พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังการยกเลิกการล้มละลาย และผลกระทบต่อการเพิกถอนการโอนทรัพย์สิน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งลูกหนี้ (จำเลย)โอนขายให้ผู้คัดค้าน ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้องโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนและผู้ร้องฎีกา ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ (จำเลย) ดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินแทนลูกหนี้ (จำเลย) ต่อไปลูกหนี้ (จำเลย) พ้นจากภาวะการเป็นบุคคลล้มละลายแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22,24 และ 114 ที่จะขอให้ศาลเพิกถอนการโอนดังกล่าวได้ ต้องจำหน่ายคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ผิดแปลงในการบังคับคดี ทำให้การขายทอดตลาดไม่ชอบ ศาลมีคำสั่งยกเลิกและคืนเงินให้ผู้ประมูล
ที่ดินตาม ส.ค.1 ที่โจทก์นำยึดมาขายทอดตลาดปรากฏว่าจำเลยได้ขอออกโฉนดไปแล้ว และได้มีการโอนขายต่อไปอีกหลายทอด ส่วนที่ดินที่โจทก์นำชี้ให้ยึดและนำออกขายทอดตลาดอยู่ถัดมาทางทิศใต้ของที่ดินตาม ส.ค.1 ที่โจทก์นำยึดและเป็นที่ดินของผู้อื่น กรณีจึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ชี้และให้ยึดที่ดินผิดแปลง ดังนั้นการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการขายที่ดินที่จำเลยไม่เคยมีสิทธิครอบครองและเมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินนี้ได้จากการขายทอดตลาดได้ยื่นคำร้องแสดงเจตนาขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการขายทอดตลาดและขอให้คืนเงินแก่ผู้ร้อง ไม่ได้ขออ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 การที่ศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการขายทอดตลาดและคืนเงินแก่ผู้ร้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งคำสั่งศาลและการไต่สวนคำร้องยกเลิกคำสั่ง
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์เพราะฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลและต่อมาในวันเดียวกันนั้นทนายโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชี้แจงเหตุผลในการที่โจทก์มีความจำเป็นที่มาศาลไม่ได้ และขอให้ศาลยกเลิกคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ดังนี้ พอถือได้ว่าโจทก์ได้โตแย้งศาลชั้นต้นนั้นไว้แล้ว โจทก์จึงอุทธรณ์ฎีกาได้และโดยที่จำเลยมิได้ยอมรับข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงจะต้องดำเนินการไต่สวนและมีคำสั่งคำร้องดังกล่าว ตามความในมาตรา 21 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินฝากก่อนและหลังคำพิพากษา: ผลกระทบต่อธนาคารและโจทก์เมื่อคำสั่งอายัดเดิมยกเลิก
การที่ศาลมีคำสั่งอายัดเงินฝากของจำเลยที่ 1 ในครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2524 นั้น เป็นคำสั่งอายัดในคดีอื่น ซึ่งจำเลยที่ 3 ในคดีนี้เป็นโจทก์ และขณะนั้นจำเลยที่ 1 มีเงินฝากประจำอยู่ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาตราด จำนวน 2,000,000 บาทแต่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารโดยยินยอมให้นำเงินฝากประจำ 1,000,000 บาทมาเป็นประกัน หลังจากที่ศาลมีคำสั่งอายัดเงินฝากครั้งแรกแล้วนั้น แม้จำเลยที่ 1จะมาขอเบิกเงินและธนาคารได้จ่ายให้ไป ก็เป็นการจ่ายไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งอายัดในคดีนี้ ซึ่งสั่งอายัดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ทั้งยังปรากฏว่าในคดีนั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี คำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาย่อมเป็นอันยกเลิกไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260 การที่ธนาคารจ่ายเงินให้แก่จำเลยไปก่อนที่จะมีคำสั่งอายัดทรัพย์ในคดีนี้ จะถือว่าเป็นความผิดของธนาคารเป็นเหตุให้โจทก์คดีนี้ต้องเสียหายหาได้ไม่.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4264/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายใหม่ยกเลิกความผิดเดิม ทำให้จำเลยพ้นจากความผิด แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยไม่ซื้อหุ้นให้โจทก์ตามที่โจทก์สั่งซื้ออันเป็นความผิดตามมาตรา 21 และมีบทลงโทษตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามีพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2527 ยกเลิกความในมาตรา 21 และมาตรา 42 เดิม โดยมิได้บัญญัติถึงลักษณะความผิดที่โจทก์ฟ้องไว้อีก จึงเป็นกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง มิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ฉะนั้นการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม การวินิจฉัยก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ เพราะแม้จะเป็นความผิด จำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2811/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมูลที่ไม่ผูกพัน: จำเลยมีสิทธิยกเลิกการประมูลได้ แม้มีผู้เสนอราคาแล้ว สัญญาจึงยังไม่เกิดขึ้น
จำเลยประกาศเรียกประมูลให้เช่าลานพื้นคอนกรีตโจทก์เป็นผู้เข้าประมูลโดยเสนอให้ผลประโยชน์สูงกว่าผู้เข้าประมูลอื่นเมื่อปรากฏว่ามีเงื่อนไขการประมูลกำหนดไว้ให้จำเลยมีสิทธิที่ยกเลิกการประมูลครั้งนี้เสียก็ได้ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดและผู้เข้าประมูลไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆทั้งสิ้นจากจำเลยดังนี้เห็นได้ว่าแม้มีผู้เข้าประมูลแล้วจำเลยก็มีสิทธิยกเลิกการประมูลได้เมื่อจำเลยไม่ต้องผูกพันทำสัญญาตามประกาศประกาศนั้นจึงไม่เป็นคำเสนอของจำเลยถือได้เพียงว่าเป็นคำเชื้อเชิญให้ทำคำเสนอเท่านั้นหนังสือประมูลของโจทก์จึงจะนับได้ว่าเป็นคำเสนอ หนังสือประมูลของโจทก์เป็นคำเสนอแต่ตามเงื่อนไขการประมูลจำเลยมีสิทธิยกเลิกการประมูลและมีเอกสิทธิที่จะตัดสินให้ผู้ประมูลรายใดเป็นผู้ชนะการประมูลก็ได้และกำหนดว่าผู้ประมูลได้จะต้องทำสัญญาเช่ากับจำเลยตามแบบของจำเลยภายใน15วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากกองกฎหมายของจำเลยฉะนั้นเมื่อจำเลยยกเลิกการประมูลเสียอันเป็นการบอกปัดคำเสนอโดยยังไม่มีการตัดสินและไม่มีการทำสัญญาเป็นหนังสือสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังไม่เกิดขึ้นจะบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญามิได้ โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยยกเลิกการประมูลโดยไม่สุจริตเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์แต่เมื่อยังไม่มีสัญญาผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยการยกเลิกการประมูลย่อมไม่ทำให้เสียหายแก่สิทธิของโจทก์ทั้งโจทก์ก็มีคำขอเพียงให้บังคับจำเลยทำสัญญาเช่าส่งมอบที่เช่าและห้ามนำที่นั้นไปให้ผู้อื่นเช่า ซึ่งเป็นคำขอในกรณีมีสัญญาและให้ปฏิบัติตามสัญญานั้นหาได้ขอค่าสินไหมทดแทนไม่จึงบังคับให้ไม่ได้ไม่มีเหตุที่จะให้พิจารณาสืบพยานต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ถูกบังคับคดีโดยเจ้าหนี้รายอื่น โจทก์ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์
โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นยึดที่ดินของจำเลยที่ 1 ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาแล้วต่อมาศาลแพ่งได้ยึดที่ดินแปลงดังกล่าวตามคำขอของโจทก์ในคดีของศาลแพ่ง และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดที่ดินแปลงดังกล่าวไปตามหมายบังคับคดีของศาลแพ่งนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์ในคดีของศาลแพ่งใช้สิทธิที่เหนือกว่าในฐานเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับคดีเอาแก่ที่ดินแปลงดังกล่าวไปก่อน และถือได้ว่าการยึดที่ดินแปลงดังกล่าวไว้ชั่วคราวตามคำขอของโจทก์เป็นอันยกเลิกไปในตัว เพราะเป็นการพ้นวิสัยที่โจทก์จะบังคับคดีเอาแก่ที่ดินแปลงนั้นต่อไปได้ ทั้งโจทก์ในคดีของศาลแพ่งก็ย่อมต้องเสียค่าธรรมเนียมขายทอดตลาดที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่แล้ว โจทก์คดีนี้จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายสำหรับที่ดินแปลงเดียวกันนี้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของประกาศกระทรวงฯ ยกเลิกการจัดประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงต่อความผิดเดิม แม้ทำผิดก่อนประกาศ แต่หากประกาศยกเลิกประเภทน้ำมันนั้นแล้ว ผู้กระทำความผิดพ้นผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาเก็บและจำหน่ายแก๊สบิวเตน (ปกติ)ซึ่งเป็นแก๊สปิโตรเลียมเหลวอันเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงแก่ผู้ใช้รถยนต์โดยมิได้รับใบอนุญาต โดยกระทำผิดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2524 เมื่อมีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดชนิดของเหลวต่าง ๆ ที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงฯ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2524 ให้ยกเลิกความในลำดับที่ 17 แห่งประกาศฯ ฉบับแรก ดังนี้ บิวเตน (ปกติ)จึงไม่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอีกต่อไป แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องจำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินจากการบังคับคดี: กรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อเมื่อศาลยกเลิกการขายทอดตลาด
จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ได้นำ เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของ ส. ซึ่งได้นำมาประกันหนี้ของจำเลยต่อศาลตามที่ได้อนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ และ ได้นำออกขายทอดตลาด ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้ซื้อที่ดินได้ต่อมา ส. ยื่นคำร้องว่าการขายทอดตลาดของ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้ศาลมีคำสั่ง ยกเลิกการขายทอดตลาดนั้น ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องพร้อมส่ง สำเนาคำร้องกับแจ้งวันนัดให้ผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ร้องที่ 1 ทราบ ผู้ร้องที่ 1 ยื่นคำแถลงว่า ผู้ร้อง ที่ 1 เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทโดยชอบ ขอให้ยกคำร้อง ของ ส. และผู้ร้องที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องที่ 2 แล้วผู้ร้องที่ 2 โอนให้ผู้ร้องที่ 3ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิก การขายทอดตลาดที่ดินพิพาทมีการอุทธรณ์ฎีกาต่อมา โดยผู้ร้องทั้งสามมิได้อุทธรณ์ฎีการะหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ร้องทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่ง เพิกถอนคำสั่งที่ให้ยกเลิกการขายทอดตลาดนั้นเสีย เช่นนี้เห็นได้ว่า ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี หากเสียหายอย่างไรก็ชอบที่จะยื่นคำร้องและ ขอสืบพยานเสียแต่ในชั้นไต่สวนคำร้อง ขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดของ ส.หรืออุทธรณ์ฎีกาคำสั่ง ของศาลชั้นต้นที่ให้ยกเลิกการขายทอดตลาดนั้นได้ แต่ ผู้ร้องที่ 1 ก็มิได้กระทำ ผู้ร้องที่ 1 จึงต้องผูกพันในผลแห่งคำสั่งศาลที่ว่าการขายทอดตลาดที่ดิน พิพาทไม่ชอบตามคำสั่งศาลที่ถึงที่สุด เมื่อการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไม่ชอบผู้ร้องที่ 1 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ผู้ร้องที่ 2 ที่ 3เป็นผู้รับซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้ร้องที่ 1 ย่อมไม่ มีสิทธิดีกว่าผู้ร้องที่ 1 ผู้โอน จึงไม่ได้กรรมสิทธิด้วยเช่นกัน ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้ง สาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3550/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาทำสัญญาและการยกเลิกการประกวดข้อเสนอ
ตามประกาศระบุว่าผู้ชนะการประกวดข้อเสนอจะต้องมาทำ สัญญากับจำเลยภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากจำเลยแม้ผู้อำนวยการองค์การจำเลยจะได้ลงชื่อในหนังสือแจ้งให้โจทก์ ทราบว่าโจทก์เป็นผู้ชนะการประกวดขอให้มาทำสัญญา แต่จำเลย ก็ยังมิได้ส่ง หนังสือไปให้โจทก์ทราบ กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 130 ถือไม่ได้ว่า จำเลยได้แสดงเจตนายินยอมรับว่าโจทก์เป็น ผู้ชนะประกวดราคาและให้มาทำสัญญากับจำเลยได้ ( เจ้าหน้าที่ของจำเลยส่งร่างสัญญาไปให้โจทก์ตรวจสอบก็ส่งไปในฐานะส่วนตัว มิใช่จำเลยเป็นผู้ส่ง ทั้งหลังจากโจทก์เสนอโครงการต่อจำเลยแล้ว ยังยื่นข้อเสนอเพิ่มอีกหลายข้อ จำเลยมิได้มีหนังสือตอบการที่โจทก์ จำเลยเจรจากันก็มุ่งประสงค์ที่จะทำความตกลงกันโดยละเอียดก่อนแล้วจึงทำสัญญาเป็นหนังสือ เมื่อจำเลยยังไม่แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์เป็นผู้ชนะการประกวดราคาและยังไม่ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน ตามประกาศ กรณีต้องบังคับตาม มาตรา 366 วรรคสอง สัญญาระหว่าง โจทก์จำเลยยังไม่เกิดขึ้น จำเลยมีสิทธิยกเลิกการประกวดข้อเสนอได้ ไม่เป็นการผิดสัญญาหรือละเมิดต่อโจทก์ )