พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนกันและการบังคับชำระหนี้ซ้ำซ้อน: สิทธิของเจ้าหนี้และการขาดมูลหนี้
โจทก์ที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงิน และจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้ไปแล้ว โจทก์ที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว โดยให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับเงินตามเช็คพิพาทเพื่อรับชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 ตามความประสงค์ของโจทก์ที่ 1 เป็นการที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดโดยการชำระหนี้ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแก่โจทก์ที่ 2ผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 314, 315 และ 321 มูลหนี้จึงมีเฉพาะการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ดังนี้ เมื่อโจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมเงินเลือกใช้สิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินกู้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงผู้รับชำระหนี้เงินกู้แทนโจทก์ที่ 1 ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทได้อีก เพราะไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์ที่ 2 จะได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนโจทก์ที่ 1อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนกันและการบังคับชำระหนี้: เมื่อเจ้าหนี้เลือกฟ้องผู้กู้แล้ว ผู้รับชำระหนี้แทนไม่อาจฟ้องเรียกเงินจากผู้อื่นได้
โจทก์ที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงิน และให้จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว โดยให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับเงินตามเช็คพิพาทเพื่อรับชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 ดังนี้ เป็นการที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดโดยการชำระหนี้ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแก่โจทก์ที่ 2 ผู้มีอำนาจชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 มูลหนี้จึงมีเฉพาะการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1เมื่อโจทก์ที่ 1 เลือกใช้สิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินกู้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 2ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทได้อีกเพราะไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์ที่ 2 จะได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนโจทก์ที่ 1อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023-8032/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด ไม่ทำให้คดีเช็คเลิกกันตาม พ.ร.บ. เช็ค
การที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งด้วยเรื่องผิดสัญญาซื้อขายที่ดินรวมใบอนุญาตและเครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรม เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง ซึ่งจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ไม่แน่นอนว่าศาลจะพิพากษาคดีเป็นประการใด การบอกเลิกสัญญาชอบหรือไม่ และคดียังไม่ถึงที่สุด ถือไม่ได้ว่ามูลหนี้ตามที่จำเลยออกเช็คเพื่อให้ใช้เงินสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แตกต่างจากกรณีที่คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว คดีจึงยังไม่เลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลคดีล้มละลาย: การฟ้องจำเลยหลายคนที่มีภูมิลำเนาต่างกัน และมูลหนี้เกี่ยวข้องกัน
ในขณะที่ยื่นคำฟ้อง แม้จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร จำเลยที่ 6 และที่ 7 มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี ซึ่งทำให้โจทก์ต้องยื่นฟ้องจำเลยที่ 3 ต่อศาลจังหวัดสมุทรสาคร และจำเลยที่ 6 และที่ 7 ต่อศาลจังหวัดนนทบุรี ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 แต่มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งแปดคดีนี้ เป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มูลความแห่งคดีที่จำเลยทั้งแปดต้องรับผิดต่อโจทก์จึงไม่อาจแบ่งแยกกันได้ หรือมีความผิดเกี่ยวข้องกัน เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตลอดจนจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งธนบุรี และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 5 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ยอมให้โจทก์เสนอ ค่าฟ้องจำเลยทั้งแปดต่อศาลใดศาลหนึ่งดังกล่าวก็ได้ โจทก์จึงชอบที่จะยื่นคำฟ้องจำเลยที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ร่วมกับ จำเลยอื่นต่อศาลแพ่งธนบุรีก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการตรวจสอบมูลหนี้ แม้เป็นหนี้ตามคำพิพากษา หรือเป็นเหตุให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และผลของการขาดอายุความ
แม้หนี้ที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้จะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือหนี้ที่เป็นมูลให้ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ก็หาผูกพันให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลต้องถือตามไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลจึงมีอำนาจจะฟังข้อเท็จจริงว่า หนี้สินตลอดจนหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งยื่นขอรับชำระนั้นมีมูลหนี้อันจะพึงอนุญาตให้รับชำระหนี้ตามคำขอหรือไม่
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์นำหนี้ซึ่งสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วมาขอรับชำระหนี้ จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 94(1)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์นำหนี้ซึ่งสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วมาขอรับชำระหนี้ จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 94(1)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5165/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนประกันภัยไม่จดทะเบียน: สัญญาผูกพัน, มีมูลหนี้, สัตยาบัน, ข่มขู่ไม่มีผล
จำเลยที่ 1 หารถยนต์มาเอาประกันภัยกับโจทก์โดยได้รับบำเหน็จตอบแทนในอัตราร้อยละ 12 โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่นำกรมธรรม์ไปส่งให้แก่ลูกค้าและรับเบี้ยประกันภัยจากลูกค้ามามอบให้โจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนของโจทก์แล้วแม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนอันมีผลให้การกระทำของทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2534 มาตรา 31(13)และมาตรา 63 ก็ตามก็เป็นเรื่องที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะดำเนินการแก่โจทก์และจำเลยที่ 1แต่ในระหว่างตัวแทนกับตัวการด้วยกัน ตัวแทนจะอ้างบทกฎหมายดังกล่าวเพื่อไม่ต้องรับผิดคืนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับไว้จากลูกค้าของโจทก์หาได้ไม่ และการเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหาใช่การที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่สัญญาตัวแทนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมีผลผูกพันบังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาและโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือว่าจำเลยทั้งสองยอมรับผิดชำระเบี้ยประกันแทนลูกค้าให้แก่โจทก์ก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 เป็นบทบังคับสำหรับกิจการที่ตัวแทนไปทำกับบุคคลภายนอกแทนตัวการเท่านั้น มิได้ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทระหว่างตัวการ กับตัวแทน จำเลยทั้งสองจึงอ้างบทบัญญัติดังกล่าวมิได้และการที่โจทก์ขู่ว่าจะกลั่นแกล้งลูกค้าที่จำเลยที่ 1 หามาเพื่อบังคับให้จำเลยลงชื่อทำสัญญารับสภาพหนี้และค้ำประกันนั้น หาใช่การข่มขู่อันจะมีผลให้การแสดงเจตนาต้องเสียไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ไม่ ทั้งการที่จำเลยที่ 1ได้ชำระหนี้ตามเช็คให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นหนี้อีกรายการหนึ่งตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้และค้ำประกัน ย่อมถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าไม่สมบูรณ์แล้วด้วย จำเลยทั้งสองจะอ้างข่มขู่ให้พ้นความรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือว่าจำเลยทั้งสองยอมรับผิดชำระเบี้ยประกันแทนลูกค้าให้แก่โจทก์ก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 เป็นบทบังคับสำหรับกิจการที่ตัวแทนไปทำกับบุคคลภายนอกแทนตัวการเท่านั้น มิได้ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทระหว่างตัวการ กับตัวแทน จำเลยทั้งสองจึงอ้างบทบัญญัติดังกล่าวมิได้และการที่โจทก์ขู่ว่าจะกลั่นแกล้งลูกค้าที่จำเลยที่ 1 หามาเพื่อบังคับให้จำเลยลงชื่อทำสัญญารับสภาพหนี้และค้ำประกันนั้น หาใช่การข่มขู่อันจะมีผลให้การแสดงเจตนาต้องเสียไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ไม่ ทั้งการที่จำเลยที่ 1ได้ชำระหนี้ตามเช็คให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นหนี้อีกรายการหนึ่งตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้และค้ำประกัน ย่อมถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าไม่สมบูรณ์แล้วด้วย จำเลยทั้งสองจะอ้างข่มขู่ให้พ้นความรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3485/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการรับสภาพหนี้: รับผิดเฉพาะมูลหนี้จริง
จำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์สำหรับหนี้จำนวนอื่นที่เกินกว่ามูลหนี้ที่ปรากฏในหนังสือรับสภาพหนี้ แม้จำเลยรับจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวก็เป็นการรับสภาพหนี้ที่เกินกว่ามูลหนี้ที่แท้จริง ย่อมมีผลบังคับแก่กันได้เฉพาะหนี้ที่มีอยู่จริงเท่านั้น จำเลยจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ที่มีอยู่จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3485/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับสภาพหนี้เกินมูลหนี้จริง บังคับได้เฉพาะมูลหนี้ที่มีอยู่จริง
จำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์สำหรับหนี้จำนวนอื่นที่เกินกว่ามูลหนี้ที่ปรากฏในหนังสือรับสภาพหนี้ แม้จำเลยรับชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวก็เป็นการรับสภาพหนี้ที่เกินกว่ามูลหนี้ที่แท้จริง ย่อมมีผลบังคับแก่กันได้เฉพาะหนี้ที่มีอยู่จริงเท่านั้น จำเลยจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ที่มีอยู่จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7283/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและอำนาจฟ้องในคดีเช่าซื้อ: มูลหนี้ต่างกันและวัตถุประสงค์ของโจทก์
แม้พนักงานอัยการจะเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิด ฐานยักยอกเครื่องรับโทรทัศน์สี และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ ที่ยักยอกไป การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหาย ที่พนักงานอัยการขอมาในคำฟ้องคดีอาญาแม้จะถือว่า เป็นการขอแทนผู้เสียหายตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญา เท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อ เครื่องรับโทรทัศน์สี ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง ถึงแม้คำขอบังคับ จะมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน คือขอให้จำเลยที่ 1 คืนเครื่องรับโทรทัศน์สีหรือใช้ราคา แต่ข้ออ้างที่อาศัย เป็นหลักแห่งข้อหานั้นมิได้เป็นอย่างเดียวกัน ในคดีอาญานั้น ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการ ขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น เป็นที่เห็นได้ว่ามาจากข้ออ้าง เนื่องจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาเช่าซื้อในเมื่อมูลหนี้ ในคำฟ้องทั้งสองคดีเป็นคนละอย่างเช่นนี้ ประกอบกับคำฟ้อง ของโจทก์ กรณีของการผิดสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นอำนาจของ คู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ในคดีอาญา ไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องของสัญญาเช่าซื้อมาเป็นข้ออ้าง ในคำขอส่วนแพ่งได้จึงมิใช่เป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน ในความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1) ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน หนังสือบริคณห์สนธิของโจทก์ข้อ 2 ระบุว่า ขาย โอน จำนองจำนำ แลกเปลี่ยน และจำหน่ายทรัพย์สินโดยประการอื่นและข้อ 8 ระบุว่า ประกอบกิจการค้า เครื่องจักร เครื่องยนต์เครื่องมือกล เครื่องทุ่นแรง ยานพาหนะ เครื่องกำเนิด และเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ การที่โจทก์ให้เช่าซื้อ เครื่องรับโทรทัศน์สีอันเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ถือเป็นการจำหน่าย ทรัพย์สินโดยประการอื่นและเป็นการประกอบกิจการค้าตามความหมาย ในหนังสือบริคณห์สนธิของโจทก์ข้อ 2 และข้อ 8 จึงเป็นการกระทำซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง คดีส่วนอาญาศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดและลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานยักยอกทรัพย์ ส่วนคดีแพ่งโจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาในความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6936/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเช็คเลิกกันตามกฎหมาย เนื่องจากมีการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้เดียวกัน
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ร่วมและจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7สิทธิของโจทก์และโจทก์ร่วมในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับ ไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์และโจทก์ร่วมจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220