ว โจทก์มีสิทธินำอาคารดังกล่าวไปให้เช่าหาประโยชน์ได้จนกว่าจะครบอายุสัญญาเช่า 23 ปี เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการให้ ร. อันเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามประมวลรัษฎากรมาตรา 91/2(6) ประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 มาตรา 3(5) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ทางภาษี: การโอนกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างจากการเช่า และการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม/ธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมีข้อตกลงให้โจทก์สร้างอาคารบนที่ดินที่เช่า และให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยทันทีที่ลงมือปลูกสร้างหรือติดตั้ง แล้วโจทก์มีสิทธินำอาคารดังกล่าวไปประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ โดยได้รับสิทธิที่จะนำอาคารไปหาประโยชน์ได้จนกว่าจะครบ อายุสัญญาเช่า 23 ปี ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ใช้สิทธินั้นปลูกสร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นไว้ในที่ดินที่เช่า บรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนตรึงอาคาร สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดหาได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินที่โจทก์เช่าจากการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 การรถไฟแห่งประเทศไทยย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในบรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนตรึงอาคาร สิ่งปลูกสร้างทั้งหมด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 144 วรรคสอง แต่การที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กรรมสิทธิ์ในบรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนตรึงอาคาร สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดก็เนื่องมาจากสัญญาเช่าที่โจทก์ตกลงว่าให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้นทันที ที่ลงมือปลูกสร้างหรือติดตั้ง อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในอาคาร สิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าว กรณีดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ได้จำหน่ายจ่ายโอนอาคารสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวอันเข้าบทนิยามคำว่า "ขาย" ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) แล้ว และเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ อันเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) ประกอบด้วย พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 มาตรา 3 (5) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นด้วย
การที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องโจทก์ต้องอุทธรณ์ การประเมินไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลย หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องโจทก์ชอบที่จะไปยื่นคำร้องขอภาษีมูลค่าเพิ่มคืนจากจำเลย และสำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นกรณีที่โจทก์ต้องชำระตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจึงหาใช่เป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8298/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่นำเข้าโดยมิได้เสียภาษีตาม พ.ร.บ.ศุลกากร และการลดค่าปรับ
พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 17 บัญญัติว่า "ของใด ๆ อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 ประกอบด้วยมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)
พุทธศักราช 2482 ท่านให้ริบเสียทั้งสิ้น โดยมิพักต้องคำนึงว่าบุคคลใดจะต้องรับโทษหรือหาไม่" จึงต้องริบรถยนต์ ของกลางตามกฎหมายดังกล่าว ไม่อาจคืนให้แก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7960/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลล้มละลายต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทภาษีจากการฟื้นฟูกิจการอย่างชัดเจน พร้อมพิจารณาพยานหลักฐานเพิ่มเติม
ในการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/26 ให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถ้าคำขอรับชำระหนี้รายนั้นมีผู้โต้แย้ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนแล้วมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด คือให้ยกคำขอรับชำระหนี้ อนุญาตให้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนหรืออนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ บางส่วน เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งดังกล่าวแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียอาจยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้ตามมาตรา 90/32 และเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาล และผู้คัคค้านแถลงคัดค้านคำร้องดังกล่าว ศาลล้มละลายจะต้องดำเนินการไต่สวนหาความจริงในข้อเท็จจริงที่คู่ความยังโต้เถียงกันอยู่แล้ววินิจฉัยคดีตามประเด็นซึ่งเกิดจากคำร้องและคำคัดค้านนั้น ในคำสั่งศาลเรื่องดังกล่าวจะต้องแสดงถึงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงและ คำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดีทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและมีปัญหาข้อกฎหมาย ตลอดจนค่าฤชาธรรมเนียม ตามมาตรา 14 และข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ข้อ 24
ตามคำร้องของผู้ร้องได้อ้างเป็นประเด็นในการคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในมูลหนี้อันดับที่ 2 ส่วนที่ 1 ภาษีอากรที่วัตถุดิบในคลังสินค้าทัณฑ์บนขาดหายไปว่า จะใช้จำนวนวัตถุดิบในคลังสินค้าที่ขาดหาย ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่ผู้คัดค้านเข้าไปตรวจสอบจำนวนวัตถุดิบเป็นฐานในการคำนวณภาระภาษีอากรจำนวนวัตถุดิบที่ขาดหายไปนั้นผู้ร้องสามารถชี้แจงได้หรือไม่ และลูกหนี้ต้องรับผิดภาษีจำนวนเท่าใด และส่วนที่ 2 ภาษีอากรสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามามีอายุเกิน 2 ปี นับแต่วันนำเข้าเป็นภาระภาษีอากรที่ซ้ำซ้อนกับมูลหนี้ส่วนที่ 1 และเมื่อผู้คัดค้านโต้แย้งประเด็นดังกล่าว ศาลล้มละลาย จึงต้องมีคำสั่งโดยวินิจฉัยคดีตามประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวให้ป็นที่ชัดแจ้งว่าจะใช้จำนวนวัตถุดิบที่ขาดหายไป ณ วันใดเป็นฐานในการคำนวณภาษีอากร มีสินค้าประเภทใดขาดหายไป จำนวนเท่าใด แล้วเหตุที่ผู้ร้องอ้างว่าทำให้ สินค้าขาดหายนั้นมีอยู่จริงหรือไม่ และหากเหตุดังกล่าวมีอยู่จริงถือว่าเป็นเหตุอันสมควรหรือไม่ จากเหตุดังกล่าว ลูกหนี้ต้องรับผิดในมูลหนี้ภาษีอากรเนื่องจากวัตถุดิบในคลังสินค้าทัณฑ์บนขาดหายตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 13/2534 เรื่องระเบียบเกี่ยวกับคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า ข้อ 17 และข้อ 19 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 ทวิ (2) แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 หรือไม่ เพียงใด และในมูลหนี้ภาษีอากรเนื่องจาก นำวัตถุดิบเข้ามาค้างเกิน 2 ปี ซ้ำซ้อนกับมูลหนี้ค่าภาษีอากรเนื่องจากจำนวนวัตถุดิบในคลังสินค้าทัณฑ์บนขาดหายไปหรือไม่ อย่างไร เมื่อคำวินิจฉัยของศาลล้มละลายเป็นการกล่าวแบบรวม ๆ มิได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีและ แสดงเหตุผลประกอบการวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 และข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ข้อ 24
ผู้ร้องประสงค์จะอ้างหรือขอให้เรียกพยานเอกสารอีกหลายฉบับซึ่งเป็นเอกสารสำคัญในการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดี อีกทั้งได้ระบุรายละเอียดของเอกสารดังกล่าวมาแล้วในคำร้องคัดค้านและคำฟ้องอุทธรณ์ พร้อมทั้ง ขอให้ศาลสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเพิ่มเติม นอกจากนี้ในคำร้องและคำคัดค้านยังมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอีกหลายประการ ศาลฎีกาพิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนแล้วเห็นว่ายังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัย จึงจำต้อง ย้อนสำนวนคืนไปยังศาลล้มละลายเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) และ (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความและผลของการแจ้งการประเมินภาษี การอายัดทรัพย์สิน และการฟ้องล้มละลาย
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี 2526 และ 2527 ถือว่าเจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้ว เป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี เพราะประมวลรัษฎากรมาตรา 12 ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรค้างได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีจึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(5) เมื่อเจ้าพนักงานประเมินกำหนดให้จำเลยชำระเงินค่าภาษีอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินโดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2530 อายุความจึงเริ่มต้นนับใหม่เมื่อพ้น 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2530 ซึ่งอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
การยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม จึงต้องใช้อำนาจภายในกำหนดเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 นับแต่วันที่อาจใช้อำนาจตามมาตรานี้ได้ แต่กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามมาตรา 271 มิใช่อายุความอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงไม่อาจนำบทบัญญัติอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้การที่โจทก์มีคำสั่งอายัดเงินมัดจำขวดและลังที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากบริษัท บ. และบริษัทดังกล่าวส่งเงินอายัดให้โจทก์เมื่อวันที่ 30ธันวาคม 2534 ก็เป็นเพียงขั้นตอนในการบังคับคดีเท่านั้นไม่ใช่การกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 18มิถุนายน 2541 เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2530ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้วโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลย จึงไม่อาจนำหนี้มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5733/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินปันผลที่ได้รับยกเว้นภาษี การเปลี่ยนแปลงสถานะผู้ถือหุ้น และผลกระทบต่อการคำนวณรายได้
ขณะที่บริษัทสรรพสินค้าชิดลม จำกัด ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นประกาศจ่ายเงินปันผลให้โจทก์จำนวน 175,219,000 บาท ซึ่งเป็นวันที่ถือว่าโจทก์มีรายได้ในเงินปันผลจำนวนดังกล่าวนั้น บริษัทสรรพสินค้าชิดลม จำกัด ยังมิได้เข้าถือหุ้นในบริษัทโจทก์ หรือเคยถือหุ้นในบริษัทโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมาก่อน เงินปันผลจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้ทั้งจำนวน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (10) (ข) การที่ ต่อมาบริษัทสรรพสินค้าชิดลม จำกัด เข้ามาถือหุ้นในบริษัทโจทก์ไม่ว่าจะอยู่ในรอบระยะเวลาบัญชีที่โจทก์ได้รับ เงินปันผลนั้นมาหรือไม่ก็ตาม ย่อมไม่ทำให้เงินปันผลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้ทั้งจำนวนนั้น ต้องกลับมาเป็นเงินปันผลที่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (10) วรรคหนึ่ง ไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนอากรขาเข้า: จำเลยต้องยื่นคำร้องภายในกำหนด หากไม่ยื่น แม้มีสินค้าเหลือ ก็ไม่มีสิทธิหักออกจากภาษีที่ต้องชำระ
พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ กำหนดเงื่อนไขในการคืนอากรขาเข้าให้แก่ผู้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วได้ผลิตหรือผสม หรือประกอบ หรือบรรจุ ด้วยของดังกล่าวและส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศไว้ว่า ผู้นำสินค้าเข้าต้องขอคืนเงินอากรภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นออกไป เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องขอคืนอากรสำหรับสินค้าทั้งสองรายการที่จำเลยอ้างขอตัดบัญชีได้อีกภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19 ทวิ และไม่ได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลาในการยื่นคำร้องขอคืนไว้เลย จึงไม่อาจนำจำนวนสินค้าทั้งสองรายการดังกล่าวไปหักออกจากสินค้าคงเหลือซึ่งเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินเรียกเก็บจากจำเลย จำเลยต้องชำระเงินค่าภาษีอากรและเงินเพิ่มที่ค้างชำระแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2779/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีภาษี: การฟ้องเรียกหนี้เดิมที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการขาดอำนาจฟ้อง
ฟ้องของกรมสรรพากรโจทก์ในคดีนี้มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีเดิมว่า จำเลยต้องรับผิดชำระภาษีการค้าพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือไม่ ซึ่งในคดีเดิมที่จำเลยฟ้องโจทก์ศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยคดีถึงที่สุดมาแล้ว การที่โจทก์นำมูลหนี้เดียวกันมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้ชำระภาษีการค้าจำนวนเดียวกันพร้อมเงินเพิ่มอีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
of 70