พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5781/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: สัญญาเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดถือเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะยอมรับ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้จำนวน 84,000 บาท แต่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้จำนวนดังกล่าวเมื่อจำเลยให้การว่าเป็นหนี้โจทก์จำนวน 33,000 บาท โดยได้ความว่าแยกเป็นหนี้ต้นเงินจำนวน 10,000 บาท ส่วนที่เหลือ 23,000 บาท เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระต้นเงินจำนวน 10,000 บาทได้ ส่วนเงินอีก 23,000 บาท เป็นดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จึงตกเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะให้การยอมรับจะชำระเงินจำนวนนี้ ก็บังคับให้ไม่ได้
เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246, 247.
เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246, 247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5366-5367/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมและพฤติการณ์ที่ไม่ติดใจค่าปรับ ทำให้ผูกพันตามสัญญาเดิม ไม่มีสิทธิเรียกคืน
แม้อุปสรรคที่ทำให้การก่อสร้างล่าช้าบางประการมิใช่ความผิดของโจทก์ แต่ก่อนครบกำหนดสิ้นสุดสัญญาฉบับแรก โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาดังกล่าวครั้งที่ 1มีการลดเวลาการก่อสร้างลงอีก 5 วัน และขณะนั้นเหลือเวลาอีกเพียง 14 วัน ก็จะถึงกำหนดเวลาที่แก้ไขใหม่ แต่โจทก์กลับยอมลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวโดยดี และต่อมาเมื่อมีการทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาดังกล่าวครั้งที่ 2 ซึ่งขณะนั้นโจทก์ทำการก่อสร้างตามสัญญาดังกล่าวเสร็จแล้วสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับหลังเพิ่มเวลาก่อสร้างเพียง 3 วัน โจทก์ย่อมต้องทราบแล้วว่าระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นนั้นน้อยกว่าเวลาที่โจทก์ใช้จริงมาก และก่อนหน้านั้นจำเลยที่ 1 หักค่าปรับจากเงินค่าจ้างแต่ละงวดที่จ่ายให้โจทก์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก แต่โจทก์กลับยอมลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาฉบับแรกครั้งที่ 2 โดยดีอีกเช่นกัน ส่วนการก่อสร้างตามสัญญาฉบับที่ 2 ซึ่งเป็นการก่อสร้างต่อเนื่องจากสัญญาฉบับแรก กำหนดไว้ว่าต้องลงมือก่อสร้างหลังจากทำการก่อสร้างตามสัญญาฉบับแรกไปแล้ว 170 วัน และปรากฏว่าการก่อสร้างตามสัญญาฉบับนี้ล่าช้ากว่ากำหนดเช่นเดียวกับสัญญาฉบับแรก แม้น่าเชื่อว่าอุปสรรคที่ทำให้การก่อสร้างตามสัญญาฉบับแรกล่าช้ามีผลทำให้การก่อสร้างตามสัญญาฉบับหลังล่าช้าไปด้วยแต่เมื่อมีการทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาฉบับหลังครั้งที่ 2 ซึ่งขณะนั้นโจทก์ทำการก่อสร้างตามสัญญาฉบับหลังเสร็จแล้ว สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเพิ่มเวลาการก่อสร้างให้โจทก์อีกเพียง 127 วัน โจทก์ย่อมต้องทราบแล้วว่าระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นนั้นน้อยกว่าเวลาที่โจทก์ใช้จริงมาก และก่อนหน้านั้นจำเลยที่ 1 หักค่าปรับจากเงินค่าจ้างแต่ละงวดที่จ่ายให้โจทก์ไปเป็นจำนวนมาก แต่โจทก์ยังคงยอมลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวอีกเช่นกัน พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์ยอมรับกำหนดเวลาสิ้นสุดในสัญญาทุกฉบับที่ทำกับจำเลยที่ 1 และไม่ติดใจเงินค่าปรับที่ต้องถูกหักจากค่าจ้างตามสัญญา โจทก์จึงต้องผูกพันตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาทั้งสองฉบับและไม่มีสิทธิเรียกคืนค่าปรับที่จำเลยที่ 1 หักไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยสิ่งอื่นแทนเงิน การรับไก่ถือเป็นการยอมรับชำระหนี้ตามราคาท้องตลาด ทำให้หนี้ระงับ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ยอมให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้ยืมที่ยังค้างชำระทั้งหมดให้แก่โจทก์แล้วด้วยไก่ การที่โจทก์รับเอาไก่ของจำเลยไว้ย่อมแปลความหมายได้ว่า โจทก์พอใจรับเอาไก่ของจำเลยชำระหนี้แทนเงินที่จำเลยกู้ยืมไป และคิดราคาไก่ตามราคาท้องตลาดการชำระหนี้ในลักษณะดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 656 วรรคสอง ทำให้หนี้เงินกู้ยืมเป็นอันระงับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่ออายุ-ค่าเช่า-ค่าเสียหาย: หลักฐานเป็นหนังสือ-การยอมรับข้อกล่าวอ้าง
สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกำหนดอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาทเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีแล้ว จำเลยผู้เช่ายังคงอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยโจทก์ผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง จึงถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาเช่าใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งหมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาไม่มีผลบังคับต่อไป ส่วนข้อสัญญาอื่นคงเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิม รวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย และเนื่องจากการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์จะขอบังคับให้จำเลยชำระค่าเช่าในอัตราที่สูงกว่าเดือนละ 1,000 บาท โจทก์ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อจำเลยมาแสดงว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าดังที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าในอัตราเดือนละ18,000 บาท ย่อมเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 จำเลยคงต้องรับผิดค่าเช่าที่ค้างชำระตามอัตราค่าเช่าในสัญญาเช่าเดิมเดือนละ1,000 บาท เท่านั้น
โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยครอบครองตึกแถวพิพาท ทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในอัตราเดือนละ18,000 บาท จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวเท่ากับจำเลยยอมรับถึงผลประโยชน์ของตึกแถวพิพาทว่าเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์อ้าง จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยที่ศาลไม่จำต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องค่าเสียหายไว้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยครอบครองตึกแถวพิพาท ทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในอัตราเดือนละ18,000 บาท จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวเท่ากับจำเลยยอมรับถึงผลประโยชน์ของตึกแถวพิพาทว่าเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์อ้าง จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยที่ศาลไม่จำต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องค่าเสียหายไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่ออายุ-ค่าเช่า-ค่าเสียหาย: หลักฐานทางหนังสือ-การยอมรับข้อกล่าวอ้าง-ผลของการไม่กำหนดประเด็น
สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกำหนดอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาทเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีแล้ว จำเลยผู้เช่ายังคงอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยโจทก์ผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง จึงถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาเช่าใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งหมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาไม่มีผลบังคับต่อไป ส่วนข้อสัญญาอื่นคงเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิม รวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย และเนื่องจากการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์จะขอบังคับให้จำเลยชำระค่าเช่าในอัตราที่สูงกว่าเดือนละ 1,000 บาทโจทก์ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อจำเลยมาแสดงว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าดังที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าในอัตราเดือนละ18,000 บาท ย่อมเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 จำเลยคงต้องรับผิดค่าเช่าที่ค้างชำระตามอัตราค่าเช่าในสัญญาเช่าเดิมเดือนละ1,000 บาท เท่านั้น โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยครอบครองตึกแถวพิพาท ทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในอัตราเดือนละ18,000 บาท จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวเท่ากับจำเลยยอมรับถึงผลประโยชน์ของตึกแถวพิพาทว่าเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์อ้าง จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยที่ศาลไม่จำต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องค่าเสียหายไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4564/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับความรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายของผู้เป็นเจ้าของรถ ถือเป็นการยอมรับว่าผู้ขับขี่เป็นลูกจ้าง
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ มิได้ปฏิเสธว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับผู้ขับขี่รถคันดังกล่าวมาแต่ต้น แต่กลับตั้งตัวแทนมาเจรจาชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ดุจะเป็นการกระทำของลูกจ้างของตน แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าผู้ขับขี่รถยนต์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับชนรถยนต์ของโจทก์นั้นเป็นลูกจ้างและปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ในขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดตามที่ได้แสดงออกมานั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ขัดต่อกฎหมายเนื่องจากมีคู่สมรสแล้ว ศาลไม่จำเป็นต้องสืบพยานเมื่อโจทก์ยอมรับ
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธและฟ้องแย้งว่า โจทก์สมรสกับจำเลยในขณะโจทก์ยังเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของชายอื่นอยู่ จดทะเบียนสมรสกันตามสำเนาภาพถ่ายทะเบียนสมรสท้ายคำให้การและฟ้องแย้ง จำเลยสมรสกับโจทก์โดยสำคัญผิดหลงเชื่อโดยสุจริตตามคำบอกกล่าวของโจทก์ว่าโจทก์ได้หย่าขาดจากชายอื่นแล้วและไม่ได้เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งเพียงว่า ข้อความตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไม่เป็นความจริงเพราะจำเลยจดทะเบียนสมรสกับโจทก์โดยความยินยอมและสมัครใจมิใช่เนื่องจากกลฉ้อฉลหรือสำคัญผิดแต่อย่างใด โจทก์ไม่ได้ให้การปฏิเสธถึงข้อที่ว่า โจทก์ยังเป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นอยู่ในขณะสมรสกับจำเลยและไม่ได้ให้การปฏิเสธถึงความถูกต้องแท้จริงของสำเนาทะเบียนสมรสท้ายคำให้การและฟ้องแย้ง ประกอบกับคำให้การแก้ฟ้องแย้งในข้อสุดท้ายของโจทก์ที่ว่าจำเลยทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวดีตั้งแต่ต้น หากการสมรสไม่ชอบ ก็ต้องถือว่าจำเลยเป็นผู้ก่อ เช่นนี้ เท่ากับโจทก์ยอมรับในข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ทำการสมรสกับจำเลยในขณะที่โจทก์ยังเป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดการชี้สองสถานและการสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่า การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าเพิ่มเติมและการผูกพันตามการยอมรับของหุ้นส่วนผู้จัดการ
แม้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 จะไม่มีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำประจำเดือนของโจทก์ล่วงหน้าตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2525เป็นต้นไป เพราะโจทก์ยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือปฏิบัติขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ก็ตาม แต่ได้ความว่าเมื่อโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีการค้าในปี พ.ศ.2525 ไว้แล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ตรวจสอบพบว่า โจทก์ได้แสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีต่ำกว่าที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้ จึงแจ้งให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2525 ถึงเดือนธันวาคม 2525 และเดือนมกราคม 2526 ถึงเดือนเมษายน 2526 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา87,87 ทวิ (7) นั้นเป็นการแจ้งการประเมินภาษีการค้าที่ชอบแล้ว
หลังจากที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ชำระภาษีการค้าเพิ่มแล้ว การที่ น.หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ยอมรับว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้เรียกเก็บภาษีการค้าเพิ่มเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มถูกต้องแล้วรวมทั้งสละสิทธิในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จะโต้เถียงว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีการค้าเพิ่มรวมตลอดถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5ว่าไม่ชอบนั้นไม่ได้ การกระทำของ น.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ให้ต้องเสียภาษีการค้าเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ตามที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 เรียกเก็บเพิ่มขึ้น.
หลังจากที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ชำระภาษีการค้าเพิ่มแล้ว การที่ น.หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ยอมรับว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้เรียกเก็บภาษีการค้าเพิ่มเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มถูกต้องแล้วรวมทั้งสละสิทธิในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จะโต้เถียงว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีการค้าเพิ่มรวมตลอดถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5ว่าไม่ชอบนั้นไม่ได้ การกระทำของ น.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ให้ต้องเสียภาษีการค้าเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ตามที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 เรียกเก็บเพิ่มขึ้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5559/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมให้ตัวแทนเชิดออกแสดงเป็นตัวแทน ผลผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อ
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ โจทก์มอบหมายให้บริษัทต. เป็นผู้รับเงินดาวน์ จากจำเลย จัดการให้จำเลยทำคำร้องขอเช่าซื้อรถยนต์ ส่งมอบรถยนต์ให้จำเลย ตลอดจนรับเงินค่าเช่าซื้อจากจำเลย ถือเป็นการยอมให้บริษัทต. เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของโจทก์ เมื่อจำเลยชำระค่าเช่าซื้อให้บริษัทต. ครบถ้วนแล้ว แต่บริษัทต.ส่งเงินให้โจทก์ไม่ครบ จำเลยจึงไม่ผิดสัญญาเช่าซื้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งค่าจ้างไม่ระบุอัตรา แต่ยอมรับตามฟ้องโจทก์ ถือเป็นฟ้องแย้งชอบด้วยกฎหมาย
คำฟ้องของโจทก์ที่เรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยผิดสัญญารับจ้างทำการฟอกและย้อมผ้าโดยระบุอัตราค่าจ้างฟอกและย้อมผ้าไว้ชัดเจนแล้ว จำเลยให้การว่าไม่ได้ทำผิดสัญญาและฟ้องแย้งเรียกค่าจ้าง แม้คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไม่ได้ระบุว่าค่าจ้างย้อมผ้าคิดในอัตราใด แต่จำเลยก็มิได้ปฏิเสธซึ่งต้องฟังว่า จำเลยยอมรับอัตราค่าจ้างตามฟ้อง ไม่จำเป็นต้องระบุไว้อีกในฟ้องแย้ง จึงเป็นฟ้องแย้งที่ชอบด้วยกฎหมาย