พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแทนค่าปรับตามกฎหมายภาษีสรรพสามิต: กำหนดระยะเวลาการจำแทน
การกำหนดจำแทนค่าปรับตาม ม.47
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการครอบครองวัตถุสงสัยเพื่อทำผิดกฎหมายภาษีสรรพสามิต ต้องพิสูจน์ได้
(เทียบฎีกาที่ 462/2466)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9881/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การหักค่าภาษีสรรพสามิตออกจากฐานภาษีเป็นรายรับที่ครบถ้วนตามสัญญาเดิม ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
สัญญาให้ดำเนินการให้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า คู่สัญญาภาคเอกชนทั้งสามรายต้องจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่โจทก์ตลอดอายุสัญญาเป็นรายปี คิดเป็นอัตราร้อยละของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย ค่าภาษี และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ การที่โจทก์ให้คู่สัญญาทั้งสามรายนำเงินค่าภาษีสรรพสามิตที่ได้ชำระแล้วมาหักออกจากจำนวนเงินผลประโยชน์ตอบแทนที่ต้องจ่ายให้โจทก์ เป็นการกระทำที่มีผลเช่นเดียวกับการที่โจทก์นำเงินที่ได้รับจากคู่สัญญาทั้งสามรายบางส่วนไปจ่ายคืนให้แก่คู่สัญญาทั้งสามราย เพื่อให้คู่สัญญาทั้งสามรายนำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระภาษีสรรพสามิตตามที่คู่สัญญาทั้งสามรายมีหน้าที่ต้องชำระให้แก่กรมสรรพสามิต อันเป็นการชดเชยค่าภาษีสรรพสามิตให้แก่คู่สัญญาทั้งสามราย โดยโจทก์เป็นผู้รับภาระค่าภาษีสรรพสามิตแทนคู่สัญญาทั้งสามราย เพื่อให้คู่สัญญาทั้งสามรายมีภาระที่จะต้องจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่โจทก์ตามสัญญาในอัตราเท่าเดิม โดยไม่มีการลดผลประโยชน์ตอบแทนหรือส่วนแบ่งรายได้ที่โจทก์จะได้รับจากคู่สัญญาทั้งสามราย ส่วนแบ่งรายได้หรือผลประโยชน์ตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากคู่สัญญาทั้งสามรายยังมีครบถ้วนตามสัญญาเดิมและถือเป็นรายรับที่โจทก์ได้รับจริงจากการให้บริการตามสัญญา ซึ่งเป็นฐานภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79 โจทก์จึงต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากคู่สัญญาทั้งสามรายตามมาตรา 77/2
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตและคู่สัญญาทั้งสามรายไม่มีสิทธินำเอาค่าภาษีสรรพสามิตที่ชำระแล้วมาหักออกจากส่วนแบ่งรายได้ที่ต้องชำระแก่โจทก์ คู่สัญญาทั้งสามรายต้องรับภาระภาษีสรรพสามิตเอง คู่สัญญาทั้งสามรายยังชำระค่าส่วนแบ่งรายได้ให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วน โจทก์จึงยังไม่ได้รับค่าภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนนี้นั้น เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่รับวินิจฉัยให้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตและคู่สัญญาทั้งสามรายไม่มีสิทธินำเอาค่าภาษีสรรพสามิตที่ชำระแล้วมาหักออกจากส่วนแบ่งรายได้ที่ต้องชำระแก่โจทก์ คู่สัญญาทั้งสามรายต้องรับภาระภาษีสรรพสามิตเอง คู่สัญญาทั้งสามรายยังชำระค่าส่วนแบ่งรายได้ให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วน โจทก์จึงยังไม่ได้รับค่าภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนนี้นั้น เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่รับวินิจฉัยให้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9694/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะผู้เสียภาษีสรรพสามิต: การจัดแข่งม้าการกุศลและการพิสูจน์ความเป็นตัวแทน
คำขอยกเว้นภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 102 ทวิ (1) และ (2) ที่โจทก์ยื่น ระบุว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการสถานบริการ แต่ขอยกเว้นค่าภาษีสรรพสามิตเพื่อบริจาครายรับเป็นสาธารณประโยชน์ให้แก่โรงพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งเป็นการกระทำในนามของโจทก์เองไม่ได้ระบุว่าโจทก์ยื่นคำขอยกเว้นแทนองค์กรใด และโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้ส่งมอบรายรับทั้งหมดเป็นสาธารณประโยชน์ให้แก่โรงพยาบาลต่าง ๆ ตามที่โจทก์อ้าง โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตในฐานะเป็นผู้ประกอบกิจการสถานบริการสนามแข่งม้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9688/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีสรรพสามิต: การนำเข้าแบตเตอรี่เป็นสินค้าแยกจากเครื่องสำรองไฟฟ้า ทำให้ต้องเสียภาษีสรรพสามิต
สินค้าที่โจทก์นำเข้าถูกระบุในใบกำกับสินค้าโดยชัดแจ้งว่าเป็นสินค้าประเภทแบตเตอรี่ แสดงให้เห็นว่าสินค้าพิพาทเป็นแบตเตอรี่โดยสภาพ ซึ่งตรงกับพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พ.ร.ฎ.กำหนดประเภทสินค้าตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2540 ประเภทที่ 08.90 (4) ส่วนที่โจทก์อ้างว่าแบตเตอรี่ที่นำเข้าเป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องสำรองไฟฟ้าครบชุดบริบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์การตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ข้อ (3) ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 22 เมษายน 2528 คำเบิกความของพยานโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์นำเข้าแบตเตอรี่พิพาทเพื่อสำหรับผลิตหรือประกอบเข้ากันเป็นเครื่องสำรองไฟฟ้าเป็นการเฉพาะเจาะจง เมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วเสร็จแล้วแบตเตอรี่จะเปลี่ยนสภาพเป็นส่วนที่นำไปประกอบกับส่วนประกอบอื่น ๆ เป็นเครื่องสำรองไฟอย่างแท้จริง อันจะถือว่าเป็นสินค้าครบชุดบริบูรณ์ และที่โจทก์อ้างว่า แบตเตอรี่ไม่อาจแยกการทำงานออกจากส่วนประกอบอื่นของเครื่องสำรองไฟฟ้าได้ โจทก์ก็ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่า แบตเตอรี่พิพาทต้องประกอบอยู่ในตัวเครื่องสำรองไฟฟ้าจนไม่อาจแยกออกจากกันได้ และไม่สามารถใช้งานได้ด้วยตนเองนอกจากประกอบเข้ากับเครื่องสำรองไฟ พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่พอฟังได้ว่า แบตเตอรี่ที่โจทก์นำเข้ามาเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำรองไฟฟ้าครบชุดบริบูรณ์ อันจะทำให้แบตเตอรี่ที่นำเข้าไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต
โจทก์ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นแบบพิมพ์เดียวกัน โจทก์คงสำแดงพิกัดอัตราศุลกากรและภาษีศุลกากรเท่านั้น แต่ไม่ได้ระบุรหัสสินค้าสรรพสามิตที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีสรรพสามิต อันจะทำให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่ามุ่งหมายจะยื่นรายการภาษีสรรพสามิตด้วย ทั้งการที่โจทก์อ้างว่าไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตมาแต่แรกนั้น ย่อมเป็นข้อบ่งชี้ว่าโจทก์ไม่เคยมีเจตนาจะยื่นแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตมาก่อน กรณีของโจทก์จึงเป็นกรณีที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 48 (3) และแม้หากจะฟังได้ว่าโจทก์ยื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิต แต่มูลค่าของสินค้าขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าที่แสดงในแบบรายการภาษี พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินภาษีสรรพสามิตภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบรายการภาษีตามมาตรา 83 (3)
โจทก์ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นแบบพิมพ์เดียวกัน โจทก์คงสำแดงพิกัดอัตราศุลกากรและภาษีศุลกากรเท่านั้น แต่ไม่ได้ระบุรหัสสินค้าสรรพสามิตที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีสรรพสามิต อันจะทำให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่ามุ่งหมายจะยื่นรายการภาษีสรรพสามิตด้วย ทั้งการที่โจทก์อ้างว่าไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตมาแต่แรกนั้น ย่อมเป็นข้อบ่งชี้ว่าโจทก์ไม่เคยมีเจตนาจะยื่นแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตมาก่อน กรณีของโจทก์จึงเป็นกรณีที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 48 (3) และแม้หากจะฟังได้ว่าโจทก์ยื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิต แต่มูลค่าของสินค้าขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าที่แสดงในแบบรายการภาษี พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินภาษีสรรพสามิตภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบรายการภาษีตามมาตรา 83 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7051/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสรรพสามิต กรณีราคาขายรวมค่าขนส่ง และการลดเบี้ยปรับเงินเพิ่ม
โจทก์ขายสินค้าพิพาททั้งสามรายการตามใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์ที่ออก ณ โรงอุตสาหกรรม สูงกว่าราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม โดยอ้างว่า มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการผลิตสินค้า เช่น ค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายในการขายและบริการหรือค่าโฆษณารวมอยู่ด้วย โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้เห็นว่าส่วนต่างระหว่างราคาขายตามใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์กับราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม เป็นค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารหรือค่าโฆษณา โจทก์นำสืบว่าการขายสินค้าของโจทก์ทั้งหมดเป็นการขายโดยขนส่งถึงมือลูกค้าซึ่งโจทก์จะทำการขนส่งสินค้าไปยังคลังสินค้าประจำสำนักงานสาขา จากนั้นก็จะกระจายสินค้าส่งไปยังลูกค้าต่อไป โดยค่าขนส่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดจะคำนวณค่าใช้จ่ายเฉลี่ยและคิดรวมอยู่ในราคาสินค้าที่ขายแต่ละขวด ส่วนจำเลยนำสืบเพียงว่าจำนวนฝาขวดที่โจทก์ได้เสียภาษีไว้ ไม่สัมพันธ์กับจำนวนฝาขวดที่โจทก์รับไปจึงออกตรวจปฏิบัติการสถานประกอบการของโจทก์พบว่า ราคาขายตามใบกำกับภาษีของโจทก์สูงกว่าราคาขายของโจทก์ที่แจ้งต่อจำเลยตามแบบแจ้งราคาขาย และไม่มีการแจ้งเปลี่ยนแปลงราคาเพิ่มเติม จึงมีส่วนต่างราคาที่โจทก์ต้องชำระภาษี ซึ่งราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมที่แสดงในแบบแจ้งราคาขาย เป็นราคาที่ผู้ผลิตขายให้แก่ผู้ซื้อโดยสุจริตและเปิดเผย ณ สถานที่ผลิตสินค้า หรือราคาซื้อขายกัน ณ สถานที่ผลิตสินค้า แต่กรณีของโจทก์เป็นการขายสินค้าโดยโจทก์เป็นผู้นำสินค้าไปส่งให้แก่ลูกค้าพร้อมออกใบกำกับภาษีขาย พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมามีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า ราคาสินค้าตามที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษีเป็นราคาที่มีค่าใช้จ่ายอย่างอื่นด้วยโดยโจทก์มิได้แยกค่าขนส่งและค่าบริหารการขายออกจากราคาพิพาท แต่ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้หักค่าใช้จ่ายในการขนส่งออกจากมูลค่าสินค้าก่อนคำนวณภาษีนั้น เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการขนส่งทั้งปีซึ่งรวมสินค้ารายการอื่นๆ ของโจทก์ที่มิได้พิพาทกันในคดีนี้ด้วย ทั้งโจทก์ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าขนส่งสินค้าที่พิพาททั้งสามรายการในคดีนี้จำนวนเท่าใด ดังนั้น ที่ศาลภาษีอากรกลางให้หักค่าขนส่งออกจากมูลค่าสินค้าที่เป็นฐานภาษี (ราคาขาย) ก่อนคำนวณภาษี จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6170/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีเพื่อมหาดไทยต้องรวมเงินเพิ่มภาษีสรรพสามิตตามกฎหมายสรรพสามิตและกฎหมายจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต
การจัดเก็บภาษีเพื่อมหาดไทยเป็นการจัดเก็บภาษีสรรพาสามิตเพิ่มเติมจากผู้มีหน้าที่เสียภาษี ตาม พ.ร.บ.จัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 4 การจัดเก็บภาษีเพื่อมหาดไทยจึงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 เมื่อมาตรา 3 แห่ง พระราชกฤษฎีกาเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตเพื่อนำไปจัดสรรให้แก่กรุงเทพมหานครและราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2527 บัญญัติให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตเสียภาษีเพิ่มขึ้นสำหรับสินค้าหรือบริการตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตในอัตราร้อยละสิบของภาษี และมาตรา 139 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 บัญญัติให้เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือเป็นเงินภาษี การคำนวณภาษีเพื่อมหาดไทยในกรณีนี้จึงต้องคำนวณในอัตราร้อยละ 10 ของภาษีสรรพสามิตรวมกับเงินเพิ่มภาษีสรรพสามิตที่ต้องชำระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5453/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีสรรพสามิต: สถานบริการที่ไม่มีฟลอร์เต้นรำ แต่มีลักษณะคล้ายไนท์คลับ ต้องเสียภาษี
โจทก์ได้รับแจ้งการประเมินภาษีสรรพสามิตสำหรับปี 2546 ถึงปี 2551 คดีนี้จึงมีประเด็นข้อพิพาทกันตามกฎหมายภาษีสรรพสามิตเท่านั้น การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงต้องพิจารณาว่า โจทก์เป็นสถานบริการตาม พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546 ซึ่งได้กำหนดนิยามศัพท์คำว่า "สถานบริการ" ไว้เป็นที่ชัดเจนแล้ว โจทก์จะนำนิยามศัพท์คำว่า "สถานบริการ" ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สถานบริการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546 มาพิจารณาหาได้ไม่ เนื่องจากกฎหมายทั้งสองฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ต่างประเภทกันและมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
แม้สถานประกอบการของโจทก์ไม่ได้จัดให้มีเวทีหรือพื้นที่สำหรับเต้นรำ แต่ลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์แสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์มีเจตนาใช้เป็นสถานที่ให้บริการจำหน่ายสุรา เครื่องดื่มและจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือใช้เครื่องเสียงหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง โดยมีเจตนาให้มีการดื่มกินและเต้นรำกันเพื่อความสนุกสนานในเวลากลางคืนมากกว่าการไปรับประทานอาหารตามปกติของบุคคลทั่วไป อันมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการในด้านบันเทิงหรือหย่อนใจต่าง ๆ ในสถานบริการเพื่อหารายได้เป็นธุรกิจ โดยการให้บริการของโจทก์ในลักษณะดังกล่าว ถือเป็นสถานที่ทำให้รื่นเริงหรือบันเทิงใจ ซึ่งเปิดในเวลากลางคืน มีดนตรี มีการแสดง และขายอาหารกับเครื่องดื่มด้วย อันมีลักษณะแตกต่างจากร้านอาหารหรือภัตตาคารโดยทั่วไป อีกทั้งเป็นการให้บริการที่ไม่มีความจำเป็นต่อการครองชีพของประชาชน นอกจากนี้โจทก์ยังมีวัตถุที่ประสงค์ว่า ประกอบกิจการภัตตาคาร ห้องอาหาร บาร์ ไนท์คลับ ดังนั้น สถานประกอบการของโจทก์จึงจัดอยู่ในพิกัดลักษณะบริการประเภท 09.01 ไนต์คลับและดิสโกเธค ตาม พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546 โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 7
แม้สถานประกอบการของโจทก์ไม่ได้จัดให้มีเวทีหรือพื้นที่สำหรับเต้นรำ แต่ลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์แสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์มีเจตนาใช้เป็นสถานที่ให้บริการจำหน่ายสุรา เครื่องดื่มและจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือใช้เครื่องเสียงหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง โดยมีเจตนาให้มีการดื่มกินและเต้นรำกันเพื่อความสนุกสนานในเวลากลางคืนมากกว่าการไปรับประทานอาหารตามปกติของบุคคลทั่วไป อันมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการในด้านบันเทิงหรือหย่อนใจต่าง ๆ ในสถานบริการเพื่อหารายได้เป็นธุรกิจ โดยการให้บริการของโจทก์ในลักษณะดังกล่าว ถือเป็นสถานที่ทำให้รื่นเริงหรือบันเทิงใจ ซึ่งเปิดในเวลากลางคืน มีดนตรี มีการแสดง และขายอาหารกับเครื่องดื่มด้วย อันมีลักษณะแตกต่างจากร้านอาหารหรือภัตตาคารโดยทั่วไป อีกทั้งเป็นการให้บริการที่ไม่มีความจำเป็นต่อการครองชีพของประชาชน นอกจากนี้โจทก์ยังมีวัตถุที่ประสงค์ว่า ประกอบกิจการภัตตาคาร ห้องอาหาร บาร์ ไนท์คลับ ดังนั้น สถานประกอบการของโจทก์จึงจัดอยู่ในพิกัดลักษณะบริการประเภท 09.01 ไนต์คลับและดิสโกเธค ตาม พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546 โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาขายสุราในตลาดปกติ การปรับลดราคาโรงงาน และการคำนวณภาษีสรรพสามิต
จำเลยมีนักวิชาการสรรพสามิตชำนาญการเบิกความว่า จำเลยจัดทำประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าสุราที่ทำในราชอาณาจักร เพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2546 และประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักร เมื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี พ.ศ.2552 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2552 โดยจำเลยดำเนินการศึกษากำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีสุราทั้งระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในตลาดสุราชนิดเบียร์ ผลการศึกษาปรากฏว่าวิธี Equal Ex - Factory Price เป็นวิธีการคำนวณหาราคาขาย ณ โรงงานสุราเพื่อเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีสุราที่เหมาะสมที่สุด ก่อให้เกิดความเป็นธรรมและเสริมสร้างยุทธศาสตร์ในการแข่งขันในระหว่างผู้รับใบอนุญาตทำสุราประเภทเบียร์ด้วยกันและเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค การแบ่งเบียร์เป็น 3 ระดับ เป็นการพิจารณาจากเป้าหมายทางการตลาดและการจัดวางตำแหน่งทางการตลาดของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายกำหนดเอง และความแตกต่างของราคาแต่ละระดับ เป็นไปตามข้อเท็จจริงในท้องตลาด จำเลยมิได้กำหนดราคาขาย ณ โรงงานสุราตามอำเภอใจ และสำหรับเบียร์สด มีวิธีการจำหน่ายแตกต่างจากเบียร์บรรจุขวดหรือกระป๋องที่วางจำหน่ายในท้องตลาด เพราะเบียร์สด (ถัง) ต้องจำหน่ายเฉพาะที่ เนื่องจากต้องมีอุปกรณ์หัวจ่าย อีกทั้งมูลค่าเบียร์สดจะแตกต่างกันไปตามสถานที่ เช่น ร้านอาหาร หรือสถานเริงรมย์ ในการศึกษาหลักเกณฑ์จึงมิได้มีการนำเบียร์สดเข้าจัดกลุ่มหรือระดับ โจทก์มิได้โต้แย้งว่า หลักเกณฑ์การคิดคำนวณตามประกาศกรมสรรพสามิตดังกล่าวไม่ถูกต้อง โดยโจทก์คงกล่าวอ้างแต่เพียงว่า เพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหายจากการจำหน่ายเบียร์สิงห์และเบียร์สดสิงห์ของโจทก์ และเตรียมรองรับภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ถดถอยอันเนื่องมาจากวิกฤติการณ์ทางการเงินของโลก โจทก์จึงมีนโยบายปรับลดกำไรจากการขายเบียร์สิงห์และเบียร์สดสิงห์ ณ โรงงานของโจทก์ลง หากจำเลยประกาศกำหนดราคาขาย ณ โรงงานใหม่ตามที่โจทก์แจ้ง จะทำให้ราคาขายส่งและขายปลีกลดลงได้ต่อไป โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นได้ว่าหากปรับลดราคาเบียร์สิงห์และเบียร์สดสิงห์ ณ โรงงานของโจทก์ลงแล้ว จะมีความสัมพันธ์กับการลดลงของราคาขายเบียร์สิงห์และเบียร์สดสิงห์อย่างไร ยิ่งไปกว่านั้น ข้ออ้างของโจทก์ยังขัดแย้งกับพยานโจทก์ว่าราคาขายปลีกเป็นเรื่องของผู้บริโภคแต่ละรายจะเป็นผู้กำหนดเอง และข้ออ้างโจทก์ยังขัดแย้งกับหนังสือของโจทก์ เรื่อง การปรับราคาขาย ณ โรงงานสุราแช่ ชนิดเบียร์ ชื่อสิงห์ โดยราคาขายปลีกผู้บริโภคไม่มีส่วนสัมพันธ์กับราคาขาย ณ โรงงาน และข้ออ้างของโจทก์ในการประหยัดต่อขนาดหนึ่งพันล้านลิตร โจทก์ก็ไม่นำสืบให้เห็นว่าการประหยัดต่อขนาดทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงอย่างไร หรือโจทก์สามารถบริหารการจัดซื้อวัตถุดิบและควบคุมการผลิตให้มีประสิทธิภาพอย่างไร โจทก์จึงปราศจากพยานหลักฐานและเหตุผลให้รับฟังได้ว่า ราคาขายของเบียร์สิงห์และเบียร์สดสิงห์ ณ โรงงานสุราของโจทก์ที่จะปรับลดนั้น เป็นราคาขาย ณ โรงงานสุราในตลาดปกติตาม พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.2493 มาตรา 8 จัตวา (1) วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10340/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากผลประโยชน์ตอบแทนและภาษีสรรพสามิต: การรวมภาษีสรรพสามิตเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ทำสัญญาอนุญาตให้บริษัท อ. ดำเนินกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วประเทศ ซึ่งโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มโดยนำรายรับจากผลประโยชน์ตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากบริษัท อ. ทั้งจำนวนมาคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ต่อมาได้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตดังนี้ เงินจำนวนเท่าภาษีสรรพสามิตซึ่งเรียกเก็บจากการให้บริการตามสัญญาอนุญาตดังกล่าวย่อมจะต้องนำมารวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 79 วรรคหนึ่ง เป็นการเฉพาะแล้ว ส่วนที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการเพื่อให้มีการหักค่าภาษีสรรพสามิตออกจากส่วนแบ่งรายได้ที่คู่สัญญาต้องนำส่งให้โจทก์ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ เห็นว่า คู่สัญญาภาคเอกชนจะต้องชำระผลประโยชน์ตอบแทนจนเต็มจำนวนตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา ทั้งนี้ คู่สัญญาภาคเอกชนมีสิทธินำเงินค่าภาษีที่ได้ชำระแล้วดังกล่าวตลอดทั้งปี (ไม่รวมดอกเบี้ย ค่าปรับ หรือเงินเพิ่มใด ๆ) มาหักออกจากจำนวนเงินผลประโยชน์ตอบแทนที่ต้องจ่ายให้คู่สัญญาภาครัฐเมื่อสิ้นปีดำเนินการได้นั้น มิได้มีผลทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาในเรื่องการลดจำนวนเงินผลประโยชน์ตอบแทนที่บริษัทคู่สัญญาต้องจ่ายแก่โจทก์ และแม้บริษัท อ. จะใช้วิธีนำค่าภาษีสรรพสามิตที่ชำระให้แก่กรมสรรพสามิตไปแล้วมาหักออกจากผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับเงินสดส่วนนี้ แต่การหักหนี้กันเองเช่นนี้ย่อมส่งผลให้สิทธิเรียกร้องของบริษัทคู่สัญญาในอันที่จะนำเงินค่าภาษีสรรพสามิตมาหักออกจากเงินผลประโยชน์ตอบแทนที่ต้องจ่ายให้โจทก์เมื่อตอนสิ้นปีดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีนั้นระงับลง ประโยชน์จากการหักหนี้ดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินที่โจทก์ได้รับแล้วอันเป็นส่วนหนึ่งของฐานภาษีตามมาตรา 79 วรรคสอง มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางดำเนินการระหว่างคู่สัญญาด้วยกันเอง จึงเป็นคนละส่วนกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่โจทก์ได้รับชำระค่าบริการ ตามมาตรา 78/1 (1) มติคณะรัฐมนตรีจึงมิได้มีผลเป็นการลบล้างหรือเปลี่ยนแปลงความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายของโจทก์ เงินค่าภาษีสรรพสามิตที่บริษัทคู่สัญญาหักออกจากเงินผลประโยชน์ตอบแทนที่ต้องจ่ายแก่โจทก์ จึงย่อมเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มและถือเป็นรายรับที่โจทก์ได้รับจริงแล้ว